|
แผนที่
|
สาธารณรัฐปาเลา Republic of Palau
|
|
ที่ตั้ง หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือเส้นศูนย์สูตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์
พื้นที่ 458 ตารางกิโลเมตร เขตเศรษฐกิจจำเพาะ 600,900 ตารางกิลโลเมตร
เมืองหลวง กรุง Melekeok
ภูมิอากาศ มรสุมเขตร้อน มักประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่น
ประชากร 20,579 คน (ปี 2548)
เชื้อชาติ Palauan (ระหว่างไมโครนีเซีย มาลายันและเมลานีเซียน) ร้อยละ 70 เอเชีย อาทิ ฟิลิปปินส์ จีน ไต้หวัน เวียดนาม ร้อยละ 28 และอื่นๆ ร้อยละ 2
ภาษา Palauan และอังกฤษ
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก และนิกายอื่นๆ อาทิ methodist Seventh-Day Adventist และ ศาสนาพื้นเมือง Modekngei
หน่วยเงินตรา ดอลลาร์สหรัฐ
GDP 144.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2548)
GDP per capita 7}267 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2548)
Real GDP Growth ร้อยละ 5.4 (ปี 2548)
อุตาหกรรม เนื้อมะพร้าวแห้ง การท่องเที่ยว ประมง
สินค้าส่งออก สัตว์น้ำ เนื้อมะพร้าวแห้ง สิ่งทอ
ตลาดส่งออก ญี่ปุ่น สหรัฐ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์
สินค้านำ เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรม น้ำมัน โลหะและอาหารแปรูป
ตลาดนำเข้า สหรัฐฯ ญี่ปุ่น กวม สิงคโปร์ สาธารณรัฐเกาหลี
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ปาเลาลงนาม Compact of Free Association กับสหรัฐฯ หลังเป็นเอกราชในปี 2537 โดยสหรัฐมีพันธะในการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ปาเลาจำนวน 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใน 15 ปีแรกของการเป็นเอกราช อนึ่ง ปาเลามีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน และใกล้ชิดกับญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ปาเลายังเป็นสมาชิกของ South Pacific Community (SPC), Pacific Islands Forum (PIF), Forum Fisheries Agency, UN, UNESCO, ESCAP, IMF และ ADB
รูปแบบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยแบ่งเป็นสองสภา มีวุฒิสมาชิก 9 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี และสภาผู้แทนมีตัวแทนจาก 16 รัฐของปาเลา มีวาระ 4 ปี สภาแห่งชาติมีชื่อเรียกว่า Olbiil Era Kelulau OEK ภายใต้ Compact of Free Association กับสหรัฐฯ มีวุฒิสมาชิก 14 คน มีวาระ 4 ปี และสภาผู้แทนราษฎรมี 16 ที่นั่ง จาก 16 เขตเลือกตั้ง
ประมุข ประธานาธิบดี H.E. Tommy Remengesau, Jr. ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยแรกเมื่อปี 2544 และสมัยที่สองเมื่อปี 2547
รัฐมนตรีต่างประเทศ H.E. Temmy L. Shmull
การเลือกตั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2547 (ค.ศ.2004) ครั้งต่อไปปี 2551 (ค.ศ.2008)
สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
การเมืองของปาเลาภายใต้การนำของ ปธน. Remengesau มีเสถียรภาพ และคาดว่า ปธน.จะดำรงตำแหน่งจนครบวาระในปี 2551 และในเดือนกรกฎาคม 2548
ภาพรวม
ปาเลาเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและมาตรฐานชีวิตที่ค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกด้วยกัน โดยในปี 2548 มีรายได้ประชาชาติต่อหัวถึง 6,925 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ปาเลายังประสบปัญหาการกระจุกตัวของรายได้ เนื่องจากรายได้หลักของประเทศส่วนใหญ่จะมาจากการท่องเที่ยว (ปาเลามีชื่อเสียงในฐานะแหล่ง scuba diving) เกษตรกรรม การประมง และเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาจากสหรัฐฯ
ปาเลาได้รับผลกระทบน้อยมากจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออก มีโครงการที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมากมาย อาทิ การสร้างถนนรอบเกาะ Babeldaob และถนนระหว่างกรุงคอรอร์กับเกาะ Babeldaob ซึ่งได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากสหรัฐฯ รวมทั้งการสร้างศูนย์ราชการแห่งใหม่ที่เมือง Melekeok บนเกาะBabeldaob ซึ่งได้รับเงินกู้จากไต้หวัน คาดว่าโครงการเหล่านี้จะส่งผลดีแก่เศรษฐกิจของปาเลาในอนาคต
สถิติการค้าไทย-ปาเลา (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี มูลค่าการค้า ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า
2544(2001) 0.1 0.1 0 0.1
2545(2002) 0.1 0.1 0 0.1
2546(2003) 0.1 0.1 0 0.1
2547(2004) 0.2 0.2 0 0.2
2548(2005) 0.5 0.5 0 0.5
2549(2006) 0.4 0.4 0 0.4
หมายเหตุข้อมูลจากเวปไซด์กระทรวงพาณิชย์
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐปาเลา |
1. ความสัมพันธ์ทั่วไป
ไทยกับปาเลาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2540 โดยรัฐบาลไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลามีเขตอาณาครอบคลุมสาธารณรัฐปาเลา
2. เศรษฐกิจและการค้า
การค้าระหว่างไทยและปาเลามีน้อย โดยในปี 2548 ไทยและปาเลามีมูลค่าการค้าเพียง 0.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายส่งออกทั้งหมด
3. ความตกลงที่ทำกับไทย
อยู่ระหว่างการจัดทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ
กองแปซิฟิกใต้
กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
วันที่ 22 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองแปซิฟิกใต้ กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5000 ต่อ 3036 Fax. 0-2643-5119 E-mail : woramons@mfa.go.th
|
|