ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ติมอร์-เลสเต




แผนที่
สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต
The Democratic Republic of Timor-Leste


 
ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตย โดยมีสำนักงาน United Nations Integrated Mission in Timor-Leste (UNMIT) สนับสนุน
ประมุข (ประธานาธิบดี) นายเคย์ ราล่า ซานานา กุสเมา (Kay Rala Xanana Gusmao) – ได้รับเลือกเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2545 และสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545
หัวหน้ารัฐบาล (นายกรัฐมนตรี) นายโจเซ รามอส-ฮอร์ตา (Jose Ramos-Horta (ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2549)
หัวหน้า UNMIT นาย Atul Khare (ชาวอินเดีย ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 6 ธันวาคม 2549)

ผู้นำทางการเมืองคนสำคัญ
1. นายฟรานซิสโก กูเทอเร็ส (Francisco Guterres) -- ประธานสภาผู้แทน (Assembly Speaker)
2. นางอานา เปสโซ (Ana Pessoa) -- รัฐมนตรีประจำประธานคณะรัฐมนตรี (ระดับรองนายกรัฐมนตรี)
3. นายโจเซ หลุยส์ กูเทอเร็ส (José Luis Guterres) -- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือ (Minister for Foreign Affairs and Cooperation)
4. นายโดมิงโกส ซาเม็นโต (Mr. Domingos Sarmento) -- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
5. นายอามินโด แมร์ (Dr. Armindo Maia) -- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม เยาวชน และการกีฬา

วันลงคะแนนเสียงแยกตัวจากอินโดนีเซีย 30 สิงหาคม 2542
เลือกตั้งครั้งล่าสุด (ปธน.) 14 เมษายน 2545 (นายซานานา กุสเมาได้รับเลือกด้วยคะแนน 82.62%)
วันประกาศเอกราช 20 พฤษภาคม 2545
วันเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ 27 กันยายน 2545 (เป็นประเทศที่ 191)

เมืองหลวง กรุงดิลี (Dili)
พื้นที่ 14,874 ตารางกิโลเมตร
ประชากร 937,000 คน (2548)
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (ร้อยละ 91.4) คริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ (ร้อยละ 2.6) อิสลาม (ร้อยละ 1.7)
ภาษา ภาษาเตตุนและภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการ ภาษาอินโดนีเซียและภาษาอังกฤษเป็นภาษาติดต่องาน

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย- ติมอร์ตะวันออก 20 พฤษภาคม 2545 ที่กรุงดิลี
เอกอัครราชทูตไทยประจำติมอร์ตะวันออก นายวิวัฒน์ กุลธรเธียร (Mr. Wiwat Kunthonthien)
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดิลี (เปิดเมื่อ 28 ตุลาคม 2545)
Royal Thai Embassy
Avenida de Portugal Road, Motael,
Dili, Timor-Leste
โทร. +670 3310609
โทรสาร +670 3322179

การเมืองการปกครอง
สถานการณ์ทั่วไป

ภูมิหลัง

- ติมอร์-เลสเตเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสตั้งแต่ปี 2063 (ค.ศ. 1520) ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไป เมื่อปี 2518 อินโดนีเซียได้ส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์-เลสเตโดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 อย่างไรก็ดี เมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมให้ชาวติมอร์-เลสเตลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากอินโดนีเซีย ในวันที่ 30 สิงหาคม 2542 ประชาชนชาวติมอร์-เลสเตกว่าร้อยละ 80 ออกเสียงสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในติมอร์-เลสเตโดยกลุ่มกองกำลัง militia ที่นิยมอินโดนีเซีย สหประชาชาติได้ตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังนานาชาติ (International Force in East Timor – INTERFET) เมื่อ 15 กันยายน 2542 เพื่อส่งเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์-เลสเต ก่อนที่จะประกาศเอกราชในวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 เริ่มตั้งแต่ 20 พฤษภาคม 2545 - 19 พฤษภาคม 2547 สหประชาชาติดำเนินการสนับสนุนติมอร์-เลสเตภายใต้ United Nations Mission of Support in East Timor (UNMISET)

การเมือง

- ภายหลังติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชแล้ว ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือ ระบบการเมืองภายในประเทศยังคงอยู่ในระยะการสร้างชาติ มีกลุ่มการเมืองต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย อย่างไรก็ดี แม้ว่าทุกฝ่ายต่างให้การยอมรับบทบาทของนายซานานา กุสเมา ให้ดำรงตำแหน่งประมุขคนแรกของประเทศ แต่ติมอร์-เลสเตก็มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง การแข่งขันเพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองต่าง ๆ รวมถึงปัญหาภายในพรรค National Council for Timorese Resistance (CNRT) ซึ่งนายกุสเมาเคยเป็นผู้นำ และเป็นกลุ่มการเมืองที่มีบทบาทมากที่สุดในการเรียกร้องให้ติมอร์-เลสเตแยกตัวออกจากอินโดนีเซีย

- UNTAET ได้พยายามสร้างความพร้อมเพื่อให้ติมอร์-เลสเตสามารถปกครองตนเองภายหลังได้รับเอกราช โดยเปิดโอกาสให้ชาวติมอร์-เลสเตเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น อาทิ การยกร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้งพรรคการเมือง ให้การศึกษาแก่ชาวติมอร์-เลสเตเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดโอกาสให้ชาวติมอร์-เลสเตมีส่วนร่วม UNTAET ในการปกครองตนเอง อาทิ การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาแห่งชาติ (National Legislative Council – NLC)

- เมื่อ 30 สิงหาคม 2544 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวติมอร์-เลสเตกว่าร้อยละ 91 ร่วมลงคะแนนเสียงเลือกผู้แทน 88 คน เพื่อเข้าร่วมในสภาผู้แทน (Constitutient Assembly) ซึ่งรับผิดชอบการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของติมอร์-เลสเต ในเวลาเดียวกัน UNTAET ได้ประกาศรัฐบาลชั่วคราวชุดที่สองเพื่อบริหารติมอร์-เลสเตจนได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 รัฐบาลชุดที่สองมี ดร.มาริ อาลคาทิริ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งภายหลังติมอร์-เลสเตได้รับเอกราช รัฐบาลชั่วคราวชุดนี้ได้แปลงสภาพเป็นรัฐบาลชุดแรกของประเทศ

- เมื่อ 14 เมษายน 2545 UNTAET ได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีติมอร์-เลสเต ซึ่งประธานคณะกรรมการเลือกตั้งได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้นายซานานา กุสเมา เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง โดยได้คะแนนเสียงอย่างท่วมท้นถึงร้อยละ 82.69 ในขณะที่นายฟรานซิสโก เซเวีย โด อามาราว คู่แข่งคนเดียว ได้รับคะแนนเพียงร้อยละ 17.31 โดยเลขาธิการสหประชาชาติเป็นผู้ทำพิธีสาบานตนให้นายกุสเมาเข้ารับตำแหน่งในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 19 พฤษภาคม 2545

- ติมอร์-เลสเตยังประสบปัญหาความไม่พร้อมในด้านต่าง ๆ อาทิ ปัญหาการขาดงบประมาณ ปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อัตราการว่างงานสูง การศึกษา การแพทย์ การขาดแคลนบุคลากรในสาขาต่าง ๆ ปัญหาสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ถูกทำลายไป ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการฟื้นฟู การรักษาความมั่นคงภายใน โดยเฉพาะปัญหาการป้องกันภัยคุกคามจากกองกำลัง militia ดังนั้น ภายหลังได้รับเอกราชแล้ว ติมอร์-เลสเตได้ขอให้กองกำลังทหารและบุคลากรจากสหประชาชาติและบางประเทศ คงอยู่ในติมอร์-เลสเตต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อช่วยรักษาความสงบและความมั่นคงภายใน โดยเฉพาะในขณะที่ติมอร์-เลสเตยังไม่สามารถจัดตั้งกองกำลังป้องกันตนเอง (East Timor Defence Force – ETDF) ให้แล้วเสร็จ กอปรกับติมอร์-เลสเตจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากภายนอก ทั้งในกรอบทวิภาคี และกรอบพหุภาคี อาทิ จากสหประชาชาติ และกรอบการประชุมกลุ่มประเทศผู้บริจาคแก่ติมอร์-เลสเต


- ความไม่พร้อมในด้านต่าง ๆ ทำให้ติมอร์-เลสเตประสบปัญหาเรื่องการรักษาความมั่นคงภายใน ดังนั้น ในช่วงแรกของการเป็นประเทศเอกราช ติมอร์-เลสเตจำเป็นต้องดำเนินนโยบายทางการทูต เพื่อให้ระบบการเมืองและเศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ติมอร์-เลสเตจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีโดยเฉพาะกับอินโดนีเซีย เพื่อป้องกันปัญหาการกระทบกระทั่งระหว่างกันบริเวณชายแดนที่ติดกับติมอร์ตะวันตกของอินโดนีเซีย การเจรจากรณี Timor Gap ซึ่งเป็นปัญหาเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย รวมถึงการเข้าร่วมในองค์กรที่สำคัญในภูมิภาค อาทิ อาเซียน ซึ่งในทางการเมืองจะเป็นหลักประกันที่ดีต่ออธิปไตยและความมั่นคงของติมอร์-เลสเต หรือการเข้าร่วมกับกลุ่มประเทศในแปซิฟิกใต้ จะทำให้ติมอร์-เลสเตได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรและด้านการค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว

- เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2545 คณะมนตรีความมั่นคงฯ ได้รับรองมติ ที่ 1392 (2002) ขยายเวลาของปฏิบัติการภายใต้อาณัติ UNTAET ออกไปจนถึงวันประกาศเอกราชติมอร์-เลสเตในวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 และหลังจากติมอร์-เลสเตเป็นเอกราชแล้ว สหประชาชาติจะยังคงภารกิจอยู่ต่อไปอีกประมาณ 2 ปี เพื่อดูแลช่วยเหลือทางด้านการบริหารสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และความมั่นคงบริเวณชายแดน โดยเปลี่ยนชื่อเป็นปฏิบัติการ UNMISET (UN Mission of Support in East Timor)

- เมื่อ 28 มีนาคม 2548 คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติมีมติรับรองการขยายเวลาปฏิบัติงานของสหประชาชาติในติมอร์-เลสเต โดยเปลี่ยนชื่อสำนักงานจาก UNMISET เป็น UNOTIL (United Nations Office in Timor-Leste) มีวาระงาน 1 ปี ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2549 หน้าที่สำคัญคือ สนับสนุนการพัฒนาสถาบันรัฐที่สำคัญของติมอร์-เลสเต การพัฒนาเจ้าหน้าที่ตำรวจ และจัดฝึกอบรมการปกครองแบบประชาธิปไตยและเรื่องสิทธิมนุษยชน

- เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2549 ทหาร 591 นาย จากทางตะวันตกของประเทศได้ไปกรุงดิลีเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยแก้ปัญหาที่พวกตนไม่ได้รับความเป็นธรรมในกองทัพ ทั้งนี้ ทหารกลุ่มนี้เคยชุมนุมแล้วครั้งหนึ่งจนถูกรัฐบาลปลดประจำการเมื่อต้นปี 2549 อย่างไรก็ดี ตำรวจที่ถูกส่งไปควบคุมสถานการณ์จำนวนหนึ่งได้แปรพักตร์ไปเข้าพวกกับทหารที่ประท้วง กลายเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาล

ปัญหากลายเป็นความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีอัลคาทิริลาออก (นายอัลคาทิริถูกกล่าวหาว่าจัดหาอาวุธให้กองกำลังจำนวนหนึ่งใช้กำจัดศัตรูการเมือง) สถานการณ์ลุกลามจนเกิดเหตุรุนแรงทั่วกรุงดิลี โดยเฉพาะเมื่อมีกลุ่มอันธพาลฉวยโอกาสสร้างความวุ่นวาย กลไกของรัฐล้มเหลว ไม่มีตำรวจ ทหาร ข้าราชการทำงาน รัฐบาลตัดสินใจเชิญออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย และโปรตุเกส ให้ส่งกองกำลังจำนวนประมาณ 2,500 นายไปช่วยรักษาความสงบเรียบร้อย

นายกรัฐมนตรีอัลคาทิริได้ลาออกเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2549 และนายโฮเซ รามอส-ฮอร์ตา ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2549

- UNOTIL สิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่เมื่อ 25 สิงหาคม 2549 คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติได้ตั้ง United Nations Integrated Mission in Timor-Leste (UNMIT) ขึ้นมาแทนเพื่อสนับสนุนรัฐบาลติมอร์ฯ ในการสร้างเสถียรภาพ ประชาธิปไตย และการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและพลเรือน 1,608 คน และเจ้าหน้าที่ทหารประสานงาน 34 คน UNMIT มีระยะเวลาปฏิบัติงานเบื้องต้นถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2550

เศรษฐกิจการค้า
เงินตรา ยังไม่มีสกุลเงินของตนเอง แต่สามารถใช้ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ออสเตรเลีย และรูเปียห์ อินโดนีเซีย

แร่ธาตุที่สำคัญ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ

พืชสำคัญ กาแฟ มะพร้าว โกโก้ ข้าวโพด

สัตว์ โค กระบือ แกะ ม้า ทรัพยากรสัตว์น้ำ


เศรษฐกิจ

- ติมอร์-เลสเตยังไม่มีงบประมาณเป็นของตนเองในการฟื้นฟูและบูรณะประเทศ งบประมาณส่วนใหญ่ที่ใช้ในการบูรณะประเทศมาจากความช่วยเหลือจากต่างประเทศและการรับความช่วยเหลือจากนานาชาติผ่านที่ประชุมประเทศผู้บริจาคเงินให้ติมอร์-เลสเต (Donor’s Meeting) ซึ่งจัดการประชุมแล้ว 5 ครั้ง คือ ครั้งแรกที่กรุงโตเกียว เมื่อเดือนธันวาคม 2542 ครั้งที่สองเมื่อเดือนมิถุนายน 2543 ที่กรุงลิสบอน ครั้งที่สามเมื่อเดือนธันวาคม 2543 ที่กรุงบรัสเซลส์ และครั้งที่สี่ที่กรุงออสโล เมื่อเดือนธันวาคม 2544 ซึ่งประเทศต่างๆ ได้สัญญาที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ติมอร์-เลสเตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การประชุมฯ ครั้งสุดท้ายมีขึ้นระหว่าง 14-15 พฤษภาคม 2545 ที่กรุงดิลี

- กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในติมอร์-เลสเตจะเกี่ยวข้องกับโครงการฟื้นฟูบูรณะประเทศที่ดำเนินการโดย UNMISET อย่างไรก็ดี สภาพความเสียหายในช่วงการก่อความไม่สงบของกองกำลัง militia ได้ทำลายอาคารบ้านเรือน ระบบการสื่อสาร โครงสร้างพื้นฐานเกือบทั้งหมด รวมทั้ง เอกสารหลักฐานทางราชการ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของติมอร์-เลสเต ทำให้นักลงทุนจากภายนอกยังไม่มั่นใจที่จะเข้าไปลงทุนอย่างถาวร อย่างไรก็ดี รัฐบาลและ UNMISET ได้พยายามแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น โดยการจัดระเบียบทางกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนชาวต่างชาติ อาทิ การดูแลสัญญาเช่าที่ดินเพื่อประกอบกิจการของบริษัทต่างชาติ

- ลู่ทางการค้าการลงทุนในติมอร์เลสเตที่มีศักยภาพ คือ ไร่กาแฟ ภาคการประมง ธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งทรัพยากรประเภทน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในเขต Timor Gap ซึ่งอยู่ระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ธุรกิจเหล่านี้ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและสนับสนุนด้านการเงินจากนักลงทุนภายนอกอยู่มาก เนื่องจากติมอร์-เลสเตยังขาดเงินทุน และชาวติมอร์-เลสเตยังขาดทักษะในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กอปรกับในปัจจุบันมีอัตราผู้ว่างงานสูงประมาณร้อยละ 80 ซึ่งในส่วนของนักธุรกิจไทยจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของระเบียบรวมถึงอุปสรรคดังกล่าวต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อประกอบการพิจารณาถึงความเสี่ยงในการลงทุน และขณะนี้สินค้าส่วนใหญ่ในติมอร์-เลสเตนำเข้าจากออสเตรเลียเพื่อรองรับการบริโภคของคณะเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติและคณะทูต

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต
ความสัมพันธ์ทั่วไป

- ระหว่าง 5-8 สิงหาคม 2546 นายมาริ อาลคาทิริ นายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเตได้เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยได้หารือข้อราชการกับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีและเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา อนึ่ง เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2546 ในระหว่างการเยือนดังกล่าว ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ กับนายรามอส-ฮอร์ตา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือติมอร์-เลสเตได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ

- ระหว่าง 6-9 พฤศจิกายน 2545 นายเคล์ ราลา ซานานา กุสเมา ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ในระหว่างการเยือน ประธานาธิบดีกุสเมาได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หารือกับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกาถาระหว่างการประชุมของสถาบันพระปกเกล้า และเยี่ยมชมโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ศูนย์พัฒนาห้วยฮ่องไคร้

- ระหว่าง 13-15 ตุลาคม 2545 นายโฮเซ รามอส-ฮอร์ตา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือติมอร์-เลสเต เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อกระชับสัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทยกับติมอร์-เลสเต และเตรียมการเยือนของนายซานานา กุสเมา

- เมื่อ 20 พฤษภาคม 2545 ระหว่างการเข้าร่วมพิธีฉลองเอกราชของติมอร์-เลสเต ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ (ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือของติมอร์-เลสเต (นายโฮเซ รามอส-ฮอร์ตา) ได้ร่วมลงนามในปฏิญญาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ไทยได้ลงร่วมลงนามเป็นประเทศที่ 3 รองจากจีนและนอร์เวย์ ซึ่งเป็นการแสดงให้ติมอร์-เลสเตเห็นว่า ไทยให้ความสำคัญกับการมีความสัมพันธ์ทางการทูตตั้งแต่วันแรกที่ติมอร์-เลสเตเป็นประเทศเอกราช

- ประเทศไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศ ได้ใช้บทบาททางการทูตในการปูทางเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำและประชาชนชาวติมอร์-เลสเตมาโดยตลอด โดยได้เข้ามีบทบาทด้านการทูตภายหลังการเกิดความไม่สงบในการลงประชามติในการตัดสินใจส่งกองทหารไทยเข้าร่วมในกองกำลัง INTERFET ภายใต้คำขอของประธานาธิบดีอินโดนีเซียขณะนั้น และในฐานะประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee – ASC) ระหว่างปี 2542 – 2543 ในการประสานกับรัฐบาลอินโดนีเซียและสหประชาชาติ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในติมอร์-เลสเต นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้เชิญนายกุสเมา ในฐานะประธานพรรค CNRT เดินทางเยือนประเทศไทย ระหว่าง 1-4 กุมภาพันธ์ 2543 ในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ และเชิญนายโฮเซ รามอส-ฮอร์ตา ในฐานะรองประธานพรรค CNRT เข้าร่วมประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ ระหว่าง 10-15 กุมภาพันธ์ 2543 และนาย Sergio Vieira de Mello ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติประจำ UNTAET นายกุสเมาและนายรามอส-ฮอร์ตา เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting – AMM) ครั้งที่ 33 ระหว่าง 24-25 กรกฎาคม 2543 ที่กรุงเทพฯ ในฐานะแขกของประเทศไทย

- ด้วยเหตุผลข้างต้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและติมอร์-เลสเตดำเนินไปได้ด้วยดี ผู้นำติมอร์-เลสเตมีทัศนคติที่ดีต่อไทย นับตั้งแต่ไทยเข้าไปมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในติมอร์-เลสเต เมื่อปี 2542 โดยมีนายทหารไทยดำรงตำแหน่งสำคัญในกองกำลังรักษาสันติภาพ คือ พลตรี ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการกองกำลัง INTERFET พลโท บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลัง UNTAET ในช่วงกรกฎาคม 2543 – สิงหาคม 2544 และพลโท วินัย ภัททิยกุล ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลัง UNTAET/UNMISET ระหว่างกันยายน 2544 - สิงหาคม 2545 กองกำลังทหารไทยได้รับการยอมรับจากชาวติมอร์-เลสเตอย่างมาก โดยเฉพาะในกิจการด้านพลเรือนทหารซึ่งมุ่งเน้นการฝึกฝนให้ชาวติมอร์-เลสเตสามารถพึ่งตนเองได้

ความสัมพันธ์ทางการค้า
- การค้าระหว่างไทยกับติมอร์-เลสเตตั้งแต่ปี 2543-2547 มีมูลค่าการค้ารวมเฉลี่ยปีละ 4.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2547 มูลค่าการค้ารวม ได้แก่ 2.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้ดุล 2.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินค้าส่งออกสำคัญของไทย คือ ข้าว น้ำตาลทราย ข้าว รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
- สินค้าที่ไทยเคยนำเข้าจากติมอร์-เลสเต คือ ผ้าผืน เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องมือวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสิ่งพิมพ์ ทั้งนี้ ในปี 2548 ไทยไม่ได้นำเข้าสินค้าจากติมอร์-เลสเต (ข้อมูลกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)

การให้ความช่วยเหลือแก่ติมอร์-เลสเต
- ไทยให้ความช่วยเหลือแก่ติมอร์-เลสเตเป็นข้าวสาร จำนวน 202.5 ตัน (มูลค่า 2 ล้านบาท) เมื่อเดือนกันยายน 2542 และในระหว่างเข้าร่วมการประชุม AMM ครั้งที่ 33 นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มอบเงินช่วยเหลือ จำนวน 1 ล้านบาท (24,437 ดอลลาร์สหรัฐ) ในนามรัฐบาลไทยแก่นายกุสเมา สำหรับจัดซื้อเมล็ดพันธุ์และเครื่องมือทางการเกษตรตามที่ฝ่ายติมอร์-เลสเตเคยร้องขอไว้ นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้แสดงความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และการให้ทุนฝึกอบรมระยะสั้นในสาขาที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญ ในระหว่าง 15 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2545 กรมประมงได้ร่วมกับ JICA จะจัดการฝึกอบรมด้านประมงให้แก่เจ้าหน้าที่ติมอร์-เลสเตในไทย จำนวน 4 คน และในระหว่าง 4-8 มีนาคม 2545 ติมอร์-เลสเตส่งเจ้าหน้าที่อาวุโสประจำคณะรัฐมนตรีของรัฐบาล ชั่วคราวติมอร์-เลสเตสองคนมาดูงานที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

- มติจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 23 เมษายน 2545 อนุมัติให้รัฐบาลไทยมอบเงินจำนวน 18 ล้านบาท หรือประมาณ 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ กับติมอร์-เลสเต เพื่อนำไปช่วยเหลือในการจัดงานฉลองเอกราช นอกจากนี้ ในระหว่างการฉลองเอกราชติมอร์-เลสเต กระทรวงกลาโหมได้ส่งพลุและดอกไม้ไฟไปช่วย พร้อมกับได้ส่งสุนัขสงคราม ซึ่งมีความชำนาญในการตรวจวัตถุระเบิดไปช่วยรักษาความปลอดภัย จำนวน 2 ชุด

- รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้จัดให้ผู้นำท้องถิ่นติมอร์-เลสเต เดินทางมาศึกษาดูงานด้านการปกครองท้องถิ่น และโครงการตามพระราชดำริ ระหว่าง 20 สิงหาคม - 3 กันยายน 2545 โดยได้แยกไปศึกษาดูงานในจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเชียงราย และจังหวัดอุบลราชธานี

- ระหว่าง 26-30 พฤศจิกายน 2545 อธิบดีกรมวิเทศสหการได้นำคณะผู้แทนไทย (ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน) เดินทางไปศึกษาข้อมูลและหารือกับหน่วยงานของติมอร์-เลสเตเกี่ยวกับแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ

- เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2546 นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานมอบลูกวอลเลย์บอล 200 ลูก ลูกตะกร้อ 200 ลูก และลูกบาสเกตบอล 100 ลูก ให้กับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme – UNDP) เพื่อนำไปมอบต่อให้รัฐบาลติมอร์-เลสเต ในการแข่งขันกีฬาภายใน ในโอกาสการเฉลิมฉลองวันได้รับเอกราช 20 พฤษภาคม 2546

ในกรอบอาเซียน
- ไทยและอาเซียนบางประเทศ มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการรักษาสันติภาพในติมอร์-เลสเต โดยสนับสนุนให้มีการแก้ไขปัญหาติมอร์-เลสเตโดยสันติวิธี ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้ส่งทหารเข้าร่วมในกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ นอกจากนี้ อาเซียนได้เปิดโอกาสให้ติมอร์-เลสเตได้เข้าร่วมในพิธีเปิดและพิธีปิดของการประชุม AMM ครั้งที่ 33 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งผู้นำติมอร์-เลสเตได้ใช้เวทีดังกล่าวในการหารือ และสร้างความคุ้นเคยกับผู้นำอาเซียนประเทศต่างๆ ทั้งนี้ ผู้นำติมอร์-เลสเตแจ้งว่า ติมอร์-เลสเตสนใจที่จะสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อได้รับเอกราชแล้ว

- นายรามอส-ฮอร์ตา ได้แจ้งว่าติมอร์-เลสเตจะต้องการเวลาประมาณ 4-5 ปี ก่อนที่จะพร้อมสมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ในช่วงเวลานี้ ติมอร์-เลสเตอยากได้รับให้เป็นผู้สังเกตการณ์ถาวรในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับผู้นำอาเซียน ระบบและกลไกลต่างๆ ของอาเซียน

- อาเซียนเห็นชอบให้ติมอร์-เลสเตเข้าร่วมกิจกรรมของอาเซียนในสาขาที่สนใจ โดยยังไม่มีสถานะใดๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการสมัครเป็นสมาชิกภายในปี 2554 ทั้งนี้ ติมอร์-เลสเตกำหนดจะลงนามเป็นภาคีของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเดือนมกราคม 2550 ในระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียนที่ฟิลิปปินส์


ธันวาคม 2549

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองเอเชียตะวันออก 4 กรมเอเชียตะวันออก โทร. 0-2643-5209-10Fax. 0-2643-5208 E-mail : eastasian05@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์