ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> สหราชอาณาจักร




แผนที่
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland


 
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตะวันตกเฉียงเหนือของภาคพื้นทวีปยุโรป

พื้นที่ 242,514 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงลอนดอน

ภูมิประเทศ เป็นเกาะ ยาวประมาณ 1,000 กม. กว้างประมาณ 500 กม.

ภูมิอากาศ อากาศเย็นสบาย อุณหภูมิเฉลี่ย 8°C ฝนตกตลอดปี

ประชากร 60.77 ล้านคน

กลุ่มชนชาติ อังกฤษ สกอต เวลส์ ไอริช เอเชียใต้ และอื่นๆ

ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ

ศาสนา คริสตศาสนา

สกุลเงิน ปอนด์สเตอร์ลิง

อัตราแลกเปลี่ยน ประมาณ 70 บาท = 1 ปอนด์สเตอร์ลิง

วันชาติ 14 มิถุนายน

ระบบการเมือง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ประมุข พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2495)

นายกรัฐมนตรี นายกอร์ดอน บราวน์

รัฐมนตรีต่างประเทศ นายเดวิด มิลิแบนด์

อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ประมาณร้อยละ 2.8

อัตราเงินเฟ้อ ประมาณร้อยละ 3

อัตราการว่างงาน ประมาณร้อยละ 2.9

ประเทศคู่ค้าสำคัญ สหรัฐฯ เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม

มูลค่าการส่งออก 468.8 พันล้านดอลาร์สหรัฐ

มูลค่าการนำเข้า 603 พันล้านดอลาร์สหรัฐ

สินค้าออกสำคัญ สินค้าอุตสาหกรรม เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ

สินค้าเข้าสำคัญ สินค้าอุตสาหกรรม เครื่องจักรกล เชื้อเพลิง อาหาร

ทรัพยากรธรรมชาติน้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน เหล็ก ดีบุก

การเมืองการปกครอง
สถาบันทางการเมือง
สหราชอาณาจักรมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีกษัตริย์ (สมเด็จพระราชินีนาถ) เป็นประมุข สหราชอาณาจักรไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญแบบเรียงลำดับมาตรา แต่ใช้พระราชบัญญัติและกฎหมายจารีตประเพณีในการบริหารประเทศ รัฐสภาทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติ และในทางปฏิบัติ เป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดของประเทศ ฝ่ายบริหารประกอบด้วยรัฐบาล (คณะรัฐมนตรี) หน่วยงานทางราชการ หน่วยงานบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระ และหน่วยงานที่อยู่ในความดูแลของ รัฐมนตรี ฝ่ายตุลาการกำหนดกฎหมายและตีความจารีตประเพณี

สมเด็จพระราชินีนาถทรงเป็นประมุขฝ่ายบริหาร ทรงมีบทบาทสำคัญด้านนิติบัญญัติ ทรงเป็นประมุขฝ่ายตุลาการ ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารรักษาพระองค์ และทรงเป็น ”ผู้บริหารสูงสุด” ของคริสตจักรแห่งอังกฤษ

นับตั้งแต่การบริหารของอดีตนายกรัฐมนตรีโทนี่ แบลร์ ได้มีนโยบายส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แคว้นต่าง ๆ มากขึ้น โดยเมื่อปี 2540 รัฐบาลได้จัดให้มีการลงประชามติในแคว้นสก๊อตแลนด์ และเวลส์ และต่อมา ในปี 2542 ได้มีรัฐสภาเป็นของตนเอง และมีการจัดตั้งรัฐบาลของตนเอง ซึ่งมีอำนาจในการกำหนดนโยบายด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านการบริหารแคว้น ด้านการพัฒนา ด้านกิจการภายในเป็นของตนเอง ส่วนอำนาจด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการต่างประเทศอยู่ภายใต้รัฐบาลกลางสหราชอาณาจักร

รัฐสภา
อำนาจทางนิติบัญญัติของรัฐสภาสหราชอาณาจักรประกอบด้วย 3 ส่วน คือ สมเด็จพระราชินีนาถ สภาสามัญหรือสภาผู้แทนราษฎร และสภาขุนนาง โดยการประชุมของทั้ง 3 ส่วนมีขึ้นเฉพาะในโอกาสทางพิธีการ อาทิ พระราชพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภา ทั้งนี้ รัฐสภาสหราชอาณาจักรมีหน้าที่ในการออกกฎหมาย ตรวจสอบนโยบายและการบริหารงานของรัฐบาล และเปิดอภิปรายในกระทู้สำคัญ รัฐสภาแต่ละชุดจะมีอายุไม่เกิน 5 ปี มีช่วงสมัยประชุมคราวละ 1 ปี โดยเริ่มต้นและสิ้นสุดในเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน โดยมีช่วงพักการประชุมในเวลากลางคืน ช่วงสุดสัปดาห์ เทศกาลคริสต์มาส เทศกาลอีสเตอร์ วันหยุดธนาคารในปลายฤดูใบไม้ร่วง และวันหยุดยาวในฤดูร้อน (ประมาณปลายเดือนกรกฎาคม) ทั้งนี้ การประชุมสภาสามัญมีสมัยประชุมเฉลี่ย 148 วัน และการประชุมสภาขุนนางมีสมัยประชุมเฉลี่ย 152 วัน โดยในการเปิดสมัยประชุมทุกครั้ง สมเด็จพระราชินีนาถจะทรงมีพระราชดำรัสเปิดสมัยประชุมรัฐสภา โดยจะทรงกล่าวถึงนโยบายของรัฐบาล และการเสนอร่างกฎหมาย และจะทรงมีพระราชเสาวนีย์ปิดสมัยประชุม รัฐสภาจะมีช่วงปิดสมัยประชุมเพียง 3 – 4 วัน ก่อนเริ่มสมัยประชุมต่อไป และจะเป็นการยุติกระบวนการทางนิติบัญญัติของสมัยประชุมนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎมายที่ไม่สามารถผ่านการพิจารณาก่อนสิ้นสุดสมัยประชุมจะตกไป ยกเว้นว่าฝ่ายค้านเห็นพ้องจะให้พิจารณากฎหมายต่อในสมัยต่อไป

สภาสามัญหรือสภาผู้แทนราษฎร (House of Commons) ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 645 คน จากการเลือกคั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2548 มีคณะกรรมาธิการต่างๆ 40 คณะ ที่สำคัญคือ คณะกรรมาธิการต่างประเทศ คณะกรรมาธิการด้านการช่วยเหลือการพัฒนาระหว่างประเทศ คณะกรรมาธิการด้านการคลัง

สภาขุนนาง (House of Lords) ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 700 คน มาจากการแต่งตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ (พรรคแรงงาน 196 คน พรรคอนุรักษ์นิยม 171 คน พรรค Liberal Democrat 60 คน) และจากการสืบทอดตำแหน่ง และตัวแทนศาสนา คณะกรรมาธิการต่างๆ ของสภาขุนนางประกอบด้วย 9 คณะกรรมาธิการ ที่สำคัญมี อาทิ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป คณะอนุกรรมาธิการย่อยตามสาขาต่างๆ เช่น เศรษฐกิจการคลัง การพลังงาน อุตสาหกรรมและคมนาคม นโยบายต่างประเทศและการป้องกันประเทศ

รัฐบาล
รัฐบาลสหราชอาณาจักรประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างๆ ที่รับผิดชอบดูแลกิจการของประเทศ สมเด็จพระราชินีนาถทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (หัวหน้าพรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกสภาสามัญที่ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด) และทรงแต่งตั้งรัฐมนตรีไม่เกิน 20 คน ตามการถวายคำแนะนำจากนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีส่วนใหญ่มาจากสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีสามารถมาจากสภาขุนนางได้ ทั้งนี้ตำแหน่ง The Lord of Chancellor (รับผิดชอบงานด้านกฎหมาย) จะมาจากสภาขุนนางการปกครองส่วนท้องถิ่น

การปกครองส่วนท้องถิ่นในอังกฤษและเวลส์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับ County (เทียบเท่าจังหวัด) มี 53 จังหวัด ระดับ District (เทียบเท่าอำเภอ) มี 369 อำเภอ และระดับ Parish (ในอังกฤษ) และ Community (ในเวลส์) การปกครองส่วนท้องถิ่นในสก๊อตแลนด์ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับภาค (Region) และการปกครองในเขตต่างๆ อีก 3 แห่ง ระดับ District 53 แห่ง และระดับ Community ส่วนไอร์แลนด์เหนือ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับ County 6 แห่ง ระดับ District 26 แห่ง การปกครองท้องถิ่นดังกล่าวมาข้างต้นปกครองโดยสภาเทศบาล (council) ซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทุก 4 ปี

การปกครองส่วนท้องถิ่นสหราชอาณาจักรเป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย โดยใช้ระบบเลือกตั้งเทศมนตรี และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจะมีการสำรวจความคิดเห็น จัด roadshow หรือการแสดงประชามติ ในการบริหารงานส่วนท้องถิ่น

สถานการณ์การเมือง
พรรคแรงงานภายใต้การนำของนายโทนี แบลร์(Mr. Tony Blair) นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรในขณะนั้นได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2548 โดยถือว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่พรรคแรงงานสามารถกลับเข้าบริหารประเทศได้เป็นสมัยที่สามติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม เสียงข้างมากที่พรรคแรงงานเคยได้รับอย่างท่วมท้นเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2544 ลดลงอย่างมาก เนื่องจากการตัดสินใจเข้าร่วมสงครามอิรักของสหราชอาณาจักรโดยมีข่าวกรองที่ผิดพลาด ซึ่งประเด็นนี้เป็นที่โจมตีของพรรคอื่นๆ และมีชาวอังกฤษจำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วมสงครามดังกล่าว
นายโทนี แบลร์ด้ประกาศล่วงหน้าไว้เมื่อเดือนกันยายน 2549 ว่า จะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายในหนึ่งปี เนื่องจากได้รับแรงกดดันภายในพรรคแรงงาน และการเสื่อมความนิยมจากประชาชนจากการที่นำสหราชอาณาจักรร่วมปฏิบัติการทางทหารในอิรัก โดยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2550 นายโทนี แบลร์ ได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองเพื่อกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และต่อมาพระราชทานพระราชวโรกาสให้นายกอร์ดอน บราวน์ (Mr. Gordon Brown) เข้าเฝ้าฯ เพื่อรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบแทน
นายกอร์ดอน บราวน์ ได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยปรับลดลงจาก 23 เป็น 22 คน โดยได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ได้แก่ การแต่งตั้งนางแจ๊กกี้ สมิธ (Mrs. Jacqui Smith) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่เป็นสตรีคนแรก นายเดวิด มิลิแบนด์ (Mr. David Miliband) (อายุ 42 ปี) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวอายุน้อยที่สุดในรอบ 30 ปี และอายุน้อยที่สุดลำดับที่สองในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร และนายอลิสแตร์ ดาร์ลิง (Mr. Alistair Darling) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ผ่านการปฏิบัติงานในตำแหน่งรัฐมนตรีมาหลายกระทรวง ทั้งนี้ มีเพียงนายเดส บราวน์ (Mr. Des Browne) จากรัฐบาลชุดที่แล้ว ที่ยังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมต่อจากคณะรัฐมนตรีของนายโทนี แบลร์
นโยบายที่สำคัญของรัฐบาลของนายกอร์ดอน บราว์น มีดังนี้
- ด้านสาธารณสุข จัดทำแผนในการพัฒนาการบริการด้านสาธารณสุข โดยขยายเวลาการให้บริการในวันหยุด และนอกเวลาทำการ เพื่อให้ประชาชนสามารถรับบริการทางแพทย์ที่ดีได้ตลอดเวลา รวมทั้งปรับปรุงมาตรการจูงใจในการทำงานนอกเวลาแก่แพทย์ประจำสถานพยาบาล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและไว้วางใจในการบริการ
- การศึกษา พัฒนาให้สหราชอาณาจักรเป็นศูนย์กลางการศึกษาระดับโลก โดยเน้นการเพิ่มขีดความสามารถ และพัฒนาทักษะของเยาวชน โดยจะจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังควบคุมนโยบายการสอนของครูให้มีความเข้มงวด รวมทั้งจะสนับสนุนงบประมาณแก่โรงเรียนรัฐบาล เพื่อจูงใจครูที่มีคุณภาพจากโรงเรียนเอกชนมาทำงานในโรงเรียนรัฐ
- การเคหะ สนับสนุนให้ภาครัฐลดการถือครองที่ดินและเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ง่ายขึ้น ในรูปของการถือหุ้นร่วมกับภาครัฐ
- การต่อต้านการก่อการร้าย เพิ่มอำนาจที่จะรับมือกับกลุ่มก่อการร้าย โดยจะเสนอร่างกฎหมายใหม่ต่อรัฐสภาเพื่อขยายเวลาการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยโดยไม่มีการแจ้งข้อหาจาก 28 วันเป็น 90 วัน การอนุญาตให้ตำรวจสอบปากคำผู้ต้องสงสัยได้หลังถูกตั้งข้อหา และการอนุญาตให้ใช้หลักฐานจากการดักฟังในชั้นศาล
- การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ยังคงให้ความสำคัญกับปัญหาการเปลี่ยน แปลงสภาวะอากาศ และผลักดันให้เป็นประเด็นระดับนานาชาติด้วย ซึ่งสำหรับสหราชอาณาจักรได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ให้ได้ร้อยละ 20 ภายในปี 2555

นโยบายด้านการต่างประเทศ
นายบราวน์แต่งตั้งนายเดวิด มิลิแบนด์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสืบแทนนางมาร์กาเร็ต เบ็คเคตท์ (Mrs. Magaret Beckett) โดยนายเดวิด มิลิแบนด์ ไม่เคยทำงานในกระทรวงการต่างประเทศ แต่มีประสบการณ์ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม จึงสะท้อนให้เห็นว่านายบราวน์ให้ความสำคัญลำดับต้นต่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของสหราชอาณาจักรในปัจจุบัน ทั้งนี้ ในภาพรวม รัฐบาลชุดนี้ยังคงสนับสนุนการดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐบาลชุดเก่า ดังนี้
- ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรยังให้ความสำคัญแก่สหรัฐอเมริกา แต่มีแนวโน้มว่าจะไม่ใกล้ชิดเท่ากับรัฐบาลของนายโทนี แบลร์
- อิรัก สนับสนุนการทำสงครามในอิรัก แม้ว่ากรณีนี้เคยเป็นประเด็นที่ทำให้รัฐบาลของนายโทนี แบลร์ สูญเสียความนิยมไปก็ตาม อย่างไรก็ดี นายบราวน์ ยังคงยืนยันว่าจะทบทวนเรื่องระยะเวลาการคงกำลังทหารอังกฤษจำนวน 5,500 นายไว้ในอิรัก โดยจะพิจารณาอย่างอิสระไม่ขึ้นกับนโยบายของสหรัฐฯ
- อัฟกานิสถาน สหราชอาณาจักรได้เพิ่มกำลังทหารในอัฟกานิสถานเป็น 8,000 นายแล้ว และคาดว่านายบราวน์ จะยังคงให้การสนับสนุนการดำเนินการทางทหารเพื่อต่อต้าน Taleban และ Al-Qaeda อย่างแข็งขันต่อไป
- การต่อต้านการก่อการร้ายสากล ดำเนินการอย่างเข้มแข็ง ทั้งในแง่กฎหมายภายในประเทศ และการสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย และจะสนับสนุนการดำเนินการทั้งทางทหาร ความมั่นคง ข่าวกรอง และวัฒนธรรม
- อิหร่าน สนับสนุนการคว่ำบาตรของสหประชาชาติต่ออิหร่านที่ดำเนินกิจกรรมในการพัฒนาด้านนิวเคลียร์ และย้ำว่า สหราชอาณาจักรสนับสนุนการดำเนินการโดยสันติวิธีในกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ แต่ไม่จำกัดตนเองในการดำเนินการทางทหาร ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก

เศรษฐกิจการค้า
เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรชะลอตัวลงตั้งแต่ปี 2544 เนื่องจากผลกระทบจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลก การแข็งค่าของเงินปอนด์ และสภาวะ "ฟองสบู่แตก” ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิต และการส่งออก แม้กระนั้น เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรยังอยู่ในสภาวะที่แข็งแกร่งกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป โดยสหราชอาณาจักรมีอัตราเงินเฟ้อ ดอกเบี้ย และการว่างงานที่ต่ำ ซึ่งทำให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรมีความยากลำบากที่จะใช้เป็นข้ออ้างในการผลักดันให้สหราชอาณาจักรเข้าร่วมสหพันธ์เศรษฐกิจและการเงินยุโรป

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ

ความสัมพันธ์ทางการเมืองไทย-สหราชอาณาจักร
ไทยกับสหราชอาณาจักรสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398 ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างกันดำเนินไปอย่างราบรื่นบนพื้นฐานมิตรภาพทั้งในกรอบทวิภาคี และกรอบความร่วมมือพหุภาคี การแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นและกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของความร่วมมือมากยิ่งขึ้น โดยเมื่อปี 2541 ได้มีการลงนามในแผนปฏิบัติการความสัมพันธ์ไทย-สหราชอาณาจักร (Thailand-UK Action Agenda) ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือในทุกด้านทั้งทวิภาคีและพหุภาคี ซึ่งในระหว่างการเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2548 ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องให้มีการปรับปรุงแผนดังกล่าวเป็นแผนปฏิบัติการร่วมไทย - สหราชอาณาจักร (Joint Plan of Action) เพื่อให้แผนฯ มีความทันสมัยและปรากฏผลความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยขณะนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการยกร่างแผนฯ

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

การค้า
การค้า
สหราชอาณาจักรเป็นคู่ค้าจากยุโรป อันดับที่ 2 ของไทย (รองจากเยอรมนี) ในขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 30 ของสหราชอาณาจักร ในปี 2549 ไทยส่งออกไปสหราชอาณาจักร เป็นมูลค่า 3,401.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 21.32 และนำเข้า 1,290.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 0.77 สินค้าส่งออกของไทยไปสหราชอาณาจักร คือ รถยนต์ รถปิกอัพ ไก่แปรรูป อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน อัญมณีและเครื่องประดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนสินค้าสำคัญที่นำเข้าจากสหราชอาณาจักร คือ เครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ น้ำแร่และวิสกี้ ยาและเวชภัณฑ์

การลงทุน
สหราชอาณาจักรเป็นประเทศจากยุโรปที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด จากสถิติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2543-2548) มีโครงการลงทุนจากสหราชอาณาจักรที่ได้รับการส่งเสริมผ่าน BOI ทั้งสิ้น 224 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวม 123,300 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการในสาขาบริการและสาธารณูปโภค (โดยเฉพาะการสนับสนุนการค้าและการลงทุน และกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า) รองลงมา ได้แก่ สาขาอิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนจากสหราชอาณาจักร ได้แก่ ยานยนต์ (ชิ้นส่วนยานยนต์) ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร และสินค้าเกษตร ส่วนการลงทุนของไทยในสหราชอาณาจักร ได้แก่ กิจการร้านอาหารไทย ซึ่งมีประมาณ 900 ร้านทั่วสหราชอาณาจักร ธุรกิจโรงแรมของบริษัท Landmark Hotel Group และเครื่องดื่มของบริษัท Siam Winery Trading

การท่องเที่ยว
สหราชอาณาจักรเป็นตลาดนักท่องเที่ยวที่สำคัญของไทย มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาไทยสูงเป็นอันดับ 1 ของนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรป และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (มีอัตราเติบโตเฉลี่ย ร้อยละ 10.36 ต่อปี ในช่วง 16 ปีที่ผ่านมา) ในปี 2549 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษเดินทางมาไทยจำนวน 850,685 คน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.93 ส่วนนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวในสหราชอาณาจักรในปี 2548 มีจำนวน 53,807 คน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.34

การศึกษา
ไทยและสหราชอาณาจักรมีประวัติความร่วมมือด้านการศึกษาที่ยาวนาน มีความร่วมมือในระดับสถาบันการศึกษาในทุกระดับอย่างกว้างขวาง สถาบัน British Council ในประเทศไทยเป็นหน่วยงานหลักของฝ่ายสหราชอาณาจักรที่ได้มีโครงการความร่วมมือด้านการศึกษาต่างๆ กับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องของไทย
ปัจจุบันมีนักศึกษาไทยในสถาบันการศึกษาในสหราชอาณาจักรมากกว่า 4,400 คน มีนักเรียนที่รับทุนการศึกษาจากสหราชอาณาจักรประมาณ 400 คน กระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักรได้ให้ทุนการศึกษา Chevening Scholarship แก่นักศึกษาไทยให้ไปศึกษาในสหราชอาณาจักรในระดับอุดมศึกษาเป็นประจำทุกปี


ความตกลงทวิภาคีที่สำคัญระหว่างไทย-สหราชอาณาจักร

1. ความตกลงว่าด้วยบริการเดินทางอากาศ ลงนามเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2493 (แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2520 และเมื่อเดือนมิถุนายน 2522) ปัจจุบันฝ่าย สหราชอาณาจักรได้เสนอที่จะให้มีการปรับปรุงบางข้อบท และฝ่ายไทยกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา

2. หนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยว่าด้วยสิทธิพิเศษที่ให้แก่ผู้เชี่ยวชาญภายใต้โครงการความร่วมมือตามแผนโคลัมโบ (แลกเปลี่ยนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2505) ซึ่งคาดว่าการให้สิทธิพิเศษผู้เชี่ยวชาญฯ จะมีน้อยลงเนื่องจากสหราชอาณาจักรได้ยุติการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ไทยในปี 2543

3. ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ลงนามเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2521 ปัจจุบันมีบริษัทมาขอรับการคุ้มครองภายใต้ความตกลงฯ น้อย เนื่องจากเห็นว่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะทำให้ได้รับเงื่อนไขที่ดีกว่า

4. อนุสัญญาว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีที่เก็บจากเงินได้ ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2524 ซึ่งมีช่วยเหลืออย่างมากให้ภาคธุรกิจของประเทศทั้งสองไม่ต้องแบกรับภาระภาษีเกินความจำเป็นในการประกอบธุรกิจระหว่างกัน ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการเจรจาทบทวนอนุสัญญาดังกล่าว

5. ความตกลงว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา ลงนามเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2533 ซึ่งฝ่ายสหราชอาณาจักรได้มีการใช้ประโยชน์จากความตกลงฯ โดยขอให้มีการโอนตัวนักโทษสหราชอาณาจักรกลับไปรับโทษที่สหราชอาณาจักรอยู่เป็นระยะ ๆ

6. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุง ลงนามเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2536 ซึ่งครอบคลุมไม่เพียงแต่ในเรื่องการส่งกำลัง การซ่อมบำรุง แต่ยังรวมถึงความร่วมมือทางทหารในด้านอื่น ๆ เช่น การฝึก การวิจัยร่วม การถ่ายโอนเทคโนโลยี เป็นต้น และปัจจุบันกองทัพของทั้งสองประเทศก็มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด

7. ความตกลง 3 ฝ่าย ระหว่างรัฐบาลไทย-สหราชอาณาจักร-กัมพูชา ว่าด้วยการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างปอยเปตกับคลองลึก ลงนามเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2537 โดยเป็นการใช้เงินของสหราชอาณาจักรร่วมกับกำลังทหารของไทยในการสร้างสะพานให้กัมพูชา ซึ่งได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว

8. ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งและดำเนินการสถานีถ่ายทอดวิทยุของบริษัทกระจายเสียงของสหราชอาณาจักร (BBC) ในประเทศไทย ลงนามเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2537 ปัจจุบันสถานีวิทยุดังกล่าวได้ดำเนินการกระจายเสียงแล้ว

9. สนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญา ลงนามเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2537 และได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกัน เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540

สิงหาคม 2550

เรียบเรียงโดย กองยุโรป 1 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5145 Fax. 0 2643 5146 E-mail : european02@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์