|
|
เกรเนดา Grenada
|
[ Print ]
|
ที่ตั้งเกรนาดาเป็นเกาะภูเขาไฟเล็ก ๆ ในทะเลแคริบเบียน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตรินิแดดและโตเบโก และเวเนซุเอลา และอยู่ทางทิศใต้ของเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์
พื้นที่344 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ปกคลุมด้วยป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และมีชายฝั่งทะเลแคบ ๆ ล้อมรอบเกาะ คามยาวประมาณ 121 กิโลเมตร
ภูมิอากาศ แบบร้อนชื้น (tropical) ตั้งอยู่ในแนวมรสุม โดยฝนจะตกชุกระหว่างเดือนมิถุนายนถึง พฤศจิกายน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย ประมาณ 2,000 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
เมืองหลวง กรุง St. Georges (มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 4,670 คน)
ประชากร ประมาณ 89,971 คน (2547)
อัตราการเพิ่มของประชากร ร้อยละ 0.336 ต่อปี อายุเฉลี่ยของประชากร 71 ปี
ภาษา ภาษาอังกฤษ (ภาษาราชการ) และภาษาฝรั่งเศส
ศาสนา ที่สำคัญคือ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (ประมาณร้อยละ 53)นอกจากนั้นเป็นนิกายโปรเตสแตนส์ และนิกาย แองลิแกน
เชื้อชาติ เชื้อสายแอฟริกัน ร้อยละ 82 รองลงมาได้แก่ เชื้อสายอินเดีย ชาวยุโรป และชาวพื้นเมืองเผ่า Arawak และ Carib
อัตราผู้รู้หนังสือ ร้อยละ 96
หน่วยเงินตรา Eastern Caribbean Dollar (EC) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 2.72 EC
เวลาแตกต่างจากไทย -4 GMT (ช้ากว่าไทย 11 ชั่วโมง)
วันชาติ 7 กุมภาพันธ์ (วันรับเอกราชสหราชอาณาจักร ค.ศ. 1974)
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ UN, ACP, CARICOM, CDB, ECLAC, G-77, NAM, OAS, OECS, ECLAC, IBRD, ICAO, ICFTU, ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, ILO, IMF, IOC, ITU, LAES, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, UPU, WCL, WHO, WTO, OPANAL, World Bank
ผู้แทนทางการทูต สถานเอกอัครราชทูตฯ ในสหรัฐฯ และไต้หวันและมีเอกอัครราชทูตประจำเวเนซุเอลาถิ่นพำนัก ณ กรุง St. Georges
ในอดีตเกรนาดาเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมืองอินเดียเผ่า Carib และ Arawaks ต่อมาในปี ค.ศ. 1498 โคลัมบัสได้ค้นพบดินแดนแห่งนี้ โดยในระยะแรกถูกเรียกว่า Concepcion จนในประมาณศตวรรษที่ 18 จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Grenada อย่างไรก็ดี แม้ว่าเกรนาดา จะถูกค้นพบโดยโคลัมบัส แต่ก็มิได้เป็นอาณานิคมของสเปนนานนัก โดยใน ค.ศ. 1650 ตกไปอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศส ต่อมาในปี ค.ศ. 1763 อังกฤษก็ได้เข้าปกครองเกรนาดา ภายหลังจากที่มีชัยชนะต่อฝรั่งเศสในสงคราม 7 ปี เกรนาดามีฐานะเป็นอาณานิคมของอังกฤษจนถึง ค.ศ. 1974 เมื่อได้รับเอกราชในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ของปีนั้น ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลในปี ค.ศ.1953 สหรัฐฯ และประเทศในแคริบเบียนก็ได้ส่งกองทัพเข้าแทรกแซงเพื่อสร้างเสภียรภาพในเกรนาดา
รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
รัฐธรรมนูญปัจจุบัน 19 ธันวาคม 2514
ประมุขของประเทศ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบธที่สอง ทรงใช้พระราชอำนาจ โดยผ่านทางผู้สำเร็จราชการ (Governer-General) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีเกรนาดา ผู้สำเร็จราชการคนปัจจุบัน (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996) คือ นาย Daniel Williams
หัวหน้าฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นาย Keith Mitchell (เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อ 22 มิถุนายน 2538
ฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีได้รับการเลือกตั้งจากเสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วจะได้แก่หัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก โดยจะได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการ และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้สรรหาและจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งเป็น 6 เขต ได้แก่ Saint Andrew, Saint David, Saint George, Saint John, Saint Mark, Saint Patrick และอีก 1 เขตปกครองตนเอง คือ Carriacou and Petit Martinique
ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภาประกอบด้วย 2 สภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิกมีจำนวนทั้งสิ้น 13 คน โดย 10 คนมาจากการเสนอชื่อของพรรครัฐบาลและ และอีก 3 คนมาจากการเสนอชื่อของหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนทั้งสิ้น 15 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
พรรคการเมืองสำคัญ
1. พรรค New National Party (NNP) เป็นพรรครัฐบาล โดยในปัจจุบันครองที่นั่งทั้งหมด (15 ที่นั่ง) ในสภาผู้แทนราษฎร
2. พรรค National Democratic Congress (NDC)
3. พรรค Grenada United Labor Party (GULP)
4 พรรค The National Party (TNP)
5. พรรค Maurice Bishop Patriotic Movement (MBPM)
6. พรรค Unity Labor Party (ULP)
การเลือกตั้งครั้งต่อไป เดือน กรกฎาคม 2547 (เลือกตั้งทั่วไป)
ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลแพ่ง ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา (Eastern Carribean Supreme Court) ในบางกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญ อาจส่งให้คณะองคมนตรี (Privy Council) ที่กรุงลอนดอนเป็นผู้พิจารณา
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 0.9
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 450 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ไทย USD 142 พันล้าน)
โครงสร้างของ GDP ภาคบริการ ร้อยละ 49.5 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 40.3
และภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 10.2
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3
อัตราว่างงาน ร้อยละ 12.5
หนี้สินต่างประเทศ 347 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2547)
ผลผลิตการเกษตรที่สำคัญ nutmeg (เครื่องเทศชนิดหนึ่ง) ดอกจันทน์เทศ กล้วย มะพร้าว ผลไม้จำพวกส้ม อ้อย อะโวคาโดและผักต่าง ๆ
อุตสาหกรรมสำคัญ อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ การท่องเที่ยว และการก่อสร้าง
สินค้าเข้า เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และเชื้อเพลิง
สินค้าออก Nutmeg (เกรนาดาผลิตได้เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากอินโดนีเซีย) กล้วย มะพร้าว ดอกจันทน์เทศ ผลไม้ และสิ่งทอ
ตลาดส่งออกสำคัญ (เรียงตามลำดับ) กลุ่ม CARICOM สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา
ตลาดนำเข้าสำคัญ (เรียงตามลำดับ) สหรัฐอเมริกา กลุ่ม CARICOM สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น
นโยบายเศรษฐกิจหลัก ระบบเศรษฐกิจของเกรนาดาพึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออก nutmeg และมะพร้าว รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดเงินตราต่างประเทศ และในปัจจุบัน รัฐบาลเกรนาดาก็มีนโยบายเศรษฐกิจเสรี โดยเน้นการลงทุนจากภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งมีนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะในภาคพลังงานไฟฟ้าซึ่งให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมบริหารมากขึ้น
สถิติการค้าไทย-เกรนาดา (หน่วย: ดอลลาร์สหรัฐ)
ปี มูลค่าการค้า ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า
2545 292,083 215,687 76,396 139,291
2546 431,544 422,076 9,468 412,608
2547 349,901 228,424 121,477 106,947
2547 (ม.ค.-เม.ย) 77,143 75,683 1,460 74,223
2548 (ม.ค.- เม.ย.) 135,078 97,954 37,124 60,830
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเกรเนดา |
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ไทยและเกรนาดาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2522 โดยรัฐบาลไทยแต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำเกรนาดา ด้วยสินค้าออกของไทย (2542) ยานพาหนะ เหล็ก ผลิตภัณฑ์พลาสติก และเฟอร์นิเจอร์ สินค้าเข้าของไทย (2542) เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม
สถิติการค้าระหว่างไทยกับเกรนาดา ดูเอกสารแนบ
วันที่ 21 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5113-4 Fax. 0-2643-5115 E-mail : american03@mfa.go.th
|
|