ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> เนปาล




แผนที่
เนปาล
Nepal


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง  ตั้งอยู่บนที่สูงทางทิศใต้ของเทือกเขาหิมาลัย มีอาณาเขตติดกับแคว้นทิเบตของประเทศจีนทางตอนเหนือและทิศใต้ติดกับอินเดีย

พื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงกาฐมาณฑุ (Kathmandu)

เมืองสำคัญต่างๆ     
จานักปูร (Janakpur)เป็นเมืองด้านการท่องเที่ยว ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเนปาล
โภคครา (Pokhara) เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว ทางตอนกลางของประเทศ
ลุมพินี (Lumbini) เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ทางตอนใต้ ติดอินเดีย

ภูมิอากาศ มีพายุฝนในฤดูร้อนและมีอากาศเย็นจัดในฤดูหนาว

ประชากร 28.3 ล้านคน (กรกฎาคม 2549)

อัตราการเพิ่มของประชากร ร้อยละ 2.5 (ปี 2549)

เชื้อชาติ มองโกลอยด์จากทิเบต และอินโด-อารยันจากทางตอนเหนือของอินเดีย และชนเผ่าต่างๆ เช่น กูรุง (Gurung) ลิมบู (Limbu) เนวาร์ (Newar)ไร (Rai) เชอร์ปา (Sherpa) และ ทามัง (Tamang)
ภาษา ภาษาเนปาลีเป็นภาษาราชการ

ศาสนา ฮินดูร้อยละ 90 พุทธร้อยละ 8 และอิสลามร้อยละ 2

วันชาติ 7 กรกฎาคม (พ.ศ.2489 หรือ ค.ศ.1946) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดีกิเนนดรา แต่ได้ยุติการเฉลิมฉลองไปในปี 2549 ซึ่งรัฐบาลเนปาลประกาศไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ โดยขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเปลี่ยนวันชาติเป็นวันอื่นหรือไม่

การศึกษาอัตราการรู้หนังสือโดยรวม ร้อยละ 45.2 (ปี 2546) ในเพศชายร้อยละ 62.4 และเพศหญิงร้อยละ 27.6 (ปี 2546)

ระบบการปกครอง

หลังจากที่พระราชาธิบดีฯ ทรงยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 ได้ปลดนาย Sher Bahadur Deuba นายกรัฐมนตรี และทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยพระองค์เอง ต่อมาเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2549 ได้ทรงมีพระราชดำรัสประกาศมอบอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน และเมื่อวันที่ 30 เมษายน2549 ได้แต่งตั้งให้นาย Girija Prasad Koirala ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 ซึ่งรัฐบาลภายใต้การนำของนาย Koirala อยู่ระหว่างการดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของเนปาล เพื่อกำหนดบทบาทของสถาบันกษัตริย์ และระบอบการปกครองของเนปาลในอนาคต พร้อมทั้ง จัดการเจรจาสันติภาพกับกลุ่ม Maoists และจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวและร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวร่วมกันระหว่างรัฐบาลและกลุ่ม Maoists ดังนั้น ในขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับระบอบการปกครองของเนปาลจนกว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น


ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
ประเทศเนปาลมีชายแดนที่กำหนดโดยข้อตกลงระหว่างอังกฤษ จีน และอินเดียในยุคหลังๆ (ราว ๒-๓ ร้อยปีมา) แต่เดิมดินแดนแห่งนี้ประกอบด้วยราชอาณาจักรเล็กๆ ตามหุบเขา ที่ขยายอำนาจบ้างแล้วหมดอำนาจบ้าง ประวัติศาสตร์เนปาลซับซ้อนยิ่งขึ้นเนื่องจากเป็นแดนที่ชนชาติพูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่า จากทิศเหนือมาประสมประสานกับชนชาติพูดภาษาอินโด-ยุโรปจากทิศใต้

เนปาลในปัจจุบันเกิดขึ้นเมื่อปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวี นารายัณ ชาห์ ซึ่งครองรัฐเล็กๆ ในหุบเขากุรข่า (Gurkha) เกลี้ยกล่อมเผ่าต่างๆ ได้สำเร็จ และสร้างกองทัพใหญ่ยึดเมืองกาฐมาณฑุ แล้วขยายอำนาจถึงชายแดนทิเบตและอินเดีย ระหว่างปี 2353 – 2359 มีสงครามระหว่างกุรข่ากับอังกฤษในอินเดีย แต่ลงท้ายโดยดีด้วยข้อตกลงที่อังกฤษยอมรับเนปาลเป็นประเทศเอกราช และขอทหาร “กรุข่า” (Gurkhas) เป็นทหารอาสาในกองทัพอังกฤษ ซึ่งยังปฏิบัติกันจนถึงทุกวันนี้

พระเจ้าปฤถวี นารายัณ ชาห์ แห่งหุบเขากรุข่านี้ คือ ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ “ชาห์” ที่ปกครองเนปาลมาจนถึงทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม การปกครองเนปาลไม่ได้เป็นไปอย่างราบเรียบ เมื่อปี 2389 อัครมหาเสนาบดีชื่อ ชุง พหทรุ ราณา ได้ยึดอำนาจรัฐ แต่ยังคงให้พระเจ้าแผ่นดินตระกูลชาห์อยู่ในพระเศวตฉัตร และคนในตระกูลราณาสืบทอดอำนาจอัครมหาเสนาบดีสืบมา

ระบบการปกครองนี้อยู่ได้เพราะความรู้เห็นและสนับสนุนของอังกฤษ เมื่ออินเดียได้เสรีภาพในปี 2489 สถานการณ์ในเนปาลพลิกผัน เพราะไม่มีอังกฤษสนับสนุนตระกูลราณาอีกต่อไปยังผลให้พวกราณาหมดอำนาจ พระเจ้าแผ่นดินตระกูลชาห์จึงกลับมามีพระราชอำนาจในรูปสมบูรณาญาสิทธิราชย์

การเมืองการปกครอง
นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ปัจจุบันการเมืองภายในเนปาลยังไม่มีเสถียรภาพ นโยบายหลักของรัฐบาล คือ จัดการกับปัญหาเฉพาะหน้าและสถานการณ์ภายในประเทศที่เกิดขึ้น โดยจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชนเนปาลตามครรลองประชาธิปไตย และเจรจาสันติภาพกับกลุ่มกบฎนิยมลัทธิเหมา (Maoists)


สถานการณ์ที่สำคัญ
การเมืองภายใน
วิกฤตการณ์ทางการเมืองเนปาลเกิดขึ้น หลังจากโศกนาฏกรรมการปลงพระชมน์สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทรา และพระราชวงศ์ลำดับสำคัญของเนปาล เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 ต่อมาได้มีการแต่งตั้งสมเด็จพระราชาธิบดีกิเนนดรา (Gyanendra) พระอนุชาของพระราชาพิเนนทราขึ้นครองราชย์แทนเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2544

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีกิเนนดราได้มีพระบรมราชโองการปลดนายเชียร์ บาหดุร เดออูบา (Sher Bahadur Deuba) นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีทั้งคณะออกจากตำแหน่ง ทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเองและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ทำให้เกิดการต่อต้านจากพรรคการเมืองต่างๆ ของเนปาล กลุ่ม Maoists และประชาชน ด้วยการเดินขบวนประท้วง การประกาศหยุดงานทั่วประเทศ มีการจุดไฟเผารถประจำทาง และโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐในต่างจังหวัดและชานเมืองกรุงกาฐมาณฑุอยู่เป็นประจำ

เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2548 การประท้วงได้ทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อทหารของรัฐบาลเนปาลได้ยิงปืนเข้าใส่ประชาชนที่หมู่บ้านนาการ์กอต เมืองบักตาปูร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 12 คน ประชาคมระหว่างประเทศได้เรียกร้องและกดดันให้สมเด็จพระราชาธิบดีฯ จัดการเลือกตั้งตามครรลองประชาธิปไตยโดยเร็ว สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และกลุ่มประเทศ EU ได้ระงับการช่วยเหลือแก่เนปาลด้านอาวุธ แต่ยังคงให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาและด้านอาหาร จนกระทั่งปลายปี 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีฯ จึงได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 และการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนเมษายน 2550

กลุ่มพันธมิตร 7 พรรคการเมือง (Seven Party Alliances - SPA) ได้ประกาศการประท้วงใหญ่ในวันที่ 20 มกราคม 2549 เพื่อต่อต้านการเลือกตั้งท้องถิ่น เนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งดังกล่าวไม่มีความชอบธรรม ซึ่งมีผู้ร่วมประท้วงถึง 500,000 คน รัฐบาลได้จับกุมแกนนำกลุ่มพันธมิตร เจ้าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชน ผู้นำองค์กรต่างๆ และหัวหน้านักศึกษาที่นิยมพรรคฝ่ายค้าน จำนวนมากกว่า 100 คน ทำให้ประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย สหรัฐ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ได้ออกมาประนามการกระทำดังกล่าว และขอให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมโดยเร็ว เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง และไม่เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย

กลุ่ม Maoist ได้ประกาศสนับสนุนการเดินขบวนประท้วงครั้งนี้ แต่จะไม่แทรกแซงใดๆ และกลุ่ม Maoist ได้ปิดกรุงกาฐมาณฑุ และโจมตีรถทหารที่นำส่งเสบียงอาหารเข้าเมือง ในช่วงระหว่างวันที่ 5 – 11 กุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งกลุ่ม Maoist ได้ประกาศการบังคับหยุดงานประท้วง (bandh) ทั่วประเทศในช่วงวันดังกล่าวแล้ว ส่งผลให้ประชาชนเนปาลออกมาใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งนี้น้อยมาก เพียงร้อยละ 21 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1.4 ล้านคน เนื่องจากหวาดกลัวการข่มขู่ของกลุ่ม Maoist รวมทั้งกลุ่มพันธมิตรฯรณรงค์ไม่ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ

เมื่อเดือนมีนาคม 2549 กลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่ม Maoist ได้บรรลุข้อตกลงที่จะร่วมมือกันกดดันฝ่ายรัฐบาล โดยกลุ่ม Maoist ได้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ ที่จะนัดหยุดงานทั่วประเทศระหว่างวันที่ 6 - 9 เมษายน 2549 และจัดการประท้วงใหญ่ที่กรุงกาฐมาณฑุในวันที่ 8 เมษายน 2549 เพื่อเพิ่มการกดดันสมเด็จพระราชาธิบดีฯ และรัฐบาล เพื่อให้พิจารณาดำเนินการปกครองประเทศด้วยวิถีประชาธิปไตย โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเบื่องต้น เพื่อลดทอนอำนาจของสมเด็จพระราชาธิบดีฯ

สถานการณ์การเมืองในเนปาลทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเดือนเมษายน 2549 โดยมีการประท้วงในกรุงกาฐมาณฑุและตามเมืองใหญ่ๆ ของเนปาลอย่างต่อเนื่อง มีการประกาศบังคับหยุดงาน หรือ bandh และเป็นครั้งแรกที่ประชาชนได้ฝ่าฝืนการประกาศ curfew และออกมาชุมนุมประท้วงตามเมืองต่างๆ รัฐบาลได้พยายามขัดขวางการชุมนุมประท้วงโดยได้ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดในการสลายการประท้วง เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก และผู้เสียชีวิตทำให้ประชาชนรู้สึกโกรธเคืองอย่างมาก

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2549 อินเดียได้มอบหมายให้นาย Karan Singh ผู้แทนพิเศษของ นรม. อินเดียเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีฯ เพื่อแจ้งความห่วงกังวลของอินเดียต่อสถานการณ์ในเนปาล และขอให้มีการเจรจาอย่างจริงจังระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีและกลุ่มพันธมิตรโดยเร็ว เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ในปัจจุบัน ภายหลังการหารือกับ Dr. Singh สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ได้มีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2549 ว่า พระองค์จะคืนอำนาจบริหารให้แก่ประชาชน และขอให้กลุ่มพันธมิตรฯ เสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

อย่างไรก็ดี กลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่ม Maoist ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว และเห็นว่าไม่ได้ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของพรรคการเมือง เป็นผลให้มีการประท้วงของประชาชน ทำให้สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ได้มีพระราชดำรัสอีกครั้งเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2549 ประกาศมอบอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน โดยยินยอมให้สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถูกยุบไปกลับมาทำหน้าที่ และเรียกร้องให้กลุ่มพันธมิตร ฯ ร่วมมือกัน เพื่อนำพาประเทศไปสู่ความรุ่งเรืองและสงบสุขภายใต้ระบอบประชาธิปไตย และทรงแสดงความเสียพระทัยต่อผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลให้สถานการณ์คลี่คลายลง และนำไปสู่ขบวนการเจรจาระหว่างทุกฝ่ายในประเด็นต่างๆ ที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ ผู้นำพรรคการเมืองต่างๆ มีท่าทีในทางบวกต่อกระแสพระราชดำรัสในครั้งนี้ และได้รับการตอบสนองในทางที่ดีจากประชาชนเช่นกัน ทำให้สถานการณ์ในเนปาลจะค่อยๆ กลับคือสู่สภาวะปกติตามลำดับ

การประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2549 และนาย Girija Prasad Koirala วัน 84 ปี ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 4 และได้เข้าพิธีสาบานตนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2549 นาย Koirala เป็นนักการเมืองอาวุโสที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนของเนปาล และได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองต่างๆ เป็นอย่างดี

รัฐบาลชุดใหม่ของเนปาลได้ดำเนินการลดทอนพระราชอำนาจของกษัตริย์มาอย่างต่อเนื่อง และได้เปลี่ยนการเรียกชื่อประเทศจาก Kingdom of Nepal เป็น Nepal เปลี่ยนการเรียก His Majesty’s Government ใหม่เป็น Government of Nepal และประกาศให้เนปาลเป็น secular state แยกศาสนาออกจากอาณาจักร ซึ่งมิใช่รัฐฮินดูอีกต่อไป

การเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลและกลุ่มกบฏนิยมลัทธิเหมา (Maoist) ยังคงมีความเสี่ยงสูง แม้จะมีการหารือในระดับสุดยอดระหว่างนาย Girija Prasad Koirala นรม เนปาลและนาย Prachanda ผู้นำสูงสุดของกลุ่ม Maoist เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2549 และได้หารืออย่างไม่เป็นทางการหลายครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2549 แต่ทั้งสองฝ่ายยังมีความเห็นขัดแย้งใน 2 ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ 1. การจัดการด้านอาวุธและกองทัพของทั้งสองฝ่าย โดยเรียกร้องให้สหประชาชาติ (UN) เข้ามาช่วยกำกับดูแล ทั้งนี้ รัฐบาลต้องการให้กลุ่ม Maoist วางอาวุธก่อนการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญในปี 2550 แต่กลุ่ม Maoist ยืนยันไม่วางอาวุธจนกว่าจะเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง และ 2. อนาคตของสถาบันกษัตริย์ของเนปาล

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2549 หัวหน้าคณะเจรจาสันติภาพของรัฐบาลและกลุ่ม Maoist ได้ยื่นหนังสือถึงเลขาธิการ UN ภายหลังที่สามารถตกลงในประเด็นการจัดการกับกองกำลังของทั้งสองฝ่าย ซึ่งหนังสือของแต่ละฝ่ายมีสาระคล้ายคลึงกันว่า ขอให้มีเจ้าหน้าที่ UN ตรวจตราและพิสูจน์การจำกัดกองกำลังและอาวุธของกลุ่ม Maoist ให้อยู่ในพื้นที่ที่กำหนด และขอให้ UN สังเกตการณ์การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 รัฐบาลและกลุ่ม Maoist ได้ลงนามความตกลง Comprehensive Peace Agreement ซึ่งกำหนด roadmap และเงื่อนเวลาเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ตามกระบวนการประชาธิปไตย คือ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว การจัดตั้งรัฐสภาชั่วคราว (เมย 2550) การจัดการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (มิย 2550) (2007) ซึ่งคาดว่าจะเลื่อนออกไป การจัดการเรื่องอาวุธและกองกำลัง โดยบทบาทของกษัตริย์จะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่จะร่างขึ้น และ UN ได้ส่งผู้แทนไปปฏิบัติหน้าที่ตรวจตราอาวุธและให้ความช่วยเหลือในการจัดการเลือกตั้งในเนปาลเป็นระยะเวลา 1 ปี



เศรษฐกิจการค้า
GDP 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

รายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อหัว 294 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2 (ปี 2549)

หน่วยเงินตรา รูปีเนปาล (Nepalese rupee) 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับประมาณ 70 รูปี

สินค้าส่งออกที่สำคัญ พรม เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากปอกระเจา และธัญพืช

สินค้านำเข้าที่สำคัญ ทอง เครื่องจักรและอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์จากปิโตเลียม และปุ๋ย

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อินเดีย จีน/ฮ่องกง และสิงคโปร์

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเนปาล
ความสัมพันธ์กับประเทศไทยและสถานะล่าสุดของความร่วมมือ

1. ด้านการทูต

ไทยและเนปาลได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับอัครราชทูต เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2502 และได้ยกระดับเป็นระดับเอกอัครราชทูตเมื่อปี 2512 เอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ คนปัจจุบัน คือ นางวันวิสาข์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ทั้งนี้ นายตาราพหาทุร ถาปา เอกอัครราชทูตเนปาลประจำประเทศไทยถูกเรียกตัวกลับประเทศ เมื่อเดือนมิถุนายน 2549 เนื่องจากปัญหาทางการเมืองเนปาล และขณะนี้ ยังไม่มีเอกอัครราชทูตเนปาลประจำปะรเทศไทย

กลไกความร่วมมือที่สำคัญคือการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-เนปาล (JC) ระดับปลัดกระทรวงการต่างประเทศ มีการประชุมมาแล้ว 4 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดเมื่อมกราคม 2547 ที่กรุงธากา โดยนายเตช บุนนาค ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย นอกจากนี้เนปาลยังได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ BIMSTEC เมื่อธันวาคม 2546

2. ด้านความร่วมมือ
ไทยมีนโยบายให้ความช่วยเหลือแก่เนปาลในด้านต่างๆ โดยเฉพาะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในลักษณะการให้ทุนเจ้าหน้าที่เนปาลมาศึกษาดูงาน และฝึกอบรมในประเทศไทยในสาขาต่างๆ ที่ไทยมีศักยภาพ และการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่สามตาม Third Countries Training Programme โดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ อาทิ UNDP และองค์กรเอกชน เป็นต้น
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขให้ความช่วยเหลือโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลแม่และเด็กขนาด 30 เตียง (Maya Devi Maternity Hospital) ที่ลุมพินี เป็นเงิน 50 ล้านบาท รวมการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และฝึกอบรมบุคลากร เพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 50 ปี และสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนปาลพิเรนทราทรงครองราชย์ครบ 25 ปี

3. ด้านเศรษฐกิจ

3.1 การค้า
การค้าไทย-เนปาล(ปี 2548) มีมูลค่า 26.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 25.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(มกราคม - กรกฏาคม 2549) มีมูลค่า 16.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 16.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 0.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปเนปาลได้แก่ เส้นใยประดิษฐ์ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากเนปาลได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด

3.2 การลงทุน
มีนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนร่วมกับฝ่ายเนปาลเช่นบริษัท General Food Industries และบริษัท Nepal Thai Food ลงทุนเกี่ยวกับอาหารเส้นก๋วยเตี๋ยวสำเร็จรูป บริษัท Nepal Ekarat Eng. ผลิตเครื่องปรับกระแสไฟฟ้า และมีบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้จัดทำโครงการผลิตเสื้อแจ็คเก็ตและกางเกงคือบริษัท Reliance International สำหรับธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารไทยมีจำนวน 2-3 ราย

เนปาลขอให้ไทยส่งเสริมให้เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในเนปาล โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมผ้าไหม กาแฟ ผลผลิตทางการเกษตรที่มีมูลค่าสูง และการลงทุนที่จะพัฒนาพืชสวน และดอกไม้ตัด และเนปาลจะเร่งดำเนินการพิจารณาร่างความตกลง Promotion and Protection of Investment ที่ไทยเสนอ

3.3 ด้านการท่องเที่ยว
ไทยมีความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับเนปาลค่อนข้างจะใกล้ชิด นอกจากนี้ เนปาลยังเป็นประเทศที่มีพุทธสถานลุมพินีที่คนไทยนิยมเดินทางไปเยี่ยมชม และไทยเป็นประตูเข้า-ออกสำหรับชาวเนปาล

ในปี พ.ศ. 2549 (มค-พค) มีนักท่องเที่ยวไทยไปเนปาล 1,859 คน และมีนักท่องเที่ยวเนปาลมาไทยจำนวน 8,488 คน

3.4 ด้านการบิน
ไทยและเนปาลได้ลงนามความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างกันเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2514

ต่อมาเมื่อ 16-17 กุมภาพันธ์ 2547 คณะกรมการบินพาณิชย์ได้เดินทางไปเนปาลเพื่อเจรจาขอสิทธิการบินเพิ่มโดย ได้มีการลงนามในความตกลง Air Service Agreement ระหว่างกัน ทำให้การบินไทยสามารถเพิ่มสิทธิการบินจาก 7 เที่ยวต่อสัปดาห์เป็น 10 เที่ยวต่อสัปดาห์

4. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ความสัมพันธ์ด้านศาสนาและวัฒนธรรมเป็นมิติความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดระหว่างไทยและเนปาล โดยเน้นในเรื่องศาสนา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมมากกว่าด้านเศรษฐกิจ หรือการเมือง ซึ่งเนปาลเองมีสถานที่สำคัญทางศาสนาเช่นเมืองลุมพินี หรือเมืองจานักปูร์ (เมืองมิถิลาในพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก) นอกจากนี้ ไทยและเนปาลยังมีความคล้ายคลึงกันในด้านวรรณกรรม คือในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีฉากบางส่วนในเนปาลอีกด้วย

นอกจากนี้ ไทยและเนปาลยังได้ตกลงที่จะทำแผนปฏิบัติการในความร่วมมือด้านวัฒนธรรมให้มีกิจกรรมส่งเสริมที่ชัดเจน รวมทั้งเห็นว่าเป็นช่องทางนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงศาสนา และเชิงนิเวศ (Eco – Tourism) โดยทำโฆษณาส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน และทำแพ็คเก็จทัวร์แบบ Combined Destination

5. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนเนปาลเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 4 – 7 ตุลาคม 2542 ศูนย์รักษาดวงตา Tilganga Eye Centre ได้บริจาคแก้วตา (Cornea) ให้แก่ฝ่ายไทยจำนวน 4 ดวงต่อเดือน ในปี 2546 กระทรวงการต่างประเทศได้อนุมัติงบประมาณดำเนินงานด้านสันถวไมตรีโดยบริจาคเงิน 136,800 บาท ให้กับองค์กรที่มิใช่รัฐบาล (NGO) ที่ดำเนินงานด้านการกุศลและสาธารณประโยชน์ต่างๆ ในเนปาล 4 องค์กร คือ องค์กร (National Health Foundation องค์กร International Buddhist Society องค์กร Youth Eye Service และองค์กร Children's Forum Nepal สำหรับภาคเอกชนชาวเนปาลที่มีฐานะดีนิยมเดินทางมารับการตรวจสุขภาพและรักษาพยาบาลในประเทศไทย

ความตกลงที่สำคัญกับไทย
1. ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างอาณาเขตของแต่ละฝ่ายและพ้นจากนั้นไป (ปี 2514)
2. หนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับเนปาลว่าด้วยการได้มาซึ่งเป็นที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพื่อใช้เป็นที่ทำการและที่พักของสถานเอกอัครราชทูต (ปี 2526)
3. ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (ปี 2541)
4. ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ (พิเศษ) (ปี 2542)

การเยือนของผู้นำระดับสูง
1. ฝ่ายไทย
1.1 พระราชวงศ์
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกฎราชกุมาร และพระวรชายา เสด็จฯ เยือนประเทศเนปาลเมื่อวันที่ 1 – 5 พฤศจิกายน 2522
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ เสด็จฯ เยือนประเทศเนปาลเมื่อวันที่ 11 – 13 กุมภาพันธ์ 2533
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนประเทศ เนปาลเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อทรงทอดพระเนตรโครงการ Nepal Nutrition Intervention Project – Sarlahi ของมหาวิทยาลัยแม่และเด็ก โรงพยาบาลตา และศูนย์รักษาดวงตา Tilganga เมื่อวันที่ 4 – 7 ตุลาคม 2542

1.2 ผู้นำทางศาสนา
- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จฯ เยือนประเทศเนปาล เพื่อทรงวางศิลาฤกษ์วัดไทย ณ เมืองลุมพินีเมื่อวันที่ 18 – 20พฤศจิกายน 2538
- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จฯ เยือนเมืองลุมพินีเมื่อวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2542

1.3 รัฐบาล
- พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีเยือนประเทศเนปาลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4-6 สิงหาคม 2526

2. ฝ่ายเนปาล
2.1 พระราชวงศ์
- สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทราและสมเด็จพระราชินีไอศวรราชย์ เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 – 15 ธันวาคม 2527
- มกุฎราชกุมารดิเพนทราเสด็จฯ เยือนไทยเมื่อวันที่ 24 – 27 มิถุนายน 2537
- สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทรา และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ เยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อทรงรับการตรวจพระวรกายประจำปีที่โรงพยาบาลศิริราช และเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายพระพรในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 พรรษา เมื่อวันที่ 12 – 17 มกราคม 2540
- His Royal Highness Crown Prince Paras Bir Bikram Shah Dev มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรเนปาล เสด็จศึกษาดูงานที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ระหว่างวันที่ 5-7 พฤษภาคม 2546 และหลังจากนั้นได้เสด็จเยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคม 2546 ระหว่างการเสด็จเยือนเป็นการส่วนพระองค์ ได้ทรงเสด็จเยือนดอยอินทนนท์ อ่าวพังงา และเกาะสิมิลันด้วย
- สมเด็จพระราชินีเนปาลและพระราชธิดา ได้เสด็จฯ เยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2547
- องค์มกุฎราชกุมารปรัสฯ และมกุฎราชกุมารีพระชายา เสด็จฯ เยือนไทย เป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 17 – 22 กรกฎาคม 2548

2.2 รัฐบาล
- นาย Girija Prasad Koirala นายกรัฐมนตรีแวะผ่านไทย และเข้าเยี่ยมคารวะนายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2534
- นาย Sher Bahadur Deuba นายกรัฐมนตรีแวะเยือนไทย และเข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 – 26 เมษายน 2539
- นาย Kamal Thapa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 – 3 กุมภาพันธ์ 2541
- นาย Sher Bahadur Deuba นายกรัฐมนตรีเนปาล เดินทางแวะผ่านไทย และได้เข้าพบหารือทวิภาคีและรับประทานอาหารเช้ากับนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2545
- นาย Parashu Narayan Chaudhary ประธานองคมนตรีเนปาล (Raj Parishad )และคณะ ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร และ พล.อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี ที่ทำเนียบองคมนตรี พระราชอุทยานสราญรมย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2547
-นาย Sher Bahadur Deuba นายกรัฐมนตรีเนปาล เดินทางเยือนไทยในช่วงการประชุม BIMSTEC และได้เข้าพบหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547
- นาย K.P. Sharma Oli รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเนปาล เดินทางแวะผ่านไทย เพื่อไปกรุงกัวลาสัมเปอร์ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549
- นาย Girija Prasad Koirala นายกรัฐมนตรีเนปาล เดินทางเยือนไทยเป็นการส่วนตัวเพื่อรับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร ระหว่างวันที่ 17 - 27 มิถุนายน 2549 และได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีทักษิน ชินวัตร เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2549 ที่ทำเนียบรัฐบาล
- นาย K.P. Sharma Oli รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเนปาล เดินทางเยือนไทยเป็นการส่วนตัวเพื่อรับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร ระหว่างวันที่ 4 - 10 กุมภาพันธ์ 2550 และได้เข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550 ที่กระทรวงการต่างประเทศ





สิงหาาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองเอเชียใต้ กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5043-44 E-mail : southasian02@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์