ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> โรมาเนีย




แผนที่
โรมาเนีย
Romania


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป บนคาบสมุทรบอลข่าน ด้านเหนือและตะวันออกติดกับมอลโดวาและยูเครน ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับฮังการี ด้านใต้ติดกับบัลแกเรีย ด้านตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเซอร์เบีย ด้านตะวันออกเฉียงใต้ติดกับทะเลดำ

พื้นที่ 237,500 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงบูคาเรสต์ (Bucharest)

ประชากร 22.3 ล้านคน (กรกฎาคม 2549) ประกอบด้วยโรมาเนีย (ร้อยละ 89.5) ฮังการี (ร้อยละ 6.6) โรมา (ร้อยละ 2.5) เยอรมัน (ร้อยละ 0.3) ยูเครน (ร้อยละ 0.3)

ภูมิอากาศ อากาศอบอุ่นและมีแสงแดดมากในฤดูร้อน อากาศเย็นและแห้งในฤดูใบไม้ร่วง อากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว อากาศเย็นในช่วงเช้าและค่ำของฤดูใบไม้ผลิ และอบอุ่นในช่วงกลางวันของฤดูใบไม้ผลิ

ภาษาราชการ โรมาเนียน

ศาสนา นิกายออร์โธดอกซ์ (ร้อยละ 87) โปรเตสแตนท์ (ร้อยละ6.8) นิกายโรมันคาทอลิก (ร้อยละ 5.6)

หน่วยเงินตรา รอน (RON) โดยอัตราแลกเปลี่ยน 1 รอน เท่ากับ 13.80 บาท (17 สิงหาคม 2550)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 197.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 5,254 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.4 (ปี 2549)

ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยเป็นระบบสภาคู่ประกอบด้วย วุฒิสภาจำนวน 143 คน และสภาผู้แทนราษฎร 343 คน มีประธานาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงเป็นประมุข มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ปัจจุบัน คือ นาย Triana Basescu และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ปัจจุบัน คือ นาย Calin Popescu-Tariceanu

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
ในอดีต ดินแดนที่เรียกว่า ประเทศโรมาเนียในปัจจุบัน อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิ์ออโตมัน ต่อมา ได้ประกาศเอกราช โดยได้สถาปนาเป็นประเทศในปี 2421ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โรมาเนียถูกกองทัพเยอรมนีเข้ายึดครอง แต่กองทัโซเวียตได้ปลดปล่อยและมีอำนาจเหนือโรมาเนียแทนเมื่อสิ้นสุดสงคราม มีการโค่นล้มระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ ในปี 2490 ในเดือนธันวาคม 2532 ประชาชนได้ก่อการปฏิวัติล้มล้างการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย และประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2534 เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐใหม่เป็นรัฐประชาธิปไตยและสวัสดิการสังคม (Democratic and Social State) มีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเป็นประมุข ภายหลังจากการปกครองแบบระบบคอมมิวนิสต์ของโรมาเนียถูกล้มล้างโดยการปฏิวัติ

การปกครองส่วนท้องถิ่น
โรมาเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 40 จังหวัด (judet หรือ County ในภาษาอังกฤษ) กับ 1 เมืองหลวง (municipui หรือ municipalityในภาษาอังกฤษ) และเขตการเกษตร ซึ่งอยู่รอบชานเมืองหลวง ชื่อว่า Ilfov หรือ Agricultural Sector มี 260 เมือง ซึ่งมี 57 เทศบาลเมือง การจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปตามหลักแห่งการปกครองตนเอง และการกระจายอำนาจการบริการสาธารณะ (Public Services)

สถานการณ์การเมืองของโรมาเนีย

เดิมรัฐบาลโรมาเนียเป็นรัฐบาลผสมระหว่างพรรค National Liberal Party (NLP) พรรค Democratic Party (DP) และพรรค Hungarian Democratic Union of Romania (HDUR) อย่างไรก็ดี ในระยะหลัง 2 พรรคใหญ่ คือ พรรค NLP (ของนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu) และพรรค DP (ของประธานาธิบดี Basescu) เริ่มไม่ลงรอยกัน อันมีสาเหตุมาจากการที่ประธานาธิบดี Basescu ประกาศจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2551 การประกาศตนเป็นคู่แข่งดังกล่าว ทำให้ประธานาธิบดี Basescu และนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu เริ่มมีความขัดแย้งมากขึ้น

รัฐบาลชุดปัจจุบันของนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆ ดังนี้ การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของโรมาเนีย การแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง การปฏิรูประบบศาลให้มีอิสระอย่างแท้จริง การเพิ่มสิทธิเสรีภาพแก่สื่อมวลชน การเสริมสร้างบรรยากาศ การแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ การพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีและพหุภาคี การส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้านพรมแดนกับยูเครน รวมทั้งการส่งเสริมความสัมพันธ์กับมอลโดวา

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 นาย Mihai Razvan Ungureanu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดนาย Basescu ประธานาธิบดี ได้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมิได้รายงานให้นาย Popescu-Tariceanu นายกรัฐมนตรี ทราบถึงกรณีคนงานชาวโรมาเนีย 2 รายถูกจับกุม เนื่องจากถ่ายภาพในฐานทัพของสหรัฐฯ ในอิรักโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งสื่อต่างประเทศวิเคราะห์ว่า การลาออกของ นาย Ungureanu เป็นการตอกย้ำความไม่ลงรอยกันระหว่างประธานาธิบดี Basescu กับนายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu และเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่โรมาเนียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป รัฐบาลโรมาเนียก็ประสบวิกฤตการณ์ทางการเมือง โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวหาประธานาธิบดีว่ามีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการสร้างสาธารณูปโภค นอกจากนี้การลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และการที่ประธานาธิบดีกล่าวหานายกรัฐมนตรีว่าโกหกในเรื่องการผลักดัน การลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ทำให้คาดการณ์ว่า หากรัฐบาลสามารถคงอยู่ต่อไป ก็จะเป็นรัฐบาลไร้เสถียรภาพ หรือหากมีความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปเร็วขึ้นกว่ากำหนด

การที่หัวหน้าพรรคใหญ่ที่ทรงอิทธิพล 2 พรรค ได้แก่ พรรค PNL ของนายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu และพรรค PD ของประธานาธิบดี Basescu มีความขัดแย้งกันเช่นนี้ นำไปสู่การที่นายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu ประกาศปรับคณะรัฐมนตรีใหม่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 โดยการถอดพรรค PD ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้มีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีซึ่งมาจากพรรค PD ออก 8 ตำแหน่ง ส่งผลให้พรรคร่วมรัฐบาลใหม่ประกอบด้วยพรรค PNL และพรรค Democratic Union of Hungarians in Romania (UDMR) แทน โดยคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้รับการรับรองจากรัฐสภาโรมาเนียแล้วเมื่อ วันที่ 3 เมษายน 2550

การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีชุดนี้มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการรวมตัวของยุโรป กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญของ โรมาเนีย และแม้ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย (ร้อยละ 26) แต่ก็ได้รับการรับรองจากรัฐสภาซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มาจากพรรค PNL คู่ปรับ เนื่องจากสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้น (ตามรัฐธรรมนูญโรมาเนีย หากรัฐสภาปฏิเสธที่จะให้การรับรองรายชื่อคณะรัฐมนตรี 2 ครั้ง ประธานาธิบดีสามารถยุบสภาได้)

ความตึงเครียดทางความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนการถอดพรรค PD ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ส่งผลให้เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2550 รัฐสภาโรมาเนียได้มีมติถอดถอนประธานาธิบดี Basescu ด้วยคะแนนเสียง 322 ต่อ 108 ด้วย 19 ข้อหา อาทิ ประธานาธิบดี Basescu พยายามเข้าครอบงำหน่วยงานรัฐ ซึ่งรวมถึงหน่วยงานด้านความมั่นคง และวิพากษ์วิจารณ์ศาล ซึ่งมีผลให้ประธานาธิบดี Basescu ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จนกว่าจะมีการลงประชามติว่าประชาชนเห็นชอบกับการถอดถอนดังกล่าวหรือไม่เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2550 ซึ่งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิลงประชามติประมาณ 5.8 ล้านคน (หรือประมาณร้อยละ 44 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด) และปรากฏว่า มีผู้ลงมติสนับสนุนประธานาธิบดี (คัดค้านมติของรัฐสภา) ถึงประมาณร้อยละ 75 และมีผู้ลงมติไม่สนับสนุนประธานาธิบดีประมาณร้อยละ 25 ซึ่งผลการลงประชามติในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของประธานาธิบดี Basescu ที่มีต่อรัฐสภาและรัฐบาล และแสดงให้เห็นถึงความนิยมของประชาชนที่มีต่อประธานาธิบดี Basescu พร้อมกันนี้ นาย Jose Manuel Barosso ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้กล่าวแสดงความหวังว่า ผลการลงประชามติดังกล่าว จะมีส่วนสนับสนุนให้โรมาเนียดำเนินการปฏิรูปสังคมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการยุติธรรม ต่อไป


นโยบายต่างประเทศ
โรมาเนียมุ่งเน้นการพัฒนาความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีและพหุภาคีกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค โดยให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับ EU และ NATO เป็นอันดับแรก นอกจากนี้ โรมาเนียยังส่งเสริมการทูตเชิงเศรษฐกิจและขยายการทูตเชิงวัฒนธรรม อักทั้งจะปรับปรุงความสัมพันธ์กับชาวโรมาเนียที่อพยพไปอยู่ประเทศอื่น โดยธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติและวัฒนธรรม โรมาเนียให้ความสำคัญกับการปฏิรูปโครงสร้าง UN รวมทั้งการขยายสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) อาทิ ญี่ปุ่น และเยอรมนี และมีนโยบายที่จะธำรงไว้ซึ่งความร่วมมือกับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) และศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรป ขณะเดียวกัน โรมาเนียมุ่งมั่นมีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยพยายามเข้าเป็นสมาชิกของ OECD และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของ WTO, OSCE, EU, NATO และองค์กรอื่นๆ ของ UN มากยิ่งขึ้น และได้ยื่นข้อเสนอที่จะเลือกให้โรมาเนียเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสำนักเลขาธิการของ UN ซึ่งเกิดจากอนุสัญญาและพิธีสาร รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ข้างต้น

นโยบายในภูมิภาคยุโรปกลางและตะวันออก
โรมาเนียมีนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศ และพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้ลงนามสนธิสัญญาพื้นฐานทางการเมืองกับบัลแกเรีย ยูโกสลาเวีย ฮังการี และล่าสุดกับประเทศยูเครน เมื่อเดือนมิถุนายน 2540 และได้เจรจาจัดทำสนธิสัญญาพื้นฐานทางการเมืองกับประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายประเทศ อาทิ มอลโดวา และรัสเซีย ปี 2539 โรมาเนียได้รับการพิจารณาเข้าเป็นสมาชิกสมบูรณ์ขององค์การ Central European Initiative (CEI) ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริมเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคยุโรปกลาง และมีบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพในภูมิภาคในช่วงที่เกิดกรณีขัดแย้งในสาธารณรัฐอดีตยูโกสลาเวีย และมีบทบาทในการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของภูมิภาคดังกล่าวด้วย ปี 2539 โรมาเนียเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือพหุภาคียุโรปตะวันออกเฉียงใต้ (The South-East European Multilateral Cooperation) ปี 2540 โรมาเนียเข้าเป็นสมาชิกเขตการค้าเสรียุโรปกลาง : CEFTA (Central European Free Trade Agreement)

สถานการณ์สำคัญ

1. การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
โรมาเนียได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ทั้งนี้ โรมาเนียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 และเริ่มการเจรจาเพื่อเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2543 IMF ได้ชื่นชมความพยายามของโรมาเนียในการปฏิรูปเพื่อเตรียมเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นว่า ยังมีบางสาขาที่โรมาเนียจะต้องเร่งดำเนินการปฏิรูปต่อไป ได้แก่ การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม การปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง อาชญากรรมจัดตั้ง การปฏิรูประบบภาษีสรรพากร ตลอดจนระบบควบคุมการใช้จ่ายเงินช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะมีกลไกตรวจสอบการดำเนินการปฏิรูปในสาขาเหล่านี้อย่างใกล้ชิดเป็นระยะต่อไปจนกว่าจะได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เช่น ในด้านการปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง โรมาเนียและบัลแกเรียจะต้องรายงานความคืบหน้าทุก 6 เดือน (รายงานฉบับแรกภายในวันที่ 31 มีนาคม 2550) เพื่อทำการวัดผลการดำเนินงาน และคาดว่า ประเทศสมาชิกอื่นๆ จะใช้มาตรการจำกัดการเคลื่อนย้ายในขั้นต่อไป รายงานดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะมนตรียุโรปและสภายุโรป ซึ่งทั้งสองสถาบันไม่น่าจะมีข้อขัดข้อง ส่วนในด้านกฎหมาย ยังมีประเทศสมาชิกที่ต้องให้สัตยาบันสนธิสัญญาการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป อีก 3 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี และเดนมาร์ก ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการภายในเร็วๆ นี้

2. การสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO
โรมาเนียเป็นประเทศแรกในภูมิภาคยุโรปตะวันออกที่เข้าร่วมโครงการ Partnership for Peace โดยได้ลงนามใน Framework Document ซึ่งเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการปฎิรูปตามโครงการ Partnership for Peace เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2537 นอกจากนี้ โรมาเนียยังได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามโครงการ Partnership for Peace อาทิ การเป็นเจ้าภาพจัดการซ้อมรบทางเรือบริเวณทะเลดำ การส่งทหารเข้าร่วมการซ้อมรบอย่างสม่ำเสมอ และการส่งกองกำลังทหารเข้าร่วมในกองกำลังผสมเพื่อรักษาสันติภาพในบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา อังโกลา และแอลเบเนีย

โรมาเนียได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ระหว่างการประชุมผู้นำประเทศสมาชิกนาโตที่กรุงวอชิงตัน เมื่อเดือนเมษายน 2542 โดยเป็นประเทศกลุ่มที่สองของยุโรปตะวันออกซึ่งประกอบด้วยบัลแกเรีย โรมาเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย เอสโตเนีย และแลตเวีย และลิธัวเนีย หลังจากที่ได้รับโปแลนด์ ฮังการี และเช็กเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มแรกเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2542 และในการประชุมสุดยอดผู้นำประเทศสมาชิกนาโต ที่กรุงปราก ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2545 นาโตได้พิจารณารับโรมาเนียพร้อมกับประเทศกลุ่มที่สองอื่น ๆ เข้าเป็นสมาชิก NATO

เศรษฐกิจการค้า
ข้อมูลเศรษฐกิจพื้นฐานของโรมาเนีย

อัตราการว่างงาน ร้อยละ 6.1 (พ.ศ. 2549)

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 6.8 (พ.ศ. 2549)

การส่งออก 33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2549)

สินค้าส่งออก สิ่งทอ รองเท้า ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ แร่ธาตุ น้ำมัน เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์การเกษตร (พ.ศ. 2549)

ประเทศคู่ค้า อิตาลี 19.4% เยอรมนี 14% ตุรกี 7.9% ฝรั่งเศส 7.4% สหราชอาณาจักร 5.5% ฮังการี 4.1% สหรัฐ 4.1% (พ.ศ. 2549)

การนำเข้า 46.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2549)

สินค้านำเข้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ น้ำมันและแร่ธาตุ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ โลหะ ผลิตภัณฑ์การเกษตร (พ.ศ. 2549)

ประเทศคู่ค้า อิตาลี 15.5% เยอรมนี 14% รัสเซีย 8.3% ฝรั่งเศส 6.8% ตุรกี 4.9% (พ.ศ. 2549)


เศรษฐกิจของโรมาเนีย
โรมาเนียประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอยกว่า 3 ปี ก่อนที่จะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ในปี 2543 จากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของตลาดสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา โรมาเนียประสบปัญหาหลัก 4 ประการ คือ (1) การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ปัญหาหนี้สินทั้งของภาครัฐและเอกชน (2) ปัญหาค่าเงินเลตกต่ำ (3) ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และ (4) ปัญหาระบบธนาคาร ซึ่งรัฐบาลโรมาเนียได้พยายามดำเนินมาตรการจำเป็นต่างๆ เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ และระบบราชการ รวมทั้งแก้ปัญหาการขาดความชัดเจนด้านกฎหมาย ปัญหาด้านศุลกากร และปัญหาคอรัปชั่น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการระดมทุนจากต่างประเทศ

ในปี 2545 เศรษฐกิจของโรมาเนียเริ่มมีสภาวะดีขึ้น โดยภาคธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาได้แก่ อุตสาหกรรมก่อสร้าง การสร้างทางรถไฟและท่าเรือ และโครงการด้านการพลังงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ยังมีภาคธุรกิจอื่นๆ ที่มีแนวโน้มในศักยภาพ อาทิ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ ประกันภัย การท่องเที่ยว เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ อุตสาหกรรมอาหาร ในการปฏิรูประบบโครงสร้าง รัฐบาลมีโครงการจำหน่ายรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ อาทิ ธนาคาร Banca Coerciala Romana (BCR) ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และบริษัทน้ำมันแห่งชาติ PETROM และยังมีโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน เหมืองแร่ และอาวุธ รัฐบาลโรมาเนียจึงต้องกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่างๆ มาชำระหนี้สิน โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้อนุมัติเงินกู้ระยะ 2 ปี จำนวน 367 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่โรมาเนีย โรมาเนียได้ดำเนินการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ เพื่อให้พร้อมในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้โรมาเนียได้รับเงินช่วยเหลือทางการเกษตรหลายร้อยล้านยูโร ความช่วยเหลือในการพัฒนาระบบขนส่งและสาธารณูปโภค รวมทั้ง เงินลงทุนจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เนื่องจากค่างจ้างแรงงานและค่าใช้จ่ายซึ่งถูกกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับโรมาเนีย
ความสัมพันธ์ทางการทูต

ไทยกับโรมาเนียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2516 โดยโรมาเนียได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตที่กรุงเทพ ฯ เมื่อปี 2519 และไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูคาเรสต์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2523 ซึ่งนับตั้งแต่โรมาเนียได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองเป็นไปด้วยความราบรื่นมาโดยตลอด

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

การค้า

ในปี 2549 โรมาเนียเป็นคู่ค้าลำดับที่ 7 ของไทยในกลุ่มประเทศคู่ค้าจากยุโรปตะวันออก คิดเป็นมูลค่าการค้ารวม 82.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 65.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 16.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยกับ โรมาเนียมีแนวโน้มเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปี โดยไทยได้ดุลการค้ามาตลอด สินค้าที่ไทยส่งออก ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา ผลไม้กระป๋องและแปรรูป วงจรพิมพ์ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าที่ไทยนำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และผ้าผืน

ไทยและโรมาเนียได้จัดตั้งกลไกส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการค้าระหว่างกัน ซึ่งมีการลงนามพิธีสารจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee – JTC) เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2521 และมีการจัดประชุมมาแล้ว 10 ครั้ง ครั้งล่าสุด ฝ่ายไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2544 ที่กรุงเทพฯ อย่างไรก็ดี เมื่อโรมาเนียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป โรมาเนียได้ขอยกเลิกความตกลงการค้าที่ทำกับไทย เพื่อใช้นโยบายการค้าร่วมของสหภาพยุโรปแทน ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นแทน ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายไทย ทั้งนี้ ภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ จะมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจ (Joint Economic Commission-JEC) ซึ่งเป็นกลไกดูแลความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-โรมาเนีย แทน JTC ต่อไป

สำหรับภาคเอกชน ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามพิธีสารความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศโรมาเนีย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2523 และต่อมาได้จัดตั้งสภาธุรกิจไทย-โรมาเนีย (Thailand-Romania Business Council) ภายใต้กรอบพิธีสาร เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2539 และได้มีการประชุมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ ล่าสุด ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสภาธุรกิจไทย-โรมาเนีย ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2548 และในปี 2550 โรมาเนียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 8 ขึ้น ณ เมือง Constanta

นอกจากนี้ยังได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสภาธุรกิจ ไทย – โรมาเนีย กับหอการค้าและอุตสาหกรรมเมือง Giurgui ซึ่งเป็นเมืองชายแดนติดกับสาธารณรัฐบัลแกเรีย และหอการค้าและอุตสาหกรรมเมือง Vaslui ซึ่งเป็นเมืองชายแดนติดกับประเทศมอลโดวา เพื่อร่วมจัดตั้งศูนย์ค้าปลีก-ส่งสินค้าไทย เพื่อให้โรมาเนียเป็นศูนย์กระจายสินค้าของไทยในยุโรปตะวันออกและบอลข่าน และเป็นศูนย์ส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศในสหภาพยุโรปต่อไป

สภาธุรกิจไทย – โรมาเนียได้นำนักธุรกิจไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้า TIBCO อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของโรมาเนีย อาทิ เครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป โดยจัดขึ้นทุกปีในช่วงปลายพฤษภาคม ถึงต้นเดือนมิถุนายน

การลงทุน

ในช่วงระหว่างปี 2534-2549 มีนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในโรมาเนีย รวมทั้งสิ้นมูลค่า 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.07 และอยู่ในอันดับที่ 44 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดในโรมาเนีย ในส่วนของการลงทุนของโรมาเนียในไทย มีการร่วมลงทุนระหว่างกลุ่มบริษัทเทพารักษ์ จำกัด กับบริษัท TMUCB S.A. ของโรมาเนีย ในกิจการติดตั้งอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบท่อที่ใช้ในอุตสาหกรรมโดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัทไทย แต่มูลค่าไม่มากนัก และบริษัท Siderca S.A. Calarasi ของโรมาเนีย ได้แสดงความสนใจที่จะลงทุนร่วมกับกลุ่มบริษัทเทพารักษ์จำกัดของไทย ในการดำเนินกิจการอุตสาหกรรมเหล็กที่โรมาเนีย

การท่องเที่ยว

ในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวชาวโรมาเนียเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 2,665 คน ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.06 ในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2550 มีนักท่องเที่ยวโรมาเนียเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 1,575 คน ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวจากโรมาเนียมีจำนวนมากที่สุดนับเป็นลำดับที่ 6 จากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดจากประเทศในยุโรปตะวันออกที่เดินทางมาประเทศไทย และปัจจุบันยังไม่มีเที่ยวบินตรงระหว่างไทยกับโรมาเนีย

ความตกลงที่สำคัญระหว่างไทยกับโรมาเนีย

ความตกลงที่ลงนามแล้ว
1. ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (มกราคม 2527)
2. ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (เมษายน 2536)
3. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (เมษายน 2536)
4. พิธีสารความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ (เมษายน 2536)
5. ความตกลงวัฒนธรรม (มกราคม 2538)
6. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างหอการค้าและอุตสาหกรรมของโรมาเนียและ
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (พฤศจิกายน 2538) และต่อมา เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2539 ได้มีข้อตกลงจัดตั้ง Thailand-Romania Business Council
7. อนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งโรมาเนีย เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (มิถุนายน 2539)
8. ความตกลงด้านการค้า และพิธีสารว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าไทย-โรมาเนีย (เมษายน 2540)
9. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (พฤษภาคม 2540)
10. บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงศึกษาธิการไทยกับโรมาเนีย (มิถุนายน 2540)
11. ความตกลงระหว่างสำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติโรมาเนียและกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (กรกฎาคม 2542)
12. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงระหว่างกระทรวงกลาโหมไทยและกระทรวงกลาโหมโรมาเนีย (พฤษภาคม 2546)
13. ความตกลงความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยและกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการพัฒนาชนบทของโรมาเนีย (มิถุนายน 2549)

ความตกลงทวิภาคีที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
1. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และวิชาการ (Agreement on the Economic, Scientific and Technical Cooperation)
2. ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (Agreement on the Promotion and Protection of Investment)
3. ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (Air Services Agreement)
4. ความตกลงโอนตัวนักโทษไทย-โรมาเนีย (Treaty on the Transfer of Offenders and on Co-operation in the Enforcement of Penal Sentence)
5. ความตกลงทวิภาคีด้านการขนส่งทางทะเล (Thailand-Romanian Agreement on Maritime Transport)
6. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านศุลกากร และการปราบปราม สอบสวน และป้องกันการทุจริตด้านศุลกากร (Agreement regarding Customs Cooperation and Mutual Administrative Assistance for the Prevention, Investigation and Combating of Customs Offenses)
7. ความตกลงว่าด้วยการรับกลับคนชาติและคนต่างชาติ (Agreement on the Readmission of theirs Own Citizens and of Aliens)
8. อนุสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา (Convention on the Mutual Assistance in Criminal Matters)

การเยือนของผู้นำระดับสูง

การเยือนของฝ่ายไทย

พระบรมวงศานุวงศ์
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนโรมาเนียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 14-17 มีนาคม 2537 นับเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับโรมาเนีย เนื่องจากเป็นการเสด็จฯ เยือนครั้งแรกของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนโรมาเนียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 11-16 พฤษภาคม 2543

รัฐบาล
- นายอำนวย วีรวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ในขณะนั้น) เดินทางเยือนโรมาเนียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 26-27 มิถุนายน 2539
- ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ในขณะนั้น) เยือนโรมาเนีย ระหว่างวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2542
- ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล ผู้แทนการค้าไทย (ในขณะนั้น) เดินทางเยือนโรมาเนียอย่างเป็นทางการ (พร้อมกับลิทัวเนีย และบัลแกเรีย) ระหว่างวันที่ 4-8 ตุลาคม 2546
- ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ในขณะนั้น) เดินทาง
เยือนโรมาเนีย ตามคำเชิญของเจ้าชาย Radu of Hohenzollern-Veringenผู้แทนพิเศษของรัฐบาลโรมาเนียด้านการรวมตัว ความร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืน ระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน 2548

การเยือนของฝ่ายโรมาเนีย
- นาย Ovidiu Ghenman ประธานรัฐสภาโรมาเนีย เยือนไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2538
- นาย Emil Constantinescu ประธานาธิบดีโรมาเนีย (ในขณะนั้น) เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 26-27 กันยายน 2543
- นาย Dan Ioan Popescu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรโรมาเนียนำคณะผู้แทนโรมาเนียมาเยือนไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-โรมาเนีย ครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2544
- นาย Mihnea Motoc รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศโรมาเนีย เยือนไทย
ในฐานะตัวแทนประธาน OSCE เพื่อเข้าร่วมการประชุม OSCE - Thailand Conference on Human Dimension of Security ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 20-21 มิถุนายน 2545
- นาย Petru Cordos อธิบดีกรมเอเชีย แอฟริกา ลาตินอเมริกา และตะวันออกกลาง
กระทรวงการต่างประเทศโรมาเนีย เดินทางเยือนประเทศไทยเพื่อร่วมประชุมหารือในกรอบพิธีสารความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-โรมาเนีย ระหว่างวันที่ 25-27 กันยายน 2546
- นาย Adrian Mitu ปลัดกระทรวงเศรษฐกิจโรมาเนีย เดินทางเยือนไทย ระหว่างวันที่
10-13 ธันวาคม 2546 และได้เข้าร่วมการประชุมสภาธุรกิจไทย-โรมาเนีย ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2546
- เจ้าชาย Radu of Hohenzollern-Veringen ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลโรมาเนียด้านการรวมตัว ความร่วมมือ และการพัฒนาที่ยั่งยืน เยือนไทย ระหว่างวันที่ 8-13 มีนาคม

จำนวนคนไทยในโรมาเนีย 21 คน

***************************
กรมยุโรป
17 สิงหาคม 2550

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 3 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5142-3 Fax. 0 2643 5141 E-mail : european04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์