ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> คิริบาส




แผนที่
สาธารณรัฐคิริบาส
Republic of Kiribati


 
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้ง บริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่กึ่งกลางระหว่างฮาวายและออสเตรเลีย
พื้นที่ 811 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่ 1 เกาะและหินปะการังขนาดเล็ก 32 เกาะ มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 3,550,000 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงตาระวา (Tarawa) มีประชากรประมาณ 30,000 คน
ภูมิประเทศ หมู่เกาะล้อมรอบด้วยแนวหินปะการังและแนวหินโสโครกที่กว้างใหญ่
ภูมิอากาศ เขตร้อนแถบทะเลเส้นศูนย์สูตร
ประชากร 100,798 คน (กรกฎาคม 2547)
เชื้อชาติ ไมโครนีเซีย (Micronesian) ร้อยละ 98
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 53 และนิกายคีรีบาสโปรแตนแตนท์ร้อยละ 39
ภาษา อังกฤษ (ภาษาทางการ) และภาษาพื้นเมือง Gilbertese / I-Kiribati
หน่วยเงินตรา ดอลลาร์ออสเตรเลีย
วันประกาศเอกราช ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อ 12 กรกฎาคม 2522 (ค.ศ. 1979)
GDP 64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP per capita 673 ดอลลาร์สหรัฐ
Real GDP Growth ร้อยละ 0.3 (2548)
อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว เนื้อมะพร้าวแห้ง ปลา
สินค้าส่งออก เนื้อมะพร้าวแห้ง มะพร้าว ปลาสวยงาม สาหร่ายทะเล
ตลาดส่งออก ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ ไทย
สินค้านำเข้า อาหาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ สินค้าอุตสาหกรรม น้ำมัน
ตลาดนำเข้า ออสเตรเลีย ฟิจิ นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา

วันชาติ12 กรกฎาคม (ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2522)

การเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครอง

ระบบรัฐสภา รัฐสภาเดี่ยว เรียกว่า “Maneaba” ประกอบด้วยสมาชิก 42 คน (ผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้ง 40 คน ผู้แทนของเกาะ Banaba 1 คน และอัยการสูงสุด 1 คน) มีวาระ 4 ปี

ประมุขรัฐ ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและเป็นหัวหน้ารัฐบาล มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน (รัฐสภาเป็นผู้คัดเลือกผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี) มีวาระสมัยละ 4 ปี และสามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ 3 สมัย

คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี อัยการสูงสุด และคณะรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 8 คน ซึ่งประธานาธิบดีจะคัดเลือกจากสมาชิกรัฐสภา

คณะรัฐบาล ประธานาธิบดี H.E. The Hon. Anote Tong (ตั้งแต่ 10 กรกฎาคม 2546)

รองประธานาธิบดี H.E. The Hon. Teima Onorio

รัฐมนตรีต่างประเทศ H.E. The Hon. Anote Tong

ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลสูง ศาลอุทธรณ์ และศาลแขวง โดย
ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาทุกระดับ

การเลือกตั้ง ครั้งล่าสุด เดือนพฤษภาคม 2545 ครั้งต่อไปปี 2549


สถานการณ์ทางการเมือง
ประธานาธิบดี Anote Tong มาจากพรรคเสียงข้างน้อย แต่สามารถทำงานร่วมกับพรรคเสียงข้างมากได้อย่างราบรื่น ปัญหาสำคัญของรัฐบาลในปัจจุบันคือการสร้างงานให้แก่ประชากร และแก้ปัญหาการขาดทุนของสายการบิน Air Kiribati
นอกจากนี้ ชาวเกาะ Banaba มีความพยายามจะแยกตัวเป็นรัฐภายใต้ความคุ้มครองของฟิจิ เนื่องจากเกาะ Banaba ถูกรัฐบาลใช้พื้นที่ในการทำเหมืองแร่ฟอสเฟต ประชากรส่วนใหญ่จึงได้ย้ายถิ่นฐานไปตั้งถิ่นฐานที่เกาะ Rabi ของฟิจิในช่วงทศวรรษที่ 1940 และรู้สึกพึงพอใจกับสิทธิของการเป็นพลเมืองฟิจิ รัฐบาลคีรีบาสได้เจรจากับชาว Banaba โดยได้ปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญให้มีผู้แทน Banaba เป็นสมาชิกรัฐสภา 1 ที่นั่ง และจะมอบที่ดินซึ่งรัฐบาลใช้ในการทำเหมืองแร่ฟอสเฟตคืนให้แก่ชาว Banaba อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีประชากรอาศัยอยู่ในเกาะนี้เพียง 200-300 คน

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจ

คีรีบาสถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่ำกว่า 700 ดอลลาร์สหรัฐ คีรีบาสเคยมีรายได้มหาศาลจากการส่งออกฟอสเฟตจากเกาะ Banaba ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และเป็นร้อยละ 50 ของงบประมาณรัฐบาล อย่างไรก็ตามฟอสเฟตได้หมดลงในปี 2522 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ ทำให้รายได้ประชาชาติต่อหัวลดลงกว่าครึ่งหนึ่งระหว่างปี 2522-2524ปัจจุบัน เศรษฐกิจของคีรีบาสขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยจาก The Revenue Equalization Reserve Fund ซึ่งเป็นเงินที่คีรีบาสสะสมจากการส่งออกฟอสเฟต มีมูลค่าประมาณ 600 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และรัฐบาลบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คีรีบาสยังมีรายได้จากการให้สัมปะทานประมง และจากแรงงานคีรีบาสนอกประเทศ รวมทั้งความช่วยเหลือจากต่างประเทศ และการท่องเที่ยว ด้วยลักษณะภูมิประเทศและข้อจำกัดในการเพาะปลูก ทำให้คีรีบาสต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตแทบทุกชนิด
อย่างไรก็ตาม คีรีบาสมีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ จึงสามารถพึ่งพารายได้จากการออกใบอนุญาตสัมปะทานประมงแก่ประเทศต่าง ๆ อาทิ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสหรัฐฯ ซึ่งทำรายได้เข้าประเทศถึงปีละ 20 – 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าคีรีบาสจะต้องสูญเสียรายได้นับล้านดอลลาร์สหรัฐจากเรือประมงที่จับปลาโดยผิดกฎหมายด้วยก็ตาม ปลาส่วนใหญ่ที่จับจากน่านน้ำคีรีบาสจะถูกส่งเข้าแปรรูปที่โรงงานในประเทศไทยและเปอร์โตริโก และปลาคุณภาพดีบางส่วนจะถูกส่งไปยังตลาดออสเตรเลียและญี่ปุ่น
นอกจากนี้ คีรีบาสยังมีรายได้จากเงินช่วยเหลือประมาณปีละ 15 – 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และไต้หวัน เงินที่ส่งมาจากแรงงานชาวคีรีบาสที่อาศัยอยู่ต่างประเทศอีกประมาณ 7.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 5-10 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี นักท่องเที่ยวเดินทางไปคีรีบาสราว 3,000-4,000 คนต่อปี สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ได้แก่ สมรภูมิรบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และเกาะ Millennium ซึ่งตั้งอยู่ที่เส้นแบ่งเวลาสากล และเป็นจุดแรกของโลกที่เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ นักท่องเที่ยวชาวสหรัฐฯ มักเดินทางไปตกปลาและดำน้ำที่เกาะ Christmas ของคีรีบาส เนื่องจากมีเที่ยวบินจากโฮโนลูลู 1 เที่ยวต่อสัปดาห์
สินค้าส่งออกสำคัญของคีรีบาส คือ เนื้อมะพร้าวแห้ง มีมูลค่า 2 ใน 3 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ปัจจุบันคีรีบาสส่งมะพร้าวแห้งไปแปรรูปที่บังกลาเทศ และมีแผนจะสร้างโรงงานแปรรูปของตนเองที่กรุงตาระวา สินค้าส่งออกอื่น ๆ ได้แก่ ปลาสวยงาม หูฉลาม และสาหร่ายทะเล
การคมนาคมขนส่งยังเป็นปัญหาต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของคีรีบาส ปัจจุบันคีรีบาสใช้สายการบิน Air Nauru ในการเดินทางระหว่างประเทศ และสายการบิน Air Kiribati ในการเดินทางระหว่างกรุงตาระวากับเกาะต่างๆ ในหมู่เกาะกิลเบิร์ท สำหรับการเดินทางระหว่างหมู่เกาะไลน์และหมู่เกาะกิลเบิร์ททางอากาศจำเป็นต้องเดินทางผ่านฮาวายและฟิจิหรือหมู่เกาะมาร์แชลล์เท่านั้น นอกจากนี้ การสื่อสารยังมีอัตราแพงและไม่สะดวก คีรีบาสถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีค่าบริการอินเตอร์เน็ตแพงที่สุดในโลก

สถิติการค้าไทย-คีรีบาส (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี มูลค่าการค้า ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า
2544(2001) 10.5 0.1 10.4 -10.3
2545(2002) 6.5 0.3 6.2 -5.9
2546(2003) 1.9 0.5 1.4 -0.9
2547(2004) 1.9 0.9 1 -0.1
2548(2005)ม.ค.-เม.ย. 0.5 0.5 0 0.5
2549 (2006) 17.3 5.4 11.9 -6.5

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐคิริบาส
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

คีรีบาสมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และฟิจิ รวมทั้งเป็นประเทศหนึ่งในแปซิฟิกใต้ที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน
ความสัมพันธ์กับไทย
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับคีรีบาสเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2548 การค้าระหว่างไทยกับคีรีบาส อยู่ในอัตราที่ไม่สูงมาก ในปี 2547 มีมูลค่าประมาณ 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกข้าวสาลี อาหารสำเร็จรูป ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังคีรีบาส มูลค่าประมาณ 9 แสนดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าสัตว์น้ำมูลค่าประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

วันที่ 22 สิงหาคม 2550

เรียบเรียงโดย กองแปซิฟิกใต้ กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5117-8 Fax. 0-2643-5119 E-mail : american04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์