ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> จอร์แดน




แผนที่
ราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดน
Hashemite Kingdom of Jordan


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทิศเหนือติดกับซีเรีย ทิศตะวันออกติดซาอุดีอาระเบีย ทิศตะวันตกติดกับอิสราเอล ทิศใต้ติดกับทะเลแดง

พื้นที่ 92,300 ตารางกิโลเมตร (ไทยมีขนาดใหญ่กว่า 5.7 เท่า)

เมืองหลวง กรุงอัมมาน (Amman)

เมืองสำคัญ เมืองซาร์กา (Zarka) เมืองอีร์บิด (Irbid) และเมืองท่าอะกาบา (Aqaba)

ภูมิอากาศ อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างแห้งแล้ง มีปริมาณฝนตกน้อย กลางวันมีแดดจัดและอากาศเย็นในเวลากลางคืน อุณหภูมิฤดูร้อนเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
และอุณภูมิฤดูหนาวเฉลี่ย 8 องศาเซลเซียส

ประชากร 5.9 ล้านคน (2549)

เชื้อชาติ อาหรับ (98%) เซอร์คัสเซียน (1%) และอาร์มาเนียน (1%)

ภาษา อาหรับเป็นภาษาราชการ แต่ชาวจอร์แดนส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้

ศาสนา อิสลามร้อยละ 98 (สุหนี่ร้อยละ 92 ชีอะห์ร้อยละ 6) และ คริสเตียนร้อยละ 1 อื่นๆร้อยละ 1

วันประกาศเอกราช 25 พฤษภาคม

วันสถานปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จอร์แดน 10 พฤศจิกายน 2509

เวลา ช้ากว่าไทย 4 ชั่วโมง

การเมืองการปกครอง
ประมุขของประเทศ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่สอง บิน อัล-ฮุสเซน (H.M.King Abdullah II Bin Al-Hussein)

นายกรัฐมนตรี H.E.Eng Nader Al Dahabi

รัฐมนตรีต่างประเทศ H.E.Dr.Salah Al Deen Al Basheer

รูปแบบการปกครอง
จอร์แดนปกครองระบอบราชาธิปไตยกึ่งรัฐสภา พระมหากษัตรย์ทรงเป็นพระประมุขนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ปัจจุบันคือ H.E.Eng Nader Al Dahabi( ธันวาคม 2550 ) คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีภายใต้การปรึกษาหารือกับพระมหากษัตริย์ รัฐสภาจอร์แดนประกอบด้วย 2 สภา คือ วุฒิสภา (Majlis Al-Ayan) จำนวน 40 คน แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ มีวาระ 4 ปี และสภาผู้แทนราษฎร (Majlis Al-Nuwaab) จำนวน 110 คน เลือกตั้งจากประชาชน โดยเป็นผู้แทนราษฎรในระบบสัดส่วน มีวาระ 4 ปี เลือกตั้งครั้งหลังสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 โดยมีผู้สมัครอิสระ 92 ที่นั่ง และ Islamic Action Front 18 ที่นั่ง

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
จอร์แดนเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรและได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2489 หลังจากนั้นในปี 2496 สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระประมุขของจอร์แดน จนถึงต้นปี 2542 และสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 บิน อัล ฮุสเซ็น เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซน พระราชบิดาซึ่งเสด็จสวรรคต โดยทรงกระทำสัตย์สาบานต่อรัฐสภาจอร์แดนเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542

จอร์แดนเป็นประเทศเล็กและไม่มีทางออกทะเล ยกเว้นที่เมืองท่าอะกาบาออกทะเอแดงจึงทำให้ต้องพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอิรักในการขนส่งสินค้าผ่านทางทะเล ในอดีตกษัตริย์ฮุสเซ็นทรงมีบทบาทอย่างสูงต่อเสถียรภาพในภูมิภาค โดยทรงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการไกล่เกลี่ยปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับ นอกจากนั้น การที่จอร์แดนได้ลงนามความตกลงสันติภาพกับอิสราเอลในปี 2537 ทำให้กษัตริย์ฮุสเซ็นทรงมีความสำคัญต่อกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพในตะวันออกกลางในสายตาของสหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้น

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
จอร์แดนเป็นประเทศอาหรับที่ดำเนินนโยบายส่งเสริมแนวทางอิสลามสายกลางและเป็นมิตรกับทุกประเทศ เนื่องจากจอร์แดนมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ติดกับอิสราเอล ปาเลสไตน์และอิรัก ปัญหาเสถียรภาพความมั่นคงทางการเมืองในประเทศดังกล่าวย่อมส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างปฏิเสธไม่ได้ ทำให้สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 ให้ความสำคัญกับการสร้างสันติภาพในตะวันออกกลางเป็นหลัก โดยดำเนินนโยบายอย่างเป็นกลาง

จอร์แดนมีบทบาทในการเจรจาสันติภาพในตะวันออกกลาง มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล โดยลงนามในความตกลงสันติภาพกับอิสราเอลเมื่อปี 2537 และจัดทำความตกลงร่วมมือกับปาเลสไตน์เมื่อปี 2538 เนื่องจากประชาชนจอร์แดนประมาณร้อยละ 50 เป็นชาวปาเลสไตน์ที่ลี้ภัยจากสงครามอิสราเอล-อาหรับในปี 2510

สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 ทรงมีความสนิทสนมใกล้ชิดเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตก จอร์แดนสนับสนุนความพยายามของกลุ่มสี่ฝ่าย Quartet (สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป รัสเซีย และสหประชาชาติ) ในการผลักดันแผนสันติภาพ (Road Map) และมีบทบาทอย่างแข็งขันทั้งทางการเมืองและการทูตต่อแผนสันติภาพในตะวันออกกลาง จอร์แดนเห็นว่า แผนสันติภาพจะต้องครอบคลุมทั้งสันติภาพของอิสราเอล –ปาเลสไตน์ อิสราเอล-ซีเรีย และอิสราเอล-เลบานอน โดยเน้นการแก้ไขปัญหาเรื่องผู้อพยพชาวปาเลสไตน์และให้มีการจัดตั้งปาเลสไตน์เป็นประเทศเอกราช การถอนทหารอิสราเอลออกจากดินแดนอาหรับที่ถูกยึดครอง การสร้างความสัมพันธ์ปกติระหว่างอาหรับกับอิสราเอล

ในด้านปัญหาอิรัก จอร์แดนสนับสนุนอิรักในการแก้ไขวิกฤตการณ์ในปัจจุบันและสร้าง
ความมั่นคง และประณามการก่อการร้ายและความสุดโต่ง (extremism) ทุกรูปแบบในอิรัก กับเรียกร้องให้กลุ่มต่างๆ ในอิรักมีความสามัคคีและเคารพความหลากหลายทางลัทธิ ศาสนา เชื้อชาติ จอร์แดนสนับสนุนกระบวนการทางการเมืองในอิรัก และเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศให้การสนับสนุนอิรักต่อไป

จอร์แดนสนับสนุนการต่อต้านการก่อการร้าย และปฏิเสธความพยายามที่จะเชื่อมโยงการก่อการร้ายกับศาสนา วัฒนธรรม หรือภูมิภาคหนึ่งเป็นการเฉพาะ ดังที่สะท้อนไว้ใน Amman Message ว่า ศาสนาอิสลามไม่ได้เชื่อมโยงกับการก่อการร้ายและความพยายามที่จะทำร้ายชีวิตผู้บริสุทธิ์ จอร์แดนแสดงความยินดีกับการรับรอง Convention on the Suppression of Acts of Nuclear Terrorism และสนับสนุนข้อเสนอของซาอุดีอาระเบียในการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับการรับรองในการประชุมระหว่างประเทศเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย (International Conference to Combat Terrorism) ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อต้นปี 2548

เศรษฐกิจการค้า
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6% (2549)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 14.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 4,900 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ฟอสเฟต โปแตซ

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 6.3 (2549)

อัตราผู้ว่างงาน ร้อยละ 15 (2549)

สินค้าออกที่สำคัญ เสื้อผ้า เวชภัณฑ์ โปแตซ ฟอสเฟต

สินค้าเข้าที่สำคัญ น้ำมันดิบ เครื่องจักร อาหาร อุปกรณ์ขนส่ง

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
ส่งออก สหรัฐอเมริกา อิรัก อินเดีย ซาอุดีอาระเบีย
นำเข้า ซาอุดีอาระเบีย จีน เยอรมนี สหรัฐอเมริกา

สกุลเงิน จอร์แดนดีนาร์ (Jordanian dinar: JOD)

อัตราแลกเปลี่ยน: 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 0.708 จอร์แดนดินาร์ หรือ 1 จอร์แดนดินาร์ เท่ากับประมาณ 46 บาท (2549)

อุตสาหกรรมสำคัญ อุตสาหกรรม เสื้อผ้า เหมืองแร่ ฟอสเฟต ปุ๋ยเคมี เวชภัณฑ์ การกลั่นน้ำมัน ซีเมนต์ โปแตซ เคมีภัณฑ์ และ การท่องเที่ยว

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดน
ด้านการเมือง
ไทยและจอร์แดนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2509 และดำเนินความสัมพันธ์ราบรื่น ไม่มีข้อขัดแย้ง เดิมสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบกแดด มีเขตอาณาดูแลประเทศจอร์แดน แต่เนื่องจากประสบปัญหาความไม่ปลอดภัยในกรุงแบกแดดในช่วงสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกาและอิรักเมื่อปี 2546 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบกแดด จึงได้ย้ายสำนักงานชั่วคราวมาตั้งอยู่ที่กรุงอัมมาน และต่อมา ไทยได้เห็นควรให้จัดตั้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัมมาน เป็นการถาวร ซึ่งคณะรัฐมนตรีจอร์แดนมีมติให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อ 12 กันยายน 2549 และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัมมานเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมีนาคม 2550 รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งนาย Zuhair Asfour เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงอัมมานตั้งแต่ปี 2520 ถึงเดือนมิถุนายน 2550

จอร์แดนไม่มีสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทย อย่างไรก็ดี รัฐบาลจอร์แดนได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตจอร์แดนประจำอินเดีย ให้มีเขตอาณาดูแลประเทศไทย และแต่งตั้งนายจำนง ภิรมย์ภักดี เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์จอร์แดนประจำไทย ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2521

ด้านเศรษฐกิจ
จอร์แดนเป็นคู่ค้าเป็นอันดับที่ 71 ของไทย และอันดับที่ 12 ของไทยในกลุ่มภูมิภาคตะวันออกกลาง ในปี 2549 การค้าระหว่างไทย-จอร์แดน มีมูลค่าการค้ารวม 159.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกเป็นมูลค่า 147.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าเป็นมูลค่า 11.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่ามูลค่าการค้าระหว่างสองฝ่ายไม่มากนัก แต่มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งออกของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2548และ 2549 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 และ 33 ตามลำดับ

สินค้าส่งออกของไทยไปจอร์แดน ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง น้ำตาลทราย เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ อาหารกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น

สินค้านำเข้าจากจอร์แดน ได้แก่ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ สินแร่ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ทั้งนี้ แนวโน้มมูลค่าการค้าเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด เนื่องจากจอร์แดนเป็นประตูสู่อิรัก ซึ่งมีความต้องการสินค้าของไทยสูง

การเสด็จเยือนประเทศอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ ที่ 2 บิน อัลฮุสเซน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายได้มีการหารืออย่างเป็นทางการและได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทยกับจอร์แดน และเห็นพ้องให้คณะกรรมการร่วมด้านการค้าระดับรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์เป็นกลไกส่งเสริมการค้า

ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ในปี 2549 มีนักเที่ยวชาวจอร์แดนเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 8,180 คน

ปัจจุบันมีคนไทยในจอร์แดนประมาณ 200 คน เป็นนักศึกษาไทย จำนวน 60 คน ส่วนคนไทยจำนวนที่เหลือ เป็นผู้ที่เดินทางไปประกอบอาชีพและตั้งรกรากในจอร์แดน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีฝีมือ ได้แก่ ช่างทองและอัญมณี พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินจอร์แดน พ่อครัวแม่ครัว

ความตกลงที่สำคัญ
• ความตกลงด้านการบินไทย-จอร์แดน ลงนามเมื่อ 1 สิงหาคม 2518
• ความตกลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย-จอร์แดน ลงนามเมื่อ 3 สิงหาคม 2547
• บันทึกความเข้าใจด้านการบิน ลงนามเมื่อ 24 สิงหาคม 2548
• ความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อ 15 ธันวาคม 2548
• ความตกลงด้านวัฒนธรรมไทย-จอร์แดน ลงนามเมื่อ 19 มิถุนายน 2549

การเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
• สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนจอร์แดน ในฐานะพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 แห่งจอร์แดน และสมเด็จพระราชินีราเนีย อัล อับดุลเลาะห์ ระหว่างวันที่ 17–22 เมษายน 2549
• สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯเยือนจอร์แดนเป็นการส่วนพระองค์เมื่อปี 2542

รัฐบาล
• พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนจอร์แดนอย่างเป็นทางการ และเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 และหารือกับนาย Adnan Badran นายกรัฐมนตรีจอร์แดน ระหว่างวันที่ 25-26 เมษายน 2548
• นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุม Petra Conference of Noble Laureates ณ เมือง Petra พร้อมร่วมพิธีเปิดการประชุม World Economic Forum ที่ทะเลสาบ Dead Sea และเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 และพบหารือกับนาย Adnan Badran นายกรัฐมนตรีจอร์แดน ระหว่างวันที่18-20 พฤษภาคม 2548 และเข้าร่วมการประชุม Conference of Nobel Laureates Petra II ระหว่างวันที่19-22 มิถุนายน 2549
• ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนจอร์แดน เพื่อขอบคุณรัฐบาลจอร์แดนที่มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อพยพสงครามอิรัก-อิหร่านเข้ามาพักในจอร์แดน ซึ่งมีคนไทยรวมอยู่ด้วยเกือบ 5,000 คน ระหว่างวันที่ 12-13 มกราคม 2527
• พลอากาศเอก อนุพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด นำคณะจากกองบัญชาการทหารสูงสุด เยือนจอร์แดนอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของกองทัพจอร์แดน ตามคำเชิญของพลเอก Khalid J. Al-Sarayreh ประธานเสนาธิการทหาร ระหว่างวันที่ 1-5 เมษายน 2548
• นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร) นำคณะผู้แทนไทยมุสลิมไปเข้าร่วมการประชุม International Islamic Conference on True Islam and Its Role in Modern Society ตามคำเชิญของราชสำนักจอร์แดน ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2548

ฝ่ายจอร์แดน
พระราชวงศ์
• สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซน และสมเด็จพระราชินี เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 25-27 กันยายน 2526
• สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 เสด็จฯ เยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม-2 สิงหาคม 2547 และเสด็จฯ เยือนอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 3 สิงหาคม 2547 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2548 และเสด็จฯ ร่วมงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน 2549

รัฐบาล
• พลโท Khalid J. Al-Sarayreh ประธานคณะเสนาธิการ ทหารจอร์แดน เดินทางมาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 10-13 กันยายน 2547
• นาย Amal El-Farhan กระทรวง Municipal Affairs เดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อร่วมประชุมระดับรัฐมนตรี เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง: ทางเลือกในการพัฒนาระหว่างวันที่ 6-11 พฤศจิกายน 2547
• นาย Akel Biltaji ที่ปรึกษาสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 ได้เดินทางมาเข้าร่วมประชุม Global Summit, Peace Through Tourism ครั้งที่ ๓ ณ เมืองพัทยา ระหว่างวันที่ 2-5 ตุลาคม 2548
• ดร. Adel Tweisi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจอร์แดนได้เข้าพบหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2547

ผู้แทนทางการทูต
ฝ่ายไทย
เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงอัมมาน นายอิสินธร สอนไว
Royal Thai Embassy
No. 33 Al-Hashemeen St.,
Dirghabar-Abdoun,
P.O. Box 144329,
Amman 11814 JORDAN
Tel. (9626) 592-3300 ,592-1964
Fax. (9626) 592-3311
E-mail : thaibgw@mfa.go.th
Website : http://www.thaiembassy.org/amman
Office Hours : Sunday - Thursday 09.00 - 16.30 hrs.
Visa and Consular section : 09.30-12.30 and 14.00-16.00 hrs.

ฝ่ายจอร์แดน
เอกอัครราชทูตจอร์แดนประจำอินเดีย H.E. Mr. Mohamed Ali M. Daher Nsour
Embassy of the Hashemite Kingdom of Jordan
30 Golf Links,
New Delhi 110003 INDIA
Tel. (9111) 2465-3318, 2564-3099
Fax. (9111) 2465-3353
E-mail : http://www.jordanembassyindia.org
Office Hours : Monday - Friday 9.00-16.00 hrs.

กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จอร์แดนประจำประเทศไทย นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี
Consulate of the Hashemite Kingdom of Jordan
47 Soi Ekamai, Sukhumvit 63
Sukhumvit Road, Bangkok 10110
Tel. 0-2391-7142
Fax. 0-2381-1314
Office Hours : Monday - Friday 9.00 - 14.00 hrs.

************
สิงหาคม 2550

เรียบเรียงโดย กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5051-52 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์