ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> คาซัคสถาน




แผนที่
สาธารณรัฐคาซัคสถาน
Republic of Kazakhstan


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง อยู่ในเขตเอเชียกลาง ทางตอนกลางของที่ราบ Eurasia ระหว่างรัสเซียและอุซเบกิซสถาน โดยทิศตะวันออกติดจีน ทิศตะวันตกติดทะเลสาบแคสเปียน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดคีร์กีซสถาน ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดเติร์กเมนิสถาน

พื้นที่ 2,717,300 ตารางกิโลเมตร (มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก)

เมืองหลวง กรุงอัสตานา (Astana) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ มีประชากรประมาณ 550,000 คน

ประชากร 15.3 ล้านคน ประกอบด้วยชาวคาซัคร้อยละ 53 ชาวรัสเซียร้อยละ 30 ชาวยูเครนร้อยละ 3.7 ชาวอุซเบกร้อยละ 2.5ที่เหลือมีกว่า 100 เชื้อชาติร้อยละ 10.8 (ปี 2549)

ภูมิอากาศ ทะเลทรายแบบภาคพื้นทวีปฤดูหนาว หนาวจัด (ประมาณ -18 ถึง -30 องศาเซลเซียส) ฤดูร้อน ร้อนจัดและแห้ง (ประมาณ 20 – 35 อาศาเซลเซียส)

ภาษา คาซัคเป็นภาษาราชการ (State Language) ที่มีคนใช้กว่าร้อยละ 64.4ส่วนภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการ (Official) ที่มีคนใช้กว่าร้อยละ 95

ศาสนา อิสลาม นิกายสุหนี่ร้อยละ 47 คริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ร้อยละ 44 โปรแตสแตนท์ ร้อยละ 2 อื่นๆ ร้อยละ 7

หน่วยเงินตรา เต็งเก (Tenge-KZT) (เริ่มใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536) อัตราแลกเปลี่ยน 123.78 เต็งเก เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 66.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 2,940 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 9.7 (ปี 2549)

ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มีอำนาจเบ็ดเสร็จภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันคือนายนูร์ซุลตาน นาซาร์บาเยฟ (Nursultan Nazarbayev) (ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2534)

การเมืองการปกครอง
ระบบการเมืองของคาซัคสถานนั้น แม้ว่าจะเป็นระบบหลายพรรค และเปิดกว้างตามระบอบ ประชาธิปไตย แต่พรรคการเมืองทั้งหลายไม่ได้มีบทบาทสำคัญมากนัก อำนาจในการปกครองที่แท้จริงอยู่ภายใต้ประธานาธิบดี Nursultan Nazarbayev อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งคาซัคสถานตั้งแต่สมัยโซเวียต ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของคาซัคสถานตั้งแต่ปี 2534 ประธานาธิบดี Nazarbayev พยายามขยายอำนาจให้ตนเองมาโดยตลอด ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 เพื่อกระจายอำนาจของประธานาธิบดี โดยเฉพาะการกำหนดให้ประธานาธิบดีสามารถดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ วาระละ 5 ปี แต่กฎดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้กับประธานาธิบดีคนแรกซึ่งหมายถึงประธานาธิบดี Nazarbayev ดังนั้น ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไปที่จะจัดขึ้นในปี 2555 ประธานาธิบดี Nazarbayev จะสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้อีกครั้งหนึ่ง

นอกจากนั้น รัฐบาลคาซัคสถานให้ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และปฏิรูปในด้านต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกระบวนการเสริมสร้างประชาธิปไตย การเพิ่มบทบาทของรัฐสภา และองค์กรการปกครองท้องถิ่น โดยประธานาธิบดีได้กล่าวย้ำว่า วิธีการเสริมสร้างประชาธิปไตยในคาซัคสถานจะไม่ลอกเลียนแบบจากต่างประเทศ แต่จะเป็นวิธีการที่สะท้อนความต้องการและประโยชน์ของชาวคาซัคสถานอย่างแท้จริง ซึ่งเรื่องที่จะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ การเพิ่มอำนาจของรัฐสภาที่สามารถแต่งตั้งสภารัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการตรวจสอบภายใน อันดับที่สอง คือ การเพิ่มบทบาทของพรรคการเมือง โดยพรรคการเมืองจะได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาล และสุดท้าย คือการเพิ่มจำนวนผู้แทนในสภาล่าง นอกจากนั้น รัฐบาลจะยังทบทวนระบบยุติธรรมเพื่อให้มีความเป็นธรรมและโปร่งใสมากขึ้น

นโยบายต่างประเทศ
นับแต่แยกตัวจากสหภาพโซเวียตคาซัคสถานได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างและดำรงไว้ซึ่งสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และความมั่นคงของคาซัคสถานเป็นหลัก โดยจะเห็นได้จากนโยบายที่มุ่งเน้นความเป็นกลางทางการเมืองในเวทีระหว่างประเทศ และเข้าร่วมกิจกรรมขององค์การระหว่างประเทศอย่างแข็งขัน ส่งเสริมนโยบาย Active, Multilateral and Balance foreign policy โดยให้ความสำคัญกับรัสเซีย จีน สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปเป็นหลัก ในขณะเดียวกัน ก็ให้ความสำคัญต่อประเทศอื่น ๆ ในเอเชียและประเทศในตะวันออกกลางด้วย โดยจะเห็นได้จากการที่คาซัคสถานพยายามขยายความสัมพันธ์มายังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเข้าเป็นสมาชิก Asia Cooperation Dialogue (ACD) และการสมัครเข้าเป็นสมาชิก ASEAN Regional Forum (ARF)

สำหรับองค์กรระหว่างประเทศ คาซัคสถานมุ่งที่จะเข้าเป็นสมาชิก World Trade Organization (WTO) เป็นอันดับแรก ส่วนองค์กรอื่น ๆ ที่คาซัคสถานให้ความสำคัญ ได้แก่ Shanghai Cooperation Organization (SCO), Commonwealth of Independent States (CIS), Organisation for Security and Cooperation in Europe (OSCE), Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia (CICA) และการก่อตั้ง Common Economic Space ภายในเอเชียกลาง

นอกจากนี้ คาซัคสถานยังให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องภัยคุกคามรูปแบบใหม่ อาทิ การก่อการร้าย โรคระบาด ปัญหาสิ่งแวดล้อม ยาเสพติด และความมั่นคงด้านพลังงาน (Energy Security) เป็นต้น

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจและสังคม
ภายหลังแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต คาซัคสถานได้พยายามปฏิรูปเศรษฐกิจมา โดยตลอด โดยการเรียนรู้จากความล้มเหลวและข้อผิดพลาดของการปฏิรูปเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออก และให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจเพื่อให้สามารถรองรับระบบเศรษฐกิจแบบตลาดของตะวันตก จนกระทั่งได้รับการรับรองสถานะเศรษฐกิจแบบตลาดจากสหรัฐฯ ในปี 2545 และเป็นประเทศแรกที่แยกตัวจากสหภาพโซเวียตที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการลงทุนจากสถาบันระหว่างประเทศทั้ง Moody และ Standard & Poor’s (S&P)

คาซัคสถานนับว่าประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกว่าร้อยละ 9 ทุกปี และสามารถชำระหนี้คืน IMF ได้ล่วงหน้าถึง 7 ปี อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจคาซัคสถานยังพึ่งพาอุตสาหกรรมด้านพลังงานเป็นหลัก โดยรายได้หลักมาจากการส่งออกน้ำมัน ซึ่งมีมูลค่ากว่าร้อยละ 60 ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ คาซัคสถานยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ อาทิ โครเมียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ เงิน และยูเรเนียม แต่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ของคาซัคสถานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร เนื่องจากขาดการลงทุน ปัจจุบัน รัฐบาลคาซัคสถานพยายามเชิญชวนให้มีการลงทุนในสาขาอื่น ๆ มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมพลังงาน ซึ่งปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 80 – 90 ของการลงทุนทั้งหมด ทั้งนี้ รัฐบาลคาซัคสถาน ได้วางนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจระยะยาว โดยเน้นความหลากหลายทางเศรษฐกิจ (Economic Diversification) อย่างไรก็ตาม ปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และความไม่โปร่งใสในการลงทุน ยังเป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาลงทุนในคาซัคสถานของนักลงทุนต่างชาติ

นอกจากนั้น ในแถลงการณ์ล่าสุดของประธานาธิบดี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ได้ย้ำว่า นอกจากจะดำเนินมาตรการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจแล้ว คาซัคสถานจะปรับปรุงและยกระดับระบบสวัสดิการทางสังคม อาทิ เพิ่มเงินช่วยเหลือให้ครอบครัวที่มีบุตรคนแรก โดยจะเริ่มใน ปี 2551 เพิ่มจำนวนโรงเรียนและโรงพยาบาลอีกอย่างละ 100 แห่ง รวมทั้งให้ความคุ้มครองและหลัก ประกันทางสังคมต่อสตรีและเด็ก ซึ่งมาตรการเหล่านั้นจะช่วยเสริมสร้างรากฐานทางสังคมที่มั่นคง และทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพต่อไป รวมทั้งได้ประกาศว่าจะให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมของประเทศให้มากขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐคาซัคสถาน
ความสัมพันธ์ทางการทูต

1. ความสัมพันธ์ทั่วไป
ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นมาโดยตลอด ตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2535 ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ไทย – คาซัคสถานนับได้ว่ามีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและแน่นแฟ้น ยิ่งขึ้น โดยได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างกัน รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและบริการ และวิชาการ เป็นต้น

1.1 ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
ผู้นำไทยกับคาซัคสถานมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ความร่วมมือระหว่างสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น คาซัคสถานได้ให้การสนับสนุนไทยในการสมัครเป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยการปฎิสัมพันธ์และการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia - CICA) ซึ่งเป็นกรอบการประชุมเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียที่คาซัคสถานได้ริเริ่มขึ้น โดยไทยได้เข้าเป็นสมาชิกของ CICA เมื่อเดือนตุลาคม 2547

ฝ่ายคาซัคสถานประสงค์ที่จะสมัครเป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยความมั่นคงระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Regional Forum - ARF) และขอรับการสนับสนุนจากประเทศไทย

ไทยได้สนับสนุนคาซัคสถานในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue - ACD) ซึ่งไทยริเริ่ม โดยในระหว่างการประชุมรัฐมนตรี ACD เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2546 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ประชุมฯ ได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ในการรับคาซัคสถานเข้าเป็นสมาชิก ACD

1.2 ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
การค้า
ความสัมพันธ์ไทย – คาซัคสถานในทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างใกล้ชิด คาซัคสถานเป็น คู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทยในกลุ่มเครือรัฐเอกราช (CIS) และมีศักยภาพมาก เนื่องจากมีจำนวนประชากร 15.3 ล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากรัสเซีย ยูเครนและอุซเบกิสถาน อย่างไรก็ตาม มูลค่าการค้าระหว่างไทยและคาซัคสถานยังมีไม่มากนัก เนื่องจากสินค้ามีการกระจายตัว และเพิ่งจะเริ่มมีการค้าระหว่างกันอย่างจริงจังเมื่อปี 2538

การค้าระหว่างไทยกับคาซัคสถานในปี 2549 มีมูลค่า 44.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยนำเข้าจากคาซัคสถาน 18.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออกไปยังคาซัคสถาน 26.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยฝ่ายไทยได้เปรียบดุลการค้า 8.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยไปคาซัคสถานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2549 เพิ่มจากปี 2548 เฉลี่ยร้อยละ 79.0

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ อุปกรณ์และส่วนประกอบของเครื่องจักร ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ ใบยาสูบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋อง

ส่วนสินค้าสำคัญที่นำเข้าจากคาซัคสถาน ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ

การลงทุน
ปัจจุบันยังไม่มีการลงทุนของคาซัคสถานในประเทศไทย อนึ่ง สาขาของอุตสาหกรรมที่คาซัคสถานน่าจะมาลงทุนในไทยได้ คือ การประกอบเครื่องจักรเกษตรกรรม อุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมเหล็ก

สาขาของอุตสาหกรรมที่ไทยอาจพิจารณาไปลงทุนในคาซัคสถานได้ คือ การผลิต เครื่องนุ่งห่ม อาหารแปรรูปกระป๋อง เครื่องหนังซึ่งคาซัคสถานมีการส่งออกหนังดิบจำนวนมาก รวมทั้งการผลิตเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องประดับและอัญมณี ตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้รับเหมาก่อสร้างไปร่วมลงทุนด้านก่อสร้างกับบริษัทต่างชาติในประเทศคาซัคสถานในลักษณะรับช่วงงานในโครงการก่อสร้างต่างๆ และส่งแรงงานไทยเข้าไปทำงานด้านทักษะฝีมือในคาซัคสถาน ทั้งนี้ ปัจจุบันมีแรงงานไทยในคาซัคสถานจำนวน 123 คน

แหล่งน้ำมันในคาซัคสถานเป็นแหล่งน้ำมันในสหภาพโซเวียตเดิมที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากภาคพื้นไซบีเรีย (อูเรนบูร์ก) ของรัสเซีย และมีปริมาณการขุดเจาะในเชิงพาณิชย์ เป็นอันดับ 3 รองจากแหล่งน้ำมันที่เมืองอูเรนบูร์ก และบากู (ในอาเซอร์ไบจาน)

รัฐบาลคาซัคสถานมีการดำเนินการส่งเสริมการลงทุนหลายประการ อาทิ การออกกฎหมาย ส่งเสริมการลงทุนและการดำเนินธุรกิจเสรี การลดความซ้ำซ้อนของระบบการจัดเก็บภาษีที่เรียกเก็บเดิม จาก 45 ประเภทเหลือเพียง 11 ประเภท และกำหนดภาษีธุรกิจในอัตราเดียวร้อยละ 30 และภาษีส่วนบุคคลไม่เกินร้อยละ 40 รวมทั้งออกกฎหมายที่ให้หลักประกันว่าจะไม่มีการริบทรัพย์สินและไม่ให้การเมือง เข้าแทรกแซงการลงทุนจากต่างชาติ

การท่องเที่ยว
คาซัคสถานมีสิ่งดึงดูดใจสำหรับนักท่องเที่ยวคือ ความงดงามของธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และอารยธรรมของชาวมุสลิม คาซัคสถานจึงอาจเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของชาวไทยในอนาคต ในขณะเดียวกัน เมื่อคำนึงถึงความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติของคาซัคสถาน ประกอบกับความตั้งใจของผู้นำประเทศที่จะสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแล้ว คาซัคสถานมีศักยภาพที่จะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในเอเชียกลางได้ และชาวคาซัคซึ่งมีกำลังซื้อสูงขึ้นอาจเดินทางออกมาท่องเที่ยวนอกประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเดินทางมายังประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันมีเที่ยวบินสายการบิน Air Astana ระหว่างกรุงเทพฯ – กรุงอัลมาตี สัปดาห์ละ 2 เที่ยว (อาทิตย์และพุธ) ใช้เวลาเดินทาง 6.45 ชั่วโมง โดยนักท่องเที่ยวจากกลุ่มเครือรัฐเอกราชเป็นกลุ่มตลาดใหม่ที่มีการขยายตัวดีมาก และสถิตินักท่องเที่ยวจากคาซัคสถาน ปี 2549 มีจำนวน 10,773 คน (เพิ่มจากปี 2548 ที่มีจำนวน 4,745 คน)

1.3 ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
ชาวคาซัคนิยมกีฬามวยไทยมาก โดยมีการจัดตั้งสมาคมมวยไทยแห่งคาซัคสถานโดยมีนายกรัฐมนตรีคาซัคสถานเป็นประธานสมาคม

คาซัคสถานได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Congress of Leaders of World and Traditional Religions ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 12 – 19 กันยายน 2549 โดยไทยได้ส่ง ศาสตราจารย์ ดร. พระธรรมโกศาจารย์ ผู้นำศาสนาพุทธระดับสูงของไทยเข้าร่วมการประชุม ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อปี 2546 คาซัคสถานได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จเข้าร่วมประชุมด้วย แต่พระพลานามัยไม่อำนวยให้ตอบรับคำกราบบังคมทูลเชิญข้างต้น

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครได้สถาปนาความเป็นบ้านพี่เมืองน้องกับกรุงอัสตานา โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น (นายสมัคร สุนทรเวช) ได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการสถาปนาดังกล่าว ในโอกาสที่ไปเยือนคาซัคสถานเมื่อเดือนมิถุนายน 2547 นอกจากนี้ คาซัคสถานยังแสดงความประสงค์ที่จะสถาปนาความเป็นบ้านพี่เมืองน้องระหว่างเมืองพัทยาและเมืองชิมเคนต์ (Shymkent) ด้วย

2.ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย
ความตกลงที่ลงนามแล้ว
1. ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย- คาซัคสถาน (Agreement on Establishment of Joint Commission for Bilateral Cooperation between the Kingdom of Thailand and the Republic of Kazakhstan) ลงนามเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2536)
2. ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศไทย-คาซัคสถาน (Agreement on Air Services and Transport) ลงนามเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2539
3. ความตกลงความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับหอการค้าและอุตสาหกรรมคาซัคสถาน (Agreement on Cooperation between Board of Trade of Thailand and Union of Chambers of Commerce & Industry of the Republic of Kazakhstan) ลงนามเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2546
4. พิธีสารว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-คาซัคสถาน (Protocol on Cooperation between the Ministry Of Foreign Affairs of The Kingdom of Thailand and the Ministry of Foreign Affairs of The Republic of Kazakhstan) ลงนามวันที่ 20 ตุลาคม 2547

ความตกลงที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายไทย
1. ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการไทย-คาซัคสถาน (Agreement on Non-VISA Regime for Mutual Visits of Nationals-Holders of Diplomatic and Service/Official Passports)
2. อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน (Convention on the Avoidance of Double Taxation)
3. ร่างความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนไทย-คาซัคสถาน (Agreement on the Reciprocal Promotion and Protection of Investment)

ความตกลงที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายคาซัคสถาน
1. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านกีฬา (Agreement between Sports Authority of Thailand and the Sport and Tourism Committee of the Republic of Kazakhstan)
2. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านทางท่องเที่ยว (Agreement on Cooperation in the field of Tourism between Thailand and Kazakhstan)
3. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านมาตราการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Memorandum of Understanding on Technical Cooperation on Sanitary and Phytosanitary Measures)

ความตกลงที่พร้อมลงนาม
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการค้ายาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ทางประสาท (Memorandum of understanding on Cooperation in Combating Illicit Traffic in and Abuse of Narcotic Drugs and Psychotropic Substances and Diversion of Precursor and Essential Chemical)

3. การเยือนที่สำคัญ
3.1ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
-สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนคาซัคสถาน ในฐานะอาคันตุกะของรัฐบาลคาซัคสถาน เมื่อวันที่ 17 – 20 เมษายน 2548
รัฐบาล (ระหว่างปี 2536 – 2549)
- ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนคาซัคสถานอย่างเป็นทางการ และเพื่อเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ของ CICA เมื่อวันที่ 19 – 23 ตุลาคม 2547
- ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนคาซัคสถานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2548
- พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสุดยอด CICA ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 – 17 มิถุนายน 2549
- นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเข้าร่วมการประชุม ESCAP ครั้งที่ 63 ระหว่างวันที่ 20-22 พฤษภาคม 2550

3.2 ฝ่ายคาซัคสถาน
รัฐบาล (ระหว่างปี 2536 – ปัจจุบัน)
-นาย Nursultan Nazarbayev ประธานาธิบดี เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 – 23 กรกฎาคม 2536
-นาย Kassym - Jomart Tokayev รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเข้าร่วมการประชุม ESCAP ครั้งที่ 53 เมื่อวันที่ 23 – 30 เมษายน 2540
-นาย Kassym - Jomart Tokayev รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเข้าร่วมการประชุม ESCAP ครั้งที่ 61 และเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 15 – 20 พฤษภาคม 2548
-นาย Nurlan Yermekbayev รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเข้าร่วมการประชุม เจ้าหน้าที่อาวุโสของ Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia (CICA) เมื่อวันที่ 13-14 มีนาคม 2550

สถานเอกอัครราชทูตคาซัคสถานประจำประเทศไทย
อุปทูต นาย Amir Mussin
ที่ตั้ง Suite 4301, 43rd Floor, Jewelry Trade Center Building
919/501 Silom Road, Bangrak, Bangkok 10500
Tel: 0-22346365-6 Fax: 0-22346368

สิงหาคม 2550

เรียบเรียงโดย กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กลุ่มงานเอเชียกลาง โทร. 0 2643 5000 ต่อ 2655 Fax. 0 2643 5301



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์