|
แผนที่
|
สาธารณรัฐเลบานอน The Republic of Lebanon
|
|
ภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ที่ตั้ง ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับ ซีเรีย (375 กม.)
ทิศใต้ติดกับอิสราเอล (79 กม.) ทิศตะวันตกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (225 กม.)
พื้นที่ 10, 400 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 10,230 ตารางกิโลเมตร
พื้นน้ำ 170 ตารางกิโลเมตร
ประชากร 3,874,050 คน (2006)
เมื่องหลวง กรุงเบรุต (Beirut)
เชื้อชาติ อาหรับร้อยละ 95 อาร์เมเนียนร้อยละ 4 และอื่น ๆ ร้อยละ 1
วันสถาปนาประเทศ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2486 (1943)
ภาษา ภาษาอาหรับและฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการชาวเลบานอน ส่วนใหญ่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้
ศาสนา อิสลาม ร้อยละ 59.7 (นิกายชีอะต์ ประมาณ ร้อยละ 35 และนิกายสุหนี่ ประมาณ ร้อยละ 21) คริสต์ร้อยละ 39 (Maronites, Greek Orthodox, Armenian Apostolic, Melkite Greek Catholics และ Chaldean Catholic) Druze ร้อยละ 5 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.3
เวลา ช้ากว่าไทย 4.5 ชั่วโมง
ประมุขของรัฐ/ประธานาธิบดี Commander General Emile Lahoud
นายกรัฐมนตรี Fouod Siniora
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Fawgi Salloukh
สถาบันทางการเมือง
ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภาแห่งชาติ (National Assembly) มีสมาชิก 128 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี
(ประธานรัฐสภาแห่งชาติควรเป็นมุสลิมนิกายชีอะต์)
ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี 24 นาย มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ฝ่ายตุลาการ มี 4 ศาล ได้แก่ ศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับพลเรือนและการพาณิชย์ 3 ศาล และศาลที่พิจารณาคดีเกี่ยวกับคดีอาญาอีก 1 ศาล
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
เลบานอนอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1943 หลังจากนั้น เลบานอนได้พัฒนาประเทศสามารถรักษาความเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การเงิน การท่องเที่ยว การเกษตร ศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้นับตั้งแต่อดีต ถือเป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลกมุสลิม หรือ สวิตเซอร์แลนด์แห่งตะวันออกกลาง กรุงเบรุต ซึ่งเป็นเมืองหลวงก็เป็นที่รู้จักในนาม ปารีสแห่งตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี ค.ศ.1975 1990 เลบานอนตกอยู่ภายใต้ภาวะสงครามกลางเมือง เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอาหรับและกลุ่มคริสเตียนในเลบานอน ภายหลัง ทุกฝ่ายสามารถหาข้อยุติ และร่วมกันฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ ผ่านทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านการท่องเที่ยว เกษตร และการเงินการธนาคาร
โครงสร้างทางการเมือง
รูปแบบการปกครองของเลบานอนเป็นระบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยที่เลบานอนมีความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนาภายในค่อนข้างมาก มีชาวมุสลิม ประมาณ ร้อยละ 56 ซึ่งแบ่งเป็นมุสลิมนิกายชีอะต์ ร้อยละ 35 และสุหนี่ ร้อยละ 21 และยังมีชาวคริสต์อีกประมาณร้อยละ 39 (Maronites, Greek Orthodox, Armenian Apostolic, Melkite Greek Catholics และ Chaldean Catholic) Druze ประมาณร้อยละ 5 และอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีผู้อพยพชาวปาเลสไตน์ และชาว Kurds
เลบานอนมีระบบการกระจายอำนาจทางการเมืองเรียกว่า Confessionalism โดยมี ประธานาธิบดีจากกลุ่ม Maronite Christian นายกรัฐมนตรีจากมุสลิมนิกายสุหนี่และประธานรัฐสภาแห่งชาติจากมุสลิมนิกายชีอะต์
เหตุการณ์การเมืองที่สำคัญ
การโจมตีกลุ่ม Hezbollah ในเลบานอน โดยอิสราเอล ในปี 2549
หลังจากที่กลุ่ม Hezbollah ในเลบานอนได้จับตัวทหารอิสราเอลไป 2 คน (นาย Ehud Goldwasser และนาย Eldad Regev) เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2549 โดยมีเป้าหมายให้อิสราเอลปล่อยตัวนักโทษชาวอาหรับที่อิสราเอลจับกุมไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อิสราเอลใช้มาตรการทางทหารต่อเลบานอน การปะทะกันระหว่าง 2 ฝ่าย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเลบานอนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก และชาวเลบานอนในพื้นที่ถูกโจมตีไร้ที่อยู่อาศัย
ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุการหยุดยิงตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2549 ตามข้อมติ UNSC ที่ 1701 ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2549 โดยข้อมติฯ เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายยุติการเป็นปฏิปักษ์ระหว่างกัน (cessation of hostilities) โดยให้กลุ่ม Hezbollah ยุติการโจมตีอิสราเอลโดยทันทีและให้อิสราเอลยุติการปฏิบัติการทางการทหารโดยทันทีเช่นกัน และยังให้รัฐบาลเลบานอนและ United Nations Interim Forces in Lebanon (UNIFIL) ร่วมกันส่งกองกำลังเข้าไปในตอนใต้ของเลบานอนในการควบคุมและตรวจสอบการหยุดยิง โดยระบุให้อิสราเอลถอนกองกำลังไปอยู่หลังเส้นเขตแดน (Blue Line) ระหว่างสองประเทศ และให้มีการเพิ่มจำนวนกองกำลัง UNIFIL ซึ่งปฏิบัติการในเลบานอนเป็น 15,000 นาย ปัจจุบันมีทหารเข้าปฏิบัติหน้าที่ ใน UNIFIL แล้ว 12,978 นาย จาก 30 ประเทศ
การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลเลบานอนและกลุ่มติดอาวุธ Fatah al-Islam
ในปี2550
ในช่วงเดือนก.พ. 2550 สถานการณ์การเมืองภายในของเลบานอนตึงเครียดขึ้น โดยกลุ่มติดอาวุธ Fatah al-Islam ได้ขึ้นมามีบทบาทในการก่อความไม่สงบในเลบานอน โดยกองทัพเลบานอนปะทะกับกลุ่ม Fatah al-Islam ด้านนอกค่ายผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในเลบานอน ชื่อ Nahr El-Bared ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก รวมทั้ง ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เกือบทั้งหมดต้องอพยพออกจากค่ายดังกล่าว นอกจากนั้น มีการระเบิดหลายครั้งในเมืองใหญ่ในเลบานอน ซึ่งส่งผลให้เหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นเหตุการณ์รุนแรงที่สุดตั้งแต่สงครามกลางเมืองเลบานอนในปี 1975-90 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ รัฐบาลเลบานอนประกาศว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 22.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (CIA)
รายได้เฉลี่ยต่อหัว 6,180 ดอลลาร์สหรัฐ (CIA)
อุตสาหกรรม เหมืองแร่ ผลิตภัณฑ์อาหาร ไม้และเฟอร์นิเจอร์
ธนาคาร การท่องเที่ยว เครื่องประดับ
สินค้าออกที่สำคัญ กระดาษ ผลิตภัณฑ์อาหาร เส้นใย
สินค้าเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค
สกุลเงิน เลบานอนปอนด์ (Lebanese Pound)
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเลบานอน |
ด้านการเมือง
แม้ไทยและเลบานอนได้สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2501 (1958) แต่การติดต่อสัมพันธ์กันยังมีน้อย ปัจจุบันไทยยังมิได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตไทยที่เลบานอน แต่มีกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงเบรุตได้แก่นาย Ibrahim Joseph Salem โดยเลบานอนอยู่ในเขตอาณาของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาด ขณะที่เลบานอนได้ให้สถานเอกอัครราชทูตเลบานอน ณ กรุงนิวเดลี มีเขตอาณาครอบคลุมไทย (เลบานอนได้ทำการปิดสถานเอกอัครราชทูตเลบานอนประจำประเทศไทยซึ่งเปิดมาตั้งแต่ปี 2537 ในวันที่ 1 เมษายน 2542) ทั้งนี้ การติดต่อและการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองฝ่ายยังมีน้อย
ด้านเศรษฐกิจ
เลบานอนมีศักยภาพเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค มีระบบธนาคารที่มีประสิทธิภาพ มีศักยภาพในธุรกิจสาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม รวมทั้งเป็นศูนย์กลางส่งออกต่อ (re-export) ไปยังประเทศข้างเคียงและยุโรป นอกจากนี้ นักธุรกิจเลบานอนมีเครือข่ายความสัมพันธ์ทั่วตะวันออกกลางและแอฟริกา จึงมีศักยภาพที่จะเป็นสถานที่สำหรับการ re-export อย่างไรก็ดี มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับเลบานอนอยู่ในระดับปานกลาง ในปี 2549 ไทยกับเลบานอนมีมูลค่าการค้าระหว่างกันประมาณ 61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยไปเลบานอนประมาณ 59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าสินค้าของเลบานอนประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับเลบานอน
สินค้าที่ไทยส่งออกไปเลบานอนที่สำคัญ
ได้แก่ 1) อาหารทะเลกระป๋อง 2) อัญมณีและเครื่องประดับ 3)รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 4) หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ 5) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 6) ผลิตภัณฑ์ยาง 7) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 8) ผักกระป๋องและ แปรรูป 9) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล10) เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเลบานอนที่สำคัญ
ได้แก่ 1) สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 2) นาฬิกาและส่วนประกอบ 3) เครื่องประดับอัญมณี 4) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 5) วัสดุทำจากยาง 6) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 7) ผลิตภัณฑ์โลหะ 8) ธุรกรรมพิเศษ 9) เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ 10) ด้ายและเส้นใย
การให้ความช่วยเหลือ
ภายหลังการหยุดยิงระหว่างกลุ่ม Hezbollah และอิสราเอลเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2549 รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เลบานอนตามคำร้องขอความช่วยเหลือไปยังประเทศต่างๆ ของนายกรัฐมนตรีเลบานอน โดยบริจาคเป็นเงินจำนวน 5,670,000 บาท (150,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ผ่านสภากาชาดไทย เพื่อส่งมอบให้ ICRC เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนชาวเลบานอนต่อไป ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเลบานอนได้มีหนังสือวันที่ 24 สิงหาคม 2549 (2006) ขอบคุณประเทศไทยที่ได้บริจาคเงินช่วยเหลือดังกล่าว
ผู้แทนทางการทูต
ฝ่ายไทย
ไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงริยาดเป็นจุดติดต่อ (contact point)
Royal Thai Embassy at Riyadh,
Diplomatic Quarter
Ibnu Banna Road,
P.O.Box 94359
RIYADH 11693
โทรศัพท์ (9661) 488-1174, 448-0300
โทรสาร (9661) 488-1179
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงเบรุต ได้แก่ นาย Ibrahim Joseph Salem
Royal Thai Consulate General
P.O.Box 4200
Beirut LEBANON
Code : 00961 1
Tel. 615870
Fax. 615869
ฝ่ายเลบานอน
เอกอัครราชทูตเลบานอนประจำไทยมีถิ่นพำนักที่กรุงนิวเดลีประเทศอินเดีย
The Embassy of the Republic of Lebanon
10, Sardar Patel Marg, Chankyapuri
New Delhi - 110 021
Tel.: (91-11) 2411-0919, 2411-1415
Fax: (91-11) 2411-0818
E-mail: lebemb@ bol.net.in
********************************
สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5051-52 E-mail : southasian03@mfa.go.th
|
|