ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ฟินแลนด์




แผนที่
สาธารณรัฐฟินแลนด์
Republic of Finland


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปยุโรป ทิศเหนือติดนอร์เวย์
ทิศตะวันตกติดสวีเดน ทิศตะวันออกติดรัสเซีย ทิศใต้ ติดกับเอสโตเนีย โดยมีทะเลบอลติกกั้นอยู่

พื้นที่ 338,145 ตารางกิโลเมตร

ประชากร 5.29 ล้านคน

เชื้อชาติ Finnish 93.4% Swedish 5.7% Russian 0.4%

ภาษา ใช้ภาษาราชการ 2 ภาษา คือ ภาษา Finnish และ ภาษา Swedish
ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ (นิกาย Lutheran 84.2% นิกาย Orthodox 1%)

เมืองหลวง กรุงเฮลซิงกิ (Helsinki)

สกุลเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ฟินแลนด์ได้เปลี่ยนจากการใช้เงินสกุลฟินมาร์ก หรือ Markka -FIM มาเป็นเงินยูโร(euro)


วันชาติ 6 ธันวาคม

ระบบการเมือง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Constitutional Republic)

ประมุข ประธานาธิบดี นาง Tarja Halonen (ดำรงตำแหน่งมาแล้ว 2 สมัย ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2543)
นายกรัฐมนตรี นาย Matti Vanhanen (ดำรงตำแหน่งมาแล้ว 2 สมัยตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2546)
รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Ilkka Kanerva ( 19 เมษายน 2550)

สถาบันทางการเมือง ประธานาธิบดีมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี อยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย (12 ปี) โดยการเลือกตั้งจากประชาชน ประธานาธิบดีจะมีอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและสภาแห่งชาติ (Council of State) ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาของฟินแลนด์ (Eduskunta) ซึ่งเป็นระบบสภาเดียว มีจำนวนสมาชิก 200 คน โดยจะมีเลือกตั้งทุก ๆ 4 ปี

สหภาพยุโรป ฟินแลนด์ได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU)ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 (ค.ศ.1995) และรับหน้าที่เป็นประธานสหภาพยุโรปครั้งแรกระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2542 (ค.ศ.1999) และครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2549 (ค.ศ.2006) โดยในช่วงเป็นประธานสหภาพยุโรป ฟินแลนด์ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเชีย-ยุโรป ระดับผู้นำครั้งที่ 6 (ASEM 6) ที่กรุงเฮลซิงกิ เมื่อวันที่ 10-11 กันยายน 2549

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 210.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP ต่อหัว 40,197 ดอลลาร์สหรัฐ

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(Real Growth Rate) ร้อยละ 4.9

ขีดความสามารถด้านการแข่งขัน(Global Competitiveness Index) ในปี 2549-2550 อยู่ในลำดับที่ 2 รองจากสวิตเซอร์แลนด์

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 1.7

อัตราการว่างงาน ร้อยละ 7 (จำนวนแรงงาน 2.6 ล้านคน)

ดุลบัญชีเดินสะพัด 8.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่งออก/นำเข้า 84.72 / 71.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศคู่ค้าสำคัญ เยอรมนี สวีเดน รัสเซีย

สินค้าเข้าสำคัญ อาหาร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์คมนาคม เหล็ก และสิ่งทอ

สินค้าออกสำคัญ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมโลหะ ผลิตภัณฑ์ไม้สน กระดาษ

การเมืองการปกครอง
รัฐบาลกลาง
ระบบการเมืองการปกครองและการเลือกตั้งของฟินแลนด์นั้นใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1906 สถาบันนิติบัญญัติแห่งชาติ คือ รัฐบสภา เรียกว่า Eduskunta เป็นระบบสภาเดียว มีสมาชิกจำนวน 200 คน ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงให้ดำรงตำแหน่งวาระ 4 ปี ภายใต้ระบบอัตราส่วน โดยแบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศเป็น 15 เขต รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1919 และแก้ไขครั้งล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 1995 กำหนดให้ประธานาธิบดีมีอำนาจประกาศยุบสภาได้ก่อนครบวาระประธานาธิบดีของฟินแลนด์ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่คล้ายคลึงกับประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส คือ มีอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการต่างประเทศในฐานะประมุขแห่งรัฐ ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้ดำรงตำแหน่งได้วาระ 6 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ ตามที่กำหนดไว้ในข้อแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี ค.ศ. 1995

พัฒนาการทางการเมือง
พรรคการเมืองที่สำคัญของฟินแลนด์ เช่น พรรค Social Democratic Party (SDP) พรรค National Coalition Party (NCP) พรรค Centre Party (CP) พรรค Left Alliance (LA) พรรค Green League (GL) พรรค Swedish People’s Party (SPP)

การเลือกตั้งประธานาธิบดีฟินแลนด์ปีค.ศ.2006
ด้วยวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของนาง Tarja Halonen ครบรอบในเดือนมกราคม 2549 จึงกำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นในวันที่ 15 มกราคม 2549 โดยหากไม่มีผู้ใดได้รับคะแนนเสียงเกินครึ่งหนึ่ง จะมีการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ขึ้นระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดจำนวน 2 คน ในวันที่ 29 มกราคม 2549
ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ลงสมัคร ดังนี้
นาย Johan Bjarne Kallis (พรรค Christian Democrats)
นาย Sauli Niinistö (พรรค National Coalition Party)
นาย Timo Soini (พรรค True Finns)
นาง Heidi Hautala (พรรค Green League)
นาย Henrik Lax (พรรค Swedish People\'s Party)
นาย Matti Vanhanen (พรรค Centre Party) นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์คนปัจจุบัน
นาย Arto Lahti (ผู้สมัครอิสระ)
นาง Tarja Halonen (พรรค Social Democratic Party) ประธานาธิบดีฟินแลนด์ คนปัจจุบัน
ผลการเลือกตั้งครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 49 ปรากฏว่า ไม่มีผู้สมัครรายใดได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด 2 ราย คือ
1. นาง Tarja Halonen ประธานาธิบดีฟินแลนด์คนปัจจุบัน ได้รับคะแนนเสียง 46.3 %
2. นาย Sauli Niinisto ได้รับคะแนนเสียง 24.1 %
การเลือกตั้งครั้งที่ 2 ซึ่งจะเป็นการแข่งขันระหว่างนาง Halonen และ นาย Niinisto ได้มีขึ้นในวันที่ 29 ม.ค. 49 ผลปรากฏว่า นาง Tarja Halonen ประสบชัยชนะด้วยคะแนนเสียง 51.8 % ส่งผลให้นาง Traja Halonen กลับเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฟินแลนด์เป็นสมัยที่ 2 โดยพิธีการเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการได้จัดให้มีขึ้นใน วันที่ 1 มี.ค. 49
การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ.2007
ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.2007 ปรากฏว่า พรรค CP ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี Matti Vanhannen ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด 51 ที่นั่ง และเป็นแกนหลักในการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรค NCP (ซึ่งเป็นอันดับที่สอง 50 ที่นั่ง) พรรค GL และพรรค SPP โดยพรรค SDP ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลชุดที่แล้ว เป็นพรรคแกนนำฝ่ายค้านในสภาชุดใหม่ การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้เป็นโอกาสครบรอบวาระ 100 ปีของการมีระบบสภาเดียว โดยมีความแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งแรกประการหนึ่งคือ จำนวนสมาชิกที่เป็นสตรีเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีสตรีได้รับเลือกตั้งถึง 84 คน ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองฟินแลนด์ แต่ผู้ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพียงร้อยละ 67.9 ซึ่งน้อยที่สุดตั้งแต่มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี ค.ศ.1945
การปกครองท้องถิ่น
ภายหลังการปฏิรูปเมื่อต้นปี ค.ศ.1997 จังหวัดของฟินแลนด์ได้ลดลงจาก 11 จังหวัด เหลือ 5 จังหวัด และมีเทศบาล 450 แห่ง นอกจากนั้น เกาะ Alands ยังมีสถานภาพพิเศษเป็นดินแดนกึ่งปกครองตนเอง (semi-autonomous) เนื่องจากได้รับการประกาศให้เป็นบริเวณปลดทหารภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจรัฐบาลท้องถิ่นอย่างมาก เทศบาลมีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารงานของท้องถิ่นโดยอิสระจากรัฐบาลกลาง และรับผิดชอบดำเนินการตามหน้าที่ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้โดยกฎหมาย และมีสิทธิเรียกเก็บภาษีจากประชากรที่อาศัยอยู่ภายในเขตเทศบาลอย่างไรก็ตาม รัฐบาลกลางก็ยังมีอำนาจในการควบคุมการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นโดยการส่ง
ข้าหลวง (Governor) เป็นผู้แทนของรัฐบาลกลางไปบริหารงานตามจังหวัดทั้ง 5 จังหวัด สถาบันสูงสุดทางด้านการปกครองท้องถิ่นคือสภาเทศบาล ซึ่งได้รับเลือกตั้งทั้งโดยตรงและในแบบอัตราส่วน โดยมีจำนวนสมาชิกระหว่าง 17-85 คน ตามจำนวนของประชากรในแต่ละเทศบาล สภาเทศบาลจะเลือกตั้งประธานของตนเอง และแต่งตั้งคณะผู้บริหารของตนเอง ตลอดจนจะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำหน้าที่รับผิดชอบทางด้านบริหาร ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในรัฐบาลท้องถิ่นคือผู้จัดการ (manger) ของเทศบาลหรือเมือง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากสภาเทศบาลและรับผิดชอบโดยตรงต่อคณะผู้บริหารเทศบาล

นโยบายต่างประเทศของฟินแลนด์
นับตั้งแต่ฟินแลนด์ได้รับเอกราชจนถึงก่อนสิ้นยุคสงครามเย็น การดำเนินโยบายต่างประเทศของฟินแลนด์จะดำเนินการอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลทางด้านที่ตั้งและภูมิรัฐศาสตร์(geopolitics) ของประเทศเป็นสำคัญ เนื่องจากฟินแลนด์ตั้งอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกและรัสเซีย ซึ่งฟินแลนด์มีพรมแดนติดต่อกับรัสเซียเป็ระยะทางยางถึง 1,270 กิโลเมตร (800 ไมล์)สภาวะทางภูมิศาสตร์ดังกล่าวมีผลให้ฟินแลนด์จำเป็นต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศเป็นกลางอย่างเคร่งครัด (neutrality) เนื่องจาก ฟินแลนด์ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กและมีขีดความสามารถป้องกันตนเองจำกัด ฟินแลนด์จึงไม่ต้องการเป็นยุทธภูมิของการสู้รบระหว่างฝ่ายตะวันตกกับฝ่ายตะวันออก และไม่ต้องการให้มีการตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของโลกโดยวิธีทางการทหารและไม่ประสงค์นำประเทศเข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งระหว่างประเทศ ดังนั้น นโยบายความเป็นกลางจึงเป็นแนวทางในการปกป้องเอกราชของฟินแลนด์ในช่วงเวลาดังกล่าว บทบาทของฟินแลนด์ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศเริ่มเด่นชัดขึ้นภายหลังการสิ้นสุดยุคสงครามเย็น โดยนโยบายความเป็นกลางของฟินแลนด์ได้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เป็นการปรับนโยบายให้เข้ากับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง คือ ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และระบบเศรษฐกิจเสรี ฟินแลนด์ได้พยายามเสริมสร้างบทบาทของตนเองให้มีความสำคัญมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคยุโรป ซึ่งฟินแลนด์ต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดระเบียบความมั่นคงในรูปแบบใหม่ของยุโรป ที่พยายามรวมตัวกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจการเมือง และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคม เชื้อชาติ และภัยคุกคามต่าง ๆ ร่วมกัน โดยไม่ใช้ความรุนแรงซึ่งเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ระยะยาวในด้านความมั่นคงของฟินแลนด์เองที่จะทำให้ภูมิภาคยุโรปไม่กลับคืนไปสู่สภาวะแห่งการแบ่งแยกออกเป็นเขตผลประโยชน์ และเขตอำนาจต่าง ๆ ดังเช่นที่อดีตผ่านมา

เศรษฐกิจการค้า
ภาคเศรษฐกิจดั้งเดิมที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของฟินแลนด์คือ อุตสาหกรรมป่าไม้และกระดาษ โดยรายได้ที่ได้จากการจำหน่ายผลผลิตในอุตสาหกรรมดังกล่าวได้มีบทบาทอางสำคัญต่อการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ โลหะและวิศวกรรม
รัฐบาลในช่วงปี ค.ศ. 1990-1994 ได้ดำเนินมาตรการอย่างเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจด้วยการลดค่าเงิน และตัดทอนรายจ่ายที่ไม่สำคัญลง การดำเนินมาตรการดังกล่าวประสบผลสำเร็จ โดยเศรษฐกิจเริ่มขยายตัวในปี ค.ศ. 1993 จนถึงปัจจุบัน หลังจากที่ติดลบในช่วงปี ค.ศ. 1990 - 1992 ถึงแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจของฟินแลนด์จะเริ่มฟื้นตัวโดยมีการส่งออกเป็นปัจจัยผลักดัน แต่ก็ยังมีปัญหาสำคัญที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ คือ การว่างงาน ของประชากรในวัยทำงาน อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ ช่วงทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา การผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจฟินแลนด์ ตัวอย่างบริษัทของฟินแลนด์ที่ประสบความสำเร็จ คือ บริษัทโนเกีย (Nokia) ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้ปรับตัวจากการผลิตกระดาษเป็นสินค้าหลัก มาเป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง คือ โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์โทรคมนาคมอื่น ๆ

ในด้านความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศซึ่งมีความสำคัญมากตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฟินแลนด์มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกลุ่มประเทศนอร์ดิก และต่อมาเมื่อมีการจัดตั้ง EFTA (European Free Trade Association) ซึ่งเป็นกลุ่มการค้าเสรี ฟินแลนด์ได้เข้าเป็นสมาชิกในปี ค.ศ. 1961 ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญประการหนึ่งน่าจะมาจากการที่สมาชิกสำคัญของกลุ่ม คือ อังกฤษเป็นคู่ค้าสำคัญของฟินแลนด์ การเข้าร่วม EFTA ช่วยให้อุตสาหกรรมของฟินแลนด์ปรับตัวเข้าสู่ระบบการแข่งขันระหว่างประเทศได้ดีขึ้น เมื่อบทบาทของ EFTA เริ่มลดลง เพราะสมาชิกของกลุ่มเห็นประโยชน์จากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Eueopean Union - EU) ที่จะเปิดโอกาสในการขยายตลาดการลงทุน และเคลื่อนย้ายแรงงาน ฟินแลนด์จึงได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก EU เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 แม้ว่า จะเป็นสมาชิกใหม่ แต่ฟินแลนด์ก็มีบทบาทสำคัญใน EU และเป็นประเทศในกลุ่มแรกที่ดำเนินมาตรการเข้มงวดทางการคลัง เพื่อให้มีคุณสมบัติที่จะเข้าร่วมสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน(Economic and Monetary Union - EMU) ของสหภาพยุโรป การเข้าร่วมใน EMU มีทั้งผลดีและผลเสียต่อฟินแลนด์ ผลดีก็คือ เศรษฐกิจฟินแลนด์จะประสบกับความผันผวนอันเกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศน้อยลง เพราะคู่ค้าสำคัญของฟินแลนด์ คือประเทศสมาชิก EU ที่จะใช้เงินตราสกุลเดียวกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 แต่ผลเสียก็คือฟินแลนด์ จะไม่สามารถใช้การลดค่าเงินเป็นการกระตุ้นภาคการส่งออกเช่นที่เคยปฏิบัติ และการแข่งขันของบริษัทต่างประเทศในตลาดฟินแลนด์จะมีมากขึ้น เพราะบริษัทต่างประเทศไม่มีต้นทุนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตรา

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐฟินแลนด์
ความสัมพันธ์ทางการทูต
ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชีย (ประเทศภายนอกยุโรปประเทศที่สองหลังจากสหรัฐอเมริกา) ที่ได้รับรองรัฐฟินแลนด์ซึ่งได้ประกาศอิสรภาพเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2450 (ค.ศ.1917)โดยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2452 (ค.ศ.1919) ต่อมาในปี 2489 (ค.ศ.1946) ได้ยกระดับขึ้นเป็นความสัมพันธ์ในระดับเอกอัครราชทูต โดยเมื่อปี 2523 (ค.ศ.1980) ฟินแลนด์ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตในไทยระดับอุปทูตฯ และในปี 2529 (ค.ศ. 1986) ได้ยกระดับเป็นเอกอัครราชทูต (สถานเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศพม่า กัมพูชา และลาว สำหรับประเทศไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ ระดับอุปทูต ในปี 2548 (ค.ศ.2005)
- นายเกริกพันธุ์ ฤกษ์จำนง อัครราชทูตที่ปรึกษา ดำรงตำแหน่งอุปทูต สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮลซิงกิ
- นาย ลาร์ส เอริก บักสเตริม (Mr. Lars Erik Backström) เอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำประเทศไทย

นอกจากนี้ ฟินแลนด์ได้จัดตั้งสถานกงสุลใหญ่ประจำจังหวัดภูเก็ต โดยแต่งตั้งนายปมุข อัจฉริยะฉาย ดำรงตำแหน่งกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำภูเก็ตฟินแลนด์ มีเขตอาณาครอบคลุมจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ และตรัง และจัดตั้งสถานกงสุลประจำจังหวัดเชียงใหม่ โดยแต่งตั้งนายศุภวัตร ภูวกุล ให้ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ฯ มีเขตอาณาครอบคลุมถึงจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ และน่าน

ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
ฟินแลนด์ประสงค์ที่จะกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีและส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เนื่องจากฟินแลนด์มีแนวนโยบายต่างประเทศที่ต้องการแสวงหาตลาดเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ในภูมิภาคยุโรป ภายหลังจากที่ฟินแลนด์ได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) โดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 (ค.ศ. 1995) และฟินแลนด์ได้ให้ความสำคัญต่อศักยภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ล่าสุด ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างไทยกับฟินแลนด์ได้มีความแน่นแฟ้นมากขึ้นจากการเยือนฟินแลนด์อย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14-15 ตุลาคม 2548 ซึ่งส่งผลประโยชน์แก่การกระชับความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างกันทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี เช่น การค้า/การลงทุน/การท่องเที่ยว ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในกรอบไตรภาคี ความร่วมมือในกรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป (ASEM) และการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ เป็นต้น
ความสัมพันธ์ด้านการค้า
ฟินแลนด์เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 38 ของไทย และลำดับที่ 9 ในสหภาพยุโรป โดยปริมาณการค้าส่องฝ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 634.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในปี 2550 (ม.ค.-ส.ค.) ไทย-ฟินแลนด์มีมูลค่าการค้ารวม 535.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออกจำนวน 334.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 201.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบต่างๆ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เตาอบไมโครเวฟ/เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ความร้อน สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ กล้อง เลนส์และอุปกรณ์ถ่ายรูป ถ่ายภาพยนตร์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ กระดาษและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ ปุ๋ย เหล็ก เหล็กกล้า สินแร่/โลหะ
ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า
1. ฟินแลนด์ได้เป็นหนึ่งในสมาชิก EU ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 1995 ทำให้ปัญหาหลักที่ไทยมีกับฟินแลนด์จึงเป็นปัญหาที่อยู่ในกรอบของ EU โดยปริยาย
2. ฟินแลนด์เป็นประเทศที่ร่ำรวยและมีประชากรน้อย ตลาดฟินแลนด์เป็นตลาดที่ผู้ส่งออกต้องให้ความสำคัญในด้านองค์ประกอบของตัวผลิตภัณฑ์ (Product Component)อาทิ คุณประโยชน์หลักของผลิตภัณฑ์ การบรรจุหีบห่อ การประกันคุณภาพสินค้า ฯลฯ
3. ฟินแลนด์เป็นตลาดที่ผู้ส่งออกไทยไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรปอื่น ๆ เนื่องจากเห็นว่าฟินแลนด์เป็นตลาดขนาดเล็กและอยู่ห่างไกล
(ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)

ความสัมพันธ์ด้านการลงทุน
ประเทศฟินแลนด์มีความชำนาญในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษและเยื่อกระดาษอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม อุตสาหกรรมโลหะและวิศวกรอุตสาหกรรมต่อเรือ อุตสาหกรรมยาและเคมี การผลิตลิฟต์ และรถบรรทุกที่ใช้ในท่าเรือ ซึ่งเป็นสาขาที่ประเทศไทยขาดแคลน แม้ว่าไทยและฟินแลนด์ได้มีการลงนามความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนแล้ว เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1994 ซึ่งความตกลงมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1996 อย่างไรก็ตาม การลงทุนของฟินแลนด์ในประเทศไทยมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการลงทุนของฟินแลนด์ในต่างประเทศ คือ การลงทุนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 ลงทุนที่ยุโรป(สวีเดน เยอรมัน เบลเยี่ยม อังกฤษ และฝรั่งเศส) ร้อยละ 20 ลงทุนในสหรัฐฯ และร้อยละ 10 ลงทุนในประเทศอื่น ๆ รวมทั้ง กลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งนี้ การลงทุนของฟินแลนด์ที่ได้รับการส่งเสริม ในประเทศไทยระหว่างปี ค.ศ.1991-2002 มีจำนวน 15โครงการ เงินลงทุนทั้งสิ้น 32.9 พันล้านบาท โครงการที่เปิดดำเนินการแล้ว ได้แก่ กิจการต่อเรือยอร์ช 2 โครงการ การผลิต เครื่องกำจัดน้ำเสีย การผลิตท่อและข้อต่อ PE PP PB การผลิตบานประตูกันความร้อน ความเย็นและบานประตูข้าง ในส่วนที่ยังไม่เปิดดำเนินการอีก 6 โครงการ ได้แก่ โครงการผลิตปุ๋ย โครงการผลิตไฟฟ้า โครงการโรงไฟฟ้า และกิจการเกี่ยวกับการผลิตกระดาษ
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการแสวงหาลู่ทางส่งเสริมการลงทุนจากฟินแลนด์และขยายความร่วมมือในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและการพัฒนาทรัพยากรมนุย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้เดินทางไปเยือนฟินแลนด์ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม - 3 กันยายน 2546
การท่องเที่ยว
สถิตินักท่องเที่ยวฟินแลนด์เดินทางมาไทยในปี 2549 มีจำนวน 110,502 คน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 39 ซึ่งเป็นปีแรกที่นักท่องเที่ยวฟินแลนด์เดินทางเข้าไทยมากกว่าหนึ่งแสนคน (ปี 2548 - 85,632 คน ปี 2547 - 72,230 คน ปี 2546 -66,513 คน ปี 2545 - 64,115 คน ปี 2544 - 58,530 คน ปี 2543 - 55,144 คน และปี 2542 ประมาณ 50,000 คน) ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของตลาดฟินแลนด์คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งชาวฟินแลนด์มีภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่ดี การชื่นชอบอัธยาศัยการมีน้ำใจของคนไทย นักท่องเที่ยวฟินแลนด์นิยมเดินทางเข้าไทยและพักผ่อนเป็นเวลานาน
นักท่องเที่ยวฟินแลนด์ มีวันพักเฉลี่ยในไทยประมาณ 12.39 วัน (ปี 2548) และมีการใช้จ่ายเฉลี่ย 3,920 บาทวัน/คน ส่งผลให้รายได้ที่ประเทศได้รับในปี 2548 เพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 36.81 หรือมีมูลค่ารายได้จากการท่องเที่ยวตลาดฟินแลนด์เข้าไทย 3,912.64 ล้านบาท
(ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีไทย-ฟินแลนด์
ภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เทคโนโลยีและการค้าระหว่างไทยกับฟินแลนด์ ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2531 นั้น ทั้งสองฝ่ายกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission for Industrial, Economic and Technological Cooperation) ในประเทศไทยและฟินแลนด์ ตามเวลาที่ทั้งสองฝ่ายจะเห็นสมควร โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ รวมแล้ว 5 ครั้ง
- ครั้งที่ 1 ณ กรุงเทพฯ วันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2529 (ค.ศ.1986)
- ครั้งที่ 2 ณ กรุงเฮลซิงกิ วันที่ 4 มิถุนายน 25334 (ค.ศ.1991)
- ครั้งที่ 3 ณ กรุงเทพฯ วันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2536 (ค.ศ.1993)
- ครั้งที่ 4 ณ กรุงเฮลซิงกิ วันที่ 28-29 สิงหาคม 2539 (ค.ศ.1996)
- ครั้งที่ 5 ณ กรุงเทพฯ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545 (ค.ศ.2002)
การแลกเปลี่ยนการเยือน
การเยือนฟินแลนด์ของฝ่ายไทย
1. การเยือนในระดับราชวงศ์
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จ เยือนฟินแลนด์ เดือนมิถุนายน 2531 (ค.ศ.1988)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จ เยือนฟินแลนด์ ในฐานะ guest lecturer ของมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ระหว่างวันที่ 8-15 มิถุนายน 2533 (ค.ศ. 1990)
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนฟินแลนด์ (ร่วมกับคณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรของสหราชอาณาจักร) ระหว่างวันที่ 20-27 กันยายน 2533 (ค.ศ.1990)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จ เยือนฟินแลนด์ในฐานะ guest lecturer ของมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ระหว่างวันที่ 12-16 มีนาคม 2534 (ค.ศ. 1991 )
- สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เสด็จ เยือนฟินแลนด์ (พร้อมกับการเสด็จ เยือนสวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์) ระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2536 (ค.ศ. 1993)
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนฟินแลนด์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 26-29 มิถุนายน 2540 (ค.ศ.1997)
- ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนสวีเดนและฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 9-16 กรกฎาคม 2547 (ค.ศ.2004) (เสด็จเยือนฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 12-15 กรกฎาคม 2547 เพื่อทรงเข้าร่วมประชุม IUTOX และทรงบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Human Resource Development in Toxicology for Developing Countries : Asian Perspective” ที่เมือง Tempere)
2. การเยือนในระดับรัฐบาล
- พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 22-25 พฤษภาคม 2531 (ค.ศ. 1988)
- นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมนักธุรกิจ เยือนฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2537 (ค.ศ. 1994)
- ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฟินแลนด์ระหว่างวันที่ 14-15 มิถุนายน 2541 (ค.ศ.1998)
- นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เยือนฟินแลนด์ระหว่าง วันที่ 4-8 ตุลาคม 2544 (ค.ศ.2001) ตามคำเชิญของนาง Sinikka Monkare รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมฟินแลนด์
- นายกันตธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทย เยือนสวีเดน ฟินแลนด์และเอสโตเนีย ระหว่างวันที่ 7-22 พฤษภาคม 2545 (ค.ศ.2002)
- นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี เยือนฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ 2546 (ค.ศ.2003)
- นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เยือนฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 13-15 กรกฎาคม 2546 (ค.ศ.2003) และสวีเดน (วันที่ 16-20 กรกฎาคม 2546)
- นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เยือนเดนมาร์ก ฟินแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 2546 (ค.ศ.2003 )
- คณะผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เดินทางไปศึกษา/ ดูงานที่ฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 3 กันยายน 2546 (ค.ศ.2003) ในด้าน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาเทคโนโลยี และพบปะกับ FINPRO หน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนของฟินแลนด์
- นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เยือนฟินแลนด์ เมื่อวันที่ 21-22 เมษายน 2548
- พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนฟินแลนด์เมื่อวันที่ 14 - 15 ตุลาคม 2548 ตามคำเชิญของนาย Matti Vanhanen นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์ ในระหว่างการเยือน นายกรัฐมนตรีได้เข้าเยี่ยมคารวะนาง Tarja Halonen ประธานาธิบดีฟินแลนด์ และหารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีฟินแลนด์
- พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนฟินแลนด์เพื่อเข้าร่วมประชุมเอเชีย-ยุโรป ระดับผู้นำ ครั้งที่ 6 (ASEM 6) เมื่อวันที่ 10-11 กันยายน 2549

การเยือนไทยของฝ่ายฟินแลนด์
- นาย Paavo Vayrynen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพินแลนด์เยือนไทย เดือนมีนาคม 2527 (ค.ศ. 1984)
- นาย Taisto Kalevi Sorsa รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์เยือนไทย ระหว่างวันที่ 20-21 ธันวาคม 2530 (ค.ศ. 1987)
- นาย Pertti Passio รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์เยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 7-9 มกราคม 2534 (ค.ศ. 1991 )
- นาย Martti Ahtisaari ประธานาธิบดีฟินแลนด์ พร้อมนักธุรกิจเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกรัฐบาล (Official Visit) ระหว่างวันที่ 21-24 มกราคม 2538 (ค.ศ. 1995)
- นาย Paavo Lipponen นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์ เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมประชุม
เอเชีย-ยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1-2 มีนาคม 2539 (ค.ศ. 1996) พร้อมด้วยนาง Tarja Kaarina Halonen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นาย Ole Norrback รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศฟินแลนด์เยือนไทยระหว่างวันที่ 13-16 มกราคม 2541 (ค.ศ.1998 ) เพื่อร่วมพิธีเปิดศูนย์เทคโนโลยีประจำภูมิภาคของบรรษัท Valmet Corporation ที่แหลมฉบัง และหารือกับฯพณฯ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นาย Kimmo Sasi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศฟินแลนด์เยือนไทย เมื่อวันที่ 15-18 กุมภาพันธ์ 2543 (ค.ศ.2000) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนฟินแลนด์เพื่อเข้าร่วมประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2543
- นาย Jari Vilen รัฐมนตรีดูแลด้านการค้าต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ พร้อมคณะภาคเอกชนฟินแลนด์ เยือนไทยระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2545 (ค.ศ. 2002) เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี ไทย-ฟินแลนด์ (JC) ครั้งที่ 5 ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนฟินแลนด์ ร่วมกับ ดร.ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
- นาง Tarja Halonen ประธานาธิบดีฟินแลนด์ เยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาล
(guest of the government) ระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม 2545 (ค.ศ.2002) และ เข้าพบหารือกับฯพณฯ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีฟินแลนด์ ณ กระทรวงการต่างประเทศ
- นางสาว Paula Lethomaki รัฐมนตรีดูแลด้านการค้าต่างประเทศและการพัฒนา กระทรวงการประเทศฟินแลนด์ พร้อมคณะภาคเอกชนฟินแลนด์ เยือนไทยระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคม 2547 (ค.ศ. 2004) และเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และผู้แทนการค้าไทย
- นาย Matti Vanhanen นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์ แวะเยือนไทย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2547 (ค.ศ. 2004) ก่อนเดินทางไปร่วมการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 5 (ASEM 5) ที่เวียดนาม และในระหว่างแวะเยือนไทย ได้เข้าพบหารือกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นาย Matti Vanhanen นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์ พร้อมด้วยนายกรัฐมนตรีกลุ่มประเทศนอร์ดิก (สวีเดนและนอร์เวย์) เยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาล (Working Visit) เมื่อวันที่ 16-17 มกราคม 2548 (ค.ศ.2005) เพื่อประเมินสถานการณ์เหตุการณ์จากภัยพิบัติธรรมชาติคลื่นยักษ์ที่บริเวณจังหวัดภาคใต้ของไทย และในระหว่างการเยือนไทย นายกรัฐมนตรีกลุ่มประเทศนอร์ดิกทั้งสามประเทศได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล และได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือข้อราชการ ในวันที่ 16 มกราคม 2548 และยังได้เดินทางไปเยี่ยมชมพื้นที่ประสบภัยที่จ.ภูเก็ต ในวันที่ 17 มกราคม 2548
- นางสาว Paula Lethomaki รัฐมนตรีดูแลด้านการค้าต่างประเทศและการพัฒนา กระทรวงการประเทศฟินแลนด์ เยือนไทยเพือเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วย ความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 28-29 มกราคม 2548 (ค.ศ.2005)
- นาย Martti Athisaari ประธานคณะกรรมการตรวจสอบกรณีเหตุการณ์คลื่นยักษ์ของฟินแลนด์ และอดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ เยือนไทย ระหว่างวันที่ 2-8 เมษายน 2548(ค.ศ.2005)เพื่อประเมินสถานการณ์และรวบรวมข้อมูล/ข้อเท็จจริงเหตุการณ์คลื่นยักษ์
- นาย Johannes Koskinen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมฟินแลนด์ เยือนไทย ระหว่างวันที่ 22-25 เมษายน 2548 (ค.ศ.2005)เพื่อเข้าร่วม UN Congress on Crime Prevention and Criminal Justice ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-25 เมษายน 2548 (ค.ศ.2005)


เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 2 กรมยุโรป โทร. 0-2643-5133 Fax. 0-2643-5132 E-mail : european03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์