|
แผนที่
|
สหรัฐอเมริกา United States of America
|
|
ประเทศสหรัฐอเมริกา
( The United States of America )
ที่ตั้ง : ทวีปอเมริกาเหนือ โดยมีมลรัฐ Alaska อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา และ มีมลรัฐฮาวายอยู่ทางตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก
เนื้อที่ : มีเนื้อที่ประมาณ 9,631,418 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากรัสเซียและแคนาดา
อาณาเขตติดต่อ : ทิศเหนือ ติดกับ แคนาดา
ทิศใต้ ติดกับ เม็กซิโก
ทิศตะวันออก ติดกับ มหาสมุทรแอตแลนติก
ทิศตะวันตก ติดกับ มหาสมุทรแปซิฟิก
ภูมิอากาศ: อากาศหนาว เว้นแต่ในมลรัฐฮาวาย และมลรัฐฟลอริดา หนาวเย็นมากที่บริเวณขั้วโลกเหนือในมลรัฐอะแลสกา บริเวณที่ราบด้านตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi) จะค่อนข้างแห้งแล้ง และมีความแห้งแล้งมากบริเวณที่ลุ่มภาคตะวันตกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิต่ำในช่วงฤดูหนาว ซึ่งจะมีอากาศดีขึ้นเป็นครั้งคราวในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ โดยจะได้รับความอบอุ่นจากลมของเนินเขาด้านตะวันออกของเทือกเขาร๊อกกี้
ทรัพยากรธรรมชาติ : ถ่านหิน, ทองแดง, เกลือ, ยูเรเนี่ยม, ทองคำ, เหล็ก, ปรอท, นิเกิล, โปแตส, เงิน, วุลแฟรม, ทังสแตน, สังกะสี, ปิโตรเลี่ยม, ก๊าซธรรมชาติและป่าไม้ เป็นต้น
ประชากร : 298,444,215 คน (ก.ค. 49 ประมาณการ)
เชื้อชาติ :คนผิวขาวร้อยละ 81.7
คนแอฟริกันอเมริกันร้อยละ 12.9
คนเอเชียนร้อยละ 4.2
คนอเมริกันอินเดียนและชาวอะแลสการ้อยละ 1
ชาวฮาวายเอียนและชาวเกาะแปซิฟิกร้อยละ 0.2
(2546 ประมาณ)
ศาสนา โปรเตสแตนท์ร้อยละ 52
โรมันคาทอลิกร้อยละ 24
มอร์มอนร้อยละ 2
ยิวร้อยละ 1
มุสลิมร้อยละ 1
อื่น ๆ ร้อยละ 10
ไร้ศาสนาร้อยละ 10
(2545 ประมาณ)
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ
วันชาติ :4 กรกฎาคม
หน่วยเงิน : ดอลลาร์สหรัฐ US dollar (USD)
อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 40.22 บาท (2548)
อัตราเงินเฟ้อ : 3.2 (2548 ประมาณการ)
เวลาต่างจากไทย : ฝั่งตะวันออก 12 ชั่วโมง ฝั่งตะวันตก 15 ชั่วโมง
ประวัติของประเทศสหรัฐอเมริกาก่อกำเนิดขึ้นจากการประกาศอิสรภาพของรัฐอธิปไตย 13 มลรัฐ คำประกาศดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 และอังกฤษยอมรับเอกราชของชาติอเมริกาในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ 1789 ต่อมาในปีเดียวกัน รัฐเหล่านั้นจึงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อก่อตั้งสหพันธรัฐ โดยให้มีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง รัฐต่างๆ มอบอำนาจอธิปไตยหลายประการให้รัฐบาลกลางที่กรุงวอชิงตัน แต่สงวนอำนาจบางประการไว้ เช่น อำนาจนิติบัญญัติและการคลังในระดับมลรัฐ ดังนั้น ทุกมลรัฐจึงมีวุฒิสภาและสภาผู้แทนของตนเอง ( ยกเว้นเนแบรสกา ซึ่งมีสภาเดียว ) และมีอำนาจเก็บภาษีผู้มีภูมิลำเนาในมลรัฐ
ชื่อประเทศ : ชื่อเต็ม United States of America เรียกว่า สหรัฐอเมริกา
ชื่อย่อ United States เรียกว่า สหรัฐฯ
อักษรย่อ US หรือ USA
ระบอบการปกครอง : สหพันธรัฐ (Federal Republic); แบบประชาธิปไตย
โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief Executive) ภายใต้รัฐธรรมนูญ
เมืองหลวง : กรุงวอชิงตัน (Washington,D.C.)
การแบ่งการปกครอง : ประกอบด้วย 50 มลรัฐและ 1 District (District of Columbia ซึ่งเป็นที่ตั้งของ กรุงวอชิงตัน) ได้แก่
Alabama, Alaska (เป็นมลรัฐที่ใหญ่ที่สุด), Arizona, Arkansas, California, Colorado, Connecticut, Delaware, District of Columbia, Florida, Georgia, Hawaii, Idaho, Illinois, Indiana, Iowa, Kansas, Kentucky, Louisiana, Maine, Maryland, Massachusetts, Michigan, Minnesota, Mississippi, Missouri, Montana, Nebraska, Nevada, New Hamshire, New Jersey, New Mexico, New York, North Carolina, North Dakota, Ohio, Oklahoma, Oregon, Pennsylvania, Rhode Island (เป็นมลรัฐที่เล็กที่สุด), South Carolina, South Dakota, Tennessee, Texas, Utah, Vermont, Virginia, Washington, West Virginia, Wisconsin, Wyoming
เขตการปกครองอื่นๆ : American Samoa, Baker Island, Guam, Howland Island, Jarvis Island, John Atoll, Kingman Reef, Midway Islands, Navassa Island, Northern Mariana Islands, Palmyra Atoll, Puerto Rico, Virgin Islands, Wake Island
ระบบกฎหมาย :อยู่บนรากฐานของกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ
สิทธิในการเลือกตั้ง : อายุ 18 ปีขึ้นไป
ประมุขของประเทศ : นาย George Walker Bush เป็นประธานาธิบดี คนที่ 43 และหัวหน้ารัฐบาล เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2548 สังกัดพรรครีพับริกัน และมีนาย Richard B. Cheney เป็นรองประธานาธิบดี
โครงสร้างทางการเมือง
สหรัฐฯ มีพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พรรครีพับลิกัน (Republican) และพรรคเดโมเเครต (Democrat)
การปกครองแบบสหพันธรัฐ แบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ละฝ่ายได้รับเลือกในลักษณะที่แตกต่างกัน และมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (checks and balances) ดังนี้
ฝ่ายบริหาร : มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง ( Electoral College ) จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่างๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษา เอกอัครราชทูตและตำแหน่งต่างๆของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy Assistant Secretary) ขึ้นไป
ฝ่ายนิติบัญญัติ : ประกอบด้วย 2 สภา คือ
วุฒิสภา มีสมาชิกจากแต่ละมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 6 ปี โดยสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ครบวาระทุก 2 ปี วุฒิสภามีอำนาจให้ความเห็นชอบหรือปฎิเสธบุคคลที่ประธานาธิบดีแต่งตั้ง รวมทั้งคณะรัฐมนตรี และให้สัตยาบันสนธิสัญญา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง (President of the Senate) คือนาย Richard B. Cheney หัวหน้าฝ่ายเสียงข้างมาก (Majority Leader)ในวุฒิสภา ได้แก่ นาย Bill First (R-Tennessee) หัวหน้าฝ่ายเสียงข้างน้อย (Minority Leader) ได้แก่ นาย Thomas A. Daschle (D-South Dakota)
สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 435 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในมลรัฐ คือ ประชากร 575,000 คน ต่อ สมาชิก 1 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี ประธานสภา (Speaker of the House) ได้แก่ นาย Dennis Hastert (R-Illinois) ผู้นำเสียงข้างมาก คือ นาย Tom DeLay (R-Texas) ส่วนผู้นำเสียงข้างน้อย คือ นาย Nancy Pelosi (D-California)
ฝ่ายตุลาการ : ประกอบด้วย ศาลชั้นต้น (Curcuit Court) ศาลอุทรณ์ (Appeal Court)และศาลฎีกา (Supreme Court) ศาลฏีกามีอำนาจที่จะล้มเลิกกฏหมายใดๆและการปฎิบัติการของฝ่ายบริหารที่ได้วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งมีทั้งหมด 9 คนนั้น ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง และดำรงตำแหน่งได้โดยไม่มีการกำหนดวาระ
วันเลือกตั้ง :การเลือกตั้งครั้งล่าสุด 2 พฤศจิกายน 2547
การเลือกตั้งครั้งต่อไป 4 พฤศจิกายน 2551
สถานการณ์การเมือง
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 ซึ่งมีนาย George W. Bush ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และตัวแทนจากพรรครีพับลิกัน และนาย John Kerry สมาชิกวุฒิสภา และตัวแทนจากพรรคเดโมแครต เป็นผู้แข่งขันหลัก ผลปรากฏว่า ประธานาธิบดี Bush ชนะการเลือกตั้ง และทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในสมัยต่อไปเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2548
นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน
1. การเมืองการปกครอง
1.1 ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2548 รัฐบาลสหรัฐฯ ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้ายและการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศ โดยได้ดำเนินมาตรการหลายอย่าง อาทิ การจัดตั้งกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security) การออกกฎหมายเพิ่มอำนาจรัฐในการสอดส่องและจับกุม และการปรับการจัดวางยุทธศาสตร์ทางการทหารเพื่อให้ตอบสนองต่อภัยที่เปลี่ยนไป รวมทั้งการขจัดสภาพการณ์ที่เอื้อต่อการก่อการร้าย โดยการเผยแพร่หลักประชาธิปไตยและเสรีภาพ
1.2 ประธานาธิบดีบุชชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่สอง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 51 ในขณะที่นายจอห์น แครี (John Kerry) ผู้แทนจากพรรคเดโมแครตได้คะแนนเสียงร้อยละ 48 อย่างไรก็ตาม สงครามอิรักซึ่งยืดเยื้อต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบต่อรัฐบาลและพรรรีพับลิกันโดยการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๙ พรรครีพับลิกันสูญเสียการครองเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาให้แก่พรรคเดโมแครต
ระบบเศรษฐกิจ ทุนนิยม ( Capitalism ) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินธุรกิจโดยที่รัฐจะเข้าแทรกแซงในกิจการของเอกชนน้อย และสนับสนุนให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 12,410 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548 ประมาณ)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว (GDP per capita) 41,800 ดอลลาร์สหรัฐ (2548 ประมาณการ)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ: ร้อยละ 3.5 (2548 ประมาณ)
อัตราการว่างงาน : ร้อยละ 5.1 (2548 ประมาณ)
อุตสาหกรรม : สหรัฐฯ เป็นผู้นำทางภาคอุตสาหกรรมของโลก มีความหลากหลายสูงและมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาก เช่น ปิโตรเลียม เครื่องยนต์เครื่องบิน อุปกรณ์การสื่อสาร เคมีภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ป่าไม้ เหมืองแร่
ดุลการค้า : มูลค่า 829,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548 ประมาณ)
การส่งออก: มูลค่า 927,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออก : ผลิตภัณฑ์เกษตร(ถั่วเหลือง ผลไม้ ข้าวโพด) ร้อยละ 9.2 ชิ้นส่วนอุตสาหกรรม (สารเคมีกายภาพ) ร้อยละ 26.8 สินค้าอุตสาหกรรม (เครื่องบินและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เคื่องมือทางการโทรคมนาคม) ร้อยละ 49 สินค้าบริโภค (รถยนต์ ยา) ร้อยละ 15 (2548)
ประเทศคู่ค้าในการส่งออก : แคนาดาร้อยละ 23 เม็กซิโกร้อยละ 13.6 ญี่ปุ่นร้อยละ 6.7 สหราชอาณาจักรร้อยละ 4.4 จีนร้อยละ 4.3 (2547)
การนำเข้า: มูลค่า 1,727,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548 ประมาณ)
สินค้านำเข้า : ผลิตภัณฑ์เกษตรร้อยละ 4.9 อุปกรณ์ในการอุตสาหกรรมร้อยละ 32.9 (น้ำมันดิบร้อยละ 8.2) สินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 30.4 (คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โทรคมนาคม ชิ้นส่วนเครื่องจักร เคื่องผลิตกระแสไฟฟ้า) สินค้าอุปโภคบริโภคร้อยละ 31.8 (รถยนต์ เสื้อผ้า ยา เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น)
ประเทศคู่ค้าในการนำเข้า :แคนาดาร้อยละ 17 จีนร้อยละ 13.8 เม็กซิโกร้อยละ 10.3 ญี่ปุ่นร้อยละ 8.7 เยอรมนีร้อยละ 5.2
ปีงบประมาณ : 1 ตุลาคม 30 พฤศจิกายน
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา |
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา
1. ความสัมพันธ์ทั่วไป
1.1 ด้านการทูต
ไทยและสหรัฐฯ สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี 2376 ปัจจุบันไทยเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และมีสถานกงสุลใหญ่ 3 แห่ง คือ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทพฯ และสถานกงสุลใหญ่ประจำจังหวัดเชียงใหม่
1.2 ด้านการเมือง
ความสัมพันธ์โดยทั่วไประหว่างไทย-สหรัฐอเมริกาดำเนินไปด้วยความราบรื่น โดยเฉพาะความร่วมมือทางการทหารและความมั่นคงรวมทั้ง โดยเมื่อปี 2546 สหรัฐฯ ได้ประกาศให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มพันธมิตรหลักนอกกลุ่มนาโต (Major Non NATO Ally MNNA) ของสหรัฐฯ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้กองทัพไทยสามารถจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์และเข้าถึงเทคโนโลยีทางการทหารต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ได้ นอกจากนั้น ไทยกับสหรัฐฯ ยังมีการฝึกซ้อมร่วม/ผสม Cobra Gold ซึ่งถือว่าเป็นการฝึกร่วมและผสมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีประเทศที่ร่วมสังเกตการณ์หลายประเทศ รวมทั้งผู้แทนจากสหประชาชาติ โดยในการฝึก Cobra Gold 2005 ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติ อันเป็นผลจากเหตุการณ์คลื่นสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547
ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับสหรัฐฯ สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในความร่วมมือในช่วงเหตุการณ์คลื่นสึนามิ โดยไทยให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ และนานาชาติโดยอนุญาตให้ใช้อู่ตะเภาเป็นศูนย์ให้ความช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยในภูมิภาค ขณะที่ สหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนทั้งนามธรรมและรูปธรรมต่างๆ อาทิ การแสดงความเสียใจของบุคคลระดับสูง ตลอดจน การส่งอากาศยาน เวชภัณฑ์ และเจ้าหน้าที่นิติเวช มาให้ความช่วยเหลือ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้มอบหมายให้อดีตประธานาธิบดี Bush และ Clinton เดินทางเยือนไทยและประเทศที่ประสบภัยอื่นๆ เพื่อสำรวจความเสียหายและระดมความช่วยเหลือจากภาคเอกชนสหรัฐฯ ซึ่งได้จัดให้มีการประชุม Private Sector on Post-Tsunami Reconstruction and Rehabilitation (PSS) ขึ้นเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม 2548 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมประชุมด้วย
อนึ่ง จากการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่ประสบผลสำเร็จของไทย สหรัฐฯ ได้ประกาศถอนชื่อประเทศไทยออกจากรายชื่อประเทศที่เป็นแหล่งผลิตและ/หรือทางผ่านสำคัญของยาเสพติดเมื่อปี 2547
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ กำลังมุ่งสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างจริงจัง ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการพบหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่างการเยือนสหรัฐฯ เมื่อเดือนกันยายน 2548 โดยผู้นำรัฐบาลทั้งสองได้ตกลงที่จะจัดทำ Plan of Action และให้มีความพยายามอย่างแข็งขันเพื่อบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ ภายในปี 2549 ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาค อาทิ อาเซียน และการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนก
1.3 ด้านการค้า
สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดสำหรับไทย โดยในปี 2549 มูลค่าการค้ารวม 30,624.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 12.81 โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 14,319.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 13.35 ทั้งนี้ เมื่อเดือนธันวาคม 2549 สหรัฐฯ ได้ต่ออายุสิทธิพิเศษตามระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) สำหรับสินค้าจากประเทศไทยไปอีกเป็นระยะเวลา 2 ปีด้วย
อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นที่คั่งค้างอยู่ โดยเฉพาะการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีที่หยุดชะงักไปเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของไทย และการประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิบัตรโดยรัฐ (Compulsory Licensing: CL) นอกจากนี้ ยังมีประเด็นปัญหาทางการค้าอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกัน ได้แก่ มาตรการการตอบโต้การทุ่มตลาดต่อสินค้าอาหารบางชนิดของไทย มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เช่น การบังคับให้ใช้เครื่องมือแยกเต่าทะเล ในการจับกุ้ง และการ
ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรต่อสินค้าบางประเภทของไทย ซึ่งสหรัฐฯ จะประกาศเรื่องดังกล่าวในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐
สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ อาหารกระป๋องและแปรรูป อัญมณี ยาง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องไฟฟ้า แผงวงจร และกุ้งสดแช่แข็ง
สินค้านำเข้าที่สำคัญจากสหรัฐฯ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภันฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องมีการถ่ายภาพ เงินแท่ง เส้นใยในการทอ
ประเทศไทยกับสหรัฐฯ เริ่มการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ เมื่อปี 2547 โดยได้มีการเจรจาแล้ว 6 รอบ โดยรอบล่าสุดจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ระหว่างวันที่ 9-13 มกราคม 2549 โดยหัวข้อการหารือในการเจรจา รวมถึงเรื่องการเปิดตลาดสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม เกษตร สิ่งทอ ภาคบริการ การเงิน และการลงทุน มาตรการเยียวยาทางการค้า มาตรการสุข อนามัยพืชและสัตว์ อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า กฎแหล่งกำเนิดสินค้า เรื่องศุลกากร การเคลื่อนย้ายบุคลากร แรงงานและสิ่งแวดล้อม ทรัพย์สินทางปัญญา และการสร้างขีดความสามารถทางการค้า เป็นต้น
1.4 ด้านการลงทุน
จากสถิติเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิที่จัดเก็บโดยธนาคารแห่งประเทศไทย มูลค่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในปี 2547 มีจํ านวนทั้งสิ้น 15,981 ล้านบาท เงินลงทุนสุทธิจากสหรัฐอเมริกาในปี 2547คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6,204 ล้านบาท นอกจากนี้ จากสถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมจาก
สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โครงการลงทุนจากสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการอนุมัติในปี 2547 มีจํ านวนทั้งสิ้น 37 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนสุทธิ 30,397 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับสามรองจาก ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
2. ความตกลงสำคัญๆ กับไทย
1.บันทึกความตั้งใจตามโครงการติดตั้งศูนย์ข้อมูลบุคคล (PISCES) ลงนามเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547
2.Trade and Investment Framework Agreement ลงนามเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2545
3.กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ลงนามเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2544
4.ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ลงนามเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541
5.ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ ลงนามเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539
6.อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ลงนามเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2539
7.สนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญา ลงนามเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2529
8.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2527
9.สนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ลงนามเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2526
10.สนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา ลงนามเมื่อวันที่
29 ตุลาคม 2525
11.ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ ลงนามเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2522
12.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2520
13.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ลงนามเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2514
14.สนธิสัญญาทางไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหรัฐฯ ลงนามเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2509
15.ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิค ลงนามเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2493
16.สนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์และการเดินเรือ ลงนามเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2480
17.หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี การค้า และพิกัด (ค.ศ. 1856) ลงนามเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2399
18.หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ค.ศ. 1833 ลงนามเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2376
3. การแลกเปลี่ยนการเยือน
3.1 การเยือนของผู้นำและพระบรมวงศ์
ฝ่ายไทย
วันที่ 14 มิถุนายน 14 กรกฎาคม 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ ในสมัยประธานาธิบดี Dwight D. Eisenhower ในการเสด็จฯ เยือนครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ไปพระราชทานพระราชดำรัสที่รัฐสภาสหรัฐฯ ในวันที่ 29 มิถุนายน 2503
วันที่ 6 20 มิถุนายน และ 24 - 29 มิถุนายน 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการเป็นครั้งที่ 2 ในสมัยประธานาธิบดี Lyndon B. Johnson
วันที่ 5 8 มีนาคม 2528 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหรัฐฯ เพื่อทรงเป็นประธานในพิธีเปิดงานนิทรรศการ SUPPORT และพระราชทานพระราชวโรกาสให้องค์การ Save the Children Fund ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล
วันที่ 26 ตุลาคม 15 พฤศจิกายน 2534 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ และพระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะกรรมการ The Best of Washington ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
วันที่ 29 มิถุนายน 2 กรกฎาคม 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนนครนิวยอร์ก เพื่อร่วมพิธีทูลเกล้าถวายรางวัล FDR International Disability Award
วันที่ 4 16 ตุลาคม 2545 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ เพื่อทรงรับการถวายรางวัลมนุษยธรรม โดยสถาบัน MD Anderson Cancer Center และทรงเปิดงานฉายภาพยนต์เรื่อง The Legend of Suriyothai รอบปฐมทัศน์ที่ The Kennedy Center
วันที่ 11 17 มิถุนายน 2546 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ
วันที่ 18 21 มิถุนายน 2547 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จ เยือนสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมการประชุม 7th Biennial Symposium International Society of Environmental Biotechnology (ISEB) ณ นครชิคาโก
ฝ่ายสหรัฐฯ
ตุลาคม 2509 นาย Lyndon B. Johnson เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนแรกที่เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
พฤษภาคม 2512 ประธานาธิบดี Richard M. Nixon เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
พฤศจิกายน 2539 ประธานาธิบดี William J. Clinton เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในโอกาสครบรอบปีกาญจนาภิเษก และได้แวะเยือนไทยในเดือนพฤษภาคม 2545 ในฐานะผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพื่อร่วมพิธีฉลองเอกราชของติมอร์ตะวันออก
18 21 ตุลาคม 2546 ประธานาธิบดี George W. Bush เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะ พระราชอาคันตุกะ และเข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเปค ครั้งที่ 11 ที่กรุงเทพฯ
3.2 การเยือนสำคัญอื่นๆ (ปี 2544 ปัจจุบัน)
ฝ่ายไทย
วันที่ 19 เมษายน 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนกรุงวอชิงตัน
วันที่ 13 18 ธันวาคม 2544 นายกรัฐมนตรีเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพบหารือข้อราชการกับนาย Robert B. Zoellick ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ในโอกาสตามเสด็จฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เยือนสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 4 10 ตุลาคม 2545
วันที่ 9 12 มิถุนายน 2546 นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนสหรัฐฯ เพื่อกล่าวสุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสภาธุรกิจสหรัฐฯ อาเซียน (USABC) และได้พบหารือข้อราชการกับประธานาธิบดีและผู้นำฝ่าย นิติบัญญัติ
วันที่ 15-20 กันยายน 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนสหรัฐฯ
วันที่ 27 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2548 รองนายกรัฐมนตรีเยือนสหรัฐฯ
วันที่ 11-14 พฤษภาคม 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเยือนสหรัฐฯ และร่วมประชุม Private Sector Summit on Post-Tsunami Reconstruction and Rehabilitation (PSS)
วันที่ 19 กันยายน 2548 นายกรัฐมนตรีเยือนสหรัฐฯ
ฝ่ายสหรัฐฯ
วันที่ 24 25 เมษายน 2545 นาย Lincoln Bloomfield ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ด้านการเมืองและการทหาร เดินทางเยือนไทย
วันที่ 24 พฤษภาคม 2545 และวันที่ 19 21 พฤษภาคม 2546 พลเรือเอก Thomas Fargo ผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกเดินทางเยือนไทย
วันที่ 28 29 กรกฎาคม 2545 นาย Colin Powell รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนไทย
วันที่ 10 มกราคม 2546 นาย John R. Bolton ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายการควบคุมอาวุธและความมั่นคงระหว่างประเทศ เดินทางเยือนไทย
วันที่ 18 21 สิงหาคม 2546 คณะกรรมาธิการข่าวกรอง สภาผู้แทนราษฎรเดินทางเยือนไทย
วันที่ 18 21 ตุลาคม 2546 นาย Colin Powell รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนาย Robert B. Zoellick ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง
ประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าเอเปค ครั้งที่ 15 ที่กรุงเทพฯ
วันที่ 10 14 มีนาคม 2547 นาย Thomas Ridge รัฐมนตรีว่าการกระทรวง Homeland Security เดินทางเยือนไทย
วันที่ 3-4 มกราคม 2548 นาย Colin Powell รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนไทย
วันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2548 อดีตประธานาธิบดี George H.W. Bush และอดีตประธานาธิบดี William J. Clinton เยือนไทยในฐานะผู้แทนประธานาธิบดีสหรัฐฯ เยือนไทยเพื่อแสดงไมตรีจากกรณีที่ไทยประสบภัยคลื่นสึนามิและศึกษาแนวทางความร่วมมือในการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย
วันที่ 4 พฤษภาคม 2548 นาย Robert Zoellick รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เยือนไทย
วันที่ 5-7 มิถุนายน 2548 นาย Donald Rumsfeld รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เยือนไทย
วันที่ 10-11 กรกฎาคม 2548 ดร.Condoleezza Rice รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เยือนไทย (จว.ภูเก็ต)
4. กงสุลกิตติมศักดิ์
กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยในสหรัฐฯ
1. Mr. Robert F. Henry, Jr.
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองมอนต์กอเมอรี มลรัฐแอละแบมา
2. Mr. Donald W. Ringsby
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองเดนเวอร์ มลรัฐโคโลราโด
3. Mr. George Corrigan
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองคอรัล เกเบิลส์ มลรัฐฟลอริดา
4. Mr. Louis Stinson
กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองคอรัล เกเบิลส์ มลรัฐฟลอริดา
5. Mr. Robert M. Holder, Jr. (อยู่ระหว่างการขออนุมัติลาออกจาก รมว.กต.)
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองแอตแลนตา มลรัฐจอร์เจีย
6. Mr. Colin Miyabara
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย
7. Mr. Henry M. Lambert
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองนิวออร์ลีนส์ มลรัฐลุยเซียนา
8. Mr. Joseph Milano
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครบอสตัส มลรัฐแมสซาชูเซตส์
9. Ms. Mary Frances Taylor
กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองแคนซัส มลรัฐมิสซูรี
10. Mr. Richard H. Hughes (อยู่ระหว่างดำเนินการถอดถอนเนื่องจากนาย Hughes ขอลาออก)
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองทุลซา มลรัฐโอคลาโฮมา
11. Ms. Nora Gordon (อยู่ระหว่างการดำเนินการแต่งตั้งเป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองทุลซา)
รองกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองทุลซา มลรัฐโอคลาโฮมา
12. Mr. Nicholas J. Stanley (อยู่ระหว่างดำเนินการแต่งตั้งเป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองพอร์ตแลนด์)
กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองพอร์ตแลนด์ มลรัฐออริกอน
13. Mr. Rolando J. Piernes
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครซานฮวน เครือรัฐเปอร์โตริโก
14. Mr. W. Forrest Smith
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครดัลลัส มลรัฐเทกซัส
15. Ms. Mary Lee Leavell Pinkerton
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมืองเอล ปาโซ มลรัฐเทกซัส
16. Mr. Charles C. Foster
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ นครฮุสตัน มลรัฐเทกซัส
5. ความตกลงเมืองพี่เมืองน้องกับสหรัฐฯ (ที่ลงนามแล้ว)
ความตกลงการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง
เทศบาลเมืองภูเก็ต-เทศบาลนนครลาสเวกัส 10 กุมภาพันธ์ 2540
เทศบาลนครเชียงใหม่-เมืองซานราฟาเอล มลรัฐแคลิฟอร์เนีย 13 มีนาคม 2533
การสถาปนาความสัมพันธ์
เทศบาลเมืองลำพูน-เทศบาลเมืองโอรินด้า มลรัฐแคลิฟอร์เนีย 14 ธันวาคม 2541
ปฏิญญาแห่งมิตรภาพ
เทศบาลนครอุดรธานี-เมืองรีโน มลรัฐเนวาดา 18 ธันวาคม 2535
ประกาศสัมพันธภาพ
เทศบาลตำบลแหลมฉบัง-เมืองคาร์สัน ซิตี้ มลรัฐเนวาดา 26 กรกฎาคม 2536
22 สิงหาคม 2550
เรียบเรียงโดย กองอเมริกาเหนือ กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5121--2 Fax. 0-2643-5124 E-mail : american02@mfa.go.th
|
|