|
|
|
|
|
|
|
|
|
แผนที่
|
ราชอาณาจักรสเปน Kingdom of Spain
|
|
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรปบนคาบสมุทรไอบีเรีย อาณาเขต ทิศเหนือ จรด ทะเลกันตาบริโก ราชรัฐอันดอร์รา และประเทศฝรั่งเศส ทิศตะวันออก จรด ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศใต้ จรด ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่องแคบยิบรอลต้า และมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันตก จรด ประเทศโปรตุเกส และมหาสมุทรแอตแลนติก
เนื้อที่ 504,880 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับสามในยุโรป รองจากรัสเซียและฝรั่งเศส เนื้อที่ของประเทศสเปนแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่
ส่วนที่เป็นคาบสมุทร คือ
- คาบสมุทรไอบีเรีย และ
- ดินแดนทางเหนือของโมร็อกโก ได้แก่ เซวตา (Ceuta) และเมลิยา (Melilla)
ส่วนที่เป็นหมู่เกาะ คือ
- หมู่เกาะบาเลอาริค (Balearic Islands)
- หมู่เกาะคะเนรี (Canary Islands)
นอกจากนี้ ยังมีดินแดนอื่นที่อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของรัฐบาลสเปน
- Islas Chafarinas
- Penon de Alhucemas
- Penon de Velez de la Gomera
ภูมิอากาศ ประเทศสเปนตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น แต่เนื่องจากลักษณะของภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ อากาศของภูมิภาคต่างๆ จึงมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิประเทศ เช่น ภาคเหนือ มีสภาพอากาศของริมฝั่งทะเล ซึ่งโดยปกติในฤดูหนาวไม่หนาวจัด และเย็นสบายในฤดูร้อน แต่เป็นภาคที่ฝนตกฉุกและมีความชื้นสูง ส่วน ภาคกลาง และ ภาคใต้ สภาพอากาศแห้ง ฝนตกน้อย ในฤดูร้อนอากาศร้อนจัด แต่ในฤดูหนาวไม่หนาวจัด
เมืองหลวง กรุงมาดริด
เมืองสำคัญ
* บาร์เซโลนา (Barcelona)
* บาเลนเซีย (Valencia)
* เซวิญ่า (Sevilla)
* ซาราโกซา (Zaragoza)
* มาลากา (Malaga)
* บิลเบา (Bilbao)
ประชากร 44,108,530 คน (ค.ศ. 2005)
ประกอบด้วยเชื้อชาติต่างๆ ได้แก่ * Spanish (ร้อยละ 74)
* Catalan (ร้อยละ 15.9)
* Galician (ร้อยละ 6.3)
* Basque (ร้อยละ 4.8)
สเปนมีอัตราการขยายตัวของประชากร ร้อยละ2.1 เพิ่มจาก ร้อยละ 0.1 ในปี 1999)
ศาสนา ชาวสเปนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิก (ร้อยละ 94)
ภาษา ภาษาราชการ คือ ภาษาสเปน (Castellano)
ภาษาท้องถิ่น ได้แก่ ภาษากาตาลัน (Catal?n) พูดในแค้วนกาตาลุนยา
ภาษากาเยโก (Gallego) พูดในแค้วนกาลิเซีย
ภาษาบาเลนเซียโน (Valenciano) พูดในแคว้นบาเลนเซีย
ภาษาบาสโก (Vasco) พูดในแคว้นบาสก์
วันชาติ 12 ตุลาคม
สกุลเงิน ยูโร (EURO)
รูปแบบการปกครอง
ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional monarchy)
ประมุข
สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน คาร์ลอส ที่ 1 (Juan Carlos I) ทรงขึ้นครองราชย์วันที่ 22พฤศจิกายน ค.ศ.1975 ทรงอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระราชินีโซเฟีย (Queen Sof?a)
นายกรัฐมนตรี
นาย โฆเซ่ หลุยส์ โรดริเกซ ซาปาเตโร (Mr. Jos? Luis Rodriguez Zapatero) เข้ารับตำแหน่งเมื่อ วันที่ 16 เมษายน 2547 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของสเปน นับเป็นนายกรัฐมนตรี สเปนที่อายุน้อยที่สุด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นาย มิเกล อังเคล โมราติโนส กูเยาเบ (Miguel Angel Moratinos Cuyaub?) เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2004)
การเมือง
เขตการปกครองประเทศสเปนแบ่งเขตการปกครองเป็นแคว้นอิสระ 17 แคว้น(autonomous communities) และ 2 จังหวัดอยู่ทางตอนเหนือของโมร็อกโก (autonomous provinces) โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเปิดโอกาสให้แคว้นต่างๆ มีสิทธิในการปกครองตนเองได้ในระดับที่ต่างกันตามภูมิหลังการปกครองตนเองของแต่ละแคว้น โดยที่แต่ละแคว้นมีสภาของตนเอง มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาทุก ๆ 4 ปี และได้รับสิทธิและอำนาจบริหารท้องถิ่นของตนเอง ทั้งนี้ ภายใต้รัฐบาลสเปน
แคว้นอิสระทั้ง 17 แคว้น ประกอบด้วย
* Andalucia * Aragon * Asturias * Balearic Islands
* Canary Islands * Cantabria * Castilla La Mancha
* Castilla y Leon * Cataluna * Comunidad Valenciana
* Extremadura * Galicia * Madrid
* Murcia * Navarra * Pais Vasco
* Rioja
จังหวัดอิสระ autonomous provinces
* Ceuta * Melilla
สถาบันทางการเมือง
ประเทศสเปนมีการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 หลังจากที่ถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการโดยจอมพลฟรังโก(General Francisco Franco) มา 36 ปี (ค.ศ. 1939-1975)ในปี ค.ศ.1978 เมื่อสเปนเปลี่ยนมาปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น คือ รัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ.1978 ซึ่งมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ประมุขแห่งรัฐ
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ปี ค.ศ.1978) ของสเปน พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐและทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพสเปน
-ทรงมีพระราชอำนาจที่จะอนุมัติและประกาศใช้พระราชบัญญัติต่างๆ
- เรียกประชุม ยุบรัฐสภา และประกาศ ให้มีการเลือกตั้ง
- ทรงเสนอนามผู้ที่ทรงเห็นว่าสมควรจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมทั้ง ทรงแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
-ทั้งนี้ พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับราชการจะต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องผู้หนึ่ง ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และผู้รับสนองพระบรมราชโองการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในพระราชกรณียกิจนั้นๆ
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีบทบัญญัติว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ไว้ว่าให้เป็นไปตามลำดับแห่งความเป็นทายาทองค์แรกของพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ทรงสืบเชื้อสายพระราชวงศ์ที่ใกล้ชิดที่สุด และในเชื้อสายพระราชวงศ์เดียวกันพระโอรสมีลำดับมาก่อนพระธิดา หากทรงเป็นเพศเดียวกันให้พระโอรสผู้มีพระชันษามากกว่ามีลำดับมาก่อน รัชทายาทองค์ปัจจุบันของสเปน คือ เจ้าชายฟิลิเป (Felipe de Borbon, Pr?ncipe de Asturias)
รัฐสภา
รัฐสภาสเปน คือ สภากอร์เตส (Las Cortes) ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติของรัฐ
-ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับงบประมาณ
-ควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล ใช้อำนาจอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
รัฐสภาสเปนประกอบด้วย
สภาผู้แทนราษฎร (Congreso de los Diputados or Congress of Deputies) ประกอบด้วยสมาชิกอย่างน้อย 300 คน และอย่างมาก 400 คน ขึ้นอยู่กับการแบ่งเขตเลือกตั้งและจำนวนพลเมือง ปัจจุบันสภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิกทั้งหมด 350 คน และ อยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547 พรรคสังคมนิยมแรงงานได้รับชัยชนะเป็นพรรครัฐบาล (164ที่นั่ง)
วุฒิสภา (Senado or Senate) รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องมีจำนวนสมาชิกเท่าใด แต่กำหนดให้เลือกตั้งทำนองเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปัจจุบันวุฒิสภามีสมาชิก 259 คน โดยสมาชิก 208 คนจะได้รับการเลือกตั้งโดยตรง และ 51 คน จะได้รับแต่งตั้งจากแคว้นต่างๆ 19 แคว้นสมาชิกวุฒิสภาดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี
หลักเกณฑ์การเลือกตั้งกำหนดไว้ว่า ผู้ที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจะต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ สำหรับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง ในกรณีที่เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล (ไม่รวมถึงนายกรัฐมนตรี) ข้าราชการพลเรือนและทหารจะต้องลาออกจากตำแหน่งก่อนจึงจะมีสิทธิสมัครเข้ารับเลือกตั้งได้
รัฐบาล
ตามรัฐธรรมนูญของสเปน รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจและหน้าที่ฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย เป็นผู้กำหนดและดำเนินนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งการป้องกันประเทศ รัฐบาลประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี (President of the Government)
รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้โดยกฎหมายในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์จะทรงปรึกษาหารือกับผู้แทนของพรรคการเมืองต่างๆ ที่มีสมาชิกอยู่ในรัฐสภา แล้วเสนอชื่อผู้ที่เห็นสมควรได้รับการเลือกตั้งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอรับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรด้วยคะแนนเสียงข้างมากโดยเด็ดขาด (absolute majority) พระมหากษัตริย์จะได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้เสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องขอรับความไว้วางใจจากรัฐบาลอีก รัฐบาลมีวาระ 4 ปี หรือจนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไป
สถาบันตุลาการ
รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติไว้ว่า ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ตุลาการเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่บริหารราชการตุลาการอย่างเป็นอิสระในนามของพระมหากษัตริย์ ผู้ใดจะถอดถอน ไล่ออก สั่งพักราชการและโยกย้ายมิได้ทั้งสิ้น เว้นแต่การกระทำที่กล่าวข้างต้นจะเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ
พรรคการเมือง สเปนมีพรรคการเมืองที่สำคัญ ดังนี้
1.พรรค Partido Socialista Obrero Espa?ol - PSOE (Spanish Socialist Workers Party) พรรคสังคมนิยมแรงงาน ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2547 และเป็นพรรครัฐบาลมีนาย Jos? Luis Rodr?guez Zapatero ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของสเปน เป็นเลขาธิการพรรค (General Secretary) มีอุดมการณ์ทางการเมืองซึ่งไม่ซ้ายจัดนัก หรือ ที่เรียกว่า middle left center ทั้งนี้ PSOEเป็นพรรคที่เคยมีบทบาทสำคัญและเป็นรัฐบาลของสเปนติดต่อกัน ยาวนานถึง 14 ปี (2525-2539) ก่อนหน้าที่ พรรค PP จะเข้าดำรงตำแหน่งในรัฐบาล 2 สมัยก่อนหน้านี้
2.พรรค Partido Popular - PP (Popular Party) พรรคฝ่ายขวา แบบcenter-right เป็นพรรครัฐบาลในสมัยที่ผ่านมา (พฤษภาคม 2539 - มีนาคม 2547) หัวหน้าพรรค คือ นาย Mariano Rajoy Brey ในการเลือกตั้งปี 2547 ได้รับการเลือกตั้งเป็นพรรคอันดับ 2 ปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายค้าน นโยบายหลักของพรรคโดยทั่วไป คือ สนับสนุนการค้าเสรี ร่วมมืออย่างใกล้ชิดทางการเมืองและเศรษฐกิจกับสหภาพยุโรป
3. พรรค Izquierda Unida - IU (United Left) แต่เดิมคือพรรค Communist มีนาย Gaspar Llamazares Trigo เป็นเลขาธิการพรรค (General Secretary)
4. พรรค Converg?ncia i Uni? - CiU (Convergence and Union) มีนาย Artur Mas เป็นหัวหน้าพรรค
5. Partido Nacionalista Vasco - PNV (Basque Nationalist Party) หรือรู้จักกันในอีกชื่อคือ Eusko Alderdi Jeltzalea เป็นพรรคการเมืองของแคว้น Basque มีนาย Xavier Arzallus เป็นหัวหน้าพรรค
6. พรรค Coalicion Canaria - CC (Coalition of Canary Islands) พรรคการเมืองซึ่งเป็นตัวแทนของหมู่เกาะ Canary มีนาย Paulino Rivero Baute เป็นหัวหน้าพรรค
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 904 พันล้าน ยูโร (ค.ศ. 2005)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 20838 ยูโร (ค.ศ. 2005)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 3.4 (ค.ศ. 2005)
อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.9 (ค.ศ. 2005)
อัตราการว่างงาน ร้อยละ 9.2 (ค.ศ. 2005)
มูลค่าการส่งออก 153.6 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2005)
มูลค่าการนำเข้า 231.3 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2005)
Global Competitiveness Index (2006-2007) by World Economic Forum ลำดับที่ 28 คะแนน 4.77
สินค้าส่งออกสำคัญ เครื่องจักร ยานพาหนะและส่วนประกอบ ผักและ ผลไม้สด/แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์การสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เหล็กและเหล็กกล้า
เงินช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป
ระหว่างปี ค.ศ. 2007-2013 สเปนยังเป็นผู้รับเงินสุทธิจากสหภาพยุโรป (Net recipient) ด้วยเงิน 16,181 ล้านยูโร ซึ่งแบ่งเป็นงบต่างๆดังนี้
1. เงินช่วยเหลือ cohesion fund จำนวน 3250 ล้านยูโรทั้งนี้ส่วนใหญ่ของเงินช่วยเหลือดังกล่าวที่สเปนได้รับ ทางรัฐบาลมีแผนที่จพัฒนาช่วยเหลือแคว้นที่ยังไม่มีการพัฒนามากนัก กล่าวคือ extramadura, Andalucia, Galicia Castilla-La Manchaจาก
2. เงินช่วยเหลือจาก Structural Funds โดยเงินจำนวน 27,300ล้านยูโร เป็นงบประมาณให้กับแคว้นต่างๆ และงบประมาณอีก 44,129 ล้านยูโร ให้ทางการเกษตร การประมง และการรักษาพื้นที่ในชนบท
3. เงินช่วยเหลือพัฒนาการค้นคว้าและวิจัย R&D เป็นจำนวน 2,000 ล้านยูโร
4. และ เงินสำหรับโครงการวิจัยและพัฒนาภายใต้ Technological Fund เป็นเงินจำนวน 2000 ล้านยูโร
ทั้งนี้ จากสูตรงบประมาณของสหภาพยุโรป (Modulation) สเปนจะได้รับเงินมากกว่าให้เงินกับงบประมาณเหล่านี้ เป็นจำนวนลดลงในแต่ละปี ตั้งแต่ ปี 2007 (4524 ล้านยูโร) ปี 2008 (3710 ล้านยูโร) ปี 2009 (2209 ล้านยูโร)ปี 2010 (1835 ล้านยูโร) ปี 2011 (1544 ล้านยูโร) ปี 2012 (1326 ล้านยูโร)ปี 2013 (993 ล้านยูโร)
ซึ่งสเปนได้รับเงินช่วยเหลือลดลงจากช่วงงบประมาณระยะยาวก่อนหน้านี้ (ค.ศ. 2000-2006) ประมาณร้อยละ 40
นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
รัฐบาลชุดปัจจุบันเน้นการให้ความสำคัญกับ
I. การคิดค้น การวิจัยและการพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามรถทางการแข่งขัน (Competitiveness) และศักยภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันกับประเทศเทศสมาชิกสหภาพยุโรปด้วยกันเอง และคู่แข่งสำคัญอย่างสหรัญอเมริกาและจีน โดยจะเน้นการให้นโยบายเพื่อเพิ่มสเถียรภาพทางการเศรษฐกิจให้กับสเปน และแก้ปัญหาต่างๆ อาทิ ปัญหาการเพิ่มของราคาอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากธุรกิจที่ดินและการก่อสร้างมีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
II. การรักษาสภาวะดุลงบประมาณ โดยในปี ค.ส. 2004 สภาวะการขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 1 ของ GDP ซึ่งอยู่นระดับที่น่าพอใจ และอยู่ในเกณฑ์ของ Pact of Stability and Growth 1ของสหภาพยุโรป โดยรัฐบาลให้ความจริงจังกับการรักษาสเถียรภาพของดุลงบประมาณและประกาศร่างกฎหมายเพื่อควบคุมดุลงบประมาณของประเทศ (Ley de Estabilidad presupuestaria)
III. นโยบายลดการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดิบและส่งเสริมการพัฒนาการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างนิ่งพลังงานนิวเคลียร์และพลังงานแสงอาทิตย์
IV. การลดอัตราว่างงานและส่งเสริมการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงระหว่างกลุ่มสหภาพผู้ประกอบการและสหภาพแรงงาน ในปี ค.ส. 2005 จำนวนแรงงานของสเปน คือ 18894900 คน แบ่งเป็น ชาย 11317800 คน หญิง 7577100 คนและในปี ค.ศ. 2006 มีการคาดการการเพิ่มตำแหน่งงานประมาณ 469000 ตำแหน่ง
แผนงบประมาณในปี ค.ศ. 2006 โดยมุ่งเน้นการเพิ่มเงินงบประมาณสำหรับ 5 สาขาคือ
1. ควาร่วมมือกับสหภาพยุโรป เกี่ยวกับการค้นคว้าการวิจัย
2. การพัฒนาระบบโครงสร้างสาธารณูปโภค
3. การช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อการพัฒนา
4. การมีส่วนร่วมในทางการเมืองจากภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนา
5. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรและส่วนประกอบ เชื้อเพลิงน้ำมัน เคมีภัณฑ์ ยานพาหนะ รถยนต์และส่วนประกอบ
ประเทศคู่ค้าในการส่งออกที่สำคัญ สหภาพยุโรป (ฝรั่งเศส โปรตุเกส เยอรมนี อิตาลี สหราชอาณาจักร) ลาตินอเมริกา สหรัฐอเมริกา
ประเทศคู่ค้าในการนำเข้าที่สำคัญ สหภาพยุโรป (ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เบเนลักซ์ สหราชอาณาจักร) กลุ่ม OPEC สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ลาตินอเมริกา
การท่องเที่ยวของสเปน สเปนมีความโดดเด่นมากเกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศและรายได้จากการท่องเที่ยวต่อปีสูงเป็นอันดับสองของโลก (ในปี ค.ศ. 2005 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ มาสเปนจำนวน 53.8 ล้านคน และรายได้ประมาณ 46.1 พันล้านยูโร) รองจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งประเทศไทยอาจพิจารณาศึกษาเรียนรู้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวของสเปน เพื่อนำมาปรับใช้ในการพัฒนาการส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยต่อไป
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรสเปน |
ความสัมพันธ์ทางการทูตและการเมือง
สเปนเริ่มติดต่อกับไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ไทยและสเปนได้มี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2413 (ค.ศ. 1870) ซึ่งทั้งสองประเทศได้ลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรี การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) และนับตั้งแต่ปี 2426 (ค.ศ.1883) ไทยได้แต่งตั้งอัครราชทูตประจำประเทศยุโรปให้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตไทยประจำกรุงมาดริดด้วยอีกตำแหน่ง โดยแต่งตั้งให้
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย อัครราชทูตประจำกรุงลอนดอนดำรงตำแหน่งอัครราชทูตไทยประจำกรุงมาดริดเป็นคนแรก และทั้งสองฝ่ายได้ยกฐานะสถานอัครราชทูตขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูตฯ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2504 (ค.ศ. 1961) ไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงมาดริด เมื่อปี 2506 (ค.ศ. 1963)และแต่งตั้ง
นายมนู อมาตยกุล ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริดคนแรก
เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสเปน นางบุษบา บุนนาค
เอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย H.E. Juan Manuel Lopez Nadal
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำนครบาร์เซโลน Mr. Jaime Sabate Herce
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำ Santa Cruz de Tenerife Mr. Wolfgang Kiessling(หมู่เกาะคะเนรี)
หมายเหตุ : * สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมาดริด มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศตูนิเซีย
* สถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศ
พม่า ลาว และกัมพูชา
สำนักงานอื่นๆ ที่ดูแลกิจการด้านต่างๆ ของไทยในประเทศสเปน ประกอบด้วย
1) สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและทหารเรือ ณ กรุงมาดริด
2) สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมาดริด
3) สำนักงานการบินไทย ณ กรุงมาดริด
4) สำหรับด้านการท่องเที่ยว สำนักงานการท่องเที่ยวไทย ณ กรุงโรม ดูแลงานส่งเสริมการท่องเที่ยวในสเปน
5) สำหรับด้านการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ณ กรุงปารีส ดูแลงานส่งเสริมการลงทุนในสเปน
ด้านการเมือง ไทยและสเปนมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่น ไม่เคยมีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างกันทั้งนี้เป็นเพราะทั้งสองประเทศมีอุดมการณ์และนโยบายที่สำคัญหลายประการสอดคล้องกัน เช่น การมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การเสริมสร้างความร่วมมือ ระหว่างภูมิภาคของทั้งสองประเทศ ซึ่งสเปนไม่มีท่าทีขัดขวางต่อการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่าง ASEAN-EU โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับพม่า นอกจากนี้ สเปนยังเป็นประเทศที่ให้การสนับสนุนท่าทีของไทยมาโดยตลอด ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี เช่น การสนับสนุน ฯพณฯ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในการคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ WTO และการสนับสนุนคำขอของไทยให้คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาเปิดโควต้าภาษี (Global Quota) นอกกรอบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรโครงการใหม่ (GSP) สำหรับสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งให้แก่ไทย นอกจากนั้น การแลกเปลี่ยนการเยือน ระหว่างบุคคลสำคัญของประเทศทั้งสองที่มีมา อย่างสม่ำเสมอ ทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาล ซึ่งช่วยให้ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วย (รายละเอียดการแลกเปลี่ยนการเยือน)
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2548 รัฐบาลปัจจุบันของสเปนได้เสนอแผนปฏิบัติการเอเชีย-แปซิฟิก (Plan of Action and Pacific 2005-2008) ซึ่งกล่าวถึงการที่สเปนตระหนักถึงความสำคัญและศักยภาพทางเศรษฐกิจและขนาดของตลาดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยแผนปฏิบัติการนี้ระบุถึงการเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ที่จังหวัดภูเก็ต การเปิดตัวหนังสือ Don Quixote ฉบับแปลเป็นภาษาไทยแล้ว (ซึ่งได้เปิดตัวไปเมื่อเดือน ก.พ. 2549) และแผนการส่งเสริมการต้าและการลงทุนทางตรงของสเปนในประเทศไทย ที่กำหนดวงเงินเพื่อการดังกล่าวไว้ 1.5 ล้านยูโร ในช่วงปี 2005-2007
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
โดยทั่วไปการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสเปนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการค้าและการลงทุนของทั้งสองประเทศในปัจจุบันยังมีไม่มากนัก เนื่องมาจากผลกระทบจากภาวะทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงก่อนหน้านี้ แต่แนวโน้มการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของทั้งสองประเทศจะเป็นแรงจูงใจให้นักธุรกิจของทั้งสองประเทศหันมาค้าขายและลงทุนระหว่างกันมากขึ้น
ตารางความสัมพันธ์ด้านการค้า ดังเอกสารแนบ
การค้ารวม ในปี ค.ศ. 2006 สเปนเป็นคู่ค้าลำดับที่ 25 ของไทย (ลำดับที่ 28 ในปี 2548) และเป็นลำดับที่ 7 ในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ในปี ค.ศ. 2005 มูลค่าการค้ารวมนับเป็น 1262.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้ดุลการค้า 589.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และระหว่าง ค.ศ. 2000-2003 การค้ารวมมีมูลค่าเฉลี่ย 745.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับในปี ค.ศ. 2003 การค้ารวมมีมูลค่า 846.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 2002 ร้อยละ 29.41 โดยไทยยังเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 387.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับในช่วงเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 การค้ารวมมีมูลค่า 135.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี ค.ศ. 2002 ร้อยละ 40.06 โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 65.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การส่งออก สำหรับปี ค.ศ. 2005 การส่งออกของไทยไปสเปนมีมูลค่า 925.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในระยะ 4 ปีระหว่างค.ศ. 1999-2002 การส่งออกมีมูลค่าเฉลี่ย 524.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี ค.ศ. 2002 การส่งออกมีมูลค่า 439.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี ค.ศ. 2001 ร้อยละ 16.9 และในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 การส่งออกมีมูลค่า 100.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี ค.ศ. 2002 ร้อยละ 50.45
สินค้าออก ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียงอุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผ้าผืน และอัญมณีและ เครื่องประดับเป็นต้น
สินค้าออกที่มีศักยภาพ ได้แก่ ยางพารา ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ข้าว เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ และเลนส์ เป็นต้น
การนำเข้า สำหรับปี ค.ศ. 2005 การนำเข้ามีมูลค่า 336.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในระยะ 4 ระหว่าง ค.ศ. 1999-2002 การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 184.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับในปี ค.ศ. 2002 การนำเข้ามีมูลค่า 214.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี ค.ศ. 2001 ร้อยละ 1.44 และในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 การนำเข้ามีมูลค่า 34.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี ค.ศ. 2002 ร้อยละ 16.78
สินค้านำเข้า ที่สำคัญ ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม รถไฟและอุปกรณ์การรถไฟ ผลิตภัณฑ์โลหะ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก และแก้วและผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น
สินค้าเข้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม รถไฟและอุปกรณ์การรถไฟ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง แก้วและผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ผลิตภัณฑ์โลหะ ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
ปัญหาและอุปสรรคด้านการค้า
1) สเปนเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ทำให้ปัญหาการค้าทวิภาคีไทย-สหภาพ ยุโรป กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการค้าระหว่างไทยและสเปนด้วย
2) สเปนตรวจพบสารแคดเมี่ยมในปลาหมึกในน้ำมันและปลาหมึกแช่แข็ง เชื้อ salmonella ในปลาหมึกแช่แข็ง เชื้อแบคทีเรียในปลา Hake เชื้อ vibrio Chelerae ในกุ้งกุลาดำ สาร 3MCPD ในซอสปรุงรส เชื้อ Aerbio Mesofilos ในปลาหมึกแช่แข็ง และเพลี้ยไฟในดอกกล้วยไม้ นำเข้าจากไทย จึงได้ใช้มาตรการกักกันสินค้าที่มีปัญหาเพื่อนำตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์ก่อน (automatic detention) หากตรวจไม่พบเชื้อโรคจะอนุญาตให้นำเข้าได้ การยกเลิกมาตรการดังกล่าวอยู่ในดุลพินิจของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบ
ความสัมพันธ์ด้านการลงทุน
ในช่วงปี 2538-2547 มีเงินลงทุนโดยตรงจากสเปนในไทยไม่มากนัก
คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนสุทธิประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากเป็นอันดับ 13 ในกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรป 25 ประเทศ ทั้งนี้ โครงการลงทุนจากสเปนที่ได้รับการส่งเสริมส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในสาขาผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร (ร้อยละ 35.7) สาขาอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 21.4) สาขาบริการ (ร้อยละ 21.4) และสาขาเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก (ร้อยละ 14.3) ตามลำดับ
ความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว
ในปี ค.ศ. 2005 มีนักท่องเที่ยวสเปนเดินทางมาประเทศไทยเป็นจำนวนทั้งสิ้น 51135 คน คิดเป็นร้อยละ 0.44 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย
ในปี ค.ศ. 2001 มีนักท่องเที่ยวสเปนเดินทางมาประเทศไทยเป็นจำนวนทั้งสิ้น 38,212 คน คิดเป็นร้อยละ 0.38 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย สำหรับปี ค.ศ. 2002 มีจำนวนนักท่องเที่ยวสเปน 47,431 คน เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 2001 ร้อยละ 21.47 และคิดเป็นร้อยละ 0.44 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด
ความร่วมมือและความตกลงต่างๆ
ความร่วมมือและความตกลงที่ลงนามแล้ว
1.ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ (Air Services Agreement)ลงนามเมื่อ 6 กันยายน ค.ศ.1979
2.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (Agreement on Economic and Industrial Cooperation) ลงนามเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1986
3.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (Agreement en Cooperation on Tourism)ลงนามเมื่อ 17 มีนาคม ค.ศ.1987
4.สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญาระหว่างไทย-สเปน (Treaty on Cooperation in the Execution of Penal Sentences)ลงนามเมื่อ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1983 และมีผลบังคับใช้เมื่อ 20 พฤศจิกายน ค.ศ.1987
5.ความตกลงด้านวัฒนธรรม (Cultural Agreement) ลงนามเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ.1987
6. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุงระหว่างกระทรวงกลาโหมไทย-กระทรวงกลาโหมสเปน (Memorandum of Understanding on Logistics Support)ลงนามเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1994
7.ระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้า อุตสาหกรรม และ ชิปปิ้งของสเปน (The High Council of Chambers of Commerce, Industry and Shipping of Spain) ลงนามเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ.1995
8.อนุสัญญาเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากร ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (Convention on the Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect to Taxes on Income)ลงนามเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ.1997 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1998
9.ความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือกันทางการศาลในคดีแพ่งและพาณิชย์ (Agreement on Judicial Assistance in Civil and Financial Affairs) ลงนามเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1998 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน ค.ศ.1999
10.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างไทย-สเปน (Memorandum of Understanding on Financial Cooperation) ลงนามเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998
การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายไทยเยือนสเปน
- ค.ศ. 1960 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนสเปนอย่างเป็นทางการ
- 16-19 มีนาคม ค.ศ.1987 ฯพณฯ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีเยือนสเปนอย่างเป็นทางการ
-27 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ
- ค.ศ.1988 เยือนสเปนอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระราชาธิบดีฆวน คาร์ลอส ที่ 1 แห่งสเปน
- พฤษภาคม ค.ศ.1992 ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษเดินทางเยือนสเปน
-29-31 พฤษภาคม ค.ศ.1992 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสเปนอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน คาร์ลอส ที่ 1 แห่งสเปน และเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในคืนวันประจำชาติไทย ในงานแสดงสินค้าโลกที่เมืองเซวิญ่า (Sevilla)
- 22-28 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จฯ เยือนสเปนอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน คาร์ลอส แห่งสเปน ที่ 1เพื่อร่วมพิธีเปิดการแข่งกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 25 ณ เมืองบาร์เซโลนา
- 7-9 เมษายน ค.ศ.1993 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงร่วมงานพระราชพิธีพระศพของ Count Juan de Borbon (พระราชบิดาของสมเด็จพระราชาธิบดีสเปน)
-25 กันยายน - 3 ตุลาคม สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
- ค.ศ. 1993 กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯ เยือนสเปน เป็นการส่วนพระองค์
-17-28 มกราคม ค.ศ.1996 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯ เยือนสเปนเพื่อประกอบพิธีปล่อยเรือรบหลวงจักรีนฤเบศรลงน้ำ ที่เมือง Ferrol (20 มกราคม ค.ศ.1996)
- 15-18 มิถุนายน ค.ศ.1997 พลเอก มงคล อัมพรพิศิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและ
คณะเดินทางไปเยือนสเปนตามคำเชิญของผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสเปน
14-15 ตุลาคม ค.ศ.1997 นายประจวบ ไชยสาส์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
ต่างประเทศเยือนสเปนอย่างเป็นทางการ
- 11-16 มิถุนายน ค.ศ.1998 นายสุทัศน์ เงินหมื่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและคณะเยือนสเปนอย่างเป็นทางการ
- 17-22 พฤศจิกายน ค.ศ.1998 ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมคณะ เดินทางเยือนสเปน เพื่อขอความสนับสนุนในการสมัครเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ WTO
- 7-8 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรมและคณะเดินทางไปดูงานอุตสาหกรรมเครื่องหนังขนาดกลางและย่อม (SME) ของสเปน
-22-30 สิงหาคม ค.ศ. 1999 ดร. อำนวย วีรวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และคณะ
เดินทางไปชมกรีฑาโลก ครั้งที่ 7 ที่เมือง Sevilla ประเทศสเปน ตามคำเชิญของประธานคณะกรรมการ International Amateur Athletic Federation
-6-7 มิถุนายน ค.ศ. 2002 นาย สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม ASEM FMM ครั้งที่ 4 ณ กรุง มาดริด
-18-21 ตุลาคม ค.ศ. 2003 นาย อุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎรเยือนสเปนอย่างเป็นทางการ
ฝ่ายสเปนเยือนไทย
- ค.ศ. 1962,1965 สมเด็จพระราชาธิบดี ฆวน คาร์ลอส ที่ 1 ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเจ้าชายแห่งสเปนและสมเด็จพระราชินีโซเฟียเสด็จฯ เยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์
- 18-22 พฤศจิกายน ค.ศ.1987 สมเด็จพระราชาธิบดี ฆวน คาร์ลอสที่ 1 แห่งสเปนและสมเด็จพระราชินีโซเฟียเสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- 16-19 ธันวาคม ค.ศ.1987 เจ้าชายเฟลิเป้ มกุฎราชกุมารเแห่งสเปน เสด็จฯเยือนไทย
ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- มกราคม ค.ศ.1994 นาย Javier Solana รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- 14-18 ธันวาคม ค.ศ.1995 เจ้าฟ้าหญิงเอเลน่าแห่งสเปน พร้อมด้วยพระสวามีเสด็จฯ เยือนประเทศไทยในฐานะแขกของรัฐบาล
- 1-2 มีนาคม ค.ศ.1996 นาย Carlos Westendorp รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสเปนในฐานะผู้แทนนายกรัฐมนตรีสเปนเดินทางเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 1
- 27-28 พฤศจิกายน ค.ศ.1996 สมเด็จพระราชินีโซเฟียของสเปนเสด็จฯเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์
- 25-28 มิถุนายน ค.ศ.1997 นาย Carlos Bastarreche ปลัดกระทรวงการต่งประเทศสเปนเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ
- 24-29 มกราคม ค.ศ.1998 พลอากาศเอก Santiago Valderas Canestro ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสเปนและคณะเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของพลเอกมงคล อัมพรพิศิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- 2 เมษายน ค.ศ.1999 นาย Ramon de Miguel รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสเปน เดินทางเยือนไทย
-20-21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 สมเด็จพระราชินีโซเฟียของสเปนเสด็จฯแวะผ่านประเทศไทยเพื่อเสด็จฯต่อไปยังประเทศเวียดนาม
-1-2 เมษายน ค.ศ. 2002 นาย Juan Costa ปลัดกระทรวงพณิชย์ รับผิดชอบด้านการค้าและการท่องเที่ยวสเปน เยือนไทย และเข้าพบ ดร. สุวรรณ วลัยเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
-11-12 เมษายน ค.ศ. 2002 นาย Fernando Diez Moreno ปลัดกระทรวงกลาโหมสเปน เยือนไทย และเข้าเยี่ยมคารวะพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และเข้าพบพลเอกสัมพันธ์ บุญญานันต์ ปลัดกระทรวงกลาโหม
-4 มีนาคม ค.ศ. 2003 สมเด็จพระราชินีโซเฟียของสเปนเสด็จฯ แวะผ่านประเทศไทยเพื่อเสด็จฯ ต่อไปยังฟิลิปปินส์
-12-13 พฤษจิกายน ค.ศ. 2003 นาย Ramon Gil-Casares ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสเปนเยือนไทย และเข้าพบนายเตช บุนนาค ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
-11-12 มกราคม ค.ศ. 2005 นาย Miguel Angel Moratinos รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสเปนเยือนไทย และเข้าพบนาย เตช บุนนาค ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
-21-23 กุมภาพันธ์ 2549 สมเด็จพระราชาธิบดี ฆวน คาร์ลอส ที่ 1และสมเด็จพระราชินีโซเฟียของสเปนเสด็จฯเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
-21-23 กุมภาพันธ์ 2549 นาย Miguel Angel Moratinos รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสเปนเยือนไทย และเข้าพบนายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วันที่22 กุมภาพันธ์ 2549
-11-14 มิถุนายน 2549 สมเด็จพระราชินีโซเฟียของสเปนเสด็จฯเยือนประเทศไทยเพื่อร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี
ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจ
จำนวนคนไทยในสเปน
1059 คน นักเรียนไทย 60 คน แรงงานไทย 252 คน และต้องโทษ 1 คน ( ม.ค. 2550)
สถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย
ที่ตั้ง Royal Embassy of Spain
Diethelm Towers A, 7th Floor, Rooms 701-702
93/1 Wireless Road, Bangkok 10330
Tel: 0-2252-6112 Fax:0-2255-2388 0-2252-8368 0-2253-5132-4
e-mail: www.embesp@bkk3.loxinfo.co.th
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมาดริด
ที่ตั้ง Royal Thai Embassy Calle Joaquin Costa, 29
28002 Madrid, Spain
Tel:001 (34) 91 563 2903 Fax : 001 (34) 91 564 0033
001 (34) 91 563 7959 001 (34) 91 562 4128
e-mail: madthai@wanadoo.es
Website ที่เกี่ยวข้อง
- www.embesp.or.th (สถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย)
- www.moc.go.th/thai/dbe (กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์)
- www.thaitrade.com (กรมส่งเสริมการส่งออก)
- www.tat.or.th (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
Web site ที่เกี่ยวข้อง
- www.sispain.org ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศสเปน
- www.embesp.or.th สถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย
- www.la-moncloa.es รัฐบาลสเปนและกระทรวงต่างๆ
- www.mae.es กระทรวงการต่างประเทศสเปน
- www.tourspain.es การท่องเที่ยวสเปน
- www.economist.com/countries/spain ข้อมูลพื้นฐานประเทศสเปนและข่าวสารเกี่ยวกับประเทศสเปน
- www.odci.gov/cia/publications/factbook/geos/sp.html ข้อมูลพื้นฐานประเทศสเปน
- www.cnnenespanol.com CNN - ข่าวสารเกี่ยวกับประเทศสเปน (ภาษาสเปน)
- www.elpais.es หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น El Pais
- www.abc.es หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ABC
- www.elmundo.es หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น El Mundo
กุมภาพันธ์ 2550
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|