|
|
จาเมกา Jamaica
|
|
ที่ตั้ง เป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลแคริบเบียน ตั้งอยู่ห่างจากคิวบาทางทิศเหนือประมาณ 90 ไมล์ และเฮติทางทิศตะวันออกประมาณ 100 ไมล์
พื้นที่ 10,991 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ 4 ใน 5 ของประเทศเป็นภูเขา
ภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นภูเขา บางแห่งเป็นที่ราบชายฝั่งแคบๆ ที่ไม่ต่อเนื่องกัน
ภูมิอากาศ แบบร้อนชื้น (tropical) โดยเฉพาะบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล อุณหภูมิจะเย็นขึ้นในบริเวณที่เป็นภูเขา อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส และปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,980 มิลลิเมตร
ทรัพยากรธรรมชาติ บอกไซต์ ยิบซัมและหินปูน
เมืองหลวง กรุงคิงสตัน (Kingston)
ประชากร (2005) 2.78 ล้านคน
ภาษา ภาษาอังกฤษ (ภาษาราชการ) และภาษา Patois
ศาสนา ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ (61.3%) นิกายโรมันคาทอลิค (4%) อื่นๆ และลัทธิเชื่อในจิตวิญญาณ (34.7%)
เชื้อชาติ เชื้อสายแอฟริกัน (90.4%) เชื้อสายผสม (7.3%) อินเดียตะวันออก (1.3%) จีน (0.2%) ผิวขาว (0.2%) และอื่นๆ (0.1%)
อัตราการรู้หนังสือ (2003) ร้อยละ 87.9
หน่วยเงินตรา จาเมกันดอลลาร์ (Jamaican dollar J$)
อัตราแลกเปลี่ยน (2004) 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเท่ากับ 61 จาเมกันดอลลาร์
วันประกาศเอกราช 6 สิงหาคม ค.ศ. 1962 จากสหราชอาณาจักร
วันชาติ (Independence Day) 6 สิงหาคม
วันสถาปนารัฐธรรมนูญ 6 สิงหาคม 1962
สมาชิกองค์การระหว่างประเทศ Organization of American States (OAS), Caribbean Community and Common Market (CARICOM), Organization of Eastern Caribbean States (OECS), Latin American Economic System (SELA) และ Free Trade Area of the Americas (FTAA)
เวลาแตกต่างจากไทย ช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง (-5 GMT)
ในอดีตจาเมกาเป็นที่อยู่ของชาวพื้นเมืองเผ่า Arawaks ซึ่งอพยพมาจากดินแดนตอนในของทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาโคลัมบัสและคณะได้เดินทางมาถึงใน ค.ศ. 1494 และยึดครองเป็นอาณานิคมของสเปน ประมาณ ค.ศ. 1510 เริ่มมีการนำทาสผิวดำจากทวีปแอฟริกาเข้ามาเป็นแรงงานแทนชาวพื้นเมืองเดิมซึ่งลดจำนวนลง ในปี ค.ศ. 1655 กองทัพอังกฤษได้บุกเข้ายึดเกาะจาเมกา และปรับปรุงเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลและแหล่งค้าทาสที่สำคัญในทวีปอเมริกา ในทศวรรษที่ 1930 รัฐสภาอังกฤษเริ่มให้สิทธิปกครองตนเองบางส่วนแก่รัฐบาลพื้นเมือง และในปี ค.ศ. 1958 จาเมกาก็ได้เข้าเป้นสมาชิก West Indian Federation ซึ่งประเทศอาณานิคมอังกฤษในแคริบเบียนได้ถอนตัวในปี ค.ศ. 1961 และได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1962
รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy)
ประมุขของประเทศ สมเด็จพระราชินี Elizabeth II ทรงใช้พระราชอำนาจโดยผ่านทางผู้สำเร็จราชการ (Governor-General)
ผู้สำเร็จราชการ Kenneth O. Hall (ตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ 2549)
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี นาย Partin Simpson-Miller (ตั้งแต่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2549)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย G Anthony Hylton
ฝ่ายบริหาร ผู้สำเร็จราชการ ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชินีตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี ได้รับการเลือกตั้งจากเสียงส่วนใหญ่ของสภาผู้แทนราษฎร ในทางปฏิบัติ จะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีที่นั่งมากที่สุด โดยได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการ มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี และติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย
คณะรัฐมนตรี ได้รับการเสนอชื่อโดยนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแล้วจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 11 คน
เขตการปกครอง แบ่งออกเป็น14 เขต ได้แก่ Kingston, St. Andrew, St. Thomas, Portland, St. Mary, St. Ann, Trelawny, St. James, Hanover, Westmoreland, St. Elizabeth, Manchester, Clarendon และ St. Catherine
ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสภาคู่ ประกอบด้วย
1) วุฒิสภา มีสมาชิกจำนวน 21 คน โดย 13 คนมาจากการเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรี และอีก 8 คนมาจากการเสนอชื่อของผู้นำฝ่ายค้าน มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี
2) สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 60 คนมาจากการเลือกตั้ง ของประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด 16 ตุลาคม 2545 โดยครั้งต่อไปจะมีขึ้นในเดือนตุลาคม 2550
ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ทั้งนี้ เรื่องที่มีความสำคัญจะถูกส่งต่อไปให้คณะกรรมการกฎหมายของคณะองคมนตรี (privy council) ที่กรุงลอนดอนเป็นผู้พิจารณา
พรรคการเมืองสำคัญ
1) พรรค Peoples National Party (PNP) เป็นพรรครัฐบาล และครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงทศวรรษที่ 1970 พรรค PNP มีแนวนโยบายสังคมนิยม และให้การสนับสนุนรัฐบาลคิวบา แต่ในปัจจุบันนโยบายพรรคหันกลับมาสู่แนวอนุรักษ์นิยม และเน้นความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ พรรค PNP มีฐานเสียงสนับสนุนจากสหภาพแรงงาน National Workers Union (NWU)
2) พรรค Jamaican Labour Party (JLP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีแนวนโยบายเสรีนิยมเน้นความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และมีฐานเสียงสนับสนุนจากสหภาพแรงงานBustamante Industrial Trade Union (BITU)
3) พรรค National Democratic Movement (NDM) แยกตัวออกมาจาก JLP เมื่อ ค.ศ. 1995 และเป็นพรรคการเมืองเดียวที่ไม่มีความสัมพันธ์กับสหภาพแรงงาน
รัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเข้มงวด โดยการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (fixed rate) และอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง (ประมาณร้อยละ 29) และการเข้าแทรกแซงตลาดเงินอย่างเข้มงวด ผลจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจดังกล่าวส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตของประเทศลดลง สภาพคล่องทางการเงินลดลง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่สูงและอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ซึ่งทำให้ค่าเงินดอลลาร์จาเมกามีมูลค่าสูงเกินความเป็นจริง
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2549) ร้อยละ 2.5
อัตราเงินเฟ้อ (2549) ร้อยละ 8.6
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) (2549) 10.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โครงสร้างของ GDP (2004) ภาคบริการ ร้อยละ 6.13 ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 6.1 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 32.7
อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว แร่บอกไซต์ สิ่งทอ การแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมเบา เหล้ารัม ซีเมนต์ โลหะ กระดาษ เคมีภัณฑ์
เกษตรกรรม อ้อย กล้วย กาแฟ พืชจำพวกส้ม ผัก สัตว์ปีก แพะ นม
หนี้ต่างประเทศ (2549) 6.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อัตราการว่างงาน (2549) ร้อยละ 11.3
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก (2549) มูลค่า 2.117 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สินค้า ออกไซด์ของอลูมิเนียม น้ำตาล บอกไซต์ กล้วย เหล้ารัม
ประเทศคู่ค้า สหรัฐฯ (28.6%) EU (29.9%) แคนาดา (16.1%)
การนำเข้า (2549) มูลค่า 5.062 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สินค้า เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ขนส่ง สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน เชื้อเพลิง
ประเทศคู่ค้า (2004) สหรัฐฯ (44.4%) Caricom (12.7%) EU (10.5%) ลาตินอเมริกา (10.6%)
สถิติการค้าไทย-จาเมกา (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ) | ปี | มูลค่าการค้า | ส่งออก | นำเข้า | ดุลการค้า | 2545 | 10.9 | 10.5 | 0.4 | 10.0 | 2546 | 12.6 | 12.0 | 0.6 | 11.4 | 2547 (ม.ค.-เม.ย.) | 3.6 | 3.3 | 0.3 | 3.0 | 2548 (ม.ค.- เม.ย.) | 4.5 | 3.9 | 0.6 | 3.3 |
ในปี 2547 ชาวจาเมกาเดินทางเข้าประเทศไทย 232 คน และเดินทางออกจากประเทศไทย 267 คน
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจาเมกา |
ความสัมพันธ์ทางการทูต
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต 10 กันยายน 2527 (ค.ศ. 1984)
สถานเอกอัครราชทูตที่มีเขตอาณาครอบคลุมจาเมกา
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา
สถานเอกอัครราชทูตจาเมกาที่มีเขตอาณาครอบคลุมไทย
สถานเอกอัครราชทูตจาเมกาประจำญี่ปุ่น
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
สินค้าที่ไทยส่งออก 10 รายการแรก (2547)
1) อาหารทะเลกระป๋อง
2) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
3) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
4) ผลิตภัณฑ์พลาสติก
5) ผลิตภัณฑ์ยาง
6) เสื้อผ้าสำเร็จรูป
7) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ
8) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
9) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป
10) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
สินค้าที่ไทยนำเข้า 5 รายการแรก (2547)
1) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
2) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
3) เคมีภัณฑ์
4) ผลิตภัณฑ์พลาสติก
5) เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ น้ำอัดลม สุรา
ตารางการค้าระหว่างไทยกับจาเมกา ดูเอกสารแนบ
21 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5113-4 Fax. 0-2643-5115 E-mail : american03@mfa.go.th
|
|