ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> เคนยา




แผนที่
สาธารณรัฐเคนยา
Republic of Kenya


 
ข้อมูลทั่วไป
ภูมิศาสตร์ สาธารณรัฐเคนยาตั้งอยู่ในแนวศูนย์สูตรทางฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,000 – 5,000 ฟุต
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับ ซูดานและเอธิโอเปีย
ทิศใต้ ติดกับ แทนซาเนีย
ทิศตะวันออก ติดกับ โซมาเลียและมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันตก ติดกับ ยูกันดา แทนซาเนียและทะเลสาบวิคตอเรีย
พื้นที่ 582,650 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่เพาะปลูกได้เพียง 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด มีชายฝั่งทะเลยาว 536 กิโลเมตร
- พื้นที่ทางภาคเหนือเป็นทะเลทรายแห้งแล้ง มีประชาชนพวกเร่ร่อน อาศัยอยู่
- พื้นที่ทางภาคใต้เป็นที่ราบ มีสัตว์ป่ามาก
- พื้นที่ทางตอนกลางของประเทศเป็นที่ดอน (high – land)จะอุดมสมบูรณ์ และเป็นพื้นที่ผลิตพืชผลเกษตรกรรมที่สำคัญ ของประเทศ
- ทะเลสาบวิคตอเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือไหลผ่าน the Great Rift Valley เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าจำนวนมาก
ภูมิอากาศ แตกต่างกันตามภูมิภาค กล่าวคือ อากาศทางภาคเหนือร้อนและแห้งแล้ง ส่วนพื้นที่ภาคกลางอากาศเย็นสบาย รอบทะเลสาบวิคตอเรียมีอุณหภูมิสูงและฝนตกชุก ส่วนชายฝั่งทะเลอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิในกรุงไนโรบีประมาณ 11 – 28 องศาเซลเซียส
เมืองหลวง กรุงไนโรบี (พื้นที่ 684 ตารางกิโลเมตร) มีประชากร 1.8 ล้านคน และอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 5,000 ฟุต
เมืองสำคัญ เมืองมอมบาซา ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของเคนยาและประเทศอื่น ๆ ที่ไม่มีชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของแอฟริกา
ประชากร 36,913,721 คน (ก.ค.2550) ประกอบด้วยเผ่า Kikuyu (ร้อยละ 22) เผ่า Luhya (ร้อยละ 14) เผ่า Luo (ร้อยละ 13) เผ่า Kalenjin (ร้อยละ 12) เผ่า Kamba (ร้อยละ 11) เผ่า Kisii (ร้อยละ 6) เผ่า Meru (ร้อยละ 6) ชาวเอเชีย ยุโรป และอาหรับ (ร้อยละ 1) ที่เหลืออีกร้อยละ 15 เป็นชาวแอฟริกาอื่น ๆ
อัตราการเพิ่มของประชากร ร้อยละ 2.8 (2550)
ภาษา ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการและภาษา Swahili เป็นภาษาประจำชาติ นอกจากนั้น เผ่าต่าง ๆ ยังมีภาษาประจำเผ่าของตนเอง
ศาสนา คริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ ร้อยละ 38 คริสต์นิกายโรมันคาธอลิก ร้อยละ 28 ความเชื่อตามประเพณีดั้งเดิมร้อยละ 26 อิสลามร้อยละ 7 ศาสนา
อื่นๆ ร้อยละ 1
วันชาติ 12 ธันวาคม
รูปแบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ประมุขของรัฐ นาย Mwai Kibaki
รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Raphael Tuju
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 22.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
สกุลเงิน เคนยาชิลลิงส์ Kenyan shilling (KES)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลาร์สหรัฐ เท่ากับ 72.10 เคนยาชิลลิงส์ (2549)

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์
เคนยาตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปี 2438 จนถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2506 เคนยาจึงได้รับเอกราชสมบูรณ์ ภายหลังการเลือกตั้งทั่วประเทศเมื่อปี 2507 พรรค KANU (Kenya African National Union) ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลโดยมีนายโจโม เคนยัตตา (Jomo Kenyatta) เป็นประธานาธิบดีคนแรก และเคนยาได้ประกาศเป็นสาธารณรัฐอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ ประธานาธิบดีเคนยัตตาอยู่ในอำนาจจนถึงปี 2521 ก็สิ้นชีวิตลง จากนั้นประธานาธิบดี Daniel arap Moi ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากประธานาธิบดี Kenyatta จนถึงปี 2545

เคนยามีระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ และเคยปกครองโดยพรรคการเมืองเดียว คือ พรรค KANU นานกว่า 28 ปี นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ อย่างไรก็ดี ในเดือนธันวาคม 2534 รัฐบาลได้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากระบบการบริหารประเทศแบบพรรคเดียวมาสู่ระบบเสรีประชาธิปไตยหลายพรรคแบบตะวันตก โดยในปี 2536 ได้มีการเลือกตั้งในระบบหลายพรรคการเมืองเป็นครั้งแรกจากการผลักดันของประเทศตะวันตก พรรค KANU ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง โดยนาย Daniel arap Moi หัวหน้าพรรคดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2521

ระหว่างวันที่ 29-30 ธันวาคม 2540 รัฐบาลเคนยาได้จัดให้มีการเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้น ผลการนับคะแนนปรากฏว่า ประธานาธิบดี Moi ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไปเป็นสมัยที่ 5 ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 40.12 โดยพรรค KANU ได้ที่นั่งในสภาจำนวน 107 ที่นั่ง (จาก 210 ที่นั่ง)

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2542 ประธานาธิบดี Moi ได้ตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่ 2 ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนธันวาคม 2540 โดยการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ ประธานาธิบดี Moi ได้มีการปรับรวมและยุบหน่วยงานในระดับกระทรวงลงจากเดิม 27 กระทรวงเหลือเพียง 15 กระทรวง

การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2545 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 3 ในระบบพรรคการเมืองหลายพรรคของเคนยา ประธานาธิบดี Moi ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้อีกตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของเคนยา ปรากฏว่า จากผู้มีสิทธิออกเสียง 10.5 ล้านคน มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงทั้งสิ้น 5.8 ล้านคน โดยนาย Mwai Kibaki ผู้นำกลุ่ม National Rainbow Coalition (NARC) ซึ่งเป็นแนวร่วมฝ่ายค้านที่ต่อต้านประธานาธิบดี Moi ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ด้วยคะแนนเสียง 3.6 ล้านเสียง คิดเป็นร้อยละ 62.2 ในขณะที่นาย Uhuru Kenyatta (บุตรชายอดีตประธานาธิบดี Kenyatta) แห่งพรรค KANU ซึ่งประธานาธิบดี Moi หมายมั่นจะให้สืบยทอดอำนาจต่อจากตน ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียง 1.8 ล้านเสียง คิดเป็นร้อยละ 31.1 ส่วนผู้สมัครคนอื่น ๆ ได้รับคะแนนเสียงรวมกันคิดเป็นร้อยละ 6.7 ชัยชนะของนาย Mwai Kibaki ครั้งนี้ เท่ากับเป็นการสิ้นสุดอำนาจของพรรค KANU ซึ่งปกครองเคนยามานานกว่า 40 ปี นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ นาย Kibaki เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองที่มีประสบการณ์ เคยดำรงตำแน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลอดีตประธานาธิบดี Kenyatta และดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในรัฐบาลอดีตประธานาธิบดี Moi มาก่อน ต่อมาได้ลาออกจากพรรค KANU ในปี 2534 เพื่อก่อตั้งพรรค Democratic Party และเคยพ่ายแพ้ต่อนาย Moi มาแล้ว 2 ครั้ง ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2535 และ 2540

สำหรับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กลุ่ม NARC ได้รับเลือก 125 ที่นั่งจาก 210 ที่นั่ง คิดเป็นร้อยละ 59.9 พรรค KANU ได้รับเลือก 64 ที่นั่ง คิดเป็นร้อยละ 31.3 ในขณะที่พรรคการเมืองอื่น ๆ ได้รับเลือก 21 ที่นั่ง อนึ่ง ยังไม่รวมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก 12 ตำแหน่งซึ่งได้รับเลือกตามสัดส่วน โดยเป็นของกลุ่ม NARC 7 ที่นั่ง พรรค KANU 4 ที่นั่ง และพรรค Ford-People 1 ที่นั่ง ส่งผลให้กลุ่ม NARC จะมี 132 เสียงจาก 222 ที่นั่ง และในวันที่ 8 มกราคม 2546 ได้มีการเลือกตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรเคนยาคนใหม่ โดยนาย Francis Ole Kaparo แห่งพรรค KANU ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่อเป็นสมัยที่ 3 ทั้งนี้ นาย Kaparo ได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดี Kibaki เนื่องจากเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และได้รับการยอมรับจากสมาชิกทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน

ประธานาธิบดี Kibaki ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2545 ท่ามกลางบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองเคนยา เนื่องจากอดีตประธานาธิบดี Moi และพรรค KANU ได้ยอมลงจากอำนาจตามวิถีทางประชาธิปไตย ในขณะที่คู่แข่งอย่างนาย Uhuru Kenyatta ได้ออกมาประกาศยอมรับความพ่ายแพ้ทันที่ที่ทราบผลเลือกตั้ง นับเป็นปรากฏการณ์แปลกใหม่ที่สร้างสรรค์ในวงการเมืองแอฟริกาครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง

คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของเคนยาประกอบไปด้วยรัฐมนตรีว่าการ 23 คน และรัฐมนตรีช่วยว่าการ 24 คน ประธานาธิบดี Kibaki ได้วางตำแหน่งสำคัญให้แกนนำของกลุ่ม NARC โดยแต่งตั้งให้นาย Kijana Wamalwa ซึ่งเป็นคู่คิดในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งมาด้วยกันเป็นรองประธานาธิบดี และแต่งตั้งให้นาย Kalonzo Musyoka ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนนาย David Mwiraria ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจในรัฐบาลชุดก่อน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

นโยบายรัฐบาลให้ความสำคัญกับการปราบปรามการทุจริตอย่างถอนรากถอนโคน โดยออกกฎหมายเพิ่มอำนาจให้หน่วยงานปราบปรามการทุจริต เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund – IMF) ในการที่จะกลับมาให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจตามโครงการ Poverty Reduction and Growth Facility (PRGF) แก่เคนยาอีกครั้ง ภายหลังเคนยาถูกระงับความช่วยเหลือตั้งแต่ปี 2544 นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการศึกษาและการพัฒนาสังคม ได้ริเริ่มโครงการการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในระดับประถมศึกษาทั่วประเทศ และจะใช้งบประมาณร้อยละ 30 ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมดเพื่อพัฒนาการศึกษา ในส่วนของการพัฒนาภาคสังคม รัฐบาลเน้นการแก้ปัญหาโรคเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค ดำเนินโครงการจัดสรรที่อยู่อาศัยให้ประชาชนที่มีรายได้น้อย และพยายามยุติปัญหาการแบ่งแยกระหว่างเผ่าเพื่อลดความแตกแยกภายในชาติ

รูปแบบการเมืองและการปกครอง
ระบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และผู้บัญชาการทหารสูงสุด อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ตามรัฐธรรมนูญ สถาบันการเมืองประกอบด้วยฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ โดยแต่ละองค์กรแยกออกจากกันตามหลักดุลแห่งอำนาจ

ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี และคณะรัฐมนตรี โดยประธานาธิบดีมีอำนาจแต่ผู้เดียวตามรัฐธรรมนูญที่จะแต่งตั้งและถอดถอนรองประธานาธิบดี และรัฐมนตรี โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตลอดจนเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนอัยการสูงสุด ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนาย Mwai Kibaki รองประธานาธิดีคือ นาย Moody Awori และรัฐมนตรีต่างประเทศคือนาย Raphael Tuju (ดำรงตำแหน่งเมื่อเดือนธันวาคม 2548)

ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภาของเคนยาเป็นระบบสภาเดียวเรียกว่า Bunge มีสมาชิกรัฐสภาจำนวน 222 คน เป็นสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจำนวน 210 คน และแต่งตั้งโดย ประธานาธิบดี อีก 12 คน โดยสมาชิกรัฐสภาจะเป็นผู้เลือกประธานรัฐสภาและรองประธานรัฐสภา (ประธานาธิบดี คณะรัฐมนตรี และผู้ช่วยรัฐมนตรี เป็นสมาชิกรัฐสภาด้วย และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี)

ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลสูง โดยประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูง

การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 จังหวัดภายใต้การดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัด (Province Commissioner) ได้แก่ Rift Valley, Eastern, Nyanza, Central,Western, Coast และ North Eastern และ 1 เขต (area) คือ Nairobi Area

พรรคการเมือง พรรค Kenya African National Union (KANU) พรรค Democratic Party of Kenya (DP) พรรค Forum for the Restoration of Democracy (Asili) พรรค Forum for the Restoration of Democracy-Kenya (FORD-K) พรรค Forum for the Restoration of Democracy-People (FORD-People) พรรค National Development Party (NDP) และพรรค Social Democratic Party (SDP) พรรค Ford-People

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- เคนยามีบทบาทสำคัญมากในการจัดการเจรจาระหว่างฝ่ายต่างๆ ในสงครามภายในโซมาเลีย และซูดาน รวมทั้งได้ให้ที่พึ่งพิงอย่างไม่เป็นทางการแก่คณะผู้บริหารรัฐบาลพลัดถิ่นของโซมาเลีย
- เคนยาสนับสนุนสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มตัวภายหลัง เหตุการณ์ 9/11 เนื่องจากเคนยาได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติการของกลุ่ม Al-Qaeda หลายครั้ง ที่สำคัญได้แก่เหตุการณ์ลอบวางระเบิดสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในปี 2541 การก่อวินาศกรรมที่โรงแรม Paradise ใกล้เมืองมอมบาซา ในปี 2545 รวมทั้งการขู่ลอบวางระเบิดหลายครั้งในปี 2546
- เคนยามีบทบาทสำคัญทั้งในสหภาพแอฟริกา (African Union – AU) องค์การ
การค้าโลก (World Trade Organization – WTO) และในเวทีพหุภาคีต่างๆ ของประเทศกำลังพัฒนา และเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ สหประชาชาติ กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และเป็นสมาชิกองค์การในระดับภูมิภาคที่สำคัญ ๆ หลายองค์กร เช่น COMESA (Common Market for Eastern and Southern Africa) และ EAC (East African Cooperation)
- เคนยาเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของ United Nations Environment Programme โดยมีนาย Klaus Topfer อดีตรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของเยอรมนีเป็นผู้อำนวยการ และเป็นประเทศสมาชิกของ WTO (World Trade Organization)

ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
แทนซาเนีย ในอดีตเคนยาเคยมีความบาดหมางกับแทนซาเนียจนถึงขั้นมีการปิดพรมแดนระหว่างกัน แต่ขณะนี้ได้ปรับความสัมพันธ์เป็นปกติแล้ว
ยูกันดา ความสัมพันธ์ระหว่างเคนยากับยูกันดายังไม่ราบรื่นนัก และในบางครั้งมีปัญหาขัดแย้งในด้านพรมแดน เคนยาเองยังไม่สนิทใจนักกับยูกันดา เนื่องจากความไม่พอใจและระแวงเป็นการส่วนตัวระหว่างประธานาธิบดี Moi กับอดีตประธานาธิบดี Idi Amin ของยูกันดา
แอฟริกาใต้ เคนยาให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนขบวนการต่าง ๆ เช่นANC ในการล้มล้างนโยบายแบ่งแยกผิวของรัฐบาลแอฟริกาใต้ และสนับสนุนให้คนผิวดำมีสิทธิกำหนดใจตนเอง เมื่อปี 2534 เคนยาได้ให้การต้อนรับประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ และประธานาธิบดี Moi ได้เยือนแอฟริกาใต้ในปี 2535 ต่อมามีการเปิดเที่ยวบินระหว่างเมืองโจฮันเนสเบอร์กกับกรุงไนโรบี โดยสายการบิน SAA และสายการบิน Kenya Airways อนุญาตให้ตั้งสำนักงานผู้แทนแอฟริกาใต้ในไนโรบี และให้มีการค้าระหว่างกัน
เซเชลส์ เคนยาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเซเชลส์อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม 2533 และมีการลงนามความตกลงร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน

เศรษฐกิจการค้า
ภาวะเศรษฐกิจการค้าของเคนยา
- เคนยาเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก มีเครือข่ายการเชื่อมโยงการคมนาคมที่ดี มีท่าเรือสำคัญที่เมืองมอมบาซา และยังมีเส้นทางรถไฟและการบินเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นจุดกระจายสินค้าไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกได้ดี นอกจากนี้ เคนยายังมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง โดยเฉพาะ eco-tourism และการท่องเที่ยวแบบซาฟารี รวมทั้งมีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่น่าสนใจ ในด้านของทรัพยากรธรรมชาติ เคนยาเป็นแหล่งวัตถุดิบอัญมณีที่สำคัญอีกประเทศหนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องประดับและอัญมณีของไทย มีแหล่งพลอยที่สำคัญหลายชนิด เช่น ทับทิม ไพลิน แซฟไฟร์ และพลอยเนื้ออ่อน นอกจากนี้ เคนยายังเป็นประเทศผู้ส่งออกไม้ตัดดอกรายใหญ่ (ที่ผ่านมาไทยซื้อไม้ตัดดอกของเคนยาผ่านประเทศในยุโรป)
- เคนยามีความเคลื่อนไหวที่ก้าวหน้าในการเปิดเสรีทางการค้า ได้ร่วมลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area – FTA) กับกลุ่มตลาดร่วมแห่งแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market for Eastern and Southern Africa – COMESA) ก่อให้เกิดตลาดเสรีขนาดใหญ่ที่มีประชากรรวมกันถึง 350 ล้านคน นอกจากนี้ ยังได้ร่วมลงนามกับยูกันดาและแทนซาเนียจัดตั้งประชาคมแอฟริกาตะวันออก (East African Community – EAC) ซึ่งได้จัดตั้งสหภาพศุลกากรแล้ว เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมกราคม 2549 นอกจากนี้ เคนยาได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหภาพยุโรป (European Union – EU) ภายใต้ความตกลงโคโตนู (Cotonou Agreement) และได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบัญญัติ African Growth and Opportunity Act (AGOA) ด้วย

ข้อมูลทั่วไปด้านเศรษฐกิจ
ภาคเกษตรกรรม ภาคเกษตรกรรมของเคนยาเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีสัดส่วนผลผลิตร้อยละ 26 ของ GDP และมีมูลค่าการส่งออกถึงร้อยละ 65
ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้ประเทศมากที่สุด นอกจากนี้ เคนยายังมีอุตสาหกรรมขนาดเล็กอื่น ๆ นอกเหนือจากอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร เช่น พลาสติก เฟอร์นิเจอร์ แบตเตอรี่ สิ่งทอ สบู่ ผลิตภัณฑ์น้ำมันบางชนิด ปูนซีเมนต์ โดยผลผลิตด้านอุตสาหกรรมมีอัตราส่วนร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และมีแนวโน้มการขยายตัวกว่าร้อยละ 4.6 ต่อปี โดยสินค้าอุตสาหกรรมของเคนยาเป็นที่ต้องการของประเทศแอฟริกาอื่น ๆ
ทรัพยากรธรรมชาติ ทองคำ หินปูนขาว แร่เกลือ เพชรพลอย โซดาแอช แมกนีไซท์
ผลผลิตทางเกษตร ชา กาแฟ ข้าวโพด ข้าวสาลี น้ำตาล ผักและผลไม้ต่าง ๆ
อุตสาหกรรมสำคัญ ซีเมนต์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร การท่องเที่ยวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมผลิตสินค้าอุปโภคต่าง ๆ
รายได้ที่สำคัญ รายได้จากภาคเกษตรกรรมเป็นรายได้ที่นำเงินตราต่างประเทศเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 26 ของ GDP และภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 10 ภาคบริการและคมนาคมรวมกันคิดเป็นร้อยละ 25
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product – GDP) ปี 2549 ประมาณ 22.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยรายได้หลักของประเทศมาจากผลผลิตทางการเกษตร เช่น ชาและกาแฟ
รายได้ประชากรต่อหัว 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.1 (2549)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 14.5 (2549)
หนี้สินต่างประเทศ 6.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 2.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
มูลค่าการค้า ปี 2549 10.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
โดยส่งออก 3.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ปี 2549
ส่งออก ยูกันดา (ร้อยละ 15.8) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 10.3) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 8.2) และเนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 7.8)
นำเข้า United Arab Emirates (ร้อยละ 11.9) ซาอุดีอาระเบีย (ร้อยละ 8.9) แอฟริกาใต้ (ร้อยละ 8.4) และสหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 8.4)
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ผลผลิตเกษตร เช่น ชา กาแฟ ข้าวโพด ข้าวสาลี น้ำตาล ผักและผลไม้ต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์สำหรับการขนส่ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รถยนต์ เหล็กและเหล็กกล้า ยางเรซินและพลาสติก

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเคนยา
ความสัมพันธ์ด้านการเมืองและการทูต
- ประเทศไทยและสาธารณรัฐเคนยาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2510 โดยไทยมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี เป็นสถานเอกอัครราชทูตในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก มีเขตอาณาครอบคลุม 9 ประเทศ นอกเหนือจากเคนยา ได้แก่ แทนซาเนีย ยูกันดา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์) มาลาวี เอธิโอเปีย คอโมโรส บุรุนดี รวันดา และเซเชลส์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ตั้งขึ้นเมื่อปี 2521 (1978) เอกอัครราชทูตคนปัจจุบันได้แก่ นายจริย์วัฒน์ สันตะบุตร ทั้งนี้ฝ่ายไทยเคยมีความประสงค์ที่จะเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำเมืองมอมบาซา (ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของเคนยาในด้านเศรษฐกิจ และมีคนไทยจำนวนหนึ่งดำเนินธุรกิจการค้าด้วย และแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยฯ (นาย Stephen Smith ชาวอังกฤษ สัญชาติเคนยา) แต่เรื่องดังกล่าวไม่ได้รับการตอบรับจากฝ่ายเคนยาแต่อย่างใด นับตั้งแต่ฝ่ายไทยเสนอเรื่องดังกล่าวให้พิจารณาเมื่อปี 2536
- เคนยาเปิดสถานเอกอัครราชทูตเคนยาในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2549 โดย Dr.Richard Titus Ekai เข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตคนใหม่เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2549 และมีนายอธิวัชร์ ประชาเสรี เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย (ก่อนหน้านี้ เคนยามอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตเคนยาประจำประเทศมาเลเซียมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย)
- ไทยและเคนยามีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเป็นมิตรมายาวนาน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงเป็นระยะๆ รวมทั้งมีความร่วมมือทางวิชาการในด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศของแต่ละฝ่าย ไทยเห็นความสำคัญของเคนยาในฐานะหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่มีศักยภาพและเป็นพันธมิตรในเวทีระหว่างประเทศที่มีคุณค่าโดยเฉพาะในกลุ่ม 77 (Group of 77) ในองค์การการค้าโลก (World Trade Organization) และในเวทีสหประชาชาติอื่นๆ

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้า
เคนยาเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกโดยในปี 2549 ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับเคนยามีมูลค่า 3,279.8 ล้านบาท โดยไทยส่งสินค้าออกไปเคนยามูลค่า 2,732.5 ล้านบาท และนำเข้าสินค้าจากเคนยามูลค่า 547.3 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 2,185.2 ล้านบาท ทั้งนี้ ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาตั้งแต่ปี 2543 สำหรับการค้าของทั้งสองประเทศในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2550 มีมูลค่ารวม 1,788.4 ล้านบาท โดยส่งออกสินค้า 1,615.9 ล้านบาท และนำเข้า 172.6 ล้านบาท นอกจากนี้ ไทยมีลู่ทางที่จะขยายการส่งออกไปยังเคนยาเพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าที่เคนยาต้องการนำเข้าเพิ่มเติมจากไทย ได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยางแผ่น วัสดุก่อสร้าง และเครื่องประดับเลียนแบบ (imitation jewellery) ส่วนสินค้าที่เคนยาขอให้ไทยนำเข้าเพิ่มเติม ได้แก่ กาแฟ อัญมณี และโซดาแอช

สถิติการค้าระหว่างไทย – เคนยา ดูเอกสารแนบ

ปัญหาและอุปสรรคทางการค้ากับเคนยา
- ตลาดเคนยามีกำลังซื้อต่ำและระยะทางขนส่งที่ไกล จึงยังไม่เป็นที่สนใจของเอกชนไทยในการแสวงหาตลาดหรือเข้าไปลงทุนในเคนยา
- การขาดแคลนเงินตราต่างประเทศและปัญหาหนี้สินต่างประเทศจำนวนมาก ทำให้เคนยาค่อนข้างเข้มงวดการนำเข้าสินค้าประเภทต่าง ๆ กอปรกับเคนยาต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ จึงจัดสรรการนำเข้าให้แก่ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
- ระบบราชการและระบบการดำเนินธุรกิจเอกชนของเคนยาล้าสมัยและไม่น่าเชื่อถือ
- เอกชนของทั้งสองฝ่ายขาดข้อมูลทางธุรกิจระหว่างกันและขาดการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง

ความตกลงระหว่างไทยกับเคนยา
1. ความตกลงด้านการบิน ไทยและเคนยาได้ลงนามในความตกลงทางการบิน เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2534 สายการบินเคนยาแอร์เวย์ได้เปิดเที่ยวบิน ไนโรบี-กรุงเทพฯ-ฮ่องกง โดยเริ่มบินเที่ยวแรกเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2546 ปัจจุบันมีเที่ยวบินตรง 3 เที่ยวต่อสัปดาห์
2. ความตกลงด้านการค้า ไทยและเคนยาได้ลงนามในความตกลงทางการค้าเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2536 แต่ยังไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า เนื่องจากฝ่ายไทยเห็นว่าปริมาณการค้าและศักยภาพทางการค้าระหว่างไทย – เคนยายังมีไม่มากนัก สำหรับภาคเอกชนของทั้งสองประเทศยังไม่มีความตกลงระหว่างกัน
3. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ไทยและเคนยาได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเมี่อ วันที่ 2 ธันวาคม 2547

ความร่วมมือทางวิชาการ
รัฐบาลไทยมีโครงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในรูปของการฝึกอบรมทางวิชาการด้านต่าง ๆ แก่ประเทศที่กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศในภูมิภาคแอฟริกา สำหรับเคนยา รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการแก่เคนยาตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมาภายใต้โครงการต่าง ๆ ดังนี้
1. การให้ทุนการศึกษาภายใต้ความร่วมมือกับ UNESCO ซึ่งรัฐบาลได้เสนอให้ทุนแก่นักศึกษาเพื่อศึกษาต่อในประเทศไทยทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับที่สำเร็จปริญญาตรีแล้ว เพื่อทำการค้นคว้าวิจัยในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี โดยมีนักศึกษาเคนยารวมอยู่ด้วย
2. การให้ทุนเพื่อฝึกอบรมระยะสั้นภายใต้โครงการ Thai Aid Programme ซึ่งมีทุนฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ประมาณ 15 หลักสูตร อาทิ ในด้านพัฒนาชุมชน การอนามัย พยาบาล สาธารณสุข เกษตรกรรม และด้านการบินพาณิชย์ เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ทุนฝึกอบรมแก่ชาวเคนยา ดังนี้
- ปี 2540 ชาวเคนยาจำนวน 2 คน เข้ามารับการฝึกอบรมในสาขาสาธารณสุขในวงเงินช่วยเหลือมูลค่า 618,000 บาท
- ปี 2541 เคนยาเสนอขอทุนจำนวน 10 สาขา แต่ไม่ได้รับการจัดสรรให้เนื่องจากไทยประสบปัญหาเรื่องงบประมาณ อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ
- ปี 2542 รัฐบาลไทยให้ทุนฝึกอบรมทางด้านสาธารณสุขแก่ชาวเคนยาจำนวน 1 ทุน
- สำหรับปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลไทยได้มอบทุนฝึกอบรมในด้าน Enhancing Women’s Role in Rural Development ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 9 ธันวาคม 2542โดยการสนับสนุนของ JICA แก่ชาวเคนยา จำนวน 1 ทุน

การแลกเปลี่ยนการเยือนของบุคคลสำคัญไทย-เคนยา
ฝ่ายไทย
- ฯพณฯ พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนเคนยาอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2527 โดยได้เข้าเยี่ยมคารวะและพบปะหารือกับประธานาธิบดี Moi และรัฐมนตรีต่างประเทศเคนยา
- ฯพณฯ ร.ต. ประพาส ลิมปะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนเคนยาอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 13 – 16 กันยายน 2532
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนเคนยาเพื่อเข้าร่วมประชุมคณะมนตรีประศาสน์การของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 2533
- ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนเคนยาอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 6 – 10 มีนาคม 2536 และได้มีการลงนามความตกลงการค้าระหว่างไทยกับเคนยา
- ฯพณฯ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เดินทางเยือนเคนยาอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ตลอดจนการขอเสียงสนับสนุนในการเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ WTO
- คณะสำรวจข้อเท็จจริงของไทย นำโดยนายปกศักดิ์ นิลอุบล อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา เยือนเคนยาระหว่างวันที่ 16 – 17 กุมภาพันธ์ 2542
- นายทวี บุตรสุนทร ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยนำคณะผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเยือนเคนยา ในเดือนเมษายน 2545
- นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี และดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมประชุม Nairobi Summit: A Mine-Free World ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2547
- นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เยือนเคนยาระหว่าง 21-22 มิถุนายน 2548 เพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและเคนยา รวมทั้งเป็นประธานเปิดการประชุม AIDS Workship เมื่อวันที่ 22มิถุนายน 2548
- นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) เยือนเคนยาระหว่าง 8-10 พฤศจิกายน 2548

ฝ่ายเคนยา
- ประธานาธิบดี Daniel Arap Moi เดินทางเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมระดับโลกเรื่องการศึกษาเพื่อปวงชน (World Conference on Education for All) ระหว่างวันที่ 5-9 มีนาคม 2533 โดยรัฐบาลไทยรับเป็นแขกรัฐบาล 1 วัน
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเคนยาเยือนไทย ระหว่างวันที่ 18-21 สิงหาคม 2534
- นาย Nicholas Kipyator Kiprono Biwott รัฐมนตรีว่าการท่องเที่ยว การค้าและอุตสาหกรรมเคนยาเดินทางเยือนไทยระหว่างวันที่ 12 – 19 กุมภาพันธ์ 2542 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ครั้งที่ 10
- คณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเคนยา ซึ่งประกอบด้วย นายทหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่พลเรือนระดับผู้บริหาร จำนวน 14 คน ได้เดินทางมาทัศนศึกษาและดูงานด้านต่าง ๆ ที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 18 – 22 กันยายน 2543 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ผู้แทนระดับสูงของวิทยาลัยราชอาณาจักรเคนยาเดินทางเยือนไทย
- Dr.C.Murungaru รัฐมนตรีช่วยว่าการด้านการบริหารส่วนภูมิภาคและความมั่นคงแห่งชาติ สังกัดสำนักประธานาธิบดี (Minister of State in charge of Provincial Administration and National Security) และคณะ เดินทางเยือนไทยระหว่างวันที่ 15-19 กันยายน 2546 เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญากรุงออตตาวา ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ
- นาย Kalonzo Musyoka รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเคนยา เดินทางเยือนภูเก็ตเป็นการส่วนตัว เมื่อวันที่ 1-3 มกราคม 2547
- นาง Esther Mshai Tolle ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเคนยาคนใหม่ ในฐานะเลขาธิการของการประชุม Nairobi Summit on a Mine - Free World เดินทางเยือนไทยและเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2547
- คณะวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเคนยาได้เดินทางมาศึกษาดูงานที่ประเทศไทยระหว่างวันที่ 2-9 ตุลาคม 2547
- นาย Mwai Kibaki ประธานาธิบดีเคนยาเยือนไทย ในฐานะแขกของรัฐบาล ในลักษณะ Official Working Visit ระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2547
- เคนยาเปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทย ในเดือนกันยายน 2549 Dr.Richard Titus Ekai เอกอัครราชทูตคนใหม่เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2549



สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์