|
แผนที่
|
สาธารณรัฐกัวเตมาลา Republic of Guatemala
|
|
ที่ตั้ง อยู่ในภูมิภาคอเมริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับเบลิซและทะเลแคริบเบียนทิศเหนือและตะวันออกติดกับเม็กซิโกและมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้ติดกับฮอนดูรัสและเอลซัลวาดอร์
ภูมิอากาศ ร้อนชื้นในบริเวณที่ราบต่ำและอากาศเย็นในบริเวณที่สูง
ขนาดพื้นที่ 108,890 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงกัวเตมาลา (Guatemala City)
ประชากร (2549) 13.3 ล้านคน
อัตราการขยายตัวของประชากร ร้อยละ 2.15 (2549)
เชื้อชาติ Meztizo (คนผิวขาวกับชาวพื้นเมือง) ร้อยละ 55
ภาษาราชการ ภาษาสเปน อย่างไรก็ดี ยังมีชาวกัวเตมาลาร้อยละ 40 ที่สื่อสารโดยใช้ภาษาพื้นเมือง
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
อัตราผู้รู้หนังสือ (2546) ร้อยละ 69.9
วันชาติ 15 กันยายน ค.ศ. 1821 (ประกาศอิสระภาพจากสเปน)
หน่วยเงินตรา Quetzal (GTQ)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 7.71 Quetzal (2550)
ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ ปิโตรเลียม นิเกิล ปลา ไม้
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ BCIE, CACM, CCC, ECLAC, FAO, FEALAC, G-24, G-77, IADB, IAEA, IBRD, ICAO, ICFTU, ICRM, IDA, IFAD, IFC, IFRCS, IHO, ILO, IMF, IMO, Intelsat, Interpol, IOC, IOM, ISO (correspondent), ITU, LAES, LAIA (observer), NAM, OAS, OPANAL, OPCW, PCA, UN, UNCTAD, UNESCO, UNIDO, UNU, UPU, WCL, WFTU, WHO, WIPO, WMO, WTO
รูปแบบการปกครอง สาธารณรัฐ
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลบังคับใช้เมื่อ 14 ม.ค. 2529
ประมุขของประเทศ ประธานาธิบดี นาย Osgar Berger Perdomo(รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2547) ประธานาธิบดีมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Dr. Gert Rosenthal
ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบสภาเดียว จำนวน 113 ที่นั่ง และมีวาระ 4 ปี
การเลือกตั้งครั้งต่อไป พฤศจิกายน 2550
พรรคการเมืองสำคัญ
Grand National Alliance (พรรครัฐบาล)
Democratic Alliance
Guatemalan Republic Front
National Liberal Movement
National Guatemalan Revolutionary Unity
มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (2549) 35.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2549) ร้อยละ 4.5
รายได้ประชาชาติต่อหัว (2549) 2,659 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี
อัตราเงินเฟ้อ (2549) ร้อยละ 5.79
หนี้สาธารณะ (2549) 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (2549) 3.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (2549) 325 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สัดส่วนดุลบัญชีเดินสะพัด ต่อ GDP (2549) ร้อยละ - 3.80
การส่งออก (2549) มูลค่า 6.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ กาแฟ น้ำตาล กล้วย เนื้อหมู เนื้อไก่ สิ่งทอ ปิโตรเลียม และกระแสไฟฟ้า
การนำเข้า (2549) มูลค่า 11.92 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ เชื้อเพลิง เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง วัสดุก่อสร้าง เมล็ดพันธุ์พืช และปุ๋ย
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
โครงสร้างเศรษฐกิจกัวเตมาลาส่วนใหญ่พึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก มีรายได้จากการส่งออก สินค้าทางการเกษตรเช่น กล้วย กาแฟ และน้ำตาล ปัจจุบันกัวเตมาลากำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะในด้านการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้ถูกทำลายเสียหายมากในระหว่างเกิดสงครามในประเทศ รัฐบาลชุดปัจจุบันมีนโยบายเสรีนิยม สนับสนุนการพัฒนาเขตการค้าเสรีร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในอเมริกากลาง รวมทั้งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเขตการค้าเสรีอเมริกากลาง-เม็กซิโก และอเมริกากลาง-สหรัฐฯ CAFTA) นอกจากนี้ กัวเตมาลายังเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) จากสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป มีค่าแรงงานที่ถูก และอยู่ใกล้กับตลาดอเมริกาเหนือ
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐกัวเตมาลา |
ไทยและกัวเตมาลาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2500
กัวเตมาลาเป็นประเทศแรกในภูมิภาคลาตินอเมริกาที่เปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2531 โดยมีนาย Luis Alberto Henry Sanchez เป็นเอกอัครราชทูตกัวเตมาลาคนแรกที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย แต่ ต่อมาได้ปิดสถานเอกอัครราชทูตไปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2533 เนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ โดยมอบหมายให้เอกอัครราชทูตกัวเตมาลาประจำญี่ปุ่น มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย
ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำประเทศกัวเตมาลาอีกตำแหน่งหนึ่ง และการแต่งตั้งให้นาย Louis T.Leonowens เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ของไทยประจำกัวเตมาลาด้วย
สินค้าที่ไทยนำเข้า เคมีภัณฑ์ ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
สินค้าที่ไทยส่งออก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผ้าผืน ผ้าปักและผ้าลูกไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ และปูนซิเมนต์
วันที่ 28 มิถุนายน 2550
เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5113-4 Fax. 0-2643-5115 E-mail : american03@mfa.go.th
|
|