ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> อิตาลี




แผนที่
สาธารณรัฐอิตาลี
Republic of Italy


 
ข้อมูลทั่วไป
กดที่นี่ เพื่อไปเว็บไซต์สถานทูตอิตาลีที่มีแบบฟอร์มวีซ่าอยู่ด้านล่าง

อิตาลีอยู่ในตอนใต้ของทวีปยุโรป และตอนเหนือของแอฟริกา โดยมีลักษณะเป็นคาบสมุทรยื่นออกไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พื้นที่ร้อยละ 75 เป็นภูเขาและที่ราบสูง
ทิศเหนือติดประเทศสวิตเซอร์แลนด์และออสเตรีย ทิศใต้ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลไอโอเนียน ทิศตะวันตกติดประเทศฝรั่งเศสและทะเลไทเรเนียน ทิศตะวันออกติดทะเลอาเดรียติก และอยู่ตรงข้ามกับสโลเวเนีย โครเอเชีย บอสเนีย มอนเตเนโกร และแอลเบเนีย
ออร์เดอร์ออฟมอลตา ซานมาริโน แอลเบเนีย และไซปรัสอยู่ในความดูแลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม เนื่องจากไทยไม่มีตัวแทนทางการทูตในประเทศดังกล่าว

อิตาลีมีเนื้อที่ 116,303 ตารางไมล์ หรือ 301,225 ตารางกิโลเมตร นอกจากพื้นที่ที่เป็นคาบสมุทรแล้ว อิตาลียังประกอบด้วยเกาะซาร์ดิเนียและซิซิลีด้วย พื้นที่ร้อยละ 57 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ร้อยละ 21 เป็นป่าและภูเขา

ภูมิอากาศ แบบเมดิเตอร์เรเนียน

ประชากร 58.6 ล้านคน ความหนาแน่นของประชากร 193 คน ต่อ 1 ตารางกม. อัตราการเพิ่ม 0.0% มีประชากรในวัยทำงาน (workforce) 24.3 ล้านคน (โดยอยู่ในภาคบริการ 63 % ภาคอุตสาหกรรมและพาณิชย์ 32 % ภาคเกษตร 5% และว่างงาน 7.9%) เชื้อชาติ ส่วนใหญ่คืออิตาเลียน และมีชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติอื่นๆคือ เยอรมัน ฝรั่งเศส สโลเวเนีย และแอลเบเนีย

ผู้หญิงอิตาลีมีบุตรจำนวนน้อยที่สุดในสหภาพยุโรป (1.33 คน โดยเฉลี่ย)

เมืองหลวง โรม (Rome) ประชากร 2.7 ล้านคน

เมืองสำคัญ โรม มิลาน เนเปิลส์ ตูริน เจนัว

ภาษาราชการ อิตาเลียน และมีภาษาเยอรมันเป็นภาษารอง โดยเฉพาะบริเวณแคว้น Trentino-Alto Adige ที่ติดกับออสเตรีย และภาษาฝรั่งเศสในแคว้น Valle d’Aosta นอกจากนี้ สามารถใช้ภาษาสเปนกับชาวอิตาเลียนได้ อนึ่ง ในอิตาลีมีภาษาท้องถิ่น อาทิ TUSCAN dialect

ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (98%) แต่ให้เสรีภาพทุกศาสนาอิตาลีรับรองสถานะพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการตั้งแต่มีนาคม ค.ศ. 2000

สกุลเงิน ยูโร (Euro)

วันหยุดราชการ วันขึ้นปีใหม่, วัน Epiphany (6 ม.ค.), วัน Easter Sunday and Monday วัน Liberation Day (25 เม.ย), วันแรงงาน (1 พ.ค.), วัน Assumption (15 ส.ค.), วัน All Saints Day (1 พ.ย.),วัน Immaculate Conception (8 ธ.ค.), วัน Christmas (25-26 ธ.ค.)

ประธานาธิบดี Mr. Giorgio Napolitano (นายจอร์จิโอ้ นาโปลิตาโน่)

นายกรัฐมนตรี Mr. Romano Prodi (นายโรมาโน โพรดี)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Mr. Massimo D'Alema (นายมาสซิโม่ ดาเลม่า)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร Mr. Fausto Bertinotti

อิตาลีเพิ่งมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 9 เมษายน 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งประชากรอิตาลีในประเทศไทยสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของอิตาลีได้เป็นครั้งแรกในปีนี้โดยทางไปรษณีย์

ไทยและอิตาลีมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ โดยผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการจะสามารถเดินทางไปราชการที่ประเทศอิตาลีได้ภายในระยะเวลา 90 วัน

การขอวีซ่าไปอิตาลี จะสามารถทำได้โดยโทร 1900 222 344 (Italian Visa Call Center) เพื่อนัดเวลายื่นเอกสารทำวีซ่า โดยจะต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม มิฉะนั้นอาจถูกปฏิเสธและต้องโทรนัดใหม่
เอกสารประกอบการทำวีซ่าอิตาลี มีดังนี้
1. จดหมายรับรองการทำงานจากบริษัทหรือนายจ้าง
2. สำเนายอดบัญชีในธนาคาร 4 เดือนล่าสุด
3. หลักฐานรับรองความรับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่ประเทศอิตาลี
4. สำเนาการจองตั๋วเครื่องบิน ระบุวันที่เดินทางไปกลับ
5. เอกสารรับรองการจองที่พักหรือจดหมายเชิญ
6. เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่เดินทางไปกับบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่ง จะต้องมีหนังสือยินยอมจากบิดาหรือมารดาที่ไม่ได้ไปด้วย ซึ่งเขตหรืออำเภอเป็นผู้ออกเอกสาร
7. ใบอนุญาตทำงาน และวีซ่ากลับเข้าไทย (กรณีคนต่างด้าว)
8. สำเนาการประกันสุขภาพ(ภาษาอังกฤษหรืออิตาเลียน)วงเงินขั้นต่ำ 30,000 ยูโร

World Economic Forum จัดให้อิตาลีอยู่ลำดับที่ 82 ในการจัดลำดับความง่ายในการทำธุรกิจ (Rankings on the Ease of Doing Business หรือ Global Competitiveness Index) ในปี 2550 (ไทยอยู่ลำดับที่ 18)

การเมืองการปกครอง
บริเวณที่เป็นอิตาลีในปัจจุบันมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ 800 ปีก่อนคริสตกาล และถูกรวมอยู่ในอาณาจักรโรมันตะวันตกในระหว่างศตวรรษที่ 1-5 จากนั้นกลายเป็นสมรภูมิหลายครั้งในความขัดแย้งอันยาวนานระหว่างสันตปาปาที่กรุงโรมกับจักรพรรดิของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (the Holy Roman Empire) ดินแดนภาคกลางและภาคเหนือของอิตาลีเริ่มรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางการค้าในศตวรรษที่ 11 และเสื่อมลงหลังศตวรรษที่ 16 แต่ในช่วงศตวรรษที่ 16-17 อิตาลีเข้าสู่ยุค Renaissance และได้เป็นแหล่งกำเนิดศิลปวิทยาการตลอดจนวรรณกรรมชิ้นเอกจำนวนมากที่เป็นพื้นฐานของอารยธรรมตะวันตกยุคต่อมา อาทิ ผลงานของ Machiavelli, Boccaccio, Petrash, Tasso, Raphael, Botticelli, Michaelangelo และ Leonardo da Vinci ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เกิดขบวนการชาตินิยมที่นำไปสู่การรวมอิตาลีได้ทั้งหมด ในปี ค.ศ.1870 และจากนั้นมาจนปี ค.ศ. 1922 อิตาลีอยู่ภายใต้ระบบกษัตริย์ที่มีรัฐสภาและการเลือกตั้งแบบจำกัด
ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 อิตาลีเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี แต่กลับมาเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงเกือบสิ้นสุดสงครามในปี ค.ศ. 1915 จึงได้รับดินแดนบางส่วนของออสเตรียมาอยู่ใต้อิตาลี ในปี ค.ศ. 1922 Benito Mussolini ขึ้นมามีอำนาจกว่า 2 ทศวรรษต่อมา อิตาลีตกอยู่ใต้ระบอบ Fascism ซึ่งเรียกกันว่า “Corporate State” โดยยังมีกษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐเพียงในนาม
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 อิตาลีเข้าข้างฝ่ายอักษะ แต่หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรยึดเกาะซิซิลีได้ในปี ค.ศ. 1943 มุสโสลินีถูกกษัตริย์ปลดจากตำแหน่ง นายพล Pietro Badaglio ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และอิตาลีหันไปประกาศสงครามกับเยอรมนี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบกษัตริย์ถูกล้มเลิก และอิตาลีเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐในระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1946 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1948 ซึ่งยังใช้มาจนปัจจุบัน

ระบบการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญอิตาลีกำหนดให้อิตาลีมีรูปแบบการปกครอง ฅามระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร และมีฝ่ายตุลาการแยกเป็นอิสระ
ประธานาธิบดี ได้รับเลือกตั้งจาก รัฐสภาและผู้แทนภูมิภาค (Regional Representatives) ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 7 ปี
ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน นาย Giorgio Napolitano (จอร์จิโอ้ นาโปลิตาโน่) เป็นตำแหน่งประมุขของประเทศ มีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คัดค้านการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ และยุบสภา
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Romano Prodi เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักปฏิรูปนโยบายการเงินการคลัง เข้ารับหน้าที่เมื่อเดือนมิถุนายน 2549

นายกรัฐมนตรีเป็นผู้จัดตั้งคณะรัฐบาล (Council of Ministers) โดยได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดี ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี บางทีเรียกว่า President of the Council of Ministers จึงอาจเกิดความสับสนได้

ระบบการเลือกตั้งของอิตาลีในปัจจุบัน เป็นการลงคะแนนเสียงผสมระหว่างแบบเสียงข้างมาก (first-past-the post) ร้อยละ 75 และแบบสัดส่วนอีกร้อยละ 25 การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีเมื่อวันที่ 9-10 เม.ย. 49 อิตาลีได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเป็นเวลา 2 วัน โดยมีประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 37.98 ล้านคน เท่ากับร้อยละ 83.6 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 45.43 ล้านคน โดยในส่วนของการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร กลุ่มพันธมิตรกลางซ้าย นำโดยนายโรมาโน โพรดี (Romano Prodi) ได้รับชัยชนะเหนือกลุ่มพันธมิตรกลางขวา นำโดยนายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี่ (Silvio Berlusconi) นายกรัฐมนตรีคนก่อน โดยได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งร้อยละ 49.8 ต่อ ร้อยละ 49.7 ซึ่งมีผลให้กลุ่มพันธมิตรกลางซ้ายได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 348 ที่นั่ง ในขณะที่กลุ่มพันธมิตรกลางขวาได้ 281 ที่นั่ง และมีพรรคอิสระได้ 1 ที่นั่ง ส่วนผลการเลือกตั้งวุฒิสภาอิตาลี กลุ่มพันธมิตรกลางซ้ายได้รับเลือกตั้งมากกว่ากลุ่มพันธมิตรกลางขวาเพียงสองเสียง โดยได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 50.2 ต่อ ร้อยละ 48.9 นับเป็นที่นั่งในสภา 158 ที่นั่ง ต่อ 156 ที่นั่ง โดยมีพรรคอิสระได้ 1 ที่นั่ง
รวมทั้งได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ โดยเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมโดยสมาชิกรัฐสภาและผู้ว่าการรัฐ แทนนาย Azeglio Ciampi ซึ่งหมดวาระ ผลปรากฏว่านายจอร์จิโอ้ นาโปลิตาโน (Giorgio Napolitano) ได้รับชัยชนะด้วยคะแนน 543 จาก 1010 คะแนน โดยนายนาโปลิตาโนได้ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 49 และประธานาธิบดีคนใหม่ได้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคือนายโรมาโน โพรดี ผู้นำกลุ่มพรรคพันธมิตรกลางซ้ายซึ่งเคยเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีในระหว่างปี พ.ศ. 2539 -2541 และประธานกรรมาธิการสหภาพยุโรปในระหว่างปีพ.ศ. 2532-2537 การแต่งตั้งนายโพรดีและครม.ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 19 และ 23 พ.ค.49 ตามลำดับ
การเลือกตั้งของอิตาลีจะมีขึ้นทุก 5 ปี หรือเร็วกว่านั้น การเลือกตั้งของทั้ง 2 สภาจะมีขึ้นในเวลาเดียวกันผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

รัฐสภา รัฐสภาอิตาลีประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ประธานรัฐสภาได้แก่ประธานสภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies) การบัญญัติกฎหมายใดๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้ง 2 สภาวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกทั้ง 2 สภาคือ 5 ปี และการเลือกตั้งจะทำพร้อมกันทั้ง 2 สภา โดยจะมีขึ้น ทุก 5 ปี หรือเร็วกว่านั้นหากประธานาธิบดีไม่อาจสรรหานายกรัฐมนตรีที่สามารถจัดตั้งคณะรัฐบาลให้ทั้ง 2 สภาให้ความเห็นชอบได้ การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายคือเมื่อวันที่ 9 - 10 เมษายน 2549 (เลือก 2 วันโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนมาลงคะแนนมากขึ้น) สภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Deputies/Camera dei Deputati)
ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 630 คน โดย 475 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอีก 155 คนมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจากแคว้นต่างๆ (regional proportion representation) ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งจะต้องมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบันคือนาย วุฒิสภา (Senate/Senato della Repubblica) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 326 คน โดย 315 คนมาจากการเลือกตั้งทั่วไป (popular vote) จากแคว้น (regions) ต่างๆ ทั่วประเทศ และมีวุฒิสมาชิกตลอดชีพอีกจำนวนหนึ่ง (ปัจจุบันมี 7 คน) ซึ่งจะแต่งตั้งจากบุคคลชั้นนำของสังคม ประธานวุฒิสภาคนปัจจุบันคือนาย Franco Marini โดยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2549

การปกครองส่วนท้องถิ่น อิตาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 แคว้น
หรือภูมิภาค (regions) (และแบ่งเป็น 94 จังหวัด) ได้แก่ Abruzzo, Basilicata, Calabria,Campania, Emilia-Romagna,Fuiuli-Venezia Giulia, Lazio,Liguria, Lombardia, Marche,Molise, Piemonte, Puglia,Sardegna (Sardinia), Sicilia (Sicily)Toscana, Trentino-Alto Adige, Umbria, Valle d’Aosta, Veneto,โดยมี 5 แคว้นคือ Fuiuli-Venezia Giulia,Sardinia, Sicily, Trentino-Alto Adige, และ Valle d’Aosta ได้รับสถานะพิเศษตามรัฐธรรมนูญให้ปกครองตนเอง

ในแต่ละแคว้นจะมีองค์กรการปกครองหลักอยู่ 3 องค์กร คือ
- คณะมนตรีแคว้น (Regional Council) ทำหน้าที่ตรากฎหมายและระเบียบข้อบังคับในเขตอำนาจ
- คณะมนตรีกรรมการ (The Junta) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
- ประธานคณะกรรมการ (The President of the Junta) ทำหน้าที่คล้ายนายกรัฐมนตรีในเขตอำนาจ แต่ทั้งนี้ ก็จะมีผู้แทนของรัฐบาลคนหนึ่งอยู่ประจำ ณ นครหลวงของแคว้นนั้นๆ คอยควบคุมดูแลการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นและทำหน้าที่ประสานงานระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง

บทบาทของอิตาลีในเวทีระหว่างประเทศ
บทบาทของอิตาลีทางด้านการเมืองระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ นับตั้งแต่อิตาลีเป็นประธานสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. 1996 โดยมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาตะวันออกกลาง การส่งกองกำลังเข้าไปรักษาสถานการณ์ในยูโกสลาเวียและแอลเบเนีย การคัดค้านการเสนอขอให้เยอรมนีและญี่ปุ่นเข้าเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ การผลักดันให้อิตาลีเข้าสู่สหภาพเศรษฐกิจการเงิน (Economic and Monetary Union - EMU) กลุ่มแรกในปี ค.ศ.1999 นอกจากนี้ อิตาลีได้สนใจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้น โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายให้มากขึ้น
ในเรื่องการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ อิตาลีไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มจำนวนสมาชิกถาวรอีก 2 ประเทศ (ญี่ปุ่นและเยอรมนี) เพราะจะทำให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีอภิสิทธิ์ยิ่งขึ้นไปอีก และเห็นว่าคณะมนตรีความมั่นคงฯ ควรปฏิรูปโดยการเพิ่มจำนวนสมาชิกไม่ถาวรฯ และให้ประเทศเล็กได้เข้าเป็นสมาชิก โดยให้เพิ่มจำนวน 8-10 ที่นั่ง และใช้ระบบหมุนเวียนตามสัดส่วนของภูมิภาค (ถ้าเพิ่ม 10 ที่นั่ง 5 ที่นั่งควรเป็นของทวีปแอฟริกาและเอเชีย 2 ที่นั่งเป็นของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา 2 ที่นั่งเป็นของยุโรปตะวันตกและ 1 ที่นั่งเป็นของยุโรปตะวันออก) โดยมีวาระดำรงตำแหน่งครั้งละ 2 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้ สมัชชาฯ จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกสมาชิกไม่ถาวร โดยผู้รับเลือกจะต้องได้รับคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของสมาชิกสมัชชาฯ และห้ามเลือกตั้งซ้ำและลงสมัครติดต่อกัน
- อิตาลีมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูบูรณะ Kosovo และคาบสมุทรบอลข่าน โดยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาว Kosovo ในรูปของโครงการพัฒนาต่างๆ รวมทั้งสร้างที่พักและสถานพยาบาล ให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้ลี้ภัย หรือ Operation Rainbow ซึ่งได้รับเงินบริจาคจากชาวอิตาเลียน นอกจากนี้ยังบริจาคให้การปฏิบัติงานของ UNHCR ให้ความช่วยเหลือสำหรับการฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ผ่านองค์กรกองทุนระหว่างประเทศสำหรับการพัฒนาการเกษตร (IFAD) และ UNOPS และให้กับโครงการอาหารโลก (WFP) สำหรับผู้ได้รับผลกระทบวิกฤตการณ์ในคาบสมุทรบอลข่าน นอกจากนั้น รัฐบาลอิตาลียังหาทางให้นักธุรกิจอิตาลีมีช่องทางเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงานและกระบวนการประมูลในโครงการฟื้นฟูบูรณะคาบสมุทรบอลข่านตั้งแต่ต้น รวมทั้งกระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้าไปมีบทบาทในการสร้างตลาดการค้าที่ทันสมัยในคาบสมุทรบอลข่าน และรัฐบาลยังเพิ่มบทบาทในการสร้างเครือข่ายในภูมิภาคเพื่อการร่วมมือกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการเร่งกระชับความสัมพันธ์
ทวิภาคีกับประเทศในภูมิภาคยุโรปใต้

รายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน
นายกรัฐมนตรี Mr. Romano Prodi (นายโรมาโน โพรดี)รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และรมว.กต. Mr. Massimo D'Alema (นายมาสซิโม่ ดาลีม่า) รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 และรมว.วัฒนธรรม Mr. Francesco Rutelli (นายฟรานเชสโก้ รูเตลลี่)
Undersecretaries to the Prime Minister's Office (ระดับปลัด): Mr. Enrico Letta, Mr. Enrico Micheli, Mr. Fabio Gobbo, Mr. Ricardo Franco Levi.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Mr. Massimo D'Alema
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย Mr. Giullano Amato
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม Mr. Arturo Parisi
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Mr. Tommaso Padoa-Schioppa
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม Mr. Clemente Mastella

ปัจจุบัน นาย Pier Ferdinando Casini อดีตประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอิตาลีกำลังดำรงตำแหน่ง President of International Parliamentary Union (IPU)

เศรษฐกิจการค้า
หน่วยเงินตรา ยูโร (Euro) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโร เท่ากับ 47บาท (เมษายน 2550)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 1,727 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 30,200 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2 (ปี 2549)

การค้า
ในปี 2549 อิตาลีเป็นคู่ค้าของไทยอันดับที่ 4 ในสหภาพยุโรป และอันดับที่ 21 ในโลก โดยมีมูลค่าการค้ารวม 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.2 ของการค้ารวมของไทย เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 0.24 โดยไทยส่งออก 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทยได้ดุลอิตาลีอยู่ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยไทยส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา เครื่องปรับอากาศ และนำเข้าผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรกล และเครื่องจักรไฟฟ้าจากประเทศอิตาลี

การลงทุน
ในปี 2549 การลงทุนของอิตาลีในไทย มีมูลค่ารวม 481.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19จากปี 2548 โดยเป็นด้านแร่ธาตุและเซรามิค 1 โครงการ อุตสาหกรรมเบาและเส้นใย ๒ โครงการ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร 3 โครงการ ด้านเคมีภัณฑ์และกระดาษ 1โครงการและด้านบริการ 2 โครงการ

การท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวอิตาลีมาไทยประมาณ 130,000 คนต่อปี โดยจำนวนขึ้นลงตามสภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีและยุโรป ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยไปอิตาลีปีละประมาณ ๑๒,๓๕๐ คน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี

โครงสร้างทางเศรษฐกิจทั่วไป
อิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก แม้จะมีก๊าซธรรมชาติอยู่บ้าง จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหาร (net food importer) และพลังงาน ปัจจุบันอิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรมเป็นสำคัญมาเป็นแบบมีอุตสาหกรรมเป็นพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศส อิตาลีเป็นโมเดลของไทยในด้านอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยมีอุตสาหกรรมที่สำคัญ อาทิ รถยนต์ เครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้าและแฟชั่น และการท่องเที่ยว อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่ม G8 และเข้าร่วมสหภาพการเงินของสหภาพยุโรป (EMU) มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ ด้านสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งได้ก่อประโยชน์ให้แก่ภาครัฐบาลในการสร้างฐานอำนาจและแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะลด บทบาทของพรรคการเมืองโดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ อย่างไรก็ตาม อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ (Lombardy, Emilia, Tuscany) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการค้า และมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อยู่หนาแน่น กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้งเกาะ Sicily และ Sardinia ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม บริเวณที่พัฒนาน้อยกว่านี้มีพื้นที่รวมกันเป็นร้อยละ 40 ของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ถึงร้อยละ 35 และมีอัตราการว่างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 20

ธุรกิจการค้าปลีก/ค้าส่งในอิตาลี
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่ง บทบัญญัติที่สำคัญๆ เกี่ยวกับ SMEs ในกฎหมายที่ 114 ว่าด้วยการปฏิรูปวินัยในภาคธุรกิจการค้า (Reform of the Disciplines on Commercial Sector) มีดังนี้
1. มาตรา (6) ข้อ (2) บัญญัติว่า รัฐบาลแคว้น (regional authority) จะพิจารณากำหนดเขตพื้นที่การพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวกับภาคธุรกิจการค้าต่างๆ อย่างสมดุล
2. มาตรา (6) บัญญัติว่า หน่วยงานของรัฐบาลแคว้นเป้นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งสถานประกอบการขนาดใหญ่ รัฐบาลแคว้นจะจัดทำมาตรฐานผังเมือง (urban planning) เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุญาตให้จัดตั้งสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่
3. มาตรา (7) บัญญัติว่า ในการขอจัดตั้งกิจการของผู้ประกอบการรายย่อย เพียงส่งแบบฟอร์มแจ้งต่อเทศบาล (city council) เท่านั้น มาตรา (8) และ (9) บัญญัติว่า การเปิดกิจการของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลและแคว้น
4. มาตรา (8) เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการเปิดสถานประกอบการขนาดกลาง ซึ่งระบุว่า เทศบาลและรัฐบาลแคว้นจะรับฟังข้อคิดเห็นจากสมาคมการค้า และองค์กรพิทักษ์ผู้บริโภคในการอนุญาตให้จัดตั้งสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่งในอิตาลี
- กฎหมายที่ 114 ให้ประโยชน์แก่ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก (พื้นที่ 150-200 ตารางเมตร) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการดำเนินธุรกิจของครอบครัว อาทิ การเปิดกิจการร้านค้าปลีกใหม่ทำได้โดยง่ายโดยไม่ต้องขออนุญาต (แต่เดิมต้องขอใบอนุญาตจากเทศบาล) เพียงแต่จัดส่งแบบฟอร์มแจ้งเทศบาล
- ร้านค้าปลีกขนาดกลาง (พื้นที่ 250-2,500 ตารางเมตร) เช่น supermarket, convenient store, outlet เป็นต้น และร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ (พื้นที่ 2,500 ตารางเมตรขึ้นไป) จะต้องได้รับการอนุญาตจัดตั้งโดยคำนึงถึงการแบ่งเขตพื้นที่ (zoning) และการตรวจสอบความจำเป็นทางเศรษฐกิจ (economic needs test) ต่างๆ เช่น จำนวนประชากร การกระจายการจัดตั้งร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ ผลกระทบต่อสภาพจราจร การจ้างงาน และการสร้างงานใหม่ เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลแคว้นจะพิจารณาร่วมกับเทศบาลเมือง และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการอนุญาตให้จัดตั้งร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดการชะลอความเติบโตในภาคการค้าปลีก/ค้าส่งขนาดใหญ่ของอิตาลีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
- ปัจจุบัน รัฐบาลอิตาลีมีนโยบายสนับสนุนให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กปิดกิจการหรือรวมตัวกัน เช่น ให้เงินชดเชยแก่เจ้าของร้านที่เลิกกิจการก่อนเกษียณอายุ สนับสนุนให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันปิดกิจการและและรวมตัวเพื่อเปิดกิจการร้านค้าปลีกขนาดกลางในเขตอื่น สนับสนุนร้านค้าปลีกรายย่อยให้จำหน่ายสินค้าเฉพาะประเภทเพื่อลดการแข่งขันระหว่างการค้าปลีกอื่นๆ ในย่านเดียวกัน เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาล(โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า) ได้ตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ไว้ประมาณ 1 แสนล้านลีร์

ข้อกำหนดสำหรับกิจการของต่างชาติ
- ธุรกิจการค้าปลีก/ค้าส่ง ของอิตาลีมีการแข่งขันกันอย่างเสรี ในสภาพตลาดที่พัฒนาแล้วและไม่มีข้อกีดกันต่อผู้ประกอบการต่างชาติในกิจการค้าปลีก/ค้าส่ง ที่แตกต่างจากมาตรการที่กำหนดไว้สำหรับผู้ประกอบการอิตาลี
- ปัจจุบัน มีร้านค้าปลีก/ค้าส่ง ขนาดใหญ่ของต่างชาติเปิดกิจการในอิตาลี อาทิ Carrefour (ฝรั่งเศส) Auchan (ฝรั่งเศส) Metro (เยอรมัน) Lidl (เยอรมัน) Rewe (เยอรมัน) Tenglemann (เยอรมัน) IKE (สวีเดน)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอิตาลี
ความสัมพันธ์ทางด้านการทูต
ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิตาลีมาเป็นเวลา 139 ปี ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2411 (ค.ศ. 1868) โดยไทยและอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญาฉบับแรกคือ สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1868 ต่อมาอิตาลีได้แต่งตั้งกงสุลอิตาลีประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1886 (พ.ศ. 2429)

ไทยและอิตาลีจะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 140 ปีในปี 2008
ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-อิตาลีโดยทั่วไปดำเนินไปอย่างราบรื่น ทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาขัดแย้งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้น ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ

ความสัมพันธ์ทางการค้า
อิตาลีเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 22 ของไทย และเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 5 ในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยมีมูลค่าการค้ารวม 2.388 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 ซึ่งไทยส่งออกเป็นจำนวน 1.255 พันล้าน และนำเข้า 1.133 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)

สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา ปลาหมึกสดแช่เย็น/แช่แข็ง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ อัญมณีและเครื่องประดับ ผ้าผืน เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น

สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การทดสอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เป็นต้น

สินค้าส่งออกที่มีศักยภาพ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า ข้าว อาหารทะเลกระป๋อง ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ และยางพารา เป็นต้น

สินค้านำเข้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันดิบ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องมือเครื่องมือใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เครื่องบินและอุปกรณ์การบิน เป็นต้น

ความสัมพันธ์ด้านการลงทุน การลงทุนจากอิตาลีในไทยที่ผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวนค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหมวดผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง (อาทิ กิจการผลิตเครื่องจักร หรืออุปกรณ์สำหรับงานอุตสาหกรรมต่อเรือ การผลิตชิ้นส่วน ยานพาหนะ และการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ) การลงทุนในหมวดเคมีภัณฑ์กระดาษและพลาสติก และการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมเบา (อาทิ การผลิตเครื่องประดับ การผลิตรองเท้า การผลิตเครื่องกีฬา การผลิตของเด็กเล่น เป็นต้น)

กลไกของความร่วมมือ ไทยและอิตาลีได้ลงนามความตกลงพื้นฐานว่าด้วยความร่วมมือไทย-อิตาลี (the Basic Agreement on Cooperation between the Kingdom of Thailand and the Republic of Italy) ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ในระดับของรัฐมนตรีช่วยว่าการฯ โดยไทยและอิตาลีจะสลับกันเป็นเจ้าภาพการประชุมทุก 2 ปี ซึ่งได้มีการประชุม JC มาแล้ว 4 ครั้ง (ค.ศ. 1984, ค.ศ. 1986, ค.ศ.1989, ค.ศ.1998) โดยการประชุม JC ครั้งที่ 5 กำหนดมีขึ้นที่กรุงเทพฯ ในภาคเอกชนมีกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ความตกลงว่าด้วย การจัดตั้งคณะมนตรีธุรกิจไทย-อิตาลีระหว่างสภาอุตสาหกรรมไทยกับ CONFINDUSTRIA ของอิตาลีลงนามเมื่อ 14 มีนาคม ค.ศ.1994 และข้อตกลงความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเทคโนโลยีระหว่างสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยกับสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอ (Federtessile) ของอิตาลี ลงนามเมื่อ 27 มีนาคม ค.ศ.1999

ไทยและอิตาลีมีความร่วมมือภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจด้านการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม 1st Working Group on Thai-Italian SMEs Cooperation ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 10-11 พ.ย. 48

การท่องเที่ยว
เนื่องจากในปัจจุบัน สายการบินไทยได้เปิดเส้นทางการบินใหม่ กรุงเทพฯ-มิลาน สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน จากเดิมซึ่งทำการบินจากโรมเข้าสู่กรุงเทพฯ ทั้งสิ้น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์
ไทยมีศักยภาพที่จะรองรับนักท่องเที่ยวอิตาลีทั้งในกลุ่มตลาดแบบเดิมและกลุ่ม niche market อาทิ กลุ่ม MICE (Meetings, Incentives, Conferences, Exhibitions) เช่นชมรมดำน้ำ โครงการตรวจสุขภาพ (physical check-up) และท่องเที่ยวในไทย ซึ่งเป็นแผนดำเนินกิจกรรมด้านการตลาดของไทยในปัจจุบัน

ความตกลง
ความตกลงที่เสร็จสิ้นแล้ว
- ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (มีผล 15 ธันวาคม ค.ศ. 1955)
- สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิตาลี (ลงนามเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984)
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุงทหารไทย-อิตาลี ฝ่ายอิตาลีเสนอมาเมื่อปี ค.ศ. 1990 และรื้อฟื้นในปี ค.ศ. 1994
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการเงิน ลงนามเมื่อ 22 เมษายน ค.ศ.1988
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการลงทุนไทย-อิตาลี ลงนามเมื่อมีนาคม ค.ศ. 1992 ระหว่าง BOI กับ Italian Trade Commission กระทรวงการค้าอิตาลี
- ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะมนตรีธุรกิจไทย-อิตาลี ลงนามเมื่อ 14 มีนาคม ค.ศ. 1994 ระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอิตาลี (CONFINDUSTRIA)
- ข้อตกลงความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเทคโนโลยี ระหว่างสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย กับสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอของอิตาลีเมื่อ 27 มีนาคม ค.ศ. 1999
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ลงนามเมื่อ 22 กันยายน ค.ศ. 2004
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ลงนามเมื่อ 22 กันยายน ค.ศ. 2004

ความร่วมมือด้านวิชาการ
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-อิตาลี ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985-1994 มีหน่วยงานต่างๆได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอิตาลีจำนวน 11 โครงการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน และมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร คมนาคม สาธารณูปโภค อาชีวศึกษา และการแพทย์

ความร่วมมือในรูปของทุนฝึกอบรม/ดูงาน
รัฐบาลอิตาลีได้จัดสรรทุนด้านพลังงาน การเกษตร เศรษฐศาสตร์ อาชีวศึกษา การโรงแรมและท่องเที่ยว ให้แก่ไทยค่อนข้างสม่ำเสมอจนถึงปี ค.ศ. 1993 และหยุดไประยะหนึ่งในช่วง ปี ค.ศ. 1994-1997 และเริ่มให้ทุนการศึกษาใหม่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 เป็นต้นมา
- สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย มีทุนการศึกษาให้นักศึกษาไทยประมาณปีละ 5 ทุน ในระดับปริญญาตรีและ post graduate โดยให้ในสาขาวิชาต่างๆ ตามแต่จะได้รับมาจากสถาบันอุดมศึกษาของอิตาลี

ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม
ไทยและอิตาลีมีความร่วมมือด้านวัฒนธรรมมานาน โดยในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ไทยได้ว่าจ้างสถาปนิก จิตรกร และศิลปินชาวอิตาเลียนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบอาคาร สถานที่สำคัญๆ ของไทย อาทิ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทำเนียบรัฐบาล บ้านพิษณุโลก กระทรวงกลาโหม สถานีรถไฟหัวลำโพง วังบางขุนพรหม พระที่นั่งอภิเษกดุสิต พระที่นั่งสวนอัมพร ห้องสมุดเนลสัน เฮยส์ สำหรับชาวอิตาเลียนที่มีบทบาทในวงการศิลปะของไทยมากที่สุดคือ อาจารย์ศิลป์ พีระศรี (นาย Corrado Feroci) ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม และความร่วมมือในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม ระหว่างสอท. อิตาลีประจำประเทศไทยและบริษัทต่างๆ ของอิตาลีในไทย ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของไทยทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมหาวิทยาลัยของไทย

สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย ได้มีส่วนร่วมในโครงการบูรณะ วังพญาไท (Phya Thai Palace Restoration Project) ของมูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า (Phra Mongkut Klao Hospital Foundation) โดยได้นำคณะผู้เชี่ยวชาญเชิงอนุรักษ์จากอิตาลีมาชมโครงการ และเสนอให้ความร่วมมือสนับสนุนการบูรณะ และต่อมา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม ได้ประสานเรื่องนี้ กับทางรัฐบาลอิตาลี ซึ่งได้ขอให้ทางโครงการฯ ประสานรายละเอียดกับฝ่ายอิตาลีโดยตรงต่อไป อนึ่ง จากการหารือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยกับนาย Valentino Martelli รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี ในระหว่างการประชุม UNGA สมัยที่ 54 เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1999 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้มีการส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมให้กระชับยิ่งขึ้น ปัจจุบันอิตาลีได้รับรองสถานะพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการ โดยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2000 นายกรัฐมนตรีอิตาลีได้ลงนามความตกลงกับประธานสหภาพสมาคมพุทธในอิตาลี เพื่อให้พุทธศาสนามีสถานะเป็นทางการในอิตาลี ทำให้ผู้เสียภาษีสามารถแสดงความจำนงให้แบ่งภาษีในอัตราร้อยละ 0.8 ของภาษีรายได้ส่วนบุคคลที่ต้อง ชำระให้แก่รัฐบาล เพื่อบริจาคให้องค์กรทางพุทธศาสนาได้ ปัจจุบันมี พุทธศาสนิกชนในอิตาลีประมาณ 40,000 คน

ความตกลงที่ได้มีการลงนามแล้ว
- ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (ลงนามเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๙๘)
- ความตกลงพื้นฐานว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖)
- สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗)
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการเงิน ลงนามเมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๑
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการลงทุนไทย-อิตาลี ระหว่างคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กับ Italian Trade Commission กระทรวงการค้าอิตาลี (ลงนามเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๓๕)
- ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะมนตรีธุรกิจ ระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอิตาลี (CONFINDUSTRIA) (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๓๗)
- ข้อตกลงความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเทคโนโลยี ระหว่างสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยกับสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอของอิตาลี (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๒)
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๗)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๗)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกับสถาบันเพื่อการค้าต่างประเทศของอิตาลี (อิเช่ - ICE) (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘)
- บันทึกความเข้าใจเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจของอิตาลีในต่างประเทศระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกับสถาบันการเงินของอิตาลี (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในเรื่องการส่งเสริมและการตลาดอาหารไทยและอิตาลีในระดับระหว่างประเทศระหว่างสถาบันอาหารของไทยกับสถาบันเพื่อการค้าต่างประเทศของอิตาลี (ICE) (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘)
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมสินค้า OTOP และ SMEs ระหว่างหอการค้าไทย - อิตาลีกับบริษัทส่งเสริมการค้าเอสเอ็มอีจำกัด (STP) (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘)

ความตกลงที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาจัดทำ
- ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน
- ความตกลงเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีที่เก็บจากเงินได้
- ความตกลงว่าด้วยความความร่วมมือทางการศาลในคดีแพ่งและพาณิชย์
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการเมืองระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและอิตาลี
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกิจการอวกาศ
- การจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อแก้ไขปัญหาค่าธรรมเนียมการทอดสมอ ภาษีศุลกากร และอากรท่าเรือ

การเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย

ระดับพระราชวงศ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ปี ๒๔๔๐ และ ๒๔๕๐ เสด็จฯ เยือนอิตาลี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
- วันที่ ๒๘ กันยายน – ๑ ตุลาคม ๒๕๐๓ เสด็จฯ เยือนอิตาลีอย่างเป็นทางการในฐานะ พระราชอาคันตุกะของประธานาธิบดี Giovanni Gronchi และ นายกรัฐมนตรี Amintore Fanfani
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
- วันที่ ๒๗ - ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๕ เสด็จฯ เยือนอิตาลี เป็นการส่วนพระองค์
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- วันที่ ๘ – ๑๔ กันยายน ๒๕๒๘ เสด็จฯ เยือนอิตาลีอย่างเป็นทางการตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลอิตาลี
- วันที่ ๑๐ - ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๐ และวันที่ ๔ - ๖ สิงหาคม ๒๕๔๒ เสด็จฯ เยือนอิตาลีเป็นการส่วนพระองค์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- วันที่ ๓ – ๑๖ เมษายน ๒๕๓๑ เสด็จฯ เยือนอิตาลี เพื่อทรงเป็นกรรมการตัดสินหนังสือเด็กที่เมืองโบโลญญา และเป็นพระราชอาคันตุกะของรัฐบาลอิตาลี
- วันที่ ๑๘ - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ เสด็จฯ เยือนอิตาลี
- วันที่ ๘ - ๑๑ เมษายน ๒๕๔๕ เสด็จฯ เยือนจังหวัดคาตาเนีย แคว้นซิซิลี ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของประธานจังหวัดคาตาเนีย
- วันที่ ๑๑ - ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ เสด็จฯ เยือนอิตาลี เพื่อกล่าวเปิดการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการอาหารโลก ครั้งที่ ๓ และรับการถวายตำแหน่ง Special Ambassador of the United Nations World Food Programme for School Feeding
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ – ๑ มีนาคม ๒๕๓๙ เสด็จเยือนอิตาลี
- วันที่ ๒๕ - ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๓๙ เสด็จเยือนอิตาลีเป็นการส่วนพระองค์
- วันที่ ๖ - ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๐ เสด็จเยือนอิตาลีเป็นการส่วนพระองค์
- วันที่ ๒๕ กันยายน - ๕ ตุลาคม ๒๕๔๖ เสด็จเยือนอิตาลี
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
- วันที่ ๒๕ เมษายน – ๗ พฤษภาคม ๒๕๓๙ เสด็จเยือนอิตาลีเป็นการส่วนพระองค์
หม่อมเจ้าหญิงสิริวัณวรี มหิดล
- วันที่ ๑๒ - ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๔ เสด็จเยือนอิตาลีเป็นการส่วนพระองค์
- วันที่ ๒๔ – ๒๙ กันยายน ๒๕๔๗ เสด็จเยือนมิลาน เพื่อร่วมงานวิถีแห่งเอเชีย

รัฐบาล
- วันที่ ๒๐ - ๒๑ มกราคม ๒๕๒๙ ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนอิตาลีเพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อิตาลี ครั้งที่ ๒
- วันที่ ๑๙ - ๒๑ กันยายน ๒๕๓๗ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนอิตาลีอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๔ - ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนอิตาลี เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-อิตาลี ครั้งที่ ๔
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เยือนอิตาลี เพื่อหาเสียงสำหรับการลงสมัครตำแหน่งผู้อำนวยการ WTO
- วันที่ ๑๔ - ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เยือนอิตาลี
- วันที่ ๔ - ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑ นายวัฒนา อัศวเหม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เยือนอิตาลี เพื่อดูงานฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
- วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ – ๑ มีนาคม ๒๕๔๒ นายสุทัศน์ เงินหมื่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เยือนอิตาลี
- วันที่ ๑๒ - ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เยือนอิตาลี
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๒ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เยือนอิตาลี
- วันที่ ๑๐ - ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยือนอิตาลี
- วันที่ ๒๔ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๓ นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เยือนอิตาลี
- วันที่ ๖ – ๙ เมษายน ๒๕๔๓ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เยือนอิตาลี
- วันที่ ๒๑ - ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๖ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เยือนอิตาลี
- วันที่ ๒๐ - ๒๒ กันยายน ๒๕๔๗ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี เยือนอิตาลี
- วันที่ ๒๑ - ๒๓ กันยายน ๒๕๔๗ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนอิตาลีอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๒๗ - ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๘ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เยือนอิตาลี

ฝ่ายอิตาลี
- วันที่ ๗ - ๘ พฤษภาคม ๒๕๒๙ นาย Giulio Andreotti รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ ๑๙ - ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐ นาย Bruno Corti รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ ๑๒ - ๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๐ นาย Giulio Andreotti รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมสหภาพรัฐสภา
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ นาย Gianni De Michelis รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- เดือนสิงหาคม ๒๕๓๘ นาย Emmanuele Scammacca De Murgo รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๑ - ๓ มีนาคม ๒๕๓๙ นาย Lamberto Dini นายกรัฐมนตรีอิตาลี เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ ๑
- วันที่ ๒๓ - ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๑ นาง Patrizia Toia รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ ๑๑ - ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๑ นาย Oscar Luigi Scalfaro ประธานาธิบดีอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ ๑ - ๒ เมษายน ๒๕๔๒ นาย Marco Pezzoni ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ รัฐสภาอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๕ - ๒ มกราคม ๒๕๔๖ นาย Pier Ferdinando Casini ประธานสภาผู้แทนราษฎรอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ ๑๖ – ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ นาง Margherita Boniver รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ - ๔ มีนาคม ๒๕๔๖ นาย Silvatore Cicu รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ ๑๔ - ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ นาง Margherita Boniver รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ ๑๘ - ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗ นาง Margherita Boniver รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม - ๑ กันยายน ๒๕๔๗ นาย Roberto Antonione รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ ๒ - ๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ นาย Paolo Scarpa รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ ๘ - ๑๐ มกราคม ๒๕๔๘ นาง Margherita Boniver รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ ๒๑ - ๒๒ มกราคม ๒๕๔๘ นาย Gianfranco Fini รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี เยือนไทย
- วันที่ ๙ - ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ นาย Adolfo Urso รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการผลผลิตอิตาลี เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุม Thai-Italian Working Group for SMEs Cooperation ครั้งที่ ๑
- วันที่ ๒๑ – ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๐ นาย Goffredo Bettini วุฒิสมาชิกรัฐสภาอิตาลี เยือนไทย ตามคำเชิญของกระทรวงการต่างประเทศ

หน่วยราชการของไทยในอิตาลี
1. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม(สอท.โรม)
Royal Thai Embassy Tel (3906) 8622-051
Via Nomentana 132, Fax (3906) 8622-0555
00162 ROME Email สถานทูตไทยที่โรม

2. สำนักงานผู้ช่วยทูตทหาร
Office of Defence Attache Via Aldo della Rocca 49, int 10
Tel (3906) 5086809 Trepini, Fax (3906) 508689
00128 ROME
3. สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.)
3.1 สคต.ณ กรุงโรม

Office of Trade Promotion Viale Erninio Spella, 41Tel (3906) 5030804, 503080500142 ROME Fax (3906) 5035225
E-mail : thcomrm@mbox.vol.it
3.2 สคต. มิลาน
Office of Trade Promotion

Via A. Allbricci, 8 Tel (392) 89011467
20122 MILAN Fax (392) 89011478
E-mail : thailand@comm2000.it

4. สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
Tourism Authority of Thailand

Via Barberini, 68 4th floor Tel (3906) 487479, 4818927
00187 ROME Fax (3906) 4873500
E-mail : tat.rome@iol.it

5. สำนักงานการเกษตร
Office of Agricultural Affairs

Via Zara 9, Tel (3906) 4402234
00198 ROME Fax (3906) 4402029
E-mail : thagri.rome@flashnet.it


ไทยมีสถานกงสุล 5 แห่งในอิตาลี คือ ในตูริน เจนัว มิลาน นาโปลี และคาตาเนีย
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม ดูแลประเทศไซปรัส และดูแลสถานกงสุลที่กรุงนิโคเซีย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไซปรัสด้วย

กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ที่ตูริน ชื่อนาย Benazzo Achille
Via Genovesi 2 Torino
Tel. 011 5097214
Fax. 011 5806180
Email: achille@benazzo.net

กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ที่เมืองเจนัว ชื่อนาย Franco Novi
Via D. Fiasella 4/14 - 16121 Genova
Tel. 010 5492500
Email: thailandia@burkenovi.com

กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ที่เมืองมิลาน ชื่อนาย Alberto Virgilio
Viale Berengario 15 - 20149 Milan
Tel. 02 460299
Fax. 02 4812617
Email: royalthaicongenmilan@libero.it

กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ที่เมืองเนเปิลส์ ชื่อนาย Igor Suprina Petrovic
Viale Virgilio N.5 - Napoli
Tel. 081 - 7690959
Fax. 081 - 5536107

กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ที่เมืองคาตาเนีย ชื่อนาย Nania Giovanni
Via Ethea, 196 - Catania
Tel. 338 - 1299863
Fax. 095 - 7153273
thaiconsicily@interfree.it

และในอนาคตจะมีการแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำเวนิสด้วย (ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการแต่งตั้งกงสุลฯ)
11 ธ.ค. 50

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 2 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5133-4 Fax. 0 2643 5132 E-mail : european03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์