ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> ตองกา




แผนที่
ราชอาณาจักรตองกา
Kingdom of Tonga


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง มหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนิวซีแลนด์
พื้นที่ 748 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะ 169 เกาะ เป็นเกาะที่ไม่มีคนอาศัยอยู่จำนวน 96 เกาะ แบ่งเกาะทั้งหมดเป็น 3 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะ Tongatapu หมู่เกาะ Haapai และหมู่เกาะ Vava’u มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 720,000 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวงกรุงนูกูอะโลฟา (Nuka’alofa) บนเกาะตองกาทาปู (Tongatapu) มีประชากรประมาณ 34,000 คน
ภูมิประเทศ เกาะหินประการัง และบางส่วนเป็นหินภูเขาไฟ
ภูมิอากาศ ร้อนชื้น (Tropical)
ประชากร 114,689 คน (2549)
เชื้อชาติ ชาวตองกันร้อยละ 98 อื่นๆ ร้อยละ 2
ศาสนา คริสต์
ภาษา ตองกัน และอังกฤษ
หน่วยเงินตรา Pa’anga (Tonga Dollar) 1 ดอลลาร์สหรัฐ ประมาณ 1.4715 ดอลลาร์ตองกา (2548)
วันชาติ 4 มิถุนายน 2513
GDP 224 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)
GDP Per Capita 2,193 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)
Real GDP Growth ร้อยละ 1.9 (2549)
อุตสาหกรรม มะพร้าวแปรรูป
สินค้าส่งออก ฟักทอง น้ำเต้า วานิลา ปลา เผือก มันเทศ
ตลาดส่งออก สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อิตาลี
สินค้านำเข้า อาหาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันเครื่องเคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ตลาดนำเข้า นิวซีแลนด์ ฟิจิ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ตองกามีความร่วมมือทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกับประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกด้วยกัน เช่น ฟิจิ ซามัว นาอูรู หมู่เกาะคุก ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ โดยในปี 2549 ตองกาจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ Pacific Islands Forum ซึ่งเป็นองค์กรในภูมิภาคแปซิฟิกที่สำคัญที่สุด นอกจากนี้ ตองกายังมีนโยบายที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันตองกามีสำนักงานผู้แทนทางการทูต 6 แห่ง คือ ลอนดอน ฮาวาย ซานฟรานซิสโก นิวยอร์ก ปักกิ่ง และซิดนีย์

เดิมตองกาเป็นประเทศแรกที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันเมื่อเดือนเมษายน 2515 ภายหลังที่ไต้หวันถูกขับออกจากสหประชาชาติแล้ว 1 ปี แต่ปัจจุบันตองกาได้เปลี่ยนมาเปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนและยึดถือนโยบายจีนเดียว ในขณะที่หลายประเทศในแปซิฟิกใต้ ได้แก่ ปาเลา ตูวาลู หมู่เกาะมาร์แชลล์ คีรีบาส หมู่เกาะโซโลมอน และนาอูรูยังคงมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน ตองกามีความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน และไทย

ตองกามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนิวซีแลนด์มาโดยตลอด เนื่องจากมีความผูกพันกันทางเชื้อชาติ ศาสนาและประวัติศาสตร์กับชนพื้นเมือง (ชาวเมารี) ส่งผลให้ตองกาได้รับอิทธิพลทางการเมืองและการปกครองจากนิวซีแลนด์เป็นอันมาก ผู้นำและผู้บริหารระดับสูงของตองกาหลายคนสำเร็จการศึกษาจากนิวซีแลนด์ และมีชาวตองกาจำนวนมากเข้าไปตั้งถิ่นฐานในนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังเป็นประเทศ ผู้บริจาครายใหญ่ของตองกา โดยเน้นให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาเป็นหลัก

นโยบายการต่างประเทศของตองกาคือ เป็นมิตรกับทุกประเทศ (friendship to all) โดยเน้นความร่วมมือด้านการพัฒนาและการค้ากับต่างประเทศ ตองกาเป็นสมาชิกเครือจักรภพและเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติเมื่อเดือนกันยายน 2542 แต่ไม่มีบทบาทเด่นชัด อนึ่ง ในระดับภูมิภาค ตองกามีบทบาทสำคัญในการผลักดันด้านการคมนาคม โทรคมนาคม และประมง โดยเฉพาะในเวที Pacific Islands Forum (PIF) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก 16 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี ตองกา ฟิจิ ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน ปาเลา หมู่เกาะมาร์แชลล์ วานูอาตู ไมโครนีเซีย คิริบาส นีอูเอ ตูวาลู หมู่เกาะคุกและนาอูรู มีเป้าหมายเพื่อกำหนดและดำเนินยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมความมั่นคง การปกครองและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศสมาชิก รวมทั้งกำหนดแนวทางร่วมกันของประเทศสมาชิกในเวทีระหว่างประเทศ

การเมืองการปกครอง
รูปแบบการปกครอง ระบบรัฐสภา ระบบสภาเดี่ยว ประกอบด้วยสมาชิก 3 กลุ่ม คือ
(1) คณะรัฐมนตรี คัดเลือกและแต่งตั้งโดยกษัตริย์ ดำรงตำแหน่งจนกระทั่งเกษียณอายุ
(2) ผู้แทนขุนนาง (Noble MPs) คัดเลือกโดยกลุ่มขุนนาง
(3) ผู้แทนสามัญชน (Commoner MPs) มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ประมุขรัฐ สมเด็จพระราชาธิบดี George Tupou V (สืบราชบัลลังก์ต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดี Taufa'ahau Tupou IV พระชนมายุ 87 พรรษา ซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2549) นายกรัฐมนตรี Honourable Dr. Feleti (Fred) Sevele
รัฐมนตรีต่างประเทศ Mr. Sonatane Tu’akinamalohi Taumoepeau -Tupou
การเลือกตั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2548 (ค.ศ. 2005) ครั้งต่อไปกำหนดให้มีขึ้นในปี 2552 (ค.ศ. 2009)
สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ตองกาอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น โดยจุดหักเหสำคัญคือการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเจ้าชายอูลูกาลาลา ลาวากา อาตา (His Royal Highness Prince ‘Ulukalala Lavaka Ata) พระโอรสองค์เล็กของสมเด็จพระราชาธิบดี Taufa’ahua Tupou IV เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 โดยมกุฎราชกุมาร Tupouto’a (His Royal Highness Crown Prince Sia'osi Taufa'ahau Manumata'ogo Tuku'aho Tupou) ในฐานะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (Prince Regent) ได้ทรงแต่งตั้งนาย Feleti (Fred) Sevele ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พาณิชย์ และอุตสาหกรรมในขณะนั้น เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีแทน การแต่งตั้งนาย Sevele ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องประชาธิปไตย ได้รับการวิจารณ์ว่าจะช่วยส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยในตองกาให้ก้าวหน้ารวดเร็วยิ่งขึ้น

ประชาชนชาวตองกามีการเรียกร้องประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปี 2529 และบ่อยครั้งที่รัฐบาลไม่ได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการเงินและการขายหนังสือเดินทางให้แก่ชาวต่างชาติ นอกจากนี้ เจ้าชายอูลูกาลาลา ลาวากา อาตา ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการบริหาร โดยเฉพาะกรณีสายการบิน Royal Tongan Airlines ซึ่งพระองค์ทรงเป็นประธาน ประสบภาวะล้มละลายในปี 2547 และการที่พระองค์เสด็จฯ ต่างประเทศเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจในปี 2547 อนึ่ง เจ้าชายอูลูกาลาลา ลาวากา อาตา ทรงไม่ได้ให้เหตุผลต่อการลาออกจากตำแหน่งในครั้งนี้ แต่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าพระองค์ไม่มีพระประสงค์ที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น และไม่ทรงชื่นชอบการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี

แม้ว่าการเมืองตองกาจะมีแนวโน้มเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่รัฐบาลยังคงประสบปัญหาขัดแย้งกับสมาคมข้าราชการ ซึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลปรับขึ้นเงินเดือน รวมทั้งการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชาย Tu’ipelehake ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการรัฐสภาด้านการปฏิรูปการปกครอง จากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2549 จึงคาดว่ากระบวนการปฏิรูปการเมืองจะยังคงล่าช้าต่อไป

เศรษฐกิจการค้า
ภาพรวม
ตองกาเป็นประเทศหนึ่งในแปซิฟิกใต้ที่มีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ เศรษฐกิจของตองกายังคงพึ่งพาสินค้าเกษตรเป็นหลัก สินค้าออกที่สำคัญและทำรายได้อันดับ 1 คือ ฟักทอง (squash pumpkins ซึ่งส่วนใหญ่ส่งไปขายที่ญี่ปุ่น) เนื้อมะพร้าวตากแห้ง สินค้าอื่น ๆ ทำจากมะพร้าว วนิลา และพืชประเภทรากไม้ต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมที่ทำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับที่ 2 ได้แก่ การท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ในปี 2548 การส่งออกฟักลดลงกว่า 1,000 ตัน และเกษตรกรไม่ได้รับเงินค่าจ้างตรงตามเวลา ด้วยเหตุนี้ ผู้แทนการค้าตองกาจึงได้พยายามแสวงหาตลาดใหม่เฉพาะอย่างยิ่งในเกาหลีใต้

ตองกายังคงพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ การท่องเที่ยว และเงินจากแรงงานในต่างประเทศ (remittances) ซึ่งมีอัตราร้อยละ 20 ของ GDP ปัจจุบันประชากรชาวตองกากว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกา ประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือที่สำคัญคือ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ (ออสเตรเลีย ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและให้ทุนการศึกษานิวซีแลนด์ ส่งเสริมการพัฒนาภาคเอกชน และให้ทุนการศึกษา)

ตองกาได้จัดตั้งธนาคารแห่งชาติชื่อว่า The Reserve Bank โดยแยกหน้าที่จาก Bank of Tonga เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งทำให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปดีขึ้นมาก ปัญหาด้านการเงินคือชาวตองกาได้รับการปล่อยสินเชื่อจากธนาคารน้อยมาก เนื่องจากมีกลไกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยที่เข้มงวด ประเทศที่มีความสำคัญทางการค้าของตองกา คือ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยเฉพาะญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งสินค้าออกที่ใหญ่ที่สุดของตองกา ส่วนสินค้าเข้าของ ตองกาส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำพวกอาหารตองกาไม่มีทรัพยากรแร่ธาตุที่สำคัญ แต่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเลที่กว้างใหญ่ ซึ่งเหมาะแก่การประมงน้ำลึก อย่างไรก็ดี ในปี 2517 ตองกาได้พัฒนาโครงการสำรวจแหล่งน้ำมันในทะเล และในปัจจุบันได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นด้วย

ตองกาได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ( WTO) เมื่อเดือนธันวาคม 2548 โดยมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรเอกชน Oxfam ว่า ตองกาจะเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาลจากข้อกำหนดในการเป็นสมาชิก ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกรและธุรกิจขนาดเล็กในประเทศ

สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน
ตองกาจำเป็นต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางการเงินจากจีนอย่างมาก ที่ผ่านมา จีนได้ให้เงินกู้จำนวน 31 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อรัฐบาลสามารถซื้อธุรกิจพลังงานของประเทศคืน และอีกประมาณ 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังประสบอยู่ รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการ โดยการลดจำนวนข้าราชการ การยุบและรวมกระทรวง การขายทรัพย์สิน และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

สถิติการค้าไทย-ตองกา (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี มูลค่าการค้า ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า
2544(2001) 5.6 5.5 0.1 5.4
2545(2002) 0.9 0.9 0 0.9
2546(2003) 0.8 0.7 0.1 0.6
2547(2004) 0.9 0.8 0.1 0.7
2548(2005) 2.7 2.7 0 2.7
หมายเหตุ ข้อมูลจากเวปไซด์กระทรวงพาณิชย์

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรตองกา
1. ความสัมพันธ์ทั่วไป
ไทยกับตองกาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2537 (ค.ศ. 1994) และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาโดยตลอด โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน มีเขตอาณาคลุมตองกา เอกอัครราชทูตคนปัจจุบัน คือ นายอุ้ม เมลานนท์
ตองกาให้ความเป็นมิตรและพยายามกระชับความสัมพันธ์กับไทย เนื่องจากไทยจะเป็นประเทศที่มีการพัฒนาที่ก้าวหน้า มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และไม่เคยเป็นอาณานิคมตะวันตกเช่นเดียวกันกับตองกา ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาไทยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ตองกา 2 ครั้งคือ กรณีพายุไซโคลน Weka ปี 2545 บริจาคเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ และกรณีพายุ Heta ปี 2547 บริจาคเงิน 20,000 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ขณะที่ตองกาเป็นประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ประเทศเดียวที่บริจาคเงินช่วยเหลือไทยกรณีสึนามิจำนวน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ และให้การสนับสนุนไทยในเวทีระหว่างประเทศมาโดยตลอด

2. เศรษฐกิจและการค้า
การค้าระหว่างไทยและตองกายังมีปริมาณไม่มากนัก แต่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2548 โดยการค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 219 โดยไทยส่งออกสินค้าไปยังตองกาเกือบทั้งหมด ไทยนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ไทยนำเข้าสินค้าจากตองกามีมูลค่าเพียง 1,416 ดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ รถยนต์และส่วนประกอบ

3. ความช่วยเหลือและความร่วมมือทางวิชาการ
ความช่วยเหลือทางวิชาการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่มีผู้แทนตองกาเข้ามารับการฝึกอบรมในไทย อย่างไรก็ตาม จากผลการหารือระหว่างเจ้าชายอูลูกาลาลา ลาวากา อาตา นายกรัฐมนตรี กับนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2548 ฝ่ายตองกาได้แสดงความสนใจที่จะเรียนรู้จากไทยในเรื่องการประมงชายฝั่งและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งในเรื่องนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทยและสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) พร้อมให้การสนับสนุน โดยมีโครงการจะจัดการฝึกอบรมด้านประมงชายฝั่งให้แก่ตองกาและกลุ่มประเทศสมาชิก Pacific Islands Forum ในปี 2549

4. ความตกลงที่ทำกับไทย
อยู่ระหว่างรอการลงนามความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ

5. การเยือนของผู้นำระดับสูง
ฝ่ายไทยเยือนตองกา
ระดับพระราชวงศ์
- ปี 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนตองกาอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 19 - 21 เมษายน 2539
ระดับรัฐบาล
- ปี 2537 นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศนำคณะเยือนปาปัวนิวกินี ฟิจิ ตองกา และนิวซีแลนด์ระหว่างวันที่ 9-21 สิงหาคม 2537 โดยในการเยือนตองการะหว่างวันที่ 15 - 17 สิงหาคม 2537 คณะได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ Taufa’ahau Tupou IV และเยี่ยมคารวะ Dr. S. Laugi Kavaliku รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการการโยธา และการบินพาณิชย์ นาย J. C. Cocker รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง Dr. S.Ma’afu Tupou รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ และนาย Totoatasi Fakafanua รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พาณิชย์และอุตสาหกรรม

ฝ่ายตองกาเยือนไทย
ระดับพระราชวงศ์
- ปี 2523 เจ้าชาย Tupouto’a มกุฎราชกุมารแห่งตองกาเสด็จเยือนไทยเพื่อบรรยายสรุปในที่ประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคม สำหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific—ESCAP) และในโอกาสนี้ได้พบหารือกับ พล อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2523
- ปี 2533 สมเด็จพระราชินี Halaevalu Mata’aho เสด็จเยือนไทยในฐานะแขกพิเศษของสมาคมสตรีภาคพื้นแปซิฟิกและเอเชียอาคเนย์ (The Pan Pacific and Southeast Asia Women’s Association – PPSEAWA) ณ สวนสามพราน ระหว่างวันที่ 4 - 11 พฤศจิกายน 2533 โดยในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2533 สมเด็จพระราชินีแห่งตองกาได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นการส่วนพระองค์ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ของขวัญที่พระราชินีตองกาถวายเป็นภาชนะหวายถัก 3 ชิ้นใหญ่ ซึ่งเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของตองกา สถานที่ที่พระราชินีเสด็จเยือนได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่บ้านพักรถไฟ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดญาณสังวราราม โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง พระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม
- ปี 2549 เจ้าชาย Tupouto’a มกุฎราชกุมารแห่งตองกาทรงเป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชาธิบดี Taufa'ahau Tupou IV เสด็จเยือนไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
ระดับรัฐบาล
- ปี 2548 เจ้าชายอูลูกาลาลา ลาวากา อาตา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการบินพลเรือน เสด็จเยือนไทยระหว่างวันที่ 22 - 28 เมษายน 2548 และในโอกาสนี้ได้พบหารือกับนายนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

กองแปซิฟิกใต้
กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
วันที่ 22 สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแปซิฟิกใต้ กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5000 ต่อ 3034 Fax. 0-2643-5119 E-mail : nidthas@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์