ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ไลบีเรีย






สาธารณรัฐไลบีเรีย
Republic of Liberia


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 579 กิโลเมตร มีอาณาเขต
ทิศเหนือติดกับกินี
ทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก
ทิศตะวันออกติดกับโกตดิวัวร์
ทิศตะวันตกติดกับเซียร์ราลีโอน

พื้นที่ 111,370 ตารางกิโลเมตร

สภาพภูมิประเทศ ตามแนวชายฝั่งเป็นที่ราบลุ่ม ลึกเข้าไปเป็นเนินเขาและที่ราบสูงซึ่งอุดมด้วยป่าไม้

เมืองหลวง กรุงมันโรเวีย (Monrovia)

เมืองสำคัญอื่น ๆ เมือง Buchanan Bensonville Gbarnga Saniquillie และVoinjama
ภูมิอากาศ แบบร้อนชื้น อุณหภูมิสูงโดยตลอด โดยอุณหภูมิเฉลี่ยในเวลากลางวันประมาณ 28 – 32 องศาเซลเซียส และกลางคืนประมาณ 20 – 22 องศาเซลเซียส มีฝนตกมากตลอดปี ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม และมีฝนตกชุกมากระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ปริมาณน้ำฝน 5,138 มิลลิเมตรต่อปี

จำนวนประชากร 3,195,931 คน (ประมาณการเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550)

เชื้อชาติ ประกอบด้วยชนเผ่าอัฟริกันเผ่าต่าง ๆ ประมาณ ร้อยละ 95 ที่สำคัญ คือ Bassa Bella Gbandi Mende และ Gio 2.5 และเป็นชาวไลบีเรียเชื้อสายอเมริกัน และชาวคองโก ร้อยละ 2.5

ภาษา ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และเป็นภาษาพูดของประชาชน(ร้อยละ 20) ที่เหลือจะใช้ภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ อีกประมาณ 20 ภาษา ที่สำคัญ คือ Mande West Atlantic และ Kwa

ศาสนา ร้อยละ 40 นับถือความเชื่อดั้งเดิม อีกร้อยละ 40 นับถือศาสนา
คริสต์ และร้อยละ 20 นับถือศาสนาอิสลาม

การเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครอง
สาธารณรัฐไลบีเรียต้องประสบกับภาวะสงครามกลางเมืองในระหว่างปี 2532 ถึง 2546 และต้องตกอยู่ภายใต้ระบบการปกครองที่เข้มงวดของประธานาธิบดี Charles Taylor ในระหว่างปี 2540-2546 โดยหลังปี 2546 ความวุ่นวายทางการเมืองภายในไลบีเรียเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นหลังจากที่ประธานาธิบดี Taylor ได้รับแรงกดดันจากนานาประเทศและขอลี้ภัยทางทางการเมืองในไนจีเรีย ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ และรัฐบาลรักษาการณ์ได้ถูกจัดตั้งขึ้น โดยมีนาย Gyudeh Bryant เป็นประธานาธิบดี ซึ่งได้บริหารประเทศจนถึงปี 2548 และได้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นในปลายปี 2548 โดยนาง Ellen Johnson-Sirleaf ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนมกราคม 2549

สาธารณรัฐไลบีเรียปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐโดยประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศและผู้นำฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี และอยู่ในตำแหน่งได้ 2 สมัย การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 และการเลือกตั้งในครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2554 คณะรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี โดยได้รับ การเห็นชอบโดยวุฒิสภา สมัชชาแห่งชาติ (National Assembly) หรือฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยวุฒิสภา (Senate) จำนวน 30 ที่นั่ง ซึ่งมาจากการเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี และสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) จำนวน 64 ที่นั่ง ซึ่งมาจากการเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุด

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
สาธารณรัฐไลบีเรียได้ดำเนินความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเทศตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ทั้งยังมีความสัมพันธ์กับลิเบีย คิวบา และจีน นอกจากนี้ ไลบีเรียถือว่าเป็นหนึ่งในสมาชิก ผู้ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ และยังเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศอื่นที่สำคัญด้วย อาทิ the Economic Community of West African States (ECOWAS), African Development Bank (ADB), Mano River Union (MRU) และ Non-Aligned Movement (NAM)

รูปแบบการปกครอง ระบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและผู้นำรัฐบาลประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาง Ellen Johnson-Sirleaf

สถาบันทางการเมือง
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาล คณะรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี และได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา
ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภา ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 26 คน โดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอยู่ในตำแหน่งคราวละ9 ปี และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมาจากการเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี
ฝ่ายตุลาการ มีศาลสูง ซึ่งประกอบด้วย ผู้พิพากษา 5 คน นอกจากนี้ มีศาลสัญจร (circuit court) และศาลชั้นต้น (lower court)

ประมุขแห่งรัฐ นาง Ellen Johnson-Sirleaf
รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย George Wallace
วันชาติ วันที่ 26 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันที่ประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2390

เศรษฐกิจการค้า
สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป
สงครามกลางเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2532 จนถึง พ.ศ. 2540 ได้ทำลายเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของไลบีเรีย โดยเฉพาะสาธารณูปโภคในกรุงมันโรเวียและปริมณฑล มีนักธุรกิจเป็นจำนวนมากเดินทางออกนอกประเทศ อย่างไรก็ตาม การที่ไลบีเรียอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำ แร่ธาตุ ป่าไม้ รวมทั้งมีสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อเกษตรกรรม ทำให้ไลบีเรียเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าพื้นฐานต่าง ๆ ในขณะที่อุตสาหกรรมท้องถิ่นซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของต่างชาติยังมีขนาดเล็ก
รัฐบาลซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยวิถีทางประชาธิปไตยและเข้ารับหน้าที่เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 ต้องแบกรับภาระหนี้สินต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ การฟื้นฟู สาธารณูปโภค และการเพิ่มพูนรายได้ของประเทศในสภาวะเศรษฐกิจที่เสื่อมโทรมเช่นในปัจจุบันขึ้นอยู่กับการดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจทั้งมหภาคและจุลภาคของรัฐบาลใหม่ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการลงทุนจากต่างประเทศด้วย

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.8 (พ.ศ. 2549)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 839 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ พ.ศ. 2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 247 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ พ.ศ. 2549)

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ แร่เหล็ก ไม้ เพชร ทองคำ และพลังงานน้ำ

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ ยางพารา กาแฟ โกโก้ ข้าว มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม อ้อย กล้วย แกะ แพะ และไม้

อุตสาหกรรมที่สำคัญ การแปรรูปยางพารา การแปรรูปน้ำมันปาล์ม และเพชร

หนี้สินต่างประเทศ 3,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ พ.ศ. 2549)

ดุลการค้า ปี 2549 ส่งออก 207 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า -440ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลการค้า 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าออกที่สำคัญ เพชร แร่เหล็ก ยางพารา ไม้ กาแฟและโกโก้

สินค้าเข้าที่สำคัญ น้ำมันเชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล อุปกรณ์การขนส่งสินค้าอุตสาหกรรม ข้าว และอาหารอื่น ๆ

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
ส่งออก เยอรมัน (ร้อยละ 23.4) แอฟริกาใต้ (ร้อยละ 16.1) โปแลนด์ (ร้อยละ 15.7) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 11.3) สเปน (ร้อยละ 11) ไทย (ร้อยละ 4.1) (2550)
นำเข้า เกาหลีใต้ (ร้อยละ 40.2) สิงคโปร์ (ร้อยละ 16) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 13.6) จีน (ร้อยละ 8.7) (2550)

สกุลเงิน ดอลลาร์ไลบีเรีย (Liberian dollar หรือ L$) และเซนต์ (1 ดอลลาร์ไลบีเรียเท่ากับ 100 เซนต์)

อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 58 ดอลลาร์ไลบีเรีย (2550)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐไลบีเรีย
สถาปนาความสัมพันธ์ทั่วไป
ความสัมพันธ์ด้านการทูต
ประเทศไทยและสาธารณรัฐไลบีเรียได้สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2510 ความสัมพันธ์ระหว่างกันราบรื่นมาโดยตลอด ประเทศไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน เป็นจุดติดต่อ (contact point) ส่วนไลบีเรียได้มอบให้สถานเอกอัครราชทูตไลบีเรียประจำประเทศญี่ปุ่น มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย และมีนายอภิชาติ ชโยภาส เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไลบีเรียประจำประเทศไทย

ความสัมพันธ์ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและไลบีเรียดำเนินไปด้วยดี มูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้จะยังอยู่ในระดับที่ไม่มากนัก โดยระหว่างปี 2546 ถึง 2549 การค้าเฉลี่ยมีมูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า
ในปี 2549 มูลค่าการค้าระหว่างกันมีจำนวน 56.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการส่งออกของไทยไปยังไลบีเรียมีมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าที่ไทยส่งออกไปไลบีเรีย ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อและผ้าที่จัดทำแล้ว และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และไทยนำเข้าจากไลบีเรียมีมูลค่าทั้งสิ้น 51.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าที่ไทยนำเข้าจากไลบีเรีย ได้แก่ เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ เนื้อสัตว์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สัตว์มีชีวิต และธุรกรรมพิเศษ

ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
ความสัมพันธ์ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทยกับไลบีเรียยังห่างเหิน ปัจจุบันมีคนไทยประมาณ 150 คน ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมป่าไม้ในไลบีเรีย และมีนักโทษชาวไลบีเรียที่ถูกคุมขังอยู่ในประเทศไทยประมาณ 47 คน

การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
- ในชั้นนี้ ยังไม่เคยมีการเสด็จฯ เยือนไลบีเรีย
รัฐบาล
- เดือนมีนาคม 2529 ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ได้เดินทางเยือนไลบีเรียอย่างเป็นทางการ

ฝ่ายไลบีเรีย
รัฐบาล
- นาย Charles Taylor อดีตประธานาธิบดีไลบีเรีย เคยเดินทางแวะเยือนประเทศไทยหลายครั้ง
- เมื่อปี 2547 นาย Thomas Yaya Nimley รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไลบีเรีย เยือนไทยอย่างเป็นทางการ

สถิติการค้าระหว่างไทยและไลบีเรีย ดูเอกสารแนบ

สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์