|
แผนที่
|
หมู่เกาะโซโลมอน Solomon Islands
|
|
ที่ตั้ง ตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากปาปัวกินีไปทางตะวันออกประมาณ 1,600 กิโลเมตร
พื้นที่ 28,450 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะหลัก 6 เกาะ คือ เกาะกัวดัลคะแนล (Guadalcanal) (มีขนาดใหญ่ที่สุด) Choiseul, New Georgia, Aanta Isabel, Malaita และ San Cristobal
เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) 1,630,000 ตร.กม.
เมืองหลวง กรุงโฮนีอารา (Honiara) ตั้งอยู่บนเกาะกัวดัลคะแนล (Guadalcanal) มีประชากรประมาณ 36,000 คน
ประชากร 490,000 (ปี 2549)
เชื้อชาติ เมลานีเซียน (Melanesian) ร้อยละ 94 ที่เหลือร้อยละ 6 ประกอบด้วย ไมโครนีเซีย เอเชีย และยุโรป
ภาษา ภาษาอังกฤษ (ภาษาราชการ) และภาษา Pidgin
ศาสนา คริสต์นิกายอังกลิเคน (Anglican) ร้อยละ 34 โรมันคาทอลิก (Roman Catholic) ร้อยละ 19 และ Evangelical ร้อยละ 24
หน่วยเงินตรา ดอลลาร์โซโลมอน
GDP 322 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)
รายได้เฉลี่ยต่อหัว 652 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.3 (ปี 2549)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 8.2 (ปี 2549)
สินค้าออกสำคัญ ซุง ปลา น้ำมันปาล์มและเมล็ดพืช เนื้อมะพร้าวตากแห้ง และน้ำมันมะพร้าว
ตลาดส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น จีน สาธารณรัฐเกาหลี ฟิลปปินส์ ไทย ออสเตรเลีย
สินค้าเข้าสำคัญ เครื่องจักร อาหาร เชื้อเพลิง
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ ฟิจิ ปาปัวนิวกินี
วันชาติ 7 กรกฎาคม (ได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2521 ภายหลังจากเป็นอาณานิคมมาเป็นเวลา 85 ปี)
รูปแบบการปกครอง อำนาจนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาแห่งชาติ ซึ่งเป็นสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกสภา 30-50 คน โดยกระจายอำนาจ แบ่งเป็น 4 ภาค แต่ละภาคมีสภาปกครองท้องถิ่น 8 แห่ง สมาชิกสภาปกครองท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง
ประมุข สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบ็ธ ที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
ผู้สำเร็จราชการฯ H.E. Sir Nathaniel Waena GCMG CSI
นายกรัฐมนตรี The Hon. Manasseh Sogavare MP
รัฐมนตรีต่างประเทศ H.E. Mr. Patteson Oti
การเลือกตั้ง ครั้งล่าสุดเดือนพฤษภาคม 2549 สมาชิกรัฐสภาลงมติให้ Manaseh Sogavare เป็นนายกรัฐมนตรี
เศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับการเกษตรเป็นหลัก ประมาณร้อยละ 90 ของจำนวนประชากร มีอาชีพกสิกรรม ทำป่าไม้ และประมง มีรายได้จากการส่งออกประมาณปีละ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มะพร้าว มันเทศ เผือก มันสำปะหลัง ผัก ผลไม้ และข้าว
ทรัพยากรแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ทอง เงิน ทองแดง ฟอสเฟต
อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อมะพร้าวตากแห้ง ป่าไม้ (ไม้ซุง) การทำน้ำมันปาล์ม อุตสาหกรรมปลากระป๋อง
รัฐบาลหมู่เกาะโซโลมอนพยายามชักชวนให้ประเทศต่าง ๆ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เข้าไปร่วมทุนในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การผลิตไม้แปรรูปเพื่อส่งออก การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น รัฐบาลได้วางกฎเกณฑ์ เพื่อส่งเสริมการ ลงทุน โดยการลดภาษีการค้า ยกเว้นภาษีวัตถุดิบและเครื่องจักรกลสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเวลา 5 ปี และไม่มีข้อห้ามสำหรับการส่งผลกำไรออกนอกประเทศ
ไทยส่งออก เหล็ก ผ้าผืน พลาสติก อาหารทะเลกระป๋อง
เสื้อผ้าสำเร็จรูป รถยนต์ และส่วนประกอบ ไทยนำเข้า ปลาทูน่า ไม้ซุง
สถิติการค้าไทย หมู่เกาะโซโลมอน (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี มูลค่าการค้า ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า
2544(2001) 10.9 2.8 8.1 -5.3
2545(2002) 7.9 0.6 7.3 -6.7
2546(2003) 9.2 1.1 8.1 -7
2547(2004) 31.6 2.3 29.3 -27
2548(2005) ม.ค.-เม.ย. 7.5 1.0 6.4 -5.4
2549 (2006) 17.3 5.4 11.9 -6.5
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับหมู่เกาะโซโลมอน |
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
นับแต่ได้รับเอกราช หมู่เกาะโซโลมอนเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ South Pacific Forum และเครือจักรภพ โดยให้ความสำคัญในการขยายความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในหมู่ เกาะเมลานีเซียน ปาปัวนิวกินี และวานูอาตู นโยบายต่างประเทศส่วนใหญ่ดำเนินตามแนวทางของ South Pacific fourm ที่สนับสนุนให้มีความร่วมมือกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น อาเซียน เครือจักรภพ และ คัดค้านการทดลองและทิ้งกากนิวเคลียร์ลงในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะโซโลมอนมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี ญี่ปุ่น ฟิจิ สหรัฐฯ แคนาดา เยอรมัน สาธารณรัฐเกาหลี ฝรั่งเศส ตุรกี สวีเดน เบลเยี่ยม สเปน นอรเวย์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย คีรีบาส ไทย นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน โซโลมอนถือว่าออสเตรเลียมีความสำคัญต่อตนมาก เพราะนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ออสเตรเลียได้ช่วยฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ การเงิน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในโครงการพัฒนาต่าง ๆ อาทิ การสร้างถนนสะพาน การส่งผู้เชี่ยวชาญไปช่วยเหลือในด้านการป้องกันประเทศ (โดยให้เงินช่วยเหลือปีละ 1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย รวมทั้งให้เรือตรวจฝั่งและส่งเจ้าหน้าที่กองทัพเรือไปฝึกสอนด้วย)
ความสัมพันธ์ทวิภาคี
ไทยกับหมู่เกาะโซโลมอนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2529 โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา มีเขตอาณาครอบคลุมหมู่เกาะโซโลมอน ส่วนหมู่เกาะโซโลมอนมอบหมายให้เอกอัครราชทูตซึ่งไม่มีถิ่นพำนักอยู่เป็นประจำ (Non - Residential Ambassador) เป็นเอกอัครราชทูตหมู่เกาะโซโลมอนประจำประเทศไทย
รัฐบาลหมู่เกาะโซโลมอนได้แต่งตั้งนายวรชาติ เพชรนันทวงศ์ ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์หมู่เกาะโซโลมอนประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2538
กองแปซิฟิกใต้ กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
วันที่ 22 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองแปซิฟิกใต้ กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5117-8 Fax. 0-2643-5119 E-mail : american04@mfa.go.th
|
|