|
แผนที่
|
สหพันธรัฐไมโครนีเซีย Federate States of Micronesia
|
|
ที่ตั้ง อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ มีพื้นที่ทั้งหมด 702 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วย 4 เกาะ
ภูมิอากาศ แบบเขตศูนย์สูตร และมีภัยธรรมชาติจากพายุไต้ฝุ่นช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม
ประวัติความเป็นมา สหพันธรัฐไมโครนีเซียได้รับเอกราชโดยการทำ Compact of Free Association กับสหรัฐฯ เมื่อปี พ.ศ. 2529 โดยก่อนหน้านี้มีสถานะเป็นดินแดนในภาวะทรัสตีของสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2490
เมืองหลวง กรุงปาลิกีร์ (Palikir) ตั้งอยู่บนเกาะ Pohnpei
ประชากร 108,004 คน (ปี 2548)
ภาษา อังกฤษ ไมโครนีเซียน และภาษาท้องถิ่น อาทิ Yapase, Chuukese, Kosraean, Phonpeian
หน่วยเงินตรา ดอลลาร์สหรัฐ
GDP 232 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2548)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 2,300 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2548)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 0.3 (ปี 2547)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 0.5 (ปี 2547)
อุตสาหกรรมหลัก ท่องเที่ยว ก่อสร้าง ประมง งานฝีมือ ไม้ และไข่มุก
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร พริกไทยดำ ผัก/ผลไม้เมืองร้อน มะพร้าว มันสำปะหลัง
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ปลา เครื่องนุ่งห่ม กล้วย พริกไทยดำ
สินค้านำเข้าที่สำคัญ อาหาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องดื่ม เครื่องอุปโภคบริโภค
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น
รูปแบบการปกครอง ระบอบสหพันธรัฐ (สภาเดียว)
ประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ประธานาธิบดี Joseph Urusemal (โจเซฟ ยูรูเซมาล) ได้รับเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2546 (ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี มาจากากรแต่งตั้งโดยสภา มีวาระ 4 ปี)
รัฐมนตรีต่างประเทศ The Hon. Sebastian Anefal
ฝ่ายนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีมี 14 ที่นั่ง 4 ที่นั่งมาจากผู้แทนจาก 4 รัฐ มีวาระ 4 ปี และอีก 10 คน มีวาระ 2 ปี
ฝ่ายตุลาการ ศาลสูง ( Supreme Court )
เศรษฐกิจของไมโครนีเซียจำเป็นต้องพึ่งพาสหัรฐฯ ซึ่งจัดสรรเงินช่วยเหลือให้ภายใต้กรอบความตกลง (Compact of Free Association) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและภาคบริการ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหพันธรัฐไมโครนีเซียประกอบไปด้วย การทำฟาร์ม การทำประมง รายได้จากการทำแร่บางส่วน ซึ่งไม่รวมแร่ฟอสเฟตและเครื่องปั้นดินเผาสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ไมโครนีเซียไม่มีสินค้าหลักที่จะนำรายได้เข้าประเทศ และต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศ เป็นมูลค่าประมาณ 67.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี รายได้รัฐบาลมาจากเงินให้เปล่าจากต่างประเทศ และค่าธรรมเนียมจากการให้สัมปทานประมง อย่างไรก็ตาม ไมโครนีเซีย มีพื้นที่เหมาะสมต่อการเกษตร (มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณร้อยละ 5.7 ของพื้นที่ทั้งหมด) แต่ไม่ได้พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังขาดโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รัฐบาลปัจจุบันจึงเน้นการพัฒนาการเกษตร (อาทิ การปลูกพริกไทยดำ ผลไม้เมืองร้อน และผัก มะพร้าว มันสำปะหลัง การเลี้ยงสุกร และไก่) การประมง และการท่องเที่ยวเพื่อทำรายได้ให้ประเทศ
สถิติการค้าไทย-ไมโครนีเซีย (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี มูลค่าการค้า ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า
2544(2001) 58.7 1.4 57.3 -55.9
2545(2002) 41.9 1.9 40 -38.1
2546(2003) 52.9 1.9 51 -49.1
2547(2004) 45.2 1.8 43.4 -41.6
2548(2005) ม.ค.-เม.ย. 11.2 0.4 10.8 -10.4
2549 (2006) 25.1 0.8 24.3 23.5
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหพันธรัฐไมโครนีเซีย |
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีสำคัญและมีอิทธิพลต่อสหพันธรัฐไมโครนีเซียมากที่สุด ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยทั้งสองประเทศได้ลงนามในความตกลง Compact of Free Association ระหว่างกัน ส่งผลให้อเมริกาให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และทางการทหารแก่ ไมโครนีเซีย ซึ่งในปี 2001 มูลค่าการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่สหรัฐฯ มอบให้แก่ไมโครนีเซีย มีมูลค่าประมาณ 85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และความช่วยเหลือทางการเงินนี้ถูกนำไปใช้ในการสนับสนุนงบประมาณของประเทศและใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยว
นอกจากนี้ไมโครนีเซียมีสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุล ที่วอชิงตัน ฮอนโนลูลู กวม โตเกียวและซูวา และคณะทูตถาวรประจำสหประชาติที่นครนิวยอร์ค
ความสัมพันธ์ทวิภาคี
ไทยกับสหพันธรัฐไมโครนีเซียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2535 โดยปัจจุบันไทยมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เป็นจุดติดต่อระหว่างไทยกับไมโครนีเซีย
ในปี 2549 ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับไมโครนีเซีย มีมูลค่า 25.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกมูลค่า 0.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้ามูลค่า 24.3 ดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 23.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย 10 รายการแรก ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปผ้าผืน กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เซรามิก เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า อาหารสัตว์เลี้ยง ปลาสด แช่เย็นและแช่แข็ง และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
สินค้านำเข้าที่สำคัญของไทย 10 รายการแรก ได้แก่ ปลาทูน่าสด แช่เย็นและแช่แข็ง เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป ปลาสำเร็จรูป แร่ดิบ ปลาหมึกสดแช่เย็นและแช่แข็ง เส้นใยใช้ในการทอ ผ้าผืน เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า รองเท้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ
วันที่ 22 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองแปซิฟิกใต้ กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5117-8 Fax. 0-2643-5119 E-mail : american04@mfa.go.th
|
|