ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> เปรู




แผนที่
สาธารณรัฐเปรู
Republic of Peru


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง อยู่ในทวีปอเมริกาใต้ริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนด้านเหนือ ติดกับเอกวาดอร์และโคลอมเบีย ด้านตะวันออกติดกับบราซิล และโบลิเวีย และด้านใต้ติดกับชิลี

พื้นที่ 1,285,200 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทวีปอเมริกาใต้ และมีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทย 2 เท่า

ภูมิอากาศ ภาคตะวันออกของประเทศมีอากาศร้อนชื้น ภาคตะวันตกแห้งแล้งแบบทะเลทราย และแถบเทือกเขาแอนดีสมีอากาศหนาวเย็น

เมืองหลวง กรุงลิมา (Lima)

เมืองสำคัญ Arequipa, Callao, Trujillo

ประชากร 28 ล้านคน (2549)

เชื้อชาติ อินเดียนพื้นเมือง ร้อยละ 45 เมสติโซ (ผิวขาวผสมชนพื้นเมือง) ร้อยละ 37 ผิวขาวร้อยละ 15 แอฟริกัน ญี่ปุ่น จีน และอื่นๆ ร้อยละ 3

อัตราผู้รู้หนังสือ ร้อยละ 95 (2549)

ภาษา ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ และ ภาษา Quechua ส่วนภาษา Aymara เป็นภาษาท้องถิ่น

ศาสนา นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 95

เวลาต่างจากไทย ช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง

วันชาติ 28 กรกฎาคม (วันประกาศอิสรภาพจากสเปน)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 102.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.5 (2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 2,597 ดอลลาร์สหรัฐ/คน/ปี (2549)

ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ 17.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

หนี้ต่างประเทศ 29.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2 (2549)

มูลค่าการส่งออก 23.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

สินค้าส่งออกสำคัญ ทองคำ ทองแดง ปลาและผลิตภัณฑ์จากปลา ปิโตรเลียม สังกะสี สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม หน่อไม้ฝรั่ง น้ำตาล กาแฟและฝ้าย

มูลค่าการนำเข้า 14.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรอุตสาหกรรม ยานพาหนะ อาหารแปรรูป ปิโตรเลียม เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เคมีและยา

ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ ทองคำ (ผลิตเป็นอันดับ 6 ของโลก) ทองแดง (ผลิตเป็นอันดับ 6 ของโลก) เงิน (ผลิตเป็นอันดับ 2 ของโลก) ปลาและสัตว์ทะเล และโคคา (ผู้ผลิตอันดับ 2 ของโลก)

ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีสภาเดียว เรียกว่า Democratic Constituent Congress มีสมาชิก 120 คน และเลือกตั้งทุก 5 ปี แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 เขต (regions)

ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Alan Garcia Perez (พรรค APRA) ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 28 กรกฎาคม 2549

พรรคการเมืองสำคัญ
พรรค American Popular Revolutionary Alliance (APRA)
พรรค National Unity (UN)
พรรค Independent Moralizing Front (FIM)

การเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครอง

- เปรูมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำประเทศ และมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ไม่สามารถลงสมัครเลือกตั้ง 2 สมัยติดกันได้ เปรูใช้ระบบสภาเดียว โดยพรรค American Popular Revolutionary Alliance (APRA) ได้ที่นั่งในรัฐสภา 36 ที่นั่ง ส่วนพรรค Union for Peru (UPP) ของคู่แข่งประธานาธิบดีมี 45 ที่นั่ง และพรรค National Union (UN) มี 17 ที่นั่งจากทั้งหมด 120 ที่นั่ง

- นาย Alan Gabriel Ludwig García Pérez จากพรรค APRA (centre-left) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 สืบต่อจากอดีตประธานาธิบดี อเลฆานโดร โตเลโด (Alejandro Toledo) ซึ่งดำเนินนโยบายประชานิยมที่มุ่งแก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหาทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รวมทั้งเน้นการปฏิรูประบบการเมืองและเศรษฐกิจเพื่อให้รัฐบาลเป็นองค์กรที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยรวม

- ในด้านความมั่นคง เปรูได้ให้ความสำคัญกับการปราบปรามการก่อการร้ายที่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยดำเนินการตามกฎบัตรแห่งสหประชาชาติและอนุสัญญาต่างๆ ที่เปรูเป็นภาคี และวางยุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับปัญหาการก่อการร้ายใหม่ คือ กอบกู้อำนาจของรัฐในพื้นที่ล่อแหลม ดำเนินแผนสันติภาพและการพัฒนาโดยเน้นด้านการสาธารณสุข การศึกษา โครงสร้างพื้นฐานการสร้างงาน การส่งเสริมการเกษตร ปรับปรุงการข่าว และการเคารพสิทธิมนุษยชน

- ประเด็นความประสงค์ให้รัฐบาลชิลีส่งตัวอดีต ปธน. Fujimori กลับไปขึ้นศาลที่เปรูตามที่อดีต ปธน. เปรู นาย Alberto Fujimori ถูกรัฐบาลชิลีควบคุมตัว เมื่อ พ.ย. 2548 ขณะเดินทางกลับไปเปรูเพื่อสมัคร รับเลือกตั้ง ปธน. และรัฐบาลเปรูได้ร้องขอต่อชิลีให้ส่งตัวกลับไปเปรูเพื่อขึ้นศาลในข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชน และคอรับชั่น นั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2550 ผู้พิพากษาศาลสูงของชิลีได้แถลงว่า ไม่พบหลักฐาน ที่เป็นการเชื่อมโยงกับอดีต ปธน. Fujimori ว่าเกี่ยวข้องกับกรณีคอรับชั่น และละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่ รัฐบาลเปรูกล่าวหาอย่างใด

- ปัจจุบัน รัฐบาล นาย Alan Garcia กำลังพยายามผลักดันให้มีการปลี่ยนแปลงระบบของฝ่าย นิติบัญญัติจากเดิมที่เป็นระบบสภาเดี่ยวมาเป็นระบบ 2 สภา โดยการจะให้มีการจัดตั้งวุฒิสภาขึ้นมาใหม่ (จากเดิมที่ประธานาธิบดี Alberto Fujimori ได้ยกเลิกวุฒิสภา ในปี 2535) ซึ่งจะมีข้อดี คือ การแบ่งเบาภาระของสถาผู้แทนราษฏร มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการทุจริตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยประหยัดงบประมาณ และช่วยให้กระบวนการประชาธิปไตยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะผลักดันในเรื่องนี้ได้สำเร็จ แต่ยังมีปัญหาและอุปสรรคบางประการที่รัฐบาลจะต้องแก้ไข ได้แก่ เรื่องของความนิยมของประชาชนต่อตัวประธานาธิบดี และการต่อต้านจากกลุ่มผู้ที่ยังสนับสนุนนาย Alberto Fujimori

- คะแนนนิยมในตัวประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ลดลงอย่างมาก โดยในเดือน พ.ค. 2550 คะแนนนิยมลดเหลือเพียง 46% จากที่ในเดือน ส.ค. 2549 มีคะแนนนิยมอยู่ที่ 63% เนื่องมาจากรัฐบาล ยังคงไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางสังคม โดยมีการประท้วงจากประชาชนในจังหวัดที่อยู่นอกกรุงลิมาต่อ การตัดสินใจของรัฐบาลที่ยกเลิกการยกเว้นภาษีที่สำคัญบางอัน การประท้วงของคนงานสหภาพเหมืองแร่ ชาวสวนไร่โคคา และ ครู ในเรื่องการขอขึ้นค่าจ้างและสวัสดิการสังคม รวมทั้งปัญหาการคอรรับชั่นในสภา นิติบัญญัติ

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจและสังคม

- เปรูเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุดในลาตินอเมริกา โดยเฉพาะหลังจากที่อดีตประธานาธิบดีอเลฆานโดร โตเลโด ได้พยายามดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและส่งเสริมการส่งออก

- เปรูมีนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม มุ่งเน้นการเปิดเสรีทางการค้าและเศรษฐกิจ การแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ปรับปรุงและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบภาษี ปรับลดภาษีนำเข้าผ่านทางการเปิดเสรีทั้งในระดับภูมิภาคภายใต้กรอบประชาคมแอนเดียน (ANDEAN Community) และ ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (MERCOSUR) และการทำความตกลงการค้าเสรีทวิภาคี (FTA) ซึ่งเปรูอยู่ระหว่างการเจรจากับสหภาพยุโรป เม็กซิโก และประเทศไทย นอกจากนี้ รัฐบาลเปรูได้ใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อสร้างเครือข่ายคมนาคมขนาดใหญ่ อาทิ ท่าอากาศยานแห่งใหม่ ถนนและทางรถไฟ รวมทั้งการให้สัมปทานสำรวจและขุดเจาะแหล่งก๊าซธรรมชาติเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ และทำให้เปรูกลายเป็นประเทศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากที่สุดประเทศหนึ่งในลาตินอเมริกา รวมทั้งได้วางมาตรการเพื่อเอื้อต่อการออมทรัพย์และการลงทุนในประเทศ โดยการกำหนดค่าเงินคงตัวและวางกฎระเบียบในการทำการค้าอย่างเป็นระบบ

- เปรูได้ขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับประเทศต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะภายในกลุ่มประชาคมแอนเดียน และกลุ่ม MERCOSUR ทั้งนี้ เปรูได้ลงนามในความตกลงการค้าเสรีกับกลุ่ม MERCOSUR เมื่อเดือน ส.ค.2546 รวมทั้งมีนโยบายที่สนับสนุนการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกลุ่มประชาคมแอนเดียนกับกลุ่ม MERCOSUR เพื่อให้เป็นเขตการค้าเสรีที่มีอาณาเขตครอบคลุมทวีปอเมริกาใต้ นอกจากนี้ เปรูร่วมในการเจรจาเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งอเมริกา (Free Trade Area of America: FTAA) ซึ่งจะเป็นเขตเศรษฐกิจครอบคลุมทั้งทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทั้งหมด

- ภายใต้รัฐบาลปัจจุบัน แม้ว่าระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจจะทำได้ดี โดยตัวเลขหนี้สินต่างประเทศลดลงจาก 44% ของ GDP ในปี 2004 ลงเหลือเพียง 31% ของ GDP ในปี 2006 แต่การกระจายผลประโยชน์สู่ประชาชนระดับล่างยังไม่มีประสิทธิภาพ


นโยบายต่างประเทศ

- ผลักดันให้นโยบายต่างประเทศและการทูตของประเทศให้มีความทันสมัยและมีส่วนร่วมในเวทีระหว่างประเทศและมุ่งเน้น
(1) การสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
(2) บทบาทของเปรูในประชาคมแอนเดียน
(3) ผลักดันให้ประชาคมแอนเดียนเป็นกลุ่มเชื่อมโยงบูรณาการของภูมิภาคจากเม็กซิโกมายังชิลี
(4) ขยายความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ
(5) จัดทำความตกลง “Association Agreement” ระหว่างประชาคมแอนเดียนกับสหภาพยุโรป
(6) เพิ่มการเชื่อมโยงกับประเทศเอเชีย โดยการกระชับความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น จีนและอินเดีย
(7) ปกป้องและคุ้มครองชาวเปรูในต่างประเทศ

- เปรูพยายามโน้มน้าวให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียเห็นโอกาสด้านเศรษฐกิจจากการที่เปรูได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหรัฐฯ (FTA สหรัฐฯ - เปรู) และสหภาพยุโรป (Andean GSP) ผลักดันให้กรุงลิมาเป็นศูนย์กลางการบินระหว่างบราซิลและภูมิภาคเอเชีย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวพัฒนาเปรูให้สามารถทำการค้ากับตลาดที่มีความสามารถในการแข่งขัน เช่น ยุโรป สหรัฐฯ อเมริกาใต้ และเอเชีย เพิ่มการเชื่อมโยงกับประเทศเอเชีย โดยการกระชับความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น จีนและอินเดีย ปัจจุบันเปรูได้จัดทำความตกลง Agreement of Economic Complementation กับชิลีซึ่งเป็นความตกลงที่มีรูปแบบเช่นเดียวกับ FTA และได้ลงนาม FTA กับสหรัฐฯ แล้ว แต่ยังรอการให้สัตยาบันจากรัฐสภาสหรัฐฯ และกำลังเจรจากับเม็กซิโกและสิงคโปร์ นอกจากนี้ เปรูกำลังประเมินการจัดทำ FTA กับจีน

- เปรูเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) และเป็นหนึ่งในสามของประเทศลาตินอเมริกา (เปรู ชิลีและเม็กซิโก) ที่เป็นสมาชิกของความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (APEC) ซึ่งเปรูเข้าเป็นสมาชิกในปี 2541 และจะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคปี 2541 เปรูมีบทบาทอย่างเข้มแข็งในกรอบเอเปค เนื่องจากเห็นว่าเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างเปรูกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีความเจริญเติบโตและศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง ซึ่งทำให้เปรูได้รับประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี นอกจากนั้น เปรูยังได้เป็นสมาชิกเวทีความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia – Latin America Cooperation: FEALAC) โดยมีประเทศสมาชิกจากทวีปเอเชีย 15 ประเทศ และลาตินอเมริกาอีก 17 ประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเปรู
ความสัมพันธ์ทั่วไป

- ไทยและเปรูได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2508 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด มีการแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างสม่ำเสมอ โดยไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2549 โดยมีเอกอัครราชทูตสัญจรเป็นหัวหน้าสำนักงาน แต่ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทยได้เปิดสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำเปรูเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2517 โดยปัจจุบัน มีนายไฆเม ปาร์โด เอสกันดอน (Jaime Pardo Escandon) เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์

- เปรูได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยเมื่อปี 2535 โดยมี
นายการ์โลส มานูเอล อัลเฟรโด เบลาสโก เมนดิโอลา (Carlos Manuel Alfredo Velasco Mendiola) เป็นเอกอัครราชทูตเปรู และได้แต่งตั้งให้นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำจังหวัดสงขลา และ ม.ล.ปรียพรรณ ศรีธวัช เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำจังหวัดเชียงใหม่

- ไทยและเปรูมีความความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น โดยทั้งสองประเทศมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา และทั้งสองประเทศได้ลงนามความตกลงระหว่างกันซึ่งครอบคลุมความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมทั้งของภาครัฐและเอกชน รวม 25 ฉบับ และกำลังอยู่ในระหว่างการเจรจา จำนวน 14 ฉบับ


ความสัมพันธ์ด้านการค้า

- เปรูเป็นคู่ค้าอันดับ 6 ของไทยในลาตินอเมริกา โดยในปี 2549 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 149.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.06 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าคิดเป็นมูลค่า 33.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนำเข้า 91.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก 57.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

- สินค้าที่ไทยส่งออกไปเปรู ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง พลาสติก ไมโครเวฟ ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเปรู ได้แก่ สินแร่โลหะ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์รวมทั้งปลาป่น สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป สินค้าอุปโภคบริโภค พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผ้าผืน ผักและผลไม้

- ไทยและเปรูได้มีการลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2546 และได้เริ่มเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถลงนามในพิธีสารเพื่อเร่งเปิดเสรีการค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้า (Early Harvest) เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 และต่อมาได้บรรลุผลการเจรจาในประเด็นกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า เมื่อเดือนมิถุนายน 2549 และได้ลงนามในระหว่างการประชุมเอเปคที่เวียดนาม เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 อย่างไรก็ตาม หลังจากลงนามแล้ว จะยังไม่มีผลบังคับใช้ จนกว่าเมื่อมีการแก้ไขพิธีสารให้เป็นไปตามพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ฉบับ 2007 เป็นที่เรียบร้อย

ความสัมพันธ์ด้านการลงทุน

- ปัจจุบันในเปรูมีร้านอาหารไทยเพียง 4 ร้าน และไม่มีเจ้าของเป็นคนไทย ฝ่ายเปรูจึงได้เชิญชวนให้นักธุรกิจไทยร่วมลงทุนเพื่อเปิดร้านอาหารไทยในเปรู รวมทั้งร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ได้แก่
(1) ธุรกิจโรงแรม
(2) การก่อสร้างเส้นทางคมนาคม
(3) อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ โดยพร้อมให้สัมปทาน 50 ปี ซึ่งหากนักลงทุนไทยใช้ไม้จากเปรูเพื่อผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่งออกไปยังสหรัฐฯ จะไม่ต้องเสียภาษีสหรัฐฯ ตามข้อตกลง Andean Trade Promotion and Drug Eradication (ATPDEA)
(4) อุตสาหกรรมประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
(5) การสำรวจขุดเจาะแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

- บริษัท AjeThai เป็นบริษัทเปรูที่ลงทุนในไทย ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ. ชลบุรี เมื่อมีนาคม 2548 มีพนักงานจำนวนกว่า 100 คน ผลิตเพื่อจำหน่ายน้ำอัดลม “น้ำดำ” (Cola) ภายใต้ชื่อ “Big Cola” เพื่อส่งออกประเทศในภูมิภาค ทั้งนี้ ไทยเป็นประเทศที่ 11 ที่กลุ่ม Aje Group ของเปรูตั้งโรงงานในต่างประเทศ แต่เป็นประเทศแรกในเอเชีย (ที่เหลืออีก 10 ประเทศอยู่ในลาตินอเมริกา)

ความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว

ในปี 2549 มีชาวเปรูเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 2,144 ราย ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ซึ่งมีชาวเปรูเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 1,778 คน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการเดินทางของประชาชน ทั้งสองประเทศมีความสะดวกมากขึ้น เนื่องจากไทยและเปรูได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต ราชการ และธรรมดา ตั้งแต่ปี 2542

ความสัมพันธ์ในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ

- ไทยและเปรูเป็นสมาชิกก่อตั้งของเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2542 เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน นอกจากนั้น ยังเป็นสมาชิกเอเปค สหประชาชาติ กลุ่มแคร์นส์ (Cairns) และกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM)

- เปรูได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ วาระ 2549-2550 ในการเลือกตั้งใน UNGA 60 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2548

------------------------------------
กองลาตินอเมริกา
21 สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองลาตินอเมริกา กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 02 6435000 ต่อ 3013, 3014, 3016, 3018 หรือ 0-2643-5114 Fax. 0-2643-5115



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์