ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> คีร์กิซ




แผนที่
สาธารณรัฐคีร์กิซ
Kyrgyz Republic


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง อยู่ในเอเชียกลาง ทางทิศตะวันตกของจีนและทิศใต้ของคาซัคสถาน (ระหว่างเทือกเขาเทียนชานและพาเมียร์)

พื้นที่ 198,500 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่เพาะปลูกร้อยละ 7

อากาศ ภูเขาสูงแบบภาคพื้นทวีป

ประชากร ประมาณ 5.2 ล้านคน (2549)
แบ่งเป็น - ชาวคีร์กีซ ร้อยละ 52.4 - ชาวยูเครน ร้อยละ 2.5 - ชาวรัสเซีย ร้อยละ 18 - ชาวเยอรมัน ร้อยละ 2.4 - ชาวอุซเบก ร้อยละ 12.9 - อื่น ๆ ร้อยละ 11.8

เมืองหลวง บิชเคก (Bishkek) มีประชากร 5.2 ล้านคน

ภาษา คีร์กีซและรัสเซียเป็นภาษาราชการ (ในเดือนมีนาคม 2539 รัฐสภาคีร์กีซได้ให้ความเห็นชอบให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการควบคู่กับภาษาคีร์กีซ ในพื้นที่ที่มีประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษารัสเซีย)

ศาสนา อิสลามนิกายสุหนี่ ร้อยละ 75 Russian Orthodox ร้อยละ 20 อื่น ๆ ร้อยละ 5

ทรัพยากรธรรมชาติ ทองคำ ยูเรเนียม ปรอท ถ่านหิน พลังงานไฟฟ้าจากน้ำ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ = 2.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ = ร้อยละ 5 (ปี 2549)

สกุลเงิน SOM - ซอม (KGS)

อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 40.149 ซอม (2549)

เวลา เร็วกว่ามาตรฐาน GMT 5 ชั่วโมง

วันชาติ 31 สิงหาคม

ประมุข ประธานาธิบดี Kurmanbek Bakiev (10 กรกฎาคม 2548)

นายกรัฐมนตรี นาย Almazbek Atambayev (30 มีนาคม 2550)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Karabayev Ednan Oskonovich (8 กุมภาพันธ์ 2550)

การเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครอง
นับแต่สาธารณรัฐคีร์กีซได้แยกตัวเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2534 มีการจัดการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยนาย Kurmanbek Bakiev ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2548 หลังจากที่ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีภายหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 โดยผู้ชุมนุมประท้วงราวหมื่นคนได้เข้ายึดสถานที่สำคัญของรัฐบาล และโค่นล้มประธานาธิบดี Askar Akayev ซึ่งดำรงตำแหน่งนี้ตั้งแต่ปี 2533 ในสมัยของโซเวียตและอยู่ในตำแหน่งผู้นำประเทศมาตั้งแต่ประกาศเอกราชรวมระยะเวลา 15 ปี
อย่างไรก็ตาม ความนิยมและการสนับสนุนที่มีต่อประธานาธิบดี Bakiev ได้ลดลงเป็นลำดับ เนื่องมาจากการบริหารประเทศอย่างไม่มีประสิทธิภาพและความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความยากจน อาชญากรรมและการฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาล ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การชุมนุมต่อต้านประธานาธิบดี Bakiev เรื่อยมา จนในเดือนพฤศจิกายน 2549 ประชาชนในกรุงบิชเคกซึ่งเป็นเมืองหลวงของคีร์กีซได้ออกมาประท้วงและเรียกร้องให้ประธานาธิบดีแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดอำนาจของประธานาธิบดี และเพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาล ซึ่งประธานาธิบดี Bakiev ยินยอมลงนามในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่แก้ไขเนื้อหาตามที่ประชาชนเรียกร้องเพื่อยุติการชุมนุม แต่หลังจากนั้นไม่นาน ได้มีการผ่านร่างกฎหมายเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญและคืนอำนาจกลับสู่ประธานาธิบดี ทำให้พรรคฝ่ายค้านออกมาเรียกร้องให้ประธานาธิบดี Bakiev แก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง รวมถึงกดดันให้ประธานาธิบดีลาออกจากตำแหน่ง

นโยบายต่างประเทศ
สาธารณรัฐคีร์กีซมีนโยบายต่างประเทศที่มุ่งพัฒนาความร่วมมือกับประเทศต่างๆ และ มุ่งหาตลาดการค้าใหม่ในต่างประเทศ โดยความร่วมมือนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกันและความ ไว้เนื้อเชื่อใจกัน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ นโยบายดังกล่าวกระทำได้ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากสาธารณรัฐคีร์กีซตั้งอยู่ระหว่างสองประเทศใหญ่ คือ จีนกับรัสเซีย นอกจากนั้น ปัจจุบันอเมริกากับญี่ปุ่นพยายามเข้ามาหาผลประโยชน์โดยการขยายเขตอิทธิพลในบริเวณเอเชียกลางมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นโยบายต่างประเทศหลักของสาธารณรัฐคีร์กีซได้หันมาเน้นความสำคัญกับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกเป็นอันดับแรก โดยสาธารณรัฐคีร์กีซได้พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เกาหลีใต้และไทย และมีการพัฒนาความเข้าใจที่ดีต่อกันกับญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซียและเกาหลีใต้

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจและสังคม
เนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐคีร์กีซส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรม และประชากรส่วนใหญ่ยากจน จึงต้องมีการปฏิรูปประเทศอย่างเป็นขั้นตอน ในปี 2549 เศรษฐกิจของสาธารณรัฐคีร์กีซเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยมีมูลค่าการเจริญเติบโตที่แท้จริงของ GDP ร้อยละ 5 เนื่องจากได้รับเงินลงทุนจากต่างชาติในภาคธุรกิจเหมืองแร่และรัฐบาลก็ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม นโยบายทางเศรษฐกิจภายในประเทศของสาธารณรัฐคีร์กีซต้องคำนึงถึงรากฐานความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและทางเชื้อชาติ และต้องพยายามยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น เพื่อบรรเทาความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้งจากความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
ปัจจุบัน สาธารณรัฐคีร์กีซสนใจการพัฒนาด้านการค้า การธนาคาร ระบบตลาดหุ้น และ การให้เอกชนเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจให้มากที่สุด

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐคีร์กิซ
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ไทยได้รับรองเอกราชของคีร์กิซสถานเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 และได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐคีร์กีซสถาน (Republic of Kyrgyzstan) เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2535 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐคีร์กีซ (Kyrgyz Republic) ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2536
ซึ่งนับตั้งแต่มีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันอาจกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่ยังอยู่ในระดับที่เริ่มต้นเท่านั้น ทั้งในความร่วมมือทวิภาคีระดับต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนการเยือน ทั้งนี้ สาธารณรัฐคีร์กีซได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตคีร์กีซ ณ กรุงปักกิ่ง มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนฝ่ายไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก ดูแลความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐคีร์กีซ

ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยและสาธารณรัฐคีร์กีซยังมีไม่มาก จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสาธารณรัฐคีร์กีซค่อนข้างจำกัด รวมถึงการที่ผู้นำของทั้งสองฝ่ายขาดการติดต่อกันอย่างต่อเนื่องทำให้ความสัมพันธ์ด้านการเมืองระหว่างสองประเทศมีน้อย

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
มูลค่าการค้าระหว่างไทย-สาธารณรัฐคีร์กีซ ยังมีปริมาณค่อนข้างต่ำ มูลค่าการค้าปี 2548 ประมาณ 2.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2549 มีมูลค่าประมาณ 5 แสนดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์รักษาผิว ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ส่วนสินค้าสำคัญที่นำเข้าจากสาธารณรัฐคีร์กีซ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้า กล้อง เลนส์และอุปกรณ์การถ่ายรูปและภาพยนตร์

ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
ในชั้นนี้ ความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทยกับสาธารณรัฐคีร์กีซยังมีไม่มากนัก

ความตกลงที่ลงนามกับไทย
ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (Air Service Agreement) ลงนามเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2544

การเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
รัฐบาล (ระหว่างปี 2536 – 2539)
- นายกษิต ภิรมย์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก เยือนสาธารณรัฐคีร์กีซอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 18–21 พฤศจิกายน 2536
- นายอนุชา โอสถานนท์ เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ เยือนสาธารณรัฐคีร์กีซอย่างเป็นทางการในฐานะเอกอัครราชทูตสัญจรประจำภูมิภาคเอเชียกลาง ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 2 ตุลาคม 2539
ฝ่ายคีร์กีซ
รัฐบาล (ระหว่างปี 2540 – ปัจจุบัน)
- นาย Alikbek Djekshenkoulov รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม ESCAP สมัยที่ 53 ระหว่างวันที่ 23–30 เมษายน 2540
- นาย Alikbek Djekshenkoulov รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม Ministers of Industry and Technology of Asia and Pacific ระหว่างวันที่ 20–23 กุมภาพันธ์ 2541
- นาย Alikbek Djekshenkoulov รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม ESCAP สมัยที่ 55 ระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2542

สิงหาคม 2550

เรียบเรียงโดย กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กลุ่มงานเอเชียกลาง โทร. 0 2643 5000 ต่อ 2655 Fax. 0 2643 5301



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์