ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ทาจิกิสถาน




แผนที่
สาธารณรัฐทาจิกิสถาน
Republic of Tajikistan


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง อยู่ทางตอนใต้บริเวณเอเชียกลางของอดีตสหภาพโซเวียต ระหว่างอุซเบกิสถานและจีน โดยร้อยละ 90 ของภูมิประเทศเป็นภูเขา

พื้นที่ 143,100 ตารางกิโลเมตร

ประชากร 7 ล้านคน (2550) แบ่งเป็น ชาวทาจิก รัอยละ 79.9 ชาวอุซเบก ร้อยละ 15.3 ชาวรัสเซีย ร้อยละ 1.1 คีร์กีซ ร้อยละ 1.1 อื่นๆ ร้อยละ 2.6

เมืองหลวง ดูชานเบ (Dushanbe) (ประชากร 6 แสนคน)

ภาษาราชการ ภาษาทาจิก มีการใช้ภาษารัสเซียกันอย่างแพร่หลายในภาครัฐและภาคเอกชน และประมาณ 1/4 ของประชากรใช้ภาษาอุซเบก

ศาสนา อิสลาม นิกายสุหนี่ ร้อยละ 85 นิกายชีอะห์ ร้อยละ 5 อื่นๆ ร้อยละ 10

ภูมิอากาศ ภูเขาสูงแบบภาคพื้นทวีป (ฤดูหนาว อากาศหนาวจัด ฤดูร้อน อากาศร้อนจัด)

เวลา เร็วกว่ามาตรฐาน GMT 6 ชั่วโมง

สกุลเงิน โซโมนิ (Somoni-TJS) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) = 3.2138 SM (กุมภาพันธ์ 2550)

วันชาติ 9 กันยายน

ระบบการเมือง ประชาธิปไตยโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ

ประมุข ประธานาธิบดี นาย Emomali Rahmon (19 พฤศจิกายน 2535)

นายกรัฐมนตรี นาย Oqil Oqilov ( 20 มกราคม 2542)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Khamrokhon Zarifi ( 1 ธันวาคม 2549)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 2.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 411 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)

การเจริญเติบโตของ GDP ร้อยละ 7.5 (2549)

การเมืองการปกครอง
สถานการณ์การเมือง
สาธารณรัฐทาจิกิสถานได้รับเอกราชภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อ 9 กันยายน 2534 ก่อนได้รับเอกราชในปี 2533 การเมืองภายในประเทศขาดเสถียรภาพเนื่องจากเกิดความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากนโยบายเปิดกว้าง (Glasnost) และปฏิรูป (Perestroika) ของนาย มิคาเอล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) อดีตประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านคอมมิวนิสต์ และเกิดขบวนการชาตินิยมในทาจิกิสถานเช่นเดียวกับในรัฐอื่นๆ ของสหภาพโซเวียต ส่งผลให้เกิดการจลาจลในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 เนื่องจากมีข่าวลือว่าผู้อพยพชาวอาร์เมเนียจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองหลวงของทาจิกิสถาน (ดูชานเบ) และต่อมาในปี 2535 นาย Rahmom Nabiyev ประธานาธิบดีทาจิกิสถานซึ่งเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ถูกบังคับโดยกลุ่มผู้เดินขบวนประท้วงให้ยอมรับรัฐบาลผสมที่เกิดจากการรวมกลุ่มอิสลามและกลุ่มประชาธิปไตย สถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อกลุ่มกองกำลังติดอาวุธของประธานาธิบดี Nabiyev ผลักดันให้กลุ่มอิสลามและกลุ่มประชาธิปไตยถอนตัวออกจากรัฐบาลผสม และก่อตั้งกลุ่ม Neo-communist ขึ้น ในปี 2537 ประธานาธิบดี Nabiyev ได้ลาออกจากตำแหน่ง นาย Emomali Rahmon ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาในขณะนั้น จึงได้เป็นหัวหน้ารัฐบาลโดยปริยาย ในขณะเดียวกับที่ กลุ่มต่อต้านรัฐบาลนำโดยพรรค Islamic Rebirth Party (IRP) ได้อพยพออกนอกประเทศพร้อมด้วยประชาชนหลายหมื่นคน ไปตั้งมั่นอยู่ทางภาคเหนือของอัฟกานิสถาน และกลับเข้ามาปฏิบัติการแบบกองโจรในทาจิกิสถาน ทำให้รัฐบาลทาจิกิสถานต้องพึ่งกองกำลังรัสเซียดูแลแนวชายแดนทาจิกิสถาน-อัฟกานิสถาน และมีการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี

นานาชาติได้พยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของทาจิกิสถาน โดยเฉพาะรัสเซียและอิหร่าน ซึ่งได้มีส่วน ในการจัดการเจรจาระหว่างรัฐบาลทาจิกิสถานและกลุ่มต่อต้านให้มีการตกลงหยุดยิงชั่วคราวในปี 2537 และได้ขอให้สหประชาชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหา เลขาธิการสหประชาชาติจึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะผู้สังเกตการณ์แห่งสหประชาชาติ (the United Nation Mission of Observers in Tajikistan:UNMOT) เข้าดูแลกระบวนการสันติภาพ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายเริ่มละเมิดข้อตกลงหยุดยิงและมีการสู้รบเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเริ่มรุกเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ

ในปี 2540 ด้วยความร่วมมือระหว่างอิหร่าน รัสเซีย และสหประชาชาติ สามารถโน้มน้าวให้ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างประธานาธิบดี Emomali Rahmon กับนาย Sayed Abdulla Nuri ผู้นำกลุ่มแนวร่วมต่อต้านรัฐบาล (United Tajik Opposition - UTO) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540 โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ทำการดูแลการส่งผู้ลี้ภัยคืนถิ่น ตลอดจนการปลดอาวุธกลุ่มติดอาวุธต่าง ๆ และเริ่มกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปอย่างยุติธรรม

ในช่วงแรกภายหลังการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ ข้อตกลงยังได้รับการปฏิบัติตามไม่มากนัก ยังมีการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงจากทั้งสองฝ่ายอยู่เรื่อยๆ แต่รัฐบาลทาจิกิสถานได้เรียกร้องให้ UNMOT ตลอดจนประเทศ ผู้ค้ำประกันความตกลงฯ ให้เข้ามามีบทบาทในการยุติการใช้กำลังอาวุธของกลุ่ม UTO โดย UNMOT ได้ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพจำนวน 70 คน เข้าไปสังเกตการณ์กระบวนการสันติภาพในทาจิกิสถาน และจัดให้มีการเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านจนกระทั่งสามารถจัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 ซึ่งประธานาธิบดี Rakhmon ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน 2546 ได้มีการลงประชามติให้ประธานาธิบดี Rahmon สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้อีก 2 สมัย (วาระ 7 ปี) ติดต่อ กันหลังจากหมดวาระในปี 2549 ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 ทาจิกิสถานได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยมีผู้สมัครจำนวน 5 คน ซึ่งผลเป็นไปตามความคาดหมายคือประธานาธิบดี Rahmon ได้รับชัยชนะและปกครองประเทศต่อเนื่องเป็นปีที่ 14 อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองฝ่ายค้านที่สำคัญ 3 พรรค คือ Islamic Revival Party Democratic Party และ Social Democratic Party ไม่ส่งผู้สมัครเข้าแข่งขันและประกาศไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งโดยให้เหตุผลว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่โปร่งใส และพรรครัฐบาลจำกัดสิทธิพรรคการเมืองอื่นในการเข้าถึงสื่อทุกประเภท ในขณะที่องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) ซึ่งส่งคณะผู้สังเกตการณ์ จำนวน 170 คน เพื่อติดตามการเลือกตั้งในทาจิกิสถานระบุว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีสัญญาณของการแข่งขันอย่างแท้จริง และขาดตัวเลือกทางการเมือง (lack of political alternatives)

เศรษฐกิจการค้า
สภาวะเศรษฐกิจทาจิกิสถาน
สาธารณรัฐทาจิกิสถานเป็นหนึ่งในประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวที่ต่ำที่สุดในบรรดาประเทศที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต (CIS) โดยปัจจุบันประชากร 2 ใน 3 ยังมีความเป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐาน เศรษฐกิจของทาจิกิสถานอาศัยรายได้จากภาคเกษตร อุตสาหกรรม พลังงาน (ถ่านหิน และการผลิตพลังงานไฟฟ้า) เป็นส่วนใหญ่ โดยในภาคการเกษตร เน้นการปลูกฝ้ายเพื่อการส่งออก สงครามกลางเมืองระหว่างปี 2535-2540 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทาจิกิสถานเป็นอย่างมาก

ตั้งแต่ปี 2535 รัฐบาลทาจิกิสถานได้กำหนดนโยบายปฏิรูประบบเศรษฐกิจ เพื่อให้เป็นระบบการตลาดแบบเสรีให้มากที่สุด โดยเน้นด้านการปฏิรูปภาคเกษตรกรรม การโอนถ่ายกิจการของรัฐทั้งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ให้เป็นของเอกชนให้มากที่สุด การปรับปรุงสถาบันการเงิน การธนาคาร และระบบภาษี ซึ่งการปฏิรูประบบเศรษฐกิจนี้จะต้องอาศัยเงินทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลทาจิกิสถานประสบปัญหาการขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง ในปี 2540 รัฐบาลทาจิกิสถานจึงได้ตัดสินใจรับเงื่อนไขที่เข้มงวดของ IMF เพื่อแลกกับความช่วยเหลือทางการเงิน รัฐบาลทาจิกิสถานได้ดำเนินนโยบายปฏิรูประบบเศรษฐกิจเศรษฐกิจของ IMF อย่างเคร่งครัด (Poverty Reduction and Growth Facility-PRGF) ส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นตามที่รัฐบาลทาจิกิสถานคาดหวัง

อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปทางเศรษฐกิจเป็นไปได้อย่างเชื่องช้า โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม ซึ่งประสบปัญหาด้านการลงทุน ขาดการตลาดและระบบสินเชื่อ อีกทั้งระบบชลประทานที่เสื่อมสภาพและเครื่องมือที่ล้าสมัย โดยจะเห็นได้จากหนี้สินของเกษตรกรที่ปลูกฝ้ายในปี 2547 ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของทาจิกิสถานมีมูลค่าถึง 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นจาก 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีก่อนหน้านี้) ถึงแม้ว่าผลการผลิตจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4
ปัญหาหนี้ต่างประเทศของทาจิกิสถานเริ่มดีขึ้น อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเจรจาทวิภาคี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547รัสเซียได้เซ็นสัญญาปลดหนี้ของทาจิกิสถานถึง 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้หนี้ต่างประเทศของทาจิกิสถานลดลงจาก 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2546 เป็น 822 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2547 อย่างไรก็ดี ทาจิกิสถานยังประสบปัญหาในด้านระบบบริหารหนี้ต่างประเทศจนกระทั่งปัจจุบัน (ในปี 2549 มีมูลค่า 829 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ทาจิกิสถานมีศักยภาพด้านการผลิตอลูมิเนียม ฝ้าย และไฟฟ้าพลังน้ำ แต่ในปัจจุบันยังขาดการลงทุนจึงยังไม่สามารถผลิตได้เต็มศักยภาพ รวมทั้งยังอยู่ระหว่างการวางระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็น นอกจากนี้ ทาจิกิสถานยังมีปัญหาการบริหารจัดการที่ดี อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน มีบริษัทต่างชาติเข้าไปลงทุนและดำเนินธุรกิจจากหลายประเทศ ที่สำคัญ คือ สหราชอาณาจักร รัสเซีย สหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น ยังมีประเทศอื่นๆ อาทิ จีน อินเดีย ตุรกี เกาหลีใต้ อิตาลี เวียดนาม อินโดนีเซีย
ในปี 2549 Shanghai Cooperation Organization ประกาศให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงระบบไฟฟ้าและเส้นทางคมนาคมในทาจิกิสถาน และสหรัฐฯ ยังได้ให้ความช่วยเหลือในการสร้างสะพานมูลค่า 36 ล้านเหรียญซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างทาจิกิสถานและอัฟกานิสถาน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐทาจิกิสถาน
ความสัมพันธ์ทางการทูต
ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับทาจิกิสถาน เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2537 แต่ยังไม่มีการแต่งตั้งผู้แทนทางการทูตระหว่างกัน โดยฝ่ายไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก ดูแลทาจิกิสถานอย่างเป็นทางการ ซึ่งรัฐบาลทาจิกิสถานได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และกระทรวงการต่างประเทศทาจิกิสถานเป็นผู้ดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีกับไทย แต่ที่ผ่านมา การติดต่อระหว่างกันจะกระทำผ่านคณะทูตถาวรฯ ณ นครนิวยอร์ก ของทั้งสองประเทศ และสถานเอกอัครราชทูตทาจิกิสถานประจำกรุงมอสโก กับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก จึงเป็นผลให้การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันยังมีไม่มาก

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
ไทยกับทาจิกิสถานมีความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันตั้งแต่ปี 2536 แต่มูลค่าการค้ารวมยังต่ำมาก นอกจากนี้ ไทยยังเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับทาจิกิสถานมาโดยตลอด เนื่องจากไทยนำเข้าสินค้าประเภทเส้นใย เพื่อใช้ในการทอเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ทาจิกิสถานสั่งสินค้าจำพวกผลิตภัณฑ์พลาสติกและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น สาเหตุที่การค้า การลงทุน และการติดต่อสัมพันธ์ทางด้านต่างๆ ระหว่างสองประเทศยังมีไม่มากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการฝ่ายไทยประสบปัญหาความยากลำบากในการเดินทางและขนส่งสินค้าไปยังทาจิกิสถาน เนื่องจากยังไม่มีสายการบินที่บินตรงระหว่างกันจึงต้อง ส่งสินค้าผ่านประเทศที่สาม อีกทั้งระดับรายได้ประชากรยังไม่สูงมากนัก จึงส่งผลให้การขยายตลาดสินค้าเป็นไปได้ยาก ขณะเดียวกันทาจิกิสถานยังประสบปัญหาเรื่องระบบการชำระเงินผ่านธนาคารที่ยังไม่ได้มาตรฐานสากล

สินค้าส่งออก ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อและผ้าที่จัดทำแล้ว ลำโพงขยายเสียงและส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ ตลับลูกปืน เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง
สินค้านำเข้า ธุรกรรมพิเศษ (สินค้าที่รับการยกเว้นภาษีอากร เช่น ของที่ได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูต) แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องประดับอัญมณี เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก ด้ายและเส้นใย วงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ สินแร่และโลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่

ความตกลงทวิภาคี
ความตกลงที่ลงนามแล้ว
1. ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศไทย-ทาจิกิสถาน (Air Services Agreement) ลงนามเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2538 โดยมีเอกอัครราชทูตไทยและเอกอัครราชทูตทาจิกิสถานประจำกรุงมอสโกเป็นผู้ลงนาม

ความตกลงทวิภาคีต่างๆ ที่ลงนามระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีทาจิกิสถานเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2548

2. ความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลของสาธารณรัฐทาจิกิสถาน (Trade Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of Tajikistan)

3. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลของสาธารณรัฐทาจิกิสถานว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติดวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและสารตั้งต้น (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of Tajikistan on the Cooperation in Narcotic Drugs Psychotropic Substances and Precursor Chemical Control)

4. ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลของสาธารณรัฐทาจิกิสถานว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Agreement on Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of Tajikistan on Economic and Technical Cooperation.)

5. ความตกลงระหว่างและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลของสาธารณรัฐทาจิกิสถานว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of Tajikistan for the promotional and protection of investments)

6. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐทาจิกิสถาน (Memorandum of Understanding on the Establishment of Bilateral Consultations between the Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Tajikistan and the Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand )
7. ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลของสาธารณรัฐทาจิกิสถานว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (Agreement between the Government of the Republic of Tajikistan and the Government of the Kingdom of Thailand on Cooperation in the field of Tourism)

ความตกลงที่คั่งค้าง
อนุสัญญาการเว้นการเก็บภาษีซ้อนไทย-ทาจิกิสถาน (Convention on between the Government of the Republic of Tajikistan and the Government of the Kingdom of Thailand for the Avoidance of Double taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect of Tax Income)

ความช่วยเหลือต่างๆ จากไทย
ทาจิกิสถานเคยขอรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากไทย ซึ่งไทยได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือด้วยเหตุผลที่ว่าทาจิกิสถานเป็นประเทศเกิดใหม่ในทวีปเอเชียประเทศหนึ่งที่มีความสัมพันธ์อันดีกับไทยรวมทั้งยังอยู่ในภูมิภาคเอเชียกลางและมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ไม่ห่างไกลจากประเทศไทยมากนัก ดังนั้น จึงเป็น ภูมิภาคที่ไทยสนใจที่จะขยายความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน เนื่องจากอาจจะเป็นตลาดรองรับสินค้าของไทยและเป็นแหล่งวัตถุดิบให้ไทยได้ ทั้งนี้ ไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ทาจิกิสถานในรูปของยารักษาโรค ซึ่งมีมูลค่า 700,000 บาท โดยส่งมอบให้สถานเอกอัครราชทูตทาจิกิสถาน ประจำกรุงมอสโก เพื่อส่งต่อไปยังกรุงดูชานเบ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2538 นอกจากนี้ ภาคเอกชนไทย (บริษัทเบลออย จำกัด) ได้บริจาคเงินเพื่อบูรณะซ่อมแซมพระพุทธรูป ปางไสยยาสน์ ในทาจิกิสถาน เป็นจำนวน 629,517 บาท เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547

ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว
ปัจจุบันจำนวนนักท่องเที่ยวชาวทาจิกิสถานเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีไม่มากเท่าที่ควร (ในปี 2548 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 211 คน และปี 2549 จำนวน 252 คน) เนื่องจากความไม่สะดวกในการเดินทางระหว่างทั้งสองประเทศ ส่งผลให้ศักยภาพของตลาดการท่องเที่ยวอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก

สิงหาคม 2550

เรียบเรียงโดย กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กลุ่มงานเอเชียกลาง โทร. 0 2643 5000 ต่อ 2655 Fax. 0 2643 5301



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์