|
|
|
|
|
|
|
|
|
แผนที่
|
สาธารณรัฐเซเนกัล The Republic of Senegal
|
|
ที่ตั้ง เซเนกัลตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา
ทิศเหนือ ติดกับ มอริเตเนีย
ทิศตะวันออก ติดกับ มาลี
ทิศใต้ ติดกับ กินีและกินีบิสเซา
ทิศตะวันตก ติดกับ แกมเบียและมหาสมุทรแอตแลนติก
พื้นที่ 196,190 ตารางกิโลเมตร (76,000 ตารางไมล์)
เมืองหลวง ดาการ์ (Dakar)
เมืองสำคัญ Thies, Kaolack, St. Louis, Ziquinchor
ภูมิอากาศ เซเนกัลมีภูมิอากาศที่แตกต่างในแต่ละภาค เช่น ในบริเวณชายฝั่งจะมีอากาศเย็นกว่าปกติ และภาคใต้อากาศร้อนและมีฝนตกชุกระหว่างเดือนธันวาคมถึงพฤษภาคมเป็นฤดูหนาวและแห้งแล้งติดต่อกัน ไม่มีฝนตก อุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 18-29 องศาเซลเซียส ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน จะมีอากาศร้อนและมีฝนตก
ประชากร 12,521,851 คน (กรกฎาคม 2550)
เชื้อชาติ Wolof 43.3%, Pular 23.8%, Serer 14.7%, Jola 3.7%, Mandink 3%, Soninke 1.1%, European and Lebanese 1%, Others 9.4%
ศาสนา อิสลาม 94% ความเชื่อดั้งเดิม 1% คริสต์ 5%(ส่วนใหญ่นิกายโรมันแคทอลิก)
ภาษา ฝรั่งเศส (ภาษาราชการ) ภาษา Wolof,Pulaar Jola และ Mandinka
รูปแบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐ
สถาบันการเมือง
ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล ทั้งนี้ ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 7 ปี
นายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยการหารือกับประธานาธิบดี
ฝ่ายนิติบัญญัติ มี 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 รัฐบาลได้ประกาศแก้ไขกฎหมายเพื่อเปลี่ยนรูปแบบองค์กร โดยกำหนดให้มีสภา 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเหมือนในอดีต (เคยเปลี่ยนเป็นระบบสภาเดียวตั้งแต่ปี 2544)
ฝ่ายตุลาการ มีศาลรัฐธรรมนูญ สภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์
ประมุขแห่งรัฐ ประธานาธิบดี นาย Abdoulaye Wade
หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี นาย Cheikh Hadjibou Soumare (ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550)
รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Cheikh Tidiane GADIO
วันชาติ 4 เมษายน 1960 (Independence Day) ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 10.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 6.0% (2549)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2.1 (2549)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 687 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ปลา ฟอสเฟต แร่เหล็ก
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่สำคัญ ถั่วลิสง ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ข้าว ฝ้าย มะเขือเทศ ผักใบเขียว ปศุสัตว์ สัตว์ปีก สุกร ปลา
อุตสาหกรรมที่สำคัญ เกษตรกรรม การแปรรูปปลา เหมืองแร่ฟอสเฟต อุตสาหกรรมปิโตรเลียม การผลิตปุ๋ย อุปกรณืก่อสร้าง อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมแซมเรือ
หนี้สินต่างประเทศ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
เงินตราสำรอง 1,334.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
มูลค่าการค้า เสียดุล 977.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
มูลค่าการส่งออก 1,407.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
มูลค่าการนำเข้า 3,040.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
สินค้าออกที่สำคัญ ปลา ถั่วลิสง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ฟอสเฟต ฝ้าย
สินค้าเข้าที่สำคัญ อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าทุน เชื้อเพลิง
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
ส่งออก มาลี ร้อยละ 16 อินเดีย ร้อยละ 13.1 ฝรั่งเศส ร้อยละ 9.5 สเปน ร้อยละ 6.1 อิตาลี ร้อยละ 5.5 แกมเบีย ร้อยละ 4.6 (2548)
นำเข้า ฝรั่งเศส ร้อยละ 22.8 ไนจีเรีย ร้อยละ 11.4 บราซิล ร้อยละ 4.5 ไทย ร้อยละ 4.3 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 4.2 สหราชอาณาจักร ร้อยละ 4 (2548)
หน่วยเงินตราเซฟาฟรังก์ (CFAF) โดย 1 เซฟาฟรังก์ เท่ากับ 100 ซังตีมส์(centimes)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 523.64 CFA Francs (2549)
ประวัติโดยสังเขป
การเมืองการปกครอง
- เซเนกัลมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีพรรคการเมืองหลายพรรค ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล ทั้งนี้ ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี สำหรับนายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยการปรึกษาหารือกับประธานาธิบดี ระบบรัฐสภาของเซนัลเป็นแบบสภาเดียว โดยมีสมาชิก 120 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วไปแบบแบ่งเขต 65 คน และระบบรายชื่อ 55 คน สมาชิกรัฐสภาอยู่ในตำแหน่งสมัยละ 5 ปี ฝ่ายตุลาการ มีศาลรัฐธรรมนูญ สภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ ทั้งนี้ เซเนกัลเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในแอฟริกาซึ่งไม่เคยประสบเหตุปฏิวัติรัฐประหาร
- ดินแดนเซเนกัลได้รับการบันทึกในประวัติศาสตร์นับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกานา ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสเริ่มจัดตั้งสถานีการค้าในบริเวณดังกล่าว ตามด้วยชาวดัทช์ อังกฤษ และฝรั่งเศส ในปี 2538 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองดินแดนประเทศเซเนกัลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส
- ในปี 2503 ดินแดนเซเนกัลได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลี จนได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศสในปีต่อมา แต่ได้แยกตัวออกเป็นอิสระในเดือนสิงหาคม 2504 และจัดตั้งสาธารณรัฐเซเนกัล โดยมีนาย Sedar Senghor เป็นประธานาธิบดีคนแรก และมีการปกครองในระบบพรรคการเมืองเดียวโดยพรรค Union progressiste sénégalais (UPS) จนกระทั่งในปี 2517 ซึ่งรัฐบาลได้อนุญาตให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองฝ่ายค้าน และมีการเลือกตั้งในระบบหลายพรรคอย่างไรก็ตามพรรค UPS ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรค Partie socialiste (PS) ยังคงได้รับเสียงข้างมากในรัฐบาลและปกครองประเทศอย่างต่อเนื่อง
- ประธานาธิบดี Senghor ได้ก้าวลงจากตำแหน่งเมื่อปี 2524 โดยนาย Abdou Diouf ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสืบแทน และดำรงตำแหน่งต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม นับแต่ปี 2534 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้านจนต้องมีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้น อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งและปัญหาทางการเมืองยังมีต่อเนื่องจนเป็นเหตุให้พรรค PS ของรัฐบาลได้รับความนิยมน้อยลงเป็นลำดับ
- ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2543 ประธานาธิบดี Diouf ซึ่งลงสมัครรับเลือกตั้งซ้ำได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละ 50 ทำให้จำเป็นต้องมีการเลือกตั้งรอบที่สอง ทำให้ผู้สมัครคนอื่น ๆ ได้หันไปให้การสนับสนุนนาย Abdoulaye Wade ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน Senegalese Democratic Party (PDS) จนได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี นอกจากนี้ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในปี 2544 ปรากฏว่า พรรค PDS ได้รับเสียงข้างมากเอาชนะพรรค PS ซึ่งปกครองประเทศมาตั้งแต่ได้รับเอกราชด้วย
- เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2550 ประธานาธิบดี Abdoulaye Wade ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สอง โดยจะมีวาระการดำรงตำแหน่งอีก 5 ปี (เดิมรัฐธรรมนูญเซเนกัลได้กำหนดให้การดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีมีวาระ 7 ปี) และเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2550 มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา ผลการเลือกตั้งคือกลุ่ม Sopi ซึ่งสนับสนุนพรรค Parti Democratique Senagalais ของประธานาธิบดี Wade ได้ที่นั่ง 131 ที่จาก 150 ที่นั่ง
- การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ภายหลังจากการแก้ไขกฎหมายให้มีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแล้ว นาย Ousmane Ngom รัฐมนตรีแห่งรัฐและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทย (Ministre d'Etat, Ministre de l'Interier) ได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2550 Constitutional Council ของกระทรวงยุติธรรมเซเนกัลได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งวุฒิสภา โดยพรรค Parti democratique Senegalais-PDS (พรรครัฐบาล) ได้คะแนนเสียง 8177 คะแนน และได้ 34 ที่นั่ง และพรรค Jet/Parti/africain pour la democratie et le socialsim- Aj/Pads ได้คะแนนเสียง 736 คะแนน ได้ 1 ที่นั่ง ทั้งนี้ ฝ่ายค้าน (Siggil Senegal:Stand up Senegal) ที่เคยคว่ำบาตรการเลือกตั้งทั่วไปไม่ได้เข้าร่วมในการเลือกตั้งครั้งนี้ และได้แสดงความเห็นว่าการที่พรรค PDS ได้รับเลือกตั้งถึง 34 ที่นั่ง และประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา อีก 65 คน คงส่งผลให้พรรค PDS และกลุ่ม Sopi 2007 (ซึ่งเป็นกลุ่มพรรคการเมืองที่สนับสนุนประธานาธิบดี Wade) มีความเข็มแข็งทางการเมืองมากขึ้น และสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งนี้ มีผู้มาลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิจำนวน 9815 คน (จากผู้มีสิทธิ 13384 คน) ทั้งนี้ ภายใต้รัฐธรรมนูญเซเนกัล สมาชิกวุฒิสภามีสิทธิที่จะปฎิเสธร่างกฎหมายที่ผ่านสภาล่างมาแล้วได้ และผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาจะเป็นผู้ที่ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทน ในกรณีที่ประธานาธิบดีไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ เช่น ป่วย ลาออก เป็นเวลา 60 วัน และหลังจากนั้นจะต้องมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่
สภาพทั่วไปทางเศรษฐกิจ
-เซเนกัลเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก โดยภาคเศรษฐกิจประกอบด้วย ภาคบริการ (การท่องเที่ยว) ร้อยละ 60 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 20 และภาคการเกษตรร้อยละ 20 ของรายได้สหประชาชาติ ภาคเกษตรยังคงเป็นหัวใจของเศรษฐกิจเนื่องจากแรงงานร้อยละ 70 อยู่ในภาคการเกษตร รายได้หลักของประเทศมาจากการส่งออกสินค้าภาคเกษตร อาทิ ถั่วลิสง การประมง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ฟอสเฟต ฝ้าย การท่องเที่ยวและการบริการ อย่างไรก็ตาม เซเนกัลยังคงพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยผู้ให้ความช่วยเหลือเซเนกัลประกอบด้วย ฝรั่งเศส กองทุนการเงินระหว่างประเทศ สหภาพยุโรป ธนาคารเพื่อการพัฒนาแอฟริกา USAID ญี่ปุ่น เยอรมนี แคนาดา และหน่วยงานของสหประชาชาติ เป็นต้น
-รัฐบาลเซเนกัลได้รับแรงกดดันจากองค์การระหว่างประเทศที่ให้ความช่วนเหลือ โดยเฉพาะ IMF และ World Bank ให้เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจของประเทศจากเดิมที่เป็นสังคมนิยมให้เป็นทุนนิยม สนับสนุนการค้าเสรีโดยเริ่มผ่อนคลายมาตรการกีดกันทางการค้า และเปิดเสรีรัฐวิสาหกิจ (privatization)
-รัฐบาลเซเนกัลมุ่งดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจโดยเน้น 4 สาขาหลัก ประกอบด้วย นโยบายการคลัง การปฏิรูปโฑครงสร้าง การแก้ไขปัญหาความยากจน และการสนับสนุนภาคเอกชน นอกจากนี้ยังดำเนินแผนการลดความยากจนและการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Poverty Reduction and Growth Facility: PRGF) 3 ปี ตามที่ IMF ได้ให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อเมษายน 2546 โดยเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเปิดเสรีกฏหมายแรงงาน (liberalising labour legislation) การกระตุ้นกลไกตลาด การสร้างงานใหม่ และการสนองตอบความต้องการพื้นฐานของผู้ยากไร้ผ่านโครงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการเพิ่มสมรรถภาพ (Capacity building) การปฏิรูปภาครัฐ ตลอดจนแปรรูปวิสาหกิจ นอกจ่ากนี้ รัฐบาลได้เริ่มดำเนินโครงการขนาดใหญ่ อาทิ การสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ การขยายเครื่อข่ายถนนและการพัฒนาท่าเรือ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนของเอกชนทั้งจากท้องถิ่นและต่างประเทศ
- ในปี 2549 ประธานาธิบดี Wade ดำเนินนโยบายผลักดันภาคการเกษตรของเซเนกัล โดยใช้แผน REVA (Retour vers I'agriculture) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากนโยบาย Massive Return towards the Ground ที่ประสงค์จะให้การเกษตรเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเซเนกัล ลดปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อที่จะลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน และเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของประเทศเพื่อบรรเทาการขาดแคลนอาหารซึ่งจะมีผลสืบเนื่องไปถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตผลจากการเกษตรของประเทศ แผน REVA มีการนำเทคนิคทางการเกษตรมาใช้โดยคำนึงถึงการพัฒนาแหล่งน้ำ การควบคุมการให้น้ำ การให้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมของชุมชน แผนนี้ยังมีจุดประสงค์เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดตั้งองค์กรที่มีบทบาทส่งเสริมแผนดังกล่าว โดยตั้ง National Agency of Management of REVA ตั้งศุนย์ฝึกอบรมการผลิต ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรและศูนย์ส่งเสริมการตลาดและการส่งออก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เซเนกัลยังขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์และการพัฒนาคน
- เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 50 นาย Cheikh Hadjibou Soumare นรม.เซเนกัลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยมุ่งเน้น 2 เรื่องหลักคือ การสงเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอย่างจริงจัง มีโครงการสร้างปรับปรุงโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ เพื่อพัฒนาประทศเช่น โครงการการสร้างสนามบินแห่งใหม่ โครงการปรับปรุงท่าเรือ การปรับปรุงโทรคมนาคมในประเทศ ปรับปรุงกลไกทางธุรกิจ เพื่อการรองรับและส่งเสริมต่อการลงทุน เป็นต้น นโยบายนี้จะส่งผลให้เกิดการจ้างงานในประเทศเพิ่มขี้นซี่งเป็นนโยบายหลักที่รัฐบาลต้องการแก้ปัญหา อีกเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญได้แก่ การพึ่งพาตัวเองในเรื่องอาหาร (food sufficiency) เพื่อให้ประเทศสามารถลดการพึ่งพาจากต่างประเทศในทาง เศรษฐกิจ เนื่องจากที่ผ่านมา เซเนกัลต้องมีการนำเข้าสินค้าและอาหารจากต่างชาติ เช่น ข้าว หัวหอม มะเขือเทศ มันสำปะหลัง นม ฯลฯ ทำให้เซเนกัลขาดดุลการค้ามาโดยตลอด รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 13 ล้านฟรังก์เซฟา เพื่อให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร โครงสร้างสาธารณูปโภค เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า การชลประทาน การสร้างแหล่งเก็บน้ำในถิ่นที่ห่างไกล ทั้งนี้ ต้องการทำให้ประชาชนมีงานทำมากขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิต การเพิ่มการจ้างงานในกลุ่มเยาวชนที่อาศัยในชนบท ลดปัญหาการย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในเมือง และลักลอบเข้าประเทศในยุโรปอย่างผิดกม รวมทั้งรัฐบาลจะมีการจัดตั้งหน่วยงานสังเกตการณ์การจ้างงาน (observatorie national pour l'emploi) เพื่อติดตามและเร่งการจ้างงานให้เป็นไปตามเป้าหมายอีกด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเซเนกัล |
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เซเนกัล
ด้านการเมือง
ไทยและเซเนกัลสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างวันที่ 9 สิงหาคม 2523 และไทยเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ปี 2523 ปัจจุบันเอกอัครราชทูตเซเนกัล คือ นาวาตรีอิทธิ ดิษฐบรรจง ร.น. ปัจจุบัน เซเนกัลยังมิได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตใดดูแลประเทศไทย หลังจากที่เคยมอบหมายให้เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงดูแลประเทศไทย
ด้านเศรษฐกิจ
-เซเนกัลเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับ 4 ของไทยในแอฟริกาตะวันตก (รองจากโกตดิวัวร์) ในขณะที่ เซเนกัลมีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 4 (รองจากฝรั่งเศส ไนจีเรีย และอิตาลี ตามลำดับ) การค้าระหว่างไทยและเซเนกัลในปี 2549 มีมูลค่าการค้ารวม 4,842.3 ล้านบาท ไทยนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 114 ล้านบาท และส่งออกสินค้าไปเซเนกัลคิดเป็นมูลค่า 4,728.3 ล้านบาท ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าจำนวน 4,614.3 ล้านบาท สินค้าที่ไทยส่งไปเซเนกัล 10 อันดับแรก ได้แก่ 1. ข้าว 2. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 3. ปูนซีเมนต์ 4. เม็ดพลาสติก 5. ผ้าปักและผ้าลูกไม้ 6. ผลิตภัณฑ์พลาสติก 7. เสื้อผ้าสำเร็จรูป 8. ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อและผ้าที่จัดทำแล้ว 9. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 10. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ สำหรับสินค้าเข้าของไทยจากเซเนกัล 10. อันดับแรก ได้แก่ 1. สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรุปและกึ่งสำเร็จรูป 2.ด้ายและเส้นใย 3. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ทำพันธุ์ 7. เครื่องเพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 8. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 9. เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค 10. ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้
- ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าโดยทั่วไปเกิดจากการที่ตลาดภายในเซเนกัลมีขนาดเล็กและผู้บริโภคและนักธุรกิจกำลังซื้อต่ำ ธุรกิจส่วนใหญ่ของเซเนกัลยังดำเนินการโดยชาวฝรั่งเศสและเลบานอนที่อาศัยอยู่ในเซเนกัลและนักธุรกิจเหล่านี้มักมีช่องทางการตลาดเป็นของตนเอง และไม่นิยมติดต่อกับนักธุรกิจไทยที่ต้องการส่งออกสินค้าไปเซเนกัลโดยตรง ส่วนพ่อค้าเซเนกัลยังมีการเก็บภาษีนำเข้าหลายประเทศซึ่งเป็นภาระแก่ผู้ส่งออกของไทย ตลอดจนระยะทางขนส่งที่ห่างไกลทำให้ค่าระวางเรือสูง นอกจากนี้ เอกชนไทยมักประสบปัญหาการค้างชำระหนี้ค้าซื้อสินค้าของฝ่ายเซเนกัล ปัจจุบัน มีร้านอาหารไทยตั้งอยู่ที่กรุงดาการ์ 1 ร้าน ชื่อว่า Le Jardin Thailandais (สวนไทย) ประชาชนชาวไทยอาศัยอยู่ในเซเนกัลจำนวนประมาณ 12 คน ส่วนมากประกอบอาชีพพ่อบ้าน แม่บ้าน พ่อครัว
-อนึ่ง เซเนกัลยังเป็นสมาชิกของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจแห่งชาติแอฟริกาตะวันตก (ECOWAS) ซึ่งมีการลดหย่อนภาษีการค้าระหว่างสมาชิก ทำให้สินค้าบางประเภทของไทยต้องแข่งขันกับสินค้าที่เซเนกัลนำเข้าจากกลุ่มประเทศสมาชิก ECOWAS เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง ไม้ และพลาสติกจากโกตดิวัวร์ สิ่งทอจากไนจีเรีย เป็นต้น รวมทั้งเซเนกัลยังเข้าร่วมเป็นภาคีสนะสัญญาว่าด้วยสหภาพเศรษฐกิจและการเงินแห่งแอฟริกาตะวันตก (Treaty on West African Economic and Monetary Union: WAEMU) ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ การขยายกรอบความร่วมมือด้านการเงินและกำหนดกฏเกณฑ์ทางการค้าให้มีหลักปฏิบัติสอดคล้องกัน และเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางการค้าภายในกลุ่มมากขึ้น
-ในการนี้ ฝ่ายไทยได้ทาบทามเซเนกัลให้มีการจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยยกเว้นภาษีซ้อนระหว่างไทยและเซเนกัล เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันต่อไป
ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม
- ไทยกำหนดให้เซเนกัลเป็นประเทศเป็นประเทศที่อยู่ในโครงการความช่วยเหลือของไทย (Thai International Cooperation Programme) ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือในรูปทุนการฝึกอบรม และดูงานในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาที่ไทยมีความชำนาญ และเป็นที่ต้องการของประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้ ฝ่ายเซเนกัลมีความประสงค์จะขอรับความร่วมมือและความช่วยเหลือจากไทยในด้านการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะพันธุ์สัตวน้ำ (Aqua-culture) การปลูกข้าว การแพทย์ สาธารณสุข
- ในเดือนกันยายน 2549 ผู้แทนจากสำนักความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ไปเยือนเซเนกัลเพื่อหารือแนวทางการให้ความช่วยเหลือโดยเฉพาะเรื่อง การเกษตร การปลูกข้าว การท่องเที่ยว และการป้องกันรักษาโรคมาลาเรีย ขณะนี้ ทางสำนักความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศได้เสนอร่างแผนความร่วมมือด้านวิชาการให้กับฝ่ายเซเนกัลพิจารณาอยู่ อนึ่ง 19 มีนาคม ปี 2550 สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงดาการ์ ได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อมิตรภาพและความร่วมมือไทย-เซเนกัล เพื่อเพิ่มกลไกในการส่งเสริมควาสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศเซเนกัล โดยสมาชิกที่อยู่ในเครื่อข่ายมาจากกการรวมกลุ่มของผู้ที่เคยได้รับทุนอบรมไปประเทศไทย ปัจจุบันมีจำนวน 24 คน มาจากหน่วยราชการต่าง ๆ ของเซเนกัล
สถิติการค้าระหว่างไทย-เซเนกัล ดังเอกสารแนบ
ความตกลงทางการค้า
ไทยกับเซเนกัลได้มีการลงนามความตกลงทางการค้า เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2524 และได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารระหว่างกันในวันที่ 25 สิงหาคม 2526
การเยือนที่สำคัญ
ฝ่ายไทย
รัฐบาล
- ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ เยือนเซเนกัลในเดือนตุลาคม ปี 2525 เยือนเซเนกัลครั้งแรกขณะดำรงตำแหน่งรัฐบมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
-ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนเซเนกัลในเดือนสิงหาคม ปี 2525
- น.ต. ประสงค์ สุ่นศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนเซเนกัลอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 18 - 20 สิงหาคม 2537
- นางอรนุช โอสถานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เยือนเซเนกัลเพื่อสำรวจตลาดข้าวไทย ระหว่างวันที่ 25 - 26 มีนาคม ปี 2550
ฝ่ายเซเนกัล
รัฐบาล
- นาย Djibu Ka รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและความร่วมมือคณะผู้แทนเศรษฐกิจและการค้าเซเนกัล เยือนไทยระหว่างวันที่ 18 - 21 ตุลาคม 2531
- นาย Abdou Diouf ประธานาธิบดีและคณะ แวะผ่านไทยระหว่างวันที่ 14 - 15 พฤศจิกายน 2533
- นาย Seydina Oumar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทยอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างวันที่ 6 - 8 ธันวาคม 2533
- นาย นาย Seydina Oumar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ วันที่ 31 มีนาคม - 2 เมษายน 2537
สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian04@mfa.go.th
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|