ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> เซเชลส์




แผนที่
สาธารณรัฐเซเชลส์
Republic of Seychelles


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง สาธารณรัฐเซเชลส์เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียอยู่ห่างจากฝั่งตะวันออกของเคนยา ประมาณ 1,800 กม. ห่างจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองบอมเบย์ อินเดีย ประมาณ 3,300 กม. และอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะมาดากัสการ์ ประมาณ 1,100 กม.

พื้นที่ 455 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะประมาณ 115 เกาะ เกาะใหญ่ที่สุด คือ เกาะ Mahe มีพื้นที่ประมาณ 148 ตารางกิโลเมตร นอกนั้นมีเกาะ Praslin, La Dique เป็นต้น

ประชากร 81,895 คน (ก.ค. 2550) โดยมีอัตราการขยายตัวของประชากร ร้อยละ 0.43 ต่อปี ประกอบด้วยพวก Creole อินเดีย จีน และชาวยุโรป โดยประชากรประมาณร้อยละ 88 อยู่บนเกาะ Mahe

เมืองสำคัญ กรุง Victoria เป็นเมืองหลวงตั้งอยู่บนเกาะ Mahe และเป็นเมืองท่าสำคัญ

ภาษา อังกฤษและฝรั่งเศส เป็นภาษาราชการ ส่วน Creole เป็นภาษาท้องถิ่น

ศาสนา โรมันคาทอลิก ร้อยละ 82.3 Anglican ร้อยละ 6.4 คริสเตียน ร้อยละ 3.4 อิสลาม ร้อยละ 1.1 และศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 4

วันชาติ 29 มิถุนายน (ซึ่งเป็นวันที่ได้รับเอกราชในวันที่ 29 มิถุนายน 2519)

ระบอบการปกครอง แบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 9,423 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)

สกุลเงิน Seychelles rupee (SCR)

อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลาร์สหรัฐ เท่ากับ 5.52 SCR (2549)

การคมนาคม ระบบการคมนาคมขนส่งของเซเชลส์ ได้แก่
-- ทางอากาศ เครือข่ายสายการบิน Air Seychelles เชื่อมโยงระหว่างเกาะ Mahe และเกาะ Praslin, Denis, Bird, Fregate และ Desroches เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ยังมีบริการเครื่องบินปีกหมุน (เฮลิคอปเตอร์) ด้วย
-- ทางน้ำ บริการเรือเอกชนเส้นทางระหว่างเกาะ Mahe, Praslin และ La Digue ส่วนเรือเฟอร์รี่ของรัฐบาลให้บริการในบางเส้นทาง
-- ทางรถยนต์ การจราจรของเซเชลส์ต้องขับรถชิดซ้าย ถนนที่ได้รับการปรับปรุงให้มีสภาพดีมีเฉพาะบนเกาะ Mahe, Praslin และ La Digue เท่านั้น ส่วนถนนบนเกาะอื่น ๆ มีสภาพเป็นทราย รถโดยสารประจำทางบนเกาะ Mahe บริการระหว่างพื้นที่ในชนบทกับกรุง Victoria ส่วนบนเกาะ Praslin ให้บริการระหว่างเวลา 05.30 – 19.00 น.

การเมืองการปกครอง
ประวัติศาสตร์
ฝรั่งเศสได้ทำการสำรวจเซเชลส์ ในปี 2284 (ค.ศ. 1741) จากนั้นได้อ้างกรรมสิทธิ์ครอบครองในปี 2299 (ค.ศ. 1756) จนกระทั่งปี 2337 (ค.ศ. 1794) อังกฤษได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนแถบนี้ และฝรั่งเศสได้ยอมแพ้แก่กองทัพเรืออังกฤษ อังกฤษจึงเข้าควบคุมหมู่เกาะเซเชลส์แทนฝรั่งเศส และมีการทำสนธิสัญญา Treaty of Paris กับฝรั่งเศสในปี 2357 (ค.ศ. 1814) ซึ่งสนธิสัญญานี้ยืนยันอำนาจอธิปไตยของอังกฤษเหนือหมู่เกาะเซเชลส์และมอริเชียส โดยในระยะแรกนั้นอำนาจบริหารจะมาจากมอริเชียสจนกระทั่งปี 2446 (ค.ศ.1903) เซเชลส์จึงเป็นอาณานิคมที่แยกออกจากมอริเซียสอย่างเป็นทางการ

ต่อมาชาวเซเชลส์ได้ตั้งพรรคการเมืองขึ้นคือ พรรค Seychelles People’s United Party (SPUP) นำโดยนาย France Albert Rene และพรรค Seychelles Democratic Party (SDP) นำโดยนาย James Mancham ซึ่งพรรค SDP มีนโยบายขอเข้าร่วมกับอังกฤษ ส่วนพรรค SPUP ต้องการเป็นเอกราช อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งปี 2517 (ค.ศ. 1974) พรรค SDP ได้รับชัยชนะ ส่งผลให้นาย James Mancham ดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล และต่อมาได้เปลี่ยนท่าทีมาเป็นการเรียกร้องเอกราชด้วย

เซเชลส์ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2519 (ค.ศ. 1976) และมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมปกครองประเทศ โดยมีนาย Mancham เป็นประธานาธิบดี และมีนาย Rene เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายน 2520 (ค.ศ. 1977) ได้เกิดการปฏิวัติขึ้นโดยกลุ่มผู้สนับสนุนพรรค SPUP ได้สนับสนุนให้นาย Rene ขึ้นเป็นประธานาธิบดีแทนนาย Mancham และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2521 (ค.ศ. 1979) พรรค SPUP ได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรค (Seychelles People’s Progressive Front-SPPF) และประกาศให้เป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฎหมายเพียงพรรคเดียว นอกจากนี้ มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อ 26 มีนาคม 2522 (ค.ศ. 1979) ต่อมาในปลายเดือนมิถุนายน 2522 (ค.ศ. 1979) มีการเลือกตั้งทั่วไป โดยมีนาย Rene เป็นผู้สมัครสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดีเพียงคนเดียว ทำให้นาย Rene ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นมีความพยายามที่จะปฏิวัติรัฐบาลของนาย Rene 2 – 3 ครั้งแต่ก็ประสบความล้มเหลว

ในปี 2534 (ค.ศ. 1991) ประธานาธิบดี Rene ได้ถูกแรงกดดันจากอังกฤษและฝรั่งเศสประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศแถบแอฟริกาตะวันออกได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ประธานาธิบดี Rene ยินยอมเปลี่ยนแปลงท่าที โดยการยินยอมให้มีการลงมติเพื่อเปลี่ยนระบบการเมืองและการปกครองเป็นแบบหลายพรรคการเมือง และประธานาธิบดี Rene ได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2535 (ค.ศ. 1992) ซึ่งผลปรากฏว่า พรรค SPPF ได้รับชัยชนะโดยได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 58.4 ในขณะที่พรรค Democratic Party (DP) นำโดยอดีตประธานาธิบดี Mancham ได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 33.7 และพรรคอื่น ๆ อีก 6 พรรค ได้รับคะแนนเสียงรวมกันเพียงร้อยละ 7.9

การเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อมามีขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 22 มีนาคม 2541 (ค.ศ. 1998) โดยผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นาย France Albert Rene ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งหนึ่ง โดยได้รับคะแนนเสียงคิดเป็น ร้อยละ 61 ส่วนนาย Wavel Ramkalawan หัวหน้าพรรค United Opposition (UO) ได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 27 และนาย James Mancham หัวหน้าพรรค Democratic Party (DP) ได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 12 ต่อมาวันที่ 29 ธันวาคม 2542 (ค.ศ. 1999) ประธานาธิบดี France Albert Rene ได้ปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งถือเป็นการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งแรกภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2541 (ค.ศ. 1998)

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี France Albert Rene ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 (ค.ศ. 2004) ส่งผลให้ นาย James Michel รองประธานาธิบดีขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อมาในวันที่ 14 เมษายน 2547 (ค.ศ. 2004) และภายหลังจากรัฐบาลหมดวาระในปี 2548 (ค.ศ. 2006) รัฐบาลจึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั้วไปขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2548 (ค.ศ. 2006) ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นาย James Michel ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 53.73 และเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2549 (ค.ศ. 2006) ทั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์ว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี 2554 (ค.ศ. 2011)

รูปแบบการเมืองและการปกครอง
ระบบการปกครอง ปกครองในระบบสาธารณรัฐ โดยประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐ ผู้นำรัฐบาล และผู้บัญชาการทหารสูงสุด สถาบันการเมืองประกอบด้วยฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยประธานาธิบดี รองประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีเข้ารับตำแหน่งโดยการได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภาของเซเชลส์เป็นระบบสภาเดียว มีสมาชิกรัฐสภาจำนวน 35 คน โดยเป็นสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง 25 คน ที่เหลืออีก 10 คน มาจากโควตาที่จัดสรรให้แก่พรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งจากประชาชนอย่างน้อย ร้อยละ 9 โดยสมาชิกรัฐสภาอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี
ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วยศาลอุทธรณ์และศาลสูง ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาทั้งสองศาล

การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 23 เขต ได้แก่
Anse aux Pins, Anse Boileau, Anse Itoile, Anse Louis, Anse Royale, Baie Lazare, Baie Sainte Anne, Beau Vallon, Bel Air, Bel Ombre, Cascade, Glacis, Grand’ Anse (on Mahe), Grand’ Anse (on Praslin), La Digue, La Riviere Anglaise, Mont Buxton, Mont Fleuri, Plaisance, Pointe La Rue, Port Glaud, Saint Louis, Takamaka

พรรคการเมือง พรรคการเมืองสำคัญ คือ
== พรรค Seychelles People’s Progressive Front (SPPF) มีประธานาธิบดี France Albert Rene เป็นหัวหน้าพรรค
== พรรค Democratic Party (DP)
== พรรค United Opposition (OU)
== พรรค Seychelles Party (PS)
== พรรค Seychelles Democratic Movement (MSPO)
== พรรค Seychelles Liberal Party (SLP)
== พรรค New emocratic Party

เศรษฐกิจการค้า
ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป
เซเชลส์เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจผสม คือ เสรีกึ่งสังคมนิยม เป็นประเทศที่มีแนวโน้มจะพึ่งตัวเองได้ในอนาคต นอกจากนี้ เซเชลส์ยังเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนา อันเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายสังคมนิยมในช่วงต้น ๆ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น อัตราการรู้หนังสือ การสาธารณสุข เป็นต้น โดยอาศัยรายได้หลักจากภาคธุรกิจ 3 ประเภท คือ การท่องเที่ยว การเกษตร และการประมงในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลของเซเชลส์ยังมีแผนการที่จะพัฒนาเมืองวิคตอเรียให้เป็นเมืองท่าสำคัญในมหาสมุทรอินเดียด้วย

ภาคเกษตรกรรม
--> มีพื้นที่เพาะปลูกน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนใหญ่ปลูกมะพร้าว วะนิลา อบเชย ชาและมะนาว โดยมีการส่งออกบ้าง นอกจากนี้ มีการปลูกมันสำปะหลัง มันเทศ อ้อย กล้วย ชาและพืช ผักเพื่อการบริโภคภายใน ทั้งนี้ เซเชลส์ยังต้องพึ่งพาการสั่งอาหารจากต่างประเทศเข้ามาประมาณร้อยละ 20 ของสินค้าที่สั่งเข้ามา อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังคงมีนโยบายที่จะผลิตอาหารหลักให้เพียงพอแก่การบริโภคภายในประเทศ
--> เซเชลส์มีน่านน้ำกว้างใหญ่ไพศาลประมาณ 400,000 ตารางไมล์ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นน่านน้ำที่มีปลาทูน่าชุกชุม

ภาคอุตสาหกรรม
--> มีการทำการประมงชายฝั่ง และการประมงได้รับการพัฒนาสูง อุตสาหกรรมขนาดเบา เช่น การผลิตเครื่องดื่มเพื่อบริโภคภายใน บุหรี่ ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมี มีการค้นพบแก๊สธรรมชาติตามบริเวณชายฝั่ง แต่ยังมิได้มีการนำขึ้นมาใช้
--> มีโครงการเพาะเลี้ยงกุ้งเพื่อการส่งออกตามบริเวณชายฝั่งของเกาะ Coetivy Islands ด้วย

ภาคการท่องเที่ยว นำรายได้เข้าประเทศประมาณร้อยละ 50 ของ GDP

ข้อมูลทั่วไปด้านเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
รายได้ประชากรต่อหัว 9,423 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.3 (2549)
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ติดลบ ร้อยละ 0.4 (2549)
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 112.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
ทรัพยากรธรรมชาติ ปลา เนื้อมะพร้าวแห้ง (COPRA) และซินนามอน
อุตสาหกรรมสำคัญ การประมง การท่องเที่ยว โรงงานแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว โรงงานทำเชือกจากมะพร้าว (coconut fiber) ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์และเครื่องดื่ม
มูลค่าการค้า ปี 2549 1,128.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)โดยมีมูลค่าการส่งออก 422.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้า 706.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งแช่แข็ง ปลาแช่แข็ง ปลาสด
สินค้านำเข้าที่สำคัญ อุปกรณ์ขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าอุตสาหกรรม
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ปี 2548
ส่งออก สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 45.4) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 23.1) สเปน (ร้อยละ 12.4) และญี่ปุ่น (ร้อยละ 10.2)
นำเข้า ซาอุดิอาระเบีย (ร้อยละ 23.0) สเปน (ร้อยละ 14.2) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 7.8) และสิงคโปร์ (ร้อยละ 7.6)

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเซเชลส์
ความสัมพันธ์ด้านการเมืองและการทูต
ประเทศไทยและสาธารณรัฐเซเชลส์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2531 โดยรัฐบาลไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบีมีเขตอาณาครอบคลุมเซเชลส์ แต่ฝ่ายเซเชลส์ยังมิได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตของตนแห่งใดมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย อย่างไรก็ดี รัฐบาลเซเชลส์ได้แต่งตั้งให้นายชาติเชื้อ กรรณสูตร เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐเซเชลส์ประจำราชอาณาจักรไทยเมื่อปี 2535 และได้เสนอให้นาย Joe Chung-Faye ชาวเซเชลส์ เชื้อสายจีน ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐเซเชลส์

ความสัมพันธ์ด้านการค้า
--> การค้าระหว่างไทยกับเซเชลส์ในช่วงเวลา 10 ปี ก่อนปี 2527 ปรากฏว่า ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าต่อเซเชลส์มาโดยตลอด เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว ไทยเป็นฝ่ายส่งสินค้าออกไปยังเซเชลส์เพียงฝ่ายเดียว โดยสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยังเชเซลส์ในช่วงดังกล่าว คือ ข้าว นอกจากนั้น ก็เป็นสินค้าประเภทต่าง ๆ ที่เซเชลส์นำเข้าไม่แน่นอน อาทิ ผลิตภัณฑ์เซรามิก เสื้อผ้าและสิ่งทอ เป็นต้น แต่ตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา ปรากฏว่า ไทยกลับเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าแก่เซเชลส์เป็นจำนวนสูง เนื่องจากฝ่ายไทยได้นำเข้าสินค้าประเภทปลาแช่แข็งต่าง ๆ จากเซเชลส์จำนวนมาก ในขณะที่การส่งออกสินค้าของไทยไปยังเซเชลส์ยังอยู่ในอัตราที่น้อยมาก อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมา ไทยนำเข้าสินค้าจากเซเชลส์ลดลงในปริมาณมาก และขณะเดียวกันไทยสามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งทำให้ไทยกลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับเซเชลส์อีกครั้ง
--> สำหรับการค้าระหว่างไทยกับเซเชลส์ในปัจจุบันยังมีมูลค่าน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการค้าของไทยกับประเทศแอฟริกาอีกหลายประเทศ โดยในปี 2549 ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับเซเชลส์มีมูลค่า 424.06 ล้านบาท โดยไทยส่งออกสินค้าไปเซเชลส์มูลค่า 317.92 ล้านบาท และนำเข้าสินค้าจากเซเชลส์มูลค่า 106.13 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ามูลค่า 211.79 ล้านบาท สำหรับสินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปเซเชลส์มี อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากเซเชลส์มี อาทิ ปลาทูน่าสดแช่เย็นและแช่แข็ง และสัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็ง แปรรูป เป็นต้น

สถิติการค้าไทย – เซเชลส์ ดูเอกสารแนบ

ความตกลงระหว่างไทยกับเซเชลส์
ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนไทย – เซเชลส์
--> ไทยกับเซเชลส์ได้มีการเจรจาความตกลงเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนแล้ว 2 ครั้ง โดยในการเจรจารอบที่ 2 ที่สาธารณรัฐเซเชลส์ ระหว่างวันที่ 7 – 11 มิถุนายน 2542 คณะผู้แทนการเจรจาของสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ในประเด็นที่คั่งค้างในการเจรจารอบแรกที่กรุงเทพฯ และต่อมาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อร่างความตกลงฯ ดังกล่าว และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้มีการลงนามในความตกลงฯ อย่างเป็นทางการในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป

การแลกเปลี่ยนการเยือนของบุคคลสำคัญไทย – เซเชลส์
ฝ่ายไทย
--> คณะสำรวจข้อเท็จจริงนำโดยนายปกศักดิ์ นิลอุบล อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกาเดินทางเยือนเซเชลส์ ระหว่างวันที่ 8 – 11 กุมภาพันธ์ 2542
--> ฯพณฯ นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เดินทางเยือนเซเชลส์ ระหว่างวันที่ 1 – 15 เมษายน 2542
ฝ่ายเซเชลส์
--> นาง Danielle de St. Jorre รัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการต่างประเทศเซเชลส์เดินทางเยือนไทย ระหว่างวันที่ 7 – 10 พฤศจิกายน 2533 ในโอกาสนี้ ได้เข้าพบและหารือข้อราชการกับ ฯพณฯ นายอำนวย ยศสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
--> นาย Claude Morel อธิบดีกรมกิจการระหว่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเซเชลส์เดินทางมาร่วมการประชุมใหญ่ประเทศภาคีอนุสัญญากรุงเวียนนา ครั้งที่ 3 และพิธีสารมอบมอนทรีออล ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 16 – 21 พฤศจิกายน 2536 ในโอกาสนี้ ได้เข้าพบหารือข้อราชการกับนายพิชัย อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
--> นาย Dalor C. Ernesta รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและทรัพยากรทางทะเลเซเชลส์ พร้อมคณะจำนวน 5 คน ได้เดินทางเยือนไทยระหว่างวันที่ 21 – 26 มกราคม 2543 ในฐานะแขกของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการนี้ นาย Ernesta ได้เข้าพบและหารือข้อราชการกับ ฯพณฯ นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย



สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแอฟริกา กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา โทร. 0-2643-5047-48 E-mail : southasian04@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์