|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย Islamic Republic of Mauritania
|
|
ที่ตั้งและอาณาเขต
ด้านเหนือติดดินแดน Western Sahara และแอลจีเรีย
ด้านใต้ติดเซเนกัล และมาลี
ด้านตะวันตกติดมหาสมุทรแอตแลนติก
ด้านตะวันออกติดมาลี
พื้นที่ 1,030,700 ตารางกิโลเมตร
ภูมิอากาศ อากาศแบบเขตร้อน โดยทั่วไปอากาศแห้งแล้ง ในเขตใกล้ชายฝั่งพอมีฝนตกบ้างในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน
เมืองหลวง กรุงนูแอกชอต(Nouakchott) มีพลเมือง 550,300 คน และเป็นเมืองท่าด้วย
เมืองสำคัญ เมือง Nouadhibou หรือ Port-Etienneเป็นเมืองท่าและเมืองใหญ่อันดับ 2
ประชากร 3,270,065 คน (ประมาณการ กรกฎาคม 2550)
เชื้อชาติ ชาวแอฟริกันผิวดำ ประมาณ 1 ใน 3 และ เชื้อสายอาหรับและเบอร์เบอร์ (มัวร์) 2 ใน 3
ศาสนา อิสลามร้อยละ 99 (สุนหนี่) คริสต์ ร้อยละ 1
ภาษาราชการ ภาษาอารบิก และ ภาษา Wolof ภาษาต่างประเทศที่ใช้ทั่วไปคือ ภาษาฝรั่งเศส
วันชาติ 28 พฤศจิกายน (เป็นวันที่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อปีค.ศ. 1960)
สกุลเงิน Ouguiya (MRO และ 1 MRO = 5 Khuoms
อัตราแลกเปลี่ยน 1 US$ = 268 MRO (2549)
รูปแบบการปกครอง
ปกครองในระบบสาธารณรัฐ มีหลายพรรคการเมือง ประธานาธิบดีได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน (วาระละ 6 ปี) และเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติประกอบด้วยสภาแห่งชาติ ซึ่งได้รับเลือกโดยประชาชนและวุฒิสภาซึ่งได้รับเลือกทางอ้อม โดยผู้นำเทศบาลประจำเขตต่าง ๆ
ประมุขของรัฐ ประธานาธิบดี นาย Sidi Mohamed Ould Cheikh Abdellahi
นายกรัฐมนตรี นาย Zein Ould Zeidane
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือ นาย Mohamed Saleck Ould Mohamed Lemine
พรรคการเมืองที่สำคัญ มอริเตเนียมีพรรคการเมืองกว่า 15 พรรค ที่สำคัญคือDemocratic and Social Republic Party-DSRPซึ่งเป็นพรรครัฐบาล มอริเตเนียได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1960 โดยมีนาย Moktar Ould Daddah หัวหน้าพรรค Parti du regroupment mauritanien (PRM) เป็นประธานาธิบดีและปกครองประเทศโดยระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 รัฐบาลของนาย Ould Daddah พยายามสร้างความเข้มแข็งในการพึ่งพาตนเองให้แก่ประเทศทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ โดยการปรับปรุงระบบการเงิน และตั้งสกุลเงิน Ouguiya ของตนเอง และในปี 1974 โอนกิจการเหมืองเหล็ก ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกร้อยละ 80 ให้เป็นกิจการของรัฐ
ในเดือนกรกฎาคม 1978 Ould Daddah ถูกทำรัฐประหารและรัฐบาลทหารนำโดย พันเอกMoustapha Ould Mohamed Salak ได้เข้าปกครองประเทศและยกเลิกรัฐธรรมนูญและยุบสภานิติบัญญัติ มอริเตเนียปกครองด้วยระบบเผด็จการทหารจนกระทั่งเดือนธันวาคม 1984 พันเอก Taya เสนาธิการทหาร จึงทำรัฐประหารและเข้าปกครองประเทศและดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจ จนได้รับการยอมรับจากประชาชนและประเทศตะวันตก และในเดือนเมษายน 1991 ประธานาธิบดี Taya เสนอให้มีรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำหนดให้มีหลายพรรคการเมือง ให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง ให้ดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี มีสภา 2 สภา ได้แก่ สภานิติบัญญัติโดยสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทุก 5 ปี และวุฒิสภาโดยสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทางอ้อมทุก 6 ปี
ในเดือนกรกฎาคม 1991 ได้มีการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองจำนวนมาก ยังผลให้กลุ่มFLAM (Forces de liberation africaine de Mauritanie) ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาล มีฐานการปฏิบัติการในเซเนกัล ระงับการปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลมอริเตเนีย รัฐบาลของประธานาธิบดี Taya ได้พยายามดำเนินการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและระบบ
ราชการของประเทศ
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2005 คณะทหารของมอริเตเนียนำโดย Colonel Ely Ould Mohamed Vall ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากประธานาธิบดี Maaouya Ould SidAhmed Taya และได้จัดคั้ง Military Council for Justice and Democracy เข้าดูแลการบริหารประเทศ ต่อมาเมื่อเดือนมิถุนายน 2006 รัฐบาลมอริเตเนียได้เริ่มกระบวนการปฏิรูปทางการเมืองโดยจัดการลงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสาระสำคัญของการแก้ไขคือ การกำหนดให้ประธานาธิบดีสามารถดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย รวม 10 ปี จากนั้นมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา เดือนมีนาคมมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งนาย Sidi Mohamed Ould Cheikh Abdellahi ได้รับชัยชนะร้อยละ 53 และได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2550
ความสำคัญในภูมิภาคและในเวทีระหว่างประเทศ
มอริเตเนียตั้งอยู่ใกล้ประเทศ sub-sahara ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนเชื้อชาติอาหรับกับชนชาติแอฟริกันดำภายในมอริเตเนียได้ทำให้มอริเตเนียหันไปใกล้ชิดกับประเทศอาหรับเพื่อนบ้านมากขึ้น ในด้านเศรษฐกิจมอริเตเนียจัดว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่ำ เนื่องจากมอริเตเนียมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ และมีปัญหาหนี้สินต่างประเทศเรื้อรัง เพราะต้องนำเข้าน้ำมันและอาหารจากต่างประเทศทุกปี แต่มีรายได้จากการส่งออกไม่แน่นอน
ในขณะนี้ มอริเตเนียมีการสำรวจพบน้ำมันสำรองนอกชายฝั่ง และได้เริ่มทำการผลิตน้ำมันตั้งแต่เดือน ก.พ. 2549 (2006) ซึ่งคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตของรายได้ประชาชาติปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 แต่เนื่องจากปัญหาทางเทคนิคทำให้ผลิตน้ำมันได้น้อยลงกว่าที่คาดไว้ จึงทำให้อัตราการเจริญเติบโตของรายได้ประชาชาติเป็นเพียงร้อยละ 11.2 ซึ่งยังนับว่าเป็นอัตราที่ดีอยู่
ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) 3,189พันล้านเหรียญสหรัฐ (2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว (GDP per capita)310 เหรียญสหรัฐ (2549)
มูลค่าการนำเข้า (1995) - 0.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (2549)
มูลค่าการส่งออก (1995) 0.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (2549)
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี ญี่ปุ่น
ทรัพยากรธรรมชาติ แร่เหล็ก และยิปซั่ม
สินค้าออก แร่เหล็ก ปลา และผลิตผลประมงน่านน้ำของมอริเตเนียมีปลาชุกชุมที่สุดในโลก
สินค้าเข้า อาหาร (30-40% ของมูลค่านำเข้า) เครื่องจักรกลผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สินค้าทุน และเครื่องอุปโภคบริโภค
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย |
การเมือง
มอริเตเนียกับไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม2519 (ค.ศ. 1976) โดยฝ่ายมอริเตเนียมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่งมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย และฝ่ายไทยมอบหมายให้ สอท.ณ กรุงราบาตมีเขตอาณาครอบคลุมมอริเตเนีย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองอยู่ในระดับปกติ
เมื่อปี 2519 มอริเตเนียเคยขอความสนับสนุนจากไทยเกี่ยวกับปัญหาดินแดนซาฮาราตะวันตก ในกรณีที่มอริเตเนียกล่าวหาแอลจีเรียว่าให้การสนับสนุนกองโจรให้เข้ามาโจมตีดินแดนของมอริเตเนีย แต่ไทยไม่ได้มีปฏิกิริยาใดใดในเรื่องนี้ เนื่องจากเห็นว่าทั้งแอลจีเรียและมอริเตเนียต่างมีความสัมพันธ์ที่ดีกับไทย และไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและผลประโยชน์โดยตรงต่อกรณีดังกล่าว ในด้านการเยือนนั้น คณะผู้แทนทางการค้านำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมมอริเตเนีย รวม 4 คน เดินทางเยือนไทยในเดือนมกราคม 2526 และในปี 2542 นาย Ahamdy Ould Hamady รมต.พาณิชย์ หัตถกรรม และการท่องเที่ยว แสดงความประสงค์ที่จะเยือนประเทศไทยในลักษณะ working visit ในเดือนมิถุนายน 2542 แต่ทางฝ่ายไทยไม่สะดวกที่จะต้อนรับในช่วงดังกล่าว ในที่สุดผู้แทนบริษัท SONIMEX ซึ่งเป็นบริษัทค้าข้าว ได้ส่งผู้แทนมาเจรจาเรื่องการซื้อข้าวกับภาคเอกชนไทยในวันที่ 19 มิถุนายน 2542
เศรษฐกิจ
ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับมอริเตเนียยังมีอยู่น้อยมาก ในปี 2549 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 440.5 ล้านบาท ไทยส่งออก 422.97 ไทยนำเข้า 17.07 ล้านบาท ได้ดุลการค้า 405.90 ล้านบาท สินค้าที่ไทยนำเข้า ได้แก่ รถยนต์ แบตเตอรี่ พลาสติก สิ่งทอ เครื่องสำอางค์ นม
สินค้าออก ได้แก่ สัตว์น้ำ สด แช่เย็น แช่แข็ง เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ธุรกรรมพิเศษ เสื้อผ้าสำเร็จรูป
สถิติการค้าไทย-มอริเตเนีย ดูเอกสารแนบ
เรียบเรียงโดย กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5051-52 E-mail : southasian03@mfa.go.th
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|