|
แผนที่
|
สาธารณรัฐไนเจอร์ Republic of Niger
|
|
ที่ตั้งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ตั้งอยู่ทางตอนกลางของทวีปแอฟริกา มีอาณาเขต
ทิศเหนือติดกับแอลจีเรียและลิเบีย
ทิศใต้ติดกับไนจีเรีย
ทิศตะวันออกติดกับชาด
ทิศตะวันตกติดกับมาลี
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับเบนินและบูร์กินาฟาโซ
เนื้อที่ 1,267,000 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและภูเขาที่แห้งแล้ง มีทุ่งหญ้าบางส่วนทางภาคใต้และบริเวณลุ่มแม่น้ำ Niger
ภูมิอากาศ ร้อนและแห้ง อุณหภูมิระหว่าง 28-44 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือน ต.ค.-พ.ค. ฝนตกในเขตภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ ระหว่างเดือน มิ.ย.-ก.ย. และมีพายุฝุ่นจากทะเลทรายซาฮาราระหว่างเดือน พ.ย.-ม.ค.
เมืองหลวง กรุงนีอาเม (Niamey)
เมืองสำคัญ Zinder, Maradi, Tahoua และ Agadez
วันชาติ 18 ธันวาคม (Proclamation of the Republic)
ประชากร 14,000,000 คน (2548)
ภาษาราชการ ภาษาฝรั่งเศส Hausa Djerma
ศาสนา อิสลามร้อยละ 80 ความเชื่อดั้งเดิมและศาสนาคริสต์ร้อยละ 20
สกุลเงิน Communaute Financiere Africaine Franc (XOF) (527.47 XOF = 1 USD)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 527.47 XOF (2548)
ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว 900 ดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.5 (2548)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 0.2 (2548)
รัฐบาลปัจจุบัน
ไนเจอร์ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ นาย Mamadou Tandja ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนปัจจุบันของไนเจอร์ โดยมีนาย Hama Amadou เป็นนายกรัฐมนตรี และนาง Aichatou Mindaoudou เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
การปกครองปัจจุบัน
ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ โดยมาจากการเลือกตั้งทั่วไป และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และอยู่ในวาระได้ 2 สมัย
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีซึ่งต้องได้รับความเป็นชอบจากรัฐสภา ประธานาธิบดีมีอำนาจยุบสภา
ฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐสภา (National Assembly) แบบสภาเดียว (Unicameral)
ประกอบด้วยสมาชิก 83 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไป อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี
ศาล
ศาลชั้นต้น ศาลแขวง ศาลแรงงาน และศาลพิเศษ
ศาลอุทธรณ์ เฉพาะการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอาญาและศาลพิเศษ
ศาลสูง พิจารณาคดีที่ประธานาธิบดีและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งอดีตและปัจจุบันกระทำความผิดต่อรัฐ ยกเว้นความผิดข้อหากบฏและความผิดอื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐศาลความมั่นคงของรัฐ พิจารณาคดีที่อยู่นอกอำนาจของศาลสูง
การต่างประเทศ
ไนเจอร์ดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่ในทางปฏิบัติมีนโยบายที่สอดคล้องกับกลุ่มประเทศตะวันตก เดิมไนเจอร์มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนแต่เมื่อ 30 ก.ค. 2535 ไนเจอร์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทำการประท้วงอย่างรุนแรงและประกาศตัดความสัมพันธ์กับไนเจอร์ในทันที
ไนเจอร์มีความสัมพันธ์ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจอย่างแน่นแฟ้นกับไนจีเรียซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางใต้ เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยไนจีเรียเป็นทางออกสู่ทะเล แม้ว่าทั้งสองประเทศจะมีภาษาราชการที่แตกต่างกัน แต่ผูกพันกันด้วยภาษา Huasa อันเป็นภาษาท้องถิ่นเดียวกัน
สมาชิกในองค์การระหว่างประเทศ
องค์การสหประชาชาติ, FAO, GATT, IAEA, ICAO, IDA, IFAD, IFC, ILO, IMF, ITU, UNESCO, UNIDO, UPU, WHO, WIPO, WMO, World Bank, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM), องค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU), Economic Commission for Africa (ECA), Economic Community of West African States (ECOWAS), West African Economic Community (CEAO), Organization of the Islamic Conference (OIC), African States associated with the EC (Lome Convention), Entente Council, African Development Bank (ADB), Arab Bank for Economic Development in Africa (ในฐานะประเทศผู้รับ), Islamic Development Bank, The Franc Zone, Permanent Inter-State Committee on Drought Control in the Sahel (CILSS), African Groundnut Council, Lake Chad Basin Commission, Liptako-Gourma Intergrated Development Authority, Niger Basin Authority, West Africa Rice Development Association
ไนเจอร์เป็นประเทศที่ยากจนที่สุดและมีหนี้สินมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง (HIPC) จากการจัดอันดับของ UN ไนเจอร์พึ่งพาการส่งออกแร่ยูเรเนียม แต่ความผันผวนของราคายูเรเนียมในตลาดโลกส่งผลกระทบต่อรายได้ของไนเจอร์อย่างมาก ไนเจอร์เป็นประเทศไม่มีทางออกทะเล และประสบปัญหาภัยแล้ง จึงส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ เกษตรกรรมของไนเจอร์ยังได้รับผลกระทบอย่างมากจากการแพร่ขยายของทะเลทราย (desertification) อีกด้วย
ปัจจุบัน ไนเจอร์กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการระบาดของฝูงตั๊กแตนในปี 2547 (2004) ซึ่งทำลายพืชผลเสียหายเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังประสบปัญหาโรคระบาดด้วย ซึ่ง UN ได้ให้ความช่วยเหลือไนเจอร์อย่างเร่งด่วน โดยได้บริจาคข้าว 15,000 ตัน และ WHO ได้บริจาคยาด้วยเช่นกัน ความช่วยเหลือของ UN คิดเป็นมูลค่าประมาณ 30.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อุตสาหกรรมที่สำคัญ
การทำเหมืองยูเรเนียม ซีเมนต์ อิฐ วัสดุสิ่งทอ อุตสาหกรรมอาหาร เคมีภัณฑ์ โรงฆ่าสัตว์ และสบู่
ทรัพยากรธรรมชาติ
ยูเรเนียม ถ่านหิน แร่เหล็ก ดีบุก ฟอสเฟต ทอง ยิปซั่ม เกลือ ปิโตรเลียม
สินค้าส่งออกที่สำคัญ
แร่ยูเรเนียม ปศุสัตว์ ถั่วฝักยาว และหัวหอม
สินค้านำเข้าที่สำคัญ
อาหาร เครื่องจักรกล ยานพาหนะและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ธัญพืช
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
ฝรั่งเศส ไนจีเรีย สหรัฐฯ และสวิสเซอร์แลนด์
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
ฝรั่งเศส โกดิวัวร์ ไนจีเรีย และจีน
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐไนเจอร์ |
ด้านการเมืองและการทูต
ไทยกับไนเจอร์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อ 30 กรกฎาคม 2525 (1982) ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศค่อนข้างห่างเหิน ไทยมอบหมายให้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เป็นจุดติดต่อของไนเจอร์ ฝ่ายไนเจอร์ไม่ได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตไนเจอร์ประจำประเทศใดดูแลไทย และทั้งสองฝ่ายไม่เคยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน
เมื่อเดือนมิถุนายน 2548 (2005) นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รอง นรม (ในขณะนั้น) ได้เคยพบกับ รมว พณ ไนเจอร์ ในโอกาสการประชุม South Summit ที่กรุงโดฮา โดยฝ่ายไนเจอร์ประสงค์ที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากไทยในการบรรเทาปัญหาความยากจน และ พตท ทักษิณ ชินวัตร นรม (ในขณะนั้น) ได้พบหารือกับนาย Hama Mamadou Tandja ประธานาธิบดีไนเจอร์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2548 (2005) ในระหว่างการประชุม UNGA สมัยที่ 60 ณ นครนิวยอร์ก
ด้านเศรษฐกิจ
มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับไนเจอร์มีปริมาณน้อยมาก โดยในปี 2549 (2006) มูลค่าการค้าสองฝ่ายมีเพียง 3.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 2.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 0.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าที่ไทยส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ผ้าผืน รองเท้าและชิ้นส่วน และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ โดยไทยได้ดุลการค้า 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อเดือนมิถุนายน 2548 (2005) นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รอง นรม (ในขณะนั้น) ได้เคยพบกับ รมว พณ ไนเจอร์ ในโอกาสการประชุม South Summit ที่กรุงโดฮา โดยฝ่ายไนเจอร์ประสงค์ที่จะเรียนรู้ประสบการณ์จากไทยในการบรรเทาปัญหาความยากจน และ พตท ทักษิณ ชินวัตร นรม (ในขณะนั้น) ได้พบหารือกับนาย Hama Mamadou Tandja ประธานาธิบดีไนเจอร์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2548 (2005) ในระหว่างการประชุม UNGA สมัยที่ 60 ณ นครนิวยอร์ก
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 17 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian04@mfa.go.th
|
|