ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> นอร์เวย์




แผนที่
ราชอาณาจักรนอร์เวย์
Kingdom of Norway


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทิศเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทิศใต้ติดกับทะเลเหนือ ทิศตะวันออกติดกับฟินแลนด์ สวีเดน และรัสเซีย ทิศตะวันตกติดกับทะเลนอร์วีเจียน

พื้นที่ 324,219 ตารางกิโลเมตร

ประชากร 4.5 ล้านคน

ภาษา Norwegian ภาษาเขียนมี 2 แบบคือ Bokmal และ Nynorsk

ศาสนา ร้อยละ 88 นับถือศาสนาคริสต์ นิกาย Evangelical Lutheran(ซึ่งเป็น Official State-religion)

เมืองหลวง กรุงออสโล (Oslo)

สกุลเงิน Norwegian Krone (NOK) อัตราแลกเปลี่ยน 1 NOK ประมาณ 5.65 บาท 7.07 NOK ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

วันชาติ 17 พฤษภาคม (วันรัฐธรรมนูญ)

ระบบการเมือง ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

ประมุข สมเด็จพระราชาธิบดีเฮรัลด์ที่ 5 (King Harald V)

นายกรัฐมนตรี นาย Jens Stoltenberg (ตุลาคม 2548)
(ดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2) หัวหน้าพรรคแรงงงาน (Labour Party)

รัฐมนตรีต่างประเทศ
นาย Jonas Gahr Store (ตุลาคม 2548) ดำรงตำแหน่งสมัยแรก

สถาบันการเมือง
- นอร์เวย์มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร (Storting) มีจำนวนสมาชิก 165 คน ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน(ประชาชนที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์) และมีวาระสมาชิกภาพ 4 ปี และไม่อาจถูกยุบสภาได้
- คณะรัฐมนตรีได้รับแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์มีหน้าที่ดำเนินนโยบายบริหารประเทศด้วยความเห็นชอบจากรัฐสภา
- สำหรับฝ่ายตุลาการ ผู้พิพากษาได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี แต่มีอำนาจในการพิจารณาคดีอย่างอิสระ

การเมืองการปกครอง
สภาวะทางการเมือง
ภายหลังจากการลงประชามติไม่เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2537 โดยร้อยละ 52.5 ลงคะแนนเสียงคัดค้าน และร้อยละ 47.5 ลงคะแนนเสียงสนับสนุน นาง Gro Harlem Brundtland นายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) ได้แสดงท่าทีที่แน่ชัดว่า รัฐบาลนอร์เวย์และพรรคการเมืองอื่น ๆ จะต้องร่วมกันพิทักษ์ผลประโยชน์ของประเทศต่อความร่วมมือกับสหภาพยุโรป นอร์เวย์จะต้องแสดงให้เห็นว่า นอร์เวย์ไม่ต้องการอยู่โดดเดี่ยว และจะพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในองค์กรต่าง ๆ ที่นอร์เวย์เข้าร่วมอยู่ด้วยอย่างแข็งขัน
การเลือกตั้งทั่วไปเดือนกันยายน 2540
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 นอร์เวย์ได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปของสมาชิกรัฐสภาจำนวน 165 คน ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่งวาระ 4 ปี ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคแรงงาน (Labour)ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด 65 ที่นั่ง กลุ่มพันธมิตร 3 พรรค (Christian Democratic Party, Centre Party และ Liberal Party) ได้รับคะแนนเสียง 42 ที่นั่ง และพรรคฝ่ายขวา คือ Progress Party ได้รับคะแนนเสียง 25 ที่นั่งเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2540 สมเด็จพระราชาธิบดีเฮรัลด์ที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นาย Kjell Magne Bondevik หัวหน้าพรรค Christian Democrats และผู้นำกลุ่มพันธมิตร 3 พรรค (Centrist Coalition ซึ่งประกอบด้วยพรรค Christian Democrats พรรคLiberals และพรรค Centre) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์คนใหม่ พร้อมทั้งได้แต่งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่รวม 19 คน โดยมีนาย Knut Vollebaek เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2543 นาย Kjell Magne Bondevik ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากที่รัฐบาลประสบความพ่ายแพ้ในการลงมติไม่ไว้วางใจในรัฐสภาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในนอร์เวย์ต่อพรรค Labourจึงส่งผลทำให้มีการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่ โดยนาย Jens Stoltenberg รองหัวหน้าพรรค Labourดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน และนาย Thorbjorn Jagland หัวหน้าพรรค Labour และอดีตนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
การเลือกตั้งทั่วไปเดือนกันยายน2544
เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2544 ได้มีการเลือกตั้งทั่วไป ผลปรากฏว่า พรรค Labour ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด 43 ที่นั่ง พรรค Conservatives ได้รับเลือกตั้งมาเป็นอันดับที่ 2 จำนวน 38 ที่นั่ง พรรค Christian Democrats ได้รับเลือกตั้ง 22 ที่นั่งเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2544 สมเด็จพระราชาธิบดีเฮรัลด์ที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นาย Kjell Magne Bondevik หัวหน้าพรรค Christian Democrats และผู้นำกลุ่มพันธมิตร 3 พรรค (Centrist Coalition ซึ่งประกอบด้วยพรรค Conservatives พรรค Christian Democrats และพรรค Liberals) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์ เป็นสมัยที่สอง พร้อมทั้งได้แต่งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่รวม 19 คน โดยมีนาย Jan Petersen หัวหน้าพรรค Conservatives เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
จากผลการสำรวจความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมืองเมื่อเดือนธันวาคม 2546 ปรากฏว่า พรรคแรงงานได้รับความนิยมร้อยละ 27.8 พรรค Progress ร้อยละ 19.5 พรรคอนุรักษ์นิยม ร้อยละ 15.5 พรรค Christian Democrats ร้อยละ 7.3
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 นายกรัฐมนตรี Bondevik ได้ปรับคณะรัฐมนตรีในบางตำแหน่งเพื่อสร้างความเข้มแข็งของรัฐบาลก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2548
การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเดือนกันยายน2548
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2548 ได้มีการเลือกตั้งทั่วไป ผลปรากฎว่า พรรค Labour ได้ที่นั่งจำนวนมากที่สุด คือ 61 จาก 169 ที่นั่ง โดยมีพรรค Progressive พรรค Conservative ได้ที่นั่งเป็นลำดับถัดมา ส่วนพรรค Christian Democrats ของอดีตนายกรัฐมนตรี Kjell Magne Bondevik ได้เพียง 11 ที่นั่ง สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลนั้น นาย Jens Stoltenberg หัวหน้าพรรค Labour ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรค Socialist Left และพรรค Center ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรร่วมฝ่ายซ้ายในนาม Red-Green Alliance อย่างไรก็ดีทั้งสามพรรคเคยประสบปัญหาการมีนโยบายขัดแย้งเรื่องการใช้พลังงานจากแก๊สธรรมชาติและการขุดเจาะน้ำมัน สิ่งแวดล้อม การทหารในต่างประเทศ และ การศึกษา
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2548 สมเด็จพระราชาธิบดีเฮรัลด์ที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการฯ แต่งตั้งนาย Jens Stoltenberg ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือเป็นการกลับมาดำรงตำแหน่งครั้งที่สอง หลังจากเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวระหว่างปี 2543-2544 (ค.ศ.2000 - 2001) โดยมีนาย Jonas Gahr Store เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นสมัยแรก
ในด้านการต่างประเทศบทบาทที่โดดเด่นของนอร์เวย์ในกิจการระหว่างประเทศ คือ การส่งเสริมการรักษาสันติภาพ ดังจะเห็นได้จากบทบาทที่แข็งขันในกิจการภายใต้กรอบองค์การสหประชาชาติและองค์การ NATO ตลอดจนการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาสันติภาพในตะวันออกกลางและในศรีลังกา แนวนโยบายต่างประเทศที่สำคัญของนอร์เวย์ คือ การให้ความสำคัญแก่การส่งเสริมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความมั่นคงของมนุษย์ การค้าเสรี ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา และสิ่งแวดล้อม สำหรับการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของนอร์เวย์ ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเมื่อเดือนธันวาคม 2546 ปรากฏว่า ร้อยละ 38.5 ไม่เห็นด้วยกับการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในขณะนี้ ขณะที่ร้อยละ 47 เห็นด้วยกับการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในอนาคต และร้อยละ 14.5 ยังไม่ได้ตัดสินใจ
นอกจากนี้ นอร์เวย์และสวีเดนยังเป็นสถานที่มอบรางวัลโนเบล (Nobel prizes) โดยกำหนดจัดขึ้นที่กรุงออสโลและกรุงสตอกโฮล์ม ทุกๆ วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี โดยจะมีการมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพที่กรุงออสโล

ประวัติย่อบุคคลสำคัญทางการเมืองของไอซ์แลนด์
1. นายกรัฐมนตรี
นาย Jens Stoltenberg อายุ 46 ปี เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2502 (ค.ศ. 1959) เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองเมื่อเดือนตุลาคม 2548 หลังจากที่เคยดำรงตำแหน่งสมัยแรก ระหว่างปี 2543-2544 (ค.ศ. 2000-2001) ก่อนหน้านี้ เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญ เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในปี 2540 (ค.ศ. 1997) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและพลังงาน ในปี 2539 (ค.ศ. 1996) และเป็นหัวหน้าพรรค Labour Party ตั้งแต่ปี 2545 (ค.ศ. 2002)
2.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
นาย Jonas Gahr Store อายุ 46 ปี เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2503 (ค.ศ. 1960) เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเป็นสมัยแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2548 ก่อนหน้านี้ ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ คือ เลขาธิการสภากาชาดนอร์เวย์ ระหว่างปี 2546-2548 (ค.ศ. 2003-2005) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี 2543-2544 (ค.ศ. 2000-2001) หัวหน้าสำนักงาน องค์การอนามัยโลก ระหว่างปี 2541-2543 (ค.ศ. 1998-2000) และเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ในปี 2541(ค.ศ.1998)


เศรษฐกิจการค้า
ภาวะทางเศรษฐกิจ
1. ข้อมูลทั่วไป นอร์เวย์เป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมาก และการประมงเป็นอาชีพหลักของประเทศมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และนับตั้งแต่ปี2513 นอร์เวย์ได้ค้นพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งทะเลเป็นจำนวนมหาศาลทำให้นอร์เวย์มีสภาวะทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมากขึ้น พื้นที่การค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในนอร์เวย์จะอยู่ทางตอนใต้ของทะเลเหนือ อย่างไรก็ตาม นอร์เวย์ตระหนักดีว่า ไม่สามารถพึ่งพาการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งได้ตลอดไป รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะปรับมาตรการเพื่อให้อุตสาหกรรมภายในประเทศ (traditional commodities) ด้านต่างๆ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เช่น สินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณท์ป่าไม้ การผลิตพลังไฟฟ้าด้วยกำลังน้ำ แร่ธาตุจำพวกอลูมิเนียม สังกะสี ตะกั่ว และทองแดง และการต่อเรือและอุปกรณ์ด้านการเดินเรือทะเล ขณะเดียวกัน รัฐบาลนอร์เวย์พยายามที่จะดำเนินนโยบายที่จะให้หลักประกันต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ นอกจากนั้น รัฐบาลนอร์เวย์ได้สนับสนุนการพัฒนาความเจริญของประเทศในด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการวิจัยและการพัฒนา ตลอดจนเทคโนโลยี ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ สำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของนอร์เวย์ในระดับภูมิภาคยุโรป นอกเหนือจากการส่งเสริมความร่วมมือในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic) ซึ่งประกอบด้วยเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน แล้ว นอร์เวย์ยังเป็นสมาชิก สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association - EFTA) ซึ่งมีสมาชิกประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ โดย ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และนอร์เวย์ได้เจรจากับสหภาพยุโรป (European Union - EU) เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area - EEA) ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1994
2. สภาวะทางเศรษฐกิจ
2.1 สถานการณ์เศรษฐกิจโดยทั่วไปสภาวะเศรษฐกิจของนอร์เวย์โดยทั่วไปปรากฏว่า สภาพเศรษฐกิจของนอร์เวย์โดยทั่วไปนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 แสดงสัญญาณว่า เศรษฐกิจของนอร์เวย์เริ่มจะฟื้นตัวทั้งในภาคการผลิตและการจ้างงาน โดยอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการลงทุนในภาคพลังงาน รวมทั้งการใช้สอยของครัวเรือนที่มีมากขึ้น เศรษฐกิจในภาคที่ไม่ใช่นำมันมีการเจริญเติบโตสูงถึงร้อยละ 12 โดยในปี 2543 รายได้จากอุตสาหกรรมภาคปิโตรเลียม (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) มีอัตราร้อยละ 35 ของการส่งออกทั้งหมด ภาวะการว่างงานมีเพียงร้อยละ 3 นอกจากนั้น นอร์เวย์มีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลถึงร้อยละ 7 ของ GDP และมีงบประมาณเกินดุลถึงร้อยละ 5 ของ GDP
2.2 อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
การปิโตรเลียมนอร์เวย์แถลงว่า นอร์เวย์มีขีดความสามารถในการผลิตน้ำมันดิบได้ประมาณวันละ 3.7 ล้านบาร์เรล และมีโครงการที่จะเพิ่มปริมาณการผลิตให้สูงขึ้นอีกโดยจะใช้เงินทุนประมาณ 1,500 พันล้านโครนภายในช่วง 25 ปีต่อไป โดยในจำนวนนี้จะเป็นเงินลงทุนเพื่อการสำรวจแหล่งน้ำมันใหม่ 200 พันล้านโครน ยอดเงินลงทุนดังกล่าวสูงกว่าการลงทุนในรอบ 25 ปีที่ผ่านมาประมาณ 250 พันล้านโครน
เมื่อเดือนเมษายน 2547 รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันและพลังงานของนอร์เวย์ได้ประกาศว่า นอร์เวย์ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม OPEC จะไม่ลดปริมาณการผลิตน้ำมันตามกลุ่ม OPEC โดยนอร์เวย์เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันใหญ่เป็นอันดับที่สามของโลก รองจากซาอุดิ อาระเบียและรัสเซีย ในช่วงเวลาที่ผ่านมา นอร์เวย์ได้มีการผลิตน้ำมันในปริมาณ 3,408 ล้านบาร์เรลต่อวันและมีปริมาณน้ำมันสำรอง 9,859 พันล้านบาร์เรล มีการรายงานว่ามีการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในไหล่ทวีปทางทะเลเหนือทำให้ภาคพลังงานยิ่งเพิ่มความสำคัญต่อเศรษฐกิจของนอร์เวย์ ผลของการสูงขึ้นของราคาน้ำมันตั้งแต่ต้นปี2548 ส่งผลให้กองทุนน้ำมันของนอร์เวย์มีมูลค่าสูงขึ้น คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 1670 พันล้านโครนนอร์เวย์ (ประมาณ 10000 พันล้านบาท) ในปี 2549 จากมูลค่า 1184 พันล้านโครนนอร์เวย์ (ประมาณ9000 พันล้านบาท) ในสิ้นเดือนมิ.ย. 2547
2.3 การเงินและการธนาคารในปี 2541-2542 ธนาคารชาตินอร์เวย์ให้ความสำคัญแก่ นโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินโครนนอร์เวย์ การควบคุมการขยายตัวของเงินเฟ้อและอัตราค่าจ้างโดยใช้มาตรการด้านอัตราดอกเบี้ย และบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor (S&P) ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือของนอร์เวย์อยู่ในระดับ AAA โดยเห็นว่า การที่นอร์เวย์มีวินัยทางการเงินการคลังในระยะยาวทำให้ภาครัฐมีทรัพย์สินส่วนเกินมาก

3 การค้าระหว่างประเทศ
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของนอร์เวย์ที่สำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป (ร้อยละ 79) สหรัฐฯ (ร้อยละ 10) และประเทศในทวีปเอเชีย (ร้อยละ 8)

ดรรชนีเศรษฐกิจ b>
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) : 171.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- GDP ต่อหัว : 37,700 ดอลลาร์สหรัฐ
- ดุลงบประมาณ : เกินดุล 14.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- รายได้/รายจ่าย : 71.7 และ 57.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ปริมาณน้ำมันดิบสำรอง : 9.859 พันล้านบาร์เรล
- อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ : ร้อยละ 0.5
- อัตราเงินเฟ้อ : ร้อยละ 2.6
- อัตราการว่างงาน : ร้อยละ 4.5 (จำนวนแรงงาน 2.4 ล้านคน)
- ดุลการค้า : ได้ดุล 17.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- นำเข้า/ส่งออก : 40.19 และ 67.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เงินให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ (ODA) : 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- หนี้ต่างประเทศ : ไม่มี
- ประเทศคู่ค้าสำคัญ : สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา สวีเดน เยอรมนี เดนมาร์ก
- สินค้านำเข้าสำคัญ : เครื่องจักร น้ำมันหล่อลื่น เคมีภัณฑ์ อาหารสัตว์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เรือ
- สินค้าส่งออกสำคัญ : น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เครื่องจักร โลหะ เคมีภัณท์ อลูมิเนียม ปลาและผลิตภัณฑ์จากปลา กระดาษและเยื่อกระดาษ เรือ
- การจัดอันดับสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ : อันดับที่ 18 ของโลกระหว่างช่วงปี 2542-
2546 แ
- การจัดอันดับขีดความสามารถด้านการแข่งขัน (Global Compettitiveness Index) อยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก ในปี 2549 (ปี 2548 ลำดับที่ 17)

การลงทุน
1 การลงทุนในต่างประเทศ พื้นที่การลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป (ร้อยละ 52.3) เดนมาร์ก (ร้อยละ 14.9) ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ร้อยละ 14.6) และสหรัฐฯ (ร้อยละ 13.8) ทั้งนี้ การลงทุนในประเทศในทวีปเอเชียที่เป็นแหล่งรับการลงทุนสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย สิงคโปร์ และไทย

2 การลงทุนจากต่างประเทศ ธนาคารชาตินอร์เวย์แถลงว่า นักลงทุนต่างประเทศได้เริ่มหันมาให้ความสนใจกับการซื้อหุ้นธนาคารเอกชนในนอร์เวย์มากขึ้น โดยสถิติเมื่อเดือนมีนาคม 2539 มีชาวต่างประเทศถือหุ้นในธนาคารต่าง ๆ ของนอร์เวย์ทั้งสิ้นร้อยละ 25.1 โดยนักลงทุนกว่าร้อยละ 90 มาจากสหภาพยุโรป

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรนอร์เวย์
ความสัมพันธ์ทางการทูต
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับนอร์เวย์ดำเนินไปด้วยความราบรื่นตลอดมานับตั้งแต่เริ่มมีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ของประเทศทั้งสองก็เป็นไปอย่างสนิทสนม ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับนอร์เวย์เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2448 (ค.ศ.1905) และต่อมาในปี 2495 (ค.ศ.1952) ได้มีการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูตในระดับอัครราชทูต และได้ยกฐานะความสัมพันธ์ขึ้นเป็นระดับเอกอัครราชทูตตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2503 (ค.ศ.1960) จากนั้นนอร์เวย์ได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตมาประจำประเทศไทยตลอดมา ส่วนไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล เมื่อเดือนสิงหาคม 2530
- เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนอร์เวย์ นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย
- กงสุลกิตติมศักดิ์ไทย ณ กรุงออสโล นาง Solveig Skauan
- เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย นาง Merete Fjeld Brattested
- กงสุลกิตติมศักดิ์นอร์เวย์ประจำเมืองพัทยา นาย Stig Vagt-Andersson
ที่อยู่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล Royal Thai Embassy, Eilert Sundts Gate 4, 0244 Oslo, Tel 47-22128660 Fax 47-22049969
ในนอร์เวย์ มีวัดไทย 1 แห่ง คือ วัดไทยนอร์เวย์ตั้งอยู่ที่ Torstadasen, 1396 Billingstad, Asker Tel 47-66848313 Fax 47-66777927 และจากสถิติของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองนอร์เวย์ มีคนไทยมีถิ่นพำนักในนอร์เวย์จำนวน 4,962 คน

ความสัมพันธ์ทวิภาคี
ความสัมพันธ์ทางการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับนอร์เวย์ดำเนินมาด้วยความใกล้ชิด ในกรอบเวทีระหว่างประเทศ ไทยและนอร์เวย์มีความร่วมมือกันด้วยดีตลอดมา อาทิ การให้ความสนับสนุนของรัฐบาลนอร์เวย์ต่อผู้สมัครของไทย ในการเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2542 การให้ความสนับสนุนของรัฐบาลนอร์เวย์ต่อไทยในการเข้าเป็นสมาชิกไม่ถาวรของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อปี 2529 เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยยัง สนับสนุนบทบาทที่แข็งขันของนอร์เวย์ในกระบวนการเจรจาสันติภาพในศรีลังกา
การไกล่เกลี่ยแก้ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง รวมทั้งการลงนามในอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคลซึ่งไทยและนอร์เวย์ได้ลงนามในอนุสัญญาฯ ดังกล่าว เมื่อเดือนธันวาคม 2540 ที่กรุงออตตาวา แคนาดา และการให้ความช่วยเหลือด้าน มนุษยธรรมของนอร์เวย์โดยผ่านทางองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาล (NGOs) แก่ชาวกัมพูชา และพม่าพลัดถิ่นที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน
สำหรับการเจรจาหารือทางการเมืองระหว่างไทยกับนอร์เวย์ ทั้งสองฝ่ายได้มีการติดต่อในระดับต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ อาทิ นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้แทนการค้าไทยได้พบหารือกับนาย Jan Petersen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2547 ที่กรุงออสโล และได้พบหารือทวิภาคีในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ 60 เดือนกันยายน 2548 ณ นครนิวยอร์ก นอกจากนี้ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ (ในขณะนั้น) ยังได้เคยพบหารือทวิภาคีกับนาย Jan Petersen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ ในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ 59 เดือนกันยายน 2547 ณ นครนิวยอร์ก เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-นอร์เวย์และความร่วมมือระหว่างกันทั้งในกรอบภูมิภาคและองค์การสหประชาชาติ และในระหว่างการเยือนไทยของ นาย Petersen เมื่อเดือนมกราคม 2548 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือภายหลังเหตุการณ์คลื่นยักษ์ เช่นระบบเตือนภัยล่วงหน้าและการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ในโอกาสที่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-นอร์เวย์ ครบรอบ 100 ปี ในปี 2548 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีสารแสดงความยินดีถึงฝ่ายนอร์เวย์ด้วย
ความสัมพันธ์ด้านการค้า
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับนอร์เวย์ปรากฏว่ายังมีมูลค่าน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศยุโรปขนาดใหญ่ ไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 6 ของประเทศเอเชียที่ทำการค้ากับนอร์เวย์
ในปี 2549 (ม.ค.-ส.ค.) ทั้งสองประเทศมีปริมาณการค้ามูลค่า 185.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 76.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 108.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 31.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสถิติปี 2548 มีมูลค่า 199.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 91.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 107.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 16.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในด้านการส่งออก นอร์เวย์เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 63 ของไทยกับโลก สำหรับด้านการนำเข้า นอรเวย์เป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 47 ของไทยกับโลก
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ ข้าว เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋อง อัญมณีและเครื่องประดับ ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า เยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง และผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ โอกาสในการขยายตลาดสินค้าไทยไปยังนอร์เวย์ยังมีความเป็นไปได้อีกมาก เพราะนอร์เวย์อยู่ภายนอกตลาดยุโรป มีนโยบายการค้าเสรี และมีข้อจำกัดทางด้านการค้าน้อย
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับนอร์เวย์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ได้จัดโครงการทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆ เช่น
1. โครงการนำนักธุรกิจนอร์เวย์ที่นำเข้าเสื้อผ้าเยือนไทย เพื่อเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Bangkok International Fashion Fair 2000 (BIFF) ระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม 2543
2. โครงการนำคณะผู้บริหารบริษัทท่องเที่ยวนอร์เวย์แบบเครื่องบินเช่าเหมาลำเดินทางมาเยือนไทย โดยเน้นการเยี่ยมชมในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ ระหว่างวันที่ 2-8 เมษายน 2543
3. โครงการนำคณะผู้บริหารบริษัทท่องเที่ยวนอร์เวย์แบบเครื่องบินเช่าเหมาลำและ ผู้สื่อข่าวท่องเที่ยวของนอร์เวย์เดินทางมาเยือนไทย โดยเน้นการเยี่ยมชมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ระยอง และชลบุรี ระหว่างวันที่ 15-23 สิงหาคม 2545
4. โครงการนำผู้บริหารบริษัทนอร์เวย์ที่นำเข้าตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องทำความร้อน และเครื่องทำความเย็น เยือนไทย เพื่อร่วมงานแสดงสินค้า Refrigeration, Heating, Ventilation and Air Conditioning (Bangkok RHVAC 2003) ระหว่างวันที่ 16-21 กันยายน 2546
5. โครงการนำผู้บริหารบริษัทนอร์เวย์ที่นำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Bangkok International Fashion Fair 2004 (BIFF) ระหว่างวันที่ 14-19 มกราคม 2547
6. โครงการนำนักธุรกิจนอร์เวย์ที่นำเข้าสินค้าอาหารเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมงานแสดงอาหาร Thailand International Food Exhibition -Thaifex- 2004 ระหว่างวันที่ 26-30 พฤษภาคม 2547
b>สถิติการค้าไทย-นอร์เวย์ หน่วย : ล้าน US$ (หน่วย : ล้านบาท)
ดูเอกสารแนบ

ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า
1. นอร์เวย์เป็นตลาดขนาดเล็ก ซึ่งมีประชากรประมาณ 4.5 ล้านคน ผู้นำเข้าของนอร์เวย์นิยมสั่งซื้อสินค้าผ่านคนกลางในแถบยุโรปด้วยกัน จึงทำให้ตลาดนอร์เวย์ไม่ได้รับความนิยมและสนใจจากผู้ส่งออกของไทย
2. ผู้ส่งออกของไทยขาดข้อมูลด้านการตลาดในนอร์เวย์
3. การนำเข้าสินค้าเกษตรของนอร์เวย์ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากสหรัฐฯ
(ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
นอกจากนี้ ไทยและนอร์เวย์ยังได้ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในกรอบพหุภาคี ภายใต้การเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) ซึ่งนอร์เวย์เป็นสมาชิกอยู่ โดยในขณะนี้ทั้งสองฝ่ายกำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจาจัดทำความตกลงดังกล่าวอยู่

ความสัมพันธ์ด้านการลงทุน
กิจการอุตสาหกรรมที่นอร์เวย์ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ กิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์หนังและเหล็ก กิจการผลิตกระป๋องอลูมิเนียม อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2533 บริษัท STATOIL ได้เข้ามาร่วมลงทุนกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยในโครงการสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ต่อมา ในปี 2541 บริษัท STATOIL ได้ถอนตัวออกจากธุรกิจในไทยทั้งหมดเนื่องมาจากนโยบายของบริษัทแม่ในการรักษาผลกำไรโดยรวมของบริษัท

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
นอร์เวย์ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ไทยทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในทะเล สื่อสารโทรคมนาคม การพัฒนาพลังงานน้ำ เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมการประมง โดยนอร์เวย์มีหน่วยงาน NORAD (Norwegian Agency for International Development) ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่ต่างประเทศ ความช่วยเหลือและความร่วมมือที่นอร์เวย์ให้แก่ไทย อาทิ โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารกิจการปิโตรเลียม โดยสถาบัน Norwegian Petroleum Directorate (NPD) คัดเลือกเจ้าหน้าที่จากกระทรวงอุตสาหกรรมเข้ารับการอบรมด้าน Petroleum Policy and Management โครงการจัดตั้งระบบสำรวจและพยากรณ์ทางสมุทรศาสตร์และสภาพแวดล้อมทางทะเล (Thai Seawatch Project) ภายใต้โครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลนอร์เวย์ โดยมีบริษัท OCEANOR ของนอร์เวย์เป็นผู้ดำเนินการร่วมกันกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

กลไกของการดำเนินความสัมพันธ์
ไทยและนอร์เวย์มีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การเดินเรืออุตสาหกรรม วิชาการและการค้า ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2528 โดยความตกลงฉบับนี้ได้วางกรอบสำหรับการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจ การเดินเรือ อุตสาหกรรม วิชาการและการค้า (Joint Commission for Economic, Maritime, Industrial, Technical Cooperation and Trade - JC) ซึ่งได้มีการประชุมมาแล้ว 4 ครั้ง คือ
- ครั้งที่ 1 ณ กรุงออสโล วันที่ 27-29 ตุลาคม 2529 โดยมี ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
- ครั้งที่ 2 ณ กรุงเทพฯ วันที่ 7-9 ธันวาคม 2531 โดยมี ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
- ครั้งที่ 3 ณ กรุงออสโล วันที่ 10-12 กันยายน 2533 โดยมีนายอำนวย ยศสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
- ครั้งที่ 4 ณ กรุงเทพฯ วันที่ 21-22 มิถุนายน 2542 โดยมีม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

การท่องเที่ยว
นอร์เวย์และกลุ่มประเทศนอร์ดิกเป็นประเทศเป้าหมายสำคัญของไทยในการส่งเสริม การท่องเที่ยวภายใต้โครงการพำนักระยะยาว (Long Stay) และการเชิญชวนให้เข้ามา ใช้บริการทางการแพทย์ในไทย
สถิตินักท่องเที่ยวนอร์เวย์เดินทางมาไทยในช่วงปี 2549 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 39,098 คน (โดยในปี2548 - 85,551 คน ปี 2547 -77,684 คน ปี 2546 - 70,694 คน ปี 2545 - 74,947 คน และปี 2544 - 72,785 คน) นักท่องเที่ยวชาวนอร์เวย์ มีวันพักเฉลี่ย 11.99 วัน และมีการใช้เฉลี่ยต่อคนต่อวัน 2,664.66 บาท การใช้จ่ายส่วนใหญ่ คือ การจับจ่ายซื้อของ ค่าที่พัก และค่าอาหาร/เครื่องดื่ม แหล่งท่องเที่ยวที่ชาวนอร์เวย์นิยม คือ แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดภูเก็ต ปัจจัยที่ ทำให้ชาวนอร์เวย์นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย คือ ความสามารถสนองตอบต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวนอร์เวย์ในการท่องเที่ยวประเภทหาดทรายชายทะเลของไทย และอัตราแลกเปลี่ยน
สำหรับสถิติในปี 2549 (ม.ค.-มี.ค.) มีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางไปนอร์เวย์จำนวน590 คน โดยในปี 2548 - 1,180 คน ปี 2547 - 1,170 คน ปี 2546 - 947 คน และปี 2545 - 615 คน
(ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
การแลกเปลี่ยนการเยือน
ไทยเยือนนอร์เวย์
1.1 ระดับราชวงศ์
- เดือนมิถุนายน 2450 (ค.ศ. 1907) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนนอร์เวย์
- 19-21 กันยายน 2503 (ค.ศ. 1960) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนนอร์เวย์อย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์
- 12-18 ตุลาคม 2531 (ค.ศ.1988) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนนอร์เวย์ เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อทรงบรรยายทางวิชาการ
- 17-27 มิถุนายน 2532 (ค.ศ. 1989) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนนอร์เวย์ เพื่อทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ไทย ณ North Cape
(Nordkapp)
- เดือนมกราคม 2534 (ค.ศ. 1991) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์เพื่อทรงร่วมในพิธีพระบรมศพสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟ ที่ 5 แห่งนอร์เวย์
- 2538 (ค.ศ.1995) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนคินทร์ เสด็จ เยือนนอร์เวย์เป็นการส่วนพระองค์ และทรงนำพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในชุดฉลองพระองค์ที่เสด็จฯ เยือน North Cape เมื่อปี 2450 ไปประดิษฐานไว้ที่พิพิธภัณฑ์ไทย ณ North Cape
- 29-30 สิงหาคม 2543 (ค.ศ. 2000) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนนอร์เวย์ เป็นการส่วนพระองค์
- 3-10 กรกฎาคม 2550 (ค.ศ. 2007) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารอเนกประสงค์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร) ณ วัดไทยนอร์เวย์


1.2 ระดับการเมือง
- 27-29 กันยายน 2532 (ค.ศ. 1989) พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี และคณะเดินทางเยือนนอร์เวย์อย่างเป็นทางการ
- 8-14 กันยายน 2533 (ค.ศ. 1990) นายอำนวย ยศสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนนอร์เวย์ และนำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจฯ (JC) ครั้งที่ 3
- 6-8 ตุลาคม 2537 (ค.ศ. 1994) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมคณะนักธุรกิจไทย เดินทางเยือนนอร์เวย์ อย่างเป็นทางการ
- 19-21 พฤษภาคม 2542 (ค.ศ. 1999) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนนอร์เวย์ เพื่อเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีเครือข่าย ความมั่นคงของมนุษย์ ครั้งที่ 1 (Human Security Network - HSN) ที่เกาะ Lysoen
เมือง Bergen
- 21-23 กันยายน 2543 (ค.ศ. 2000) นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนนอร์เวย์อย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์
- 24-25 พฤศจิกายน 2545 (ค.ศ.2002) นายประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนนอร์เวย์
- 30 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2546 (ค.ศ.2003) นายเตช บุนนาค ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เยือนนอร์เวย์ตามคำเชิญของนาย Bjarne Lindstrom ปลัดกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์
- 29 สิงหาคม - 1 กันยายน 2547 (ค.ศ.2004) นายกันตธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทย (TTR) พร้อมภาคเอกชน เยือนนอร์เวย์
-22-24 เมษายน 2548 นายกร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เยือนนอร์เวย์
2 นอร์เวย์เยือนไทย
2.1 ระดับราชวงศ์
- 15-23 มกราคม 2508 (ค.ศ.1965) สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟ ที่ 5 (His Majesty King Olav V) เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
- เดือนมีนาคม 2513 (ค.ศ.1970) เจ้าชายเฮรัลด์ มกุฎราชกุมาร (HRH Crown Prince Harald)และเจ้าหญิงซอนยา (HRH Princess Sonja) เสด็จฯ เยือนไทยเป็น การส่วนพระองค์
- 21-22 มกราคม 2517 (ค.ศ.1974) เจ้าชายเฮรัลด์ มกุฎราชกุมาร(HRH Crown Prince Harald) เสด็จฯ เยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์
- 12-14 ตุลาคม 2522 (ค.ศ.1979) เจ้าหญิงซอนยา (HRH Princess Sonja) เสด็จฯ เยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์
- 8-10 ธันวาคม 2542 (ค.ศ.1999) เจ้าหญิงมาร์ทา หลุยส์ (Princess Martha Louise) พระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีเฮรัลด์ ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ และสมเด็จพระราชินีซอนยา เสด็จฯ เยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์
- 23-26 พฤศจิกายน 2547 (ค.ศ.2004) เจ้าชายโฮกุ้น มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ (HRH Crown Prince Haakon) และเจ้าหญิงเมตเต-มาริต มกุฎราชกุมารีแห่ง นอร์เวย์ พระชายา (HRH Crown Princess Mette-Marit) เสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการ (Official Visit) ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
-วันที่ 11-14 มิถุนายน 2549 (ค.ศ.2006) เจ้าชายโฮกุ้น มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ (HRH Crown Prince Haakon) และเจ้าหญิงเมตเต-มาริต มกุฎราชกุมารีแห่ง นอร์เวย์ พระชายา (HRH Crown Princess Mette-Marit) พร้อมด้วยเจ้าชาย Sverre Magnus พระราชโอรส เสด็จฯ เยือนไทย เพื่อทรงเข้าร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2.2 ระดับการเมือง
- 19-20 สิงหาคม 2533 (ค.ศ.1990) นาย Knut Vollebaek รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ เยือนไทย
- 6-8 ตุลาคม 2539 (ค.ศ.1996) นาง Gro Harlem Brundtland นายกรัฐมนตรี นอร์เวย์ พร้อมภาคเอกชนเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit)
- 11-12 กุมภาพันธ์ 2541 (ค.ศ.1998) นาย Kjell Magne Bondevikนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล (Working Visit)
- 21-22 มิถุนายน 2542 (ค.ศ.1999) นาง Harriet Berg รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมนอร์เวย์ เยือนไทย โดยเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนนอร์เวย์เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจ การเดินเรือ อุตสาหกรรมและวิชาการ และการค้า (Joint Commission for Economic, Maritime, Industrial, Technical Cooperation and Trade) ไทย-นอร์เวย์ ครั้งที่ 4
- 6-7 มกราคม 2543 (ค.ศ.2000) นาย Knut Vollebaek รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ เยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ
- 18-20 กุมภาพันธ์ 2543 (ค.ศ.2000) นาง Hilde Johnson รัฐมนตรีว่าการกิจการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและสิทธิมนุษยชน เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2543
- 11-13 ตุลาคม 2543 (ค.ศ.2000) นาง Sigrun Mogedal รัฐมนตรีดูแลกิจการพัฒนาระหว่างประเทศเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติด
- 19 มีนาคม 2545 (ค.ศ.2002) นาง Helle Hammer รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมเยือนไทย
- 29 มีนาคม 2545 (ค.ศ.2002) นาย Vidar Helgesen รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การต่างประเทศเยือนไทย และพบหารือกับนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- 16-18 กันยายน 2545 (ค.ศ.2002) นาย Vidar Helgesen รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนไทย
- 31 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2545 (ค.ศ.2002) นาย Vidar Helgesen รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนไทย
- 23-25 กุมภาพันธ์ 2547 (ค.ศ.2004) นาย Jan Petersen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ เยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ในระหว่างการเยือนไทย รัฐมนตรี Petersen ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพบหารือกับนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- 16-17 มีนาคม 2547 (ค.ศ.2004) นาย Vidar Helgesen รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์เยือนไทย และในระหว่างการเยือน รัฐมนตรีช่วย Helgesen
พบหารือกับนายสรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ
- 24-25 พฤศจิกายน 2547 (ค.ศ.2004) นาย Vidar Helgesen รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมการสัมมนาเชิงวิชาการ ไทย-นอร์เวย์ ในหัวข้อ \"Sharing the Experiences in Promoting the Global and Regional Peace\" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งร่วมจัดโดยกระทรวงการต่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ในโอกาสการเสด็จฯ เยือนไทยของมกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์และพระชายา ระหว่าง วันที่ 23-26 พฤศจิกายน 2547
- 6-8 มกราคม 2548 (ค.ศ. 2005) นาย Jan Petersen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ เยือนไทย เพื่อประเมินสถานการณ์เหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติจากคลื่นยักษ์บริเวณจังหวัดภาคใต้ของไทย และในระหว่างการเยือนไทย รัฐมนตรี Petersen ได้เข้าพบนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือข้อราชการ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 ที่กรุงเทพฯ แลได้เดินทางไป จ.ภูเก็ต เพื่อเยี่ยมพื้นที่ประสบภัย เมื่อวันที่ 6-8 มกราคม 2548
- 16-17 มกราคม 2548 (ค.ศ.2005) นาย Kjell Magne Bondevik นายกรัฐมนตรี นอร์เวย์ พร้อมด้วยนายกรัฐมนตรีในกลุ่มประเทศนอร์ดิก (สวีเดนและฟินแลนด์) เยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาล (Working Visit) เพื่อประเมินสถานการณ์เหตุการณ์ ภัยพิบัติทางธรรมชาติจากคลื่นยักษ์บริเวณจังหวัดภาคใต้ของไทย และในระหว่างการเยือนไทย นายกรัฐมนตรีกลุ่มประเทศนอร์ดิกทั้งสามประเทศได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล และได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อหารือข้อราชการในวันที่ 16 มกราคม 2548 และได้เดินทางไปเยี่ยมชมพื้นที่ประสบภัยที่จ.ภูเก็ตในวันที่ 17 มกราคม 2548
28-29 มกราคม 2548 (ค.ศ.2005) นาย Svein Ludvigsen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประมงและกิจการชายฝั่งนอร์เวย์ เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่จ.ภูเก็ต
12-14 เมษายน 2548 (ค.ศ.2005) นางสาว Valgerd Haugland รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและกิจการศาสนา เยือนไทยเพื่อประเมินสถานการณ์จากกรณีเหตุการณ์ คลื่นยักษ์
4-8 พฤษภาคม 2548 (ค.ศ.2005) นาย Angsar Gabrielsen รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เยือนไทย เพื่อเป็นประธานในงานพิธีรำลึกแก่ผู้เสียชีวิตชาวนอร์เวย์จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ที่จ.ภูเก็ต
26 ธันวาคม 2548 (ค.ศ.2005) นาย Jan Patersen อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนอร์เวย์ เยือนไทยเพื่อเป็นตัวแทนรัฐบาลนอร์เวย์ในงานรำลึกครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์คลื่นยักษ์

พระราชวงศ์นอร์เวย์ ดังเอกสารแนบ

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับนอร์เวย์ที่สามารถค้นหาได้ทาง Internet

1. http://www.odin.dep.

2549

----------------------------------------------------------------------------

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 2 กรมยุโรป โทร. 0-2643-5133 Fax. 0-2643-5132 E-mail : european03@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์