ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com >> วานูอาตู




แผนที่
สาธารณรัฐวานูอาตู
Republic of Vanuatu


ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียและอยู่ห่างจากฟิจิไปทางตะวันตกประมาณ 800 กิโลเมตร
พื้นที่ 12,190 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ ประมาณ 80 เกาะ มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 680,000 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง พอร์ตวิลา (Port Vila) ตั้งอยู่บนเกาะ Efate
ประชากร ประมาณ 215,000 (2549) คน ร้อยละ 94 เป็นชาวเมลานีเซียน (Melanesian) เรียกว่า ni-Vanuatu อีกร้อยละ 6 เป็นชาวยุโรป จีน เวียดนาม และชาวเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้และอื่นๆ (ประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ 70 ตั้งถิ่นฐานอยู่บนเกาะหลัก 4 เกาะ คือ Efate, Expiritu Santo,Malakula และ Tafea) ความหนาแน่นประชากร 12.6 คน ต่อตารางกิโลเมตร
ภาษา อังกฤษและฝรั่งเศส เป็นภาษาราชการ Pidgin (Bislama) เป็นภาษาประจำชาติ
ศาสนา คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ รองลงมาคือเพรสไบทีเรียน และโรมันคาทอลิก
หน่วยเงินตรา Vatu (วาตู)
GDP 349 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)
GDP per capita 1,571 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2549)
Real GDP Growth ร้อยละ 3 (ปี 2549)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2.3 (ปี 2549)
อุตสาหกรรม เนื้อมะพร้าวตากแห้ง แปรรูปเนื้อวัว ท่องเที่ยว บริการการเงิน
สินค้าส่งออก เนื้อมะพร้าวตากแห้ง กาแฟ และปลาแช่เย็น
ตลาดส่งออกสินค้า อินเดีย ไทย สาธารณรัฐเกาหลี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น
สินค้านำเข้า อาหารสัตว์ เรือและชิ้นส่วนอุปกรณ์
ตลาดนำเข้าสินค้า ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน นิวซีแลนด์ สิงคโปร์

การเมืองการปกครอง
รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา (สภาเดี่ยว มีสมาชิก 52 คนได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี )
ประมุขรัฐ ประธานาธิบดี H.E. President Kalkot Mataskelekele
นายกรัฐมนตรี The Hon. Ham Lini
รัฐมนตรีต่างประเทศThe Hon. Sato Kilman
ฝ่ายนิติบัญญัติ สภาผู้แทนราษฏรเป็นสภาเดี่ยว (unicameral) ประกอบด้วยสมาชิก 46 คน (อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี) ในปี 2543 ได้มีการกำหนดให้มีสมาชิกเพิ่มเป็น 52 คน พรรคการเมืองที่สำคัญ คือ พรรค UMP (พรรคอนุรักษ์นิยมประกอบด้วย ชาวเมลานีเซียนที่พูดภาษาฝรั่งเศส (Francophone) และนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาธอลิค และ NUP ประกอบด้วยชาวเมลานีเซียนที่พูดภาษาอังกฤษ (Anglophone)

สถานการณ์ทางเการเมืองปัจจุบัน
การเมืองของวานูอาตูอยู่ในภาวะอ่อนแอ รัฐบาลอาจล้มด้วยมติไม่ไว้วางใจในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากรัฐบาลเป็นรัฐบาลผสม รวมพรรคเล็กมากกว่า 8 พรรค จึงง่ายต่อการย้ายข้างไปร่วมกับพรรคฝ่ายค้าน

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
วานูอาตูเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศเครือจักรภพ Pacific Islands Forum , Francophone
Community, สหประชาชาติ, กลุ่ม G 77, IMF, World Bank, ADB, ACP, WTO เป็นต้น มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 74 ประเทศ ปัจจุบันมีประเทศที่มี สอท.ในวานูอาตู 5 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ 2 ประเทศ คือ ปาปัวนิวกินีและสวีเดน

เศรษฐกิจการค้า
ภาพรวม
โครงสร้างทางเศรษฐกิจของวานูอาตูมีลักษณะเป็น resource based โดยประชากรประมาณ ร้อยละ 80 ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ป่าไม้ และการประมง ผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อมะพร้าวตากแห้งเพื่อส่งออก ด้านปศุสัตว์ วานูอาตูมีโรงงานแปรรูปและบรรจุกระป๋องเนื้อสัตว์ที่ได้มาตรฐานของประชาคมยุโรปและสหรัฐฯ วานูอาตูส่งออกไม้ ทั้งไม้แปรรูป ไม้จันทน์ และผลิตภัณฑ์จากไม้ แต่ถูกกดดันจากประเทศพัฒนาแล้วเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

อุตสาหกรรมปลาทูนาได้ดำเนินการในวานูอาตูมาประมาณ 20 ปี โดย South Pacific Fishing Company และ ในปี 2530 วานูอาตูได้ลงนามในความตกลงให้อดีตสหภาพโซเวียต ทำการประมงในน่านน้ำวานูอาตูเป็นเวลา 1 ปี โดยคิดค่าธรรมเนียม 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาวานูอาตูร่วมกับ Pacific Forum Fisheries Agency ทำข้อตกลงกับสหรัฐโดยอนุญาตให้เรือประมงสหรัฐฯ เข้ามาจับปลาในน่านน้ำเพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี นอกจากนั้น วานูอาตูได้ลงนามในสัญญาการประมงกับญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน อนุญาตให้เรือประมงไต้หวันเข้ามาจับปลาทูนาโดยใช้เบ็ดราวและคิดค่าธรรมเนียม 5,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อลำ

ปัญหาเศรษฐกิจ ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากร การพึ่งสินค้าออกที่เป็นสินค้าขั้นปฐม เพียงไม่กี่ประเภท การขาดแคลนการลงทุน การบริหารเศรษฐกิจที่ไร้ประสิทธิภาพ ตลอดจนภัยธรรมชาติ (cyclone) ทำให้สภาพเศรษฐกิจขาดการพัฒนา

วานูอาตูมีแหล่งแร่แมงกานีส สินแร่ทองคำ นิเกิลและทองแดงด้วย นักธุรกิจชาวไต้หวันได้ประกาศโครงการลงทุนในเมือง Espirito Santo (ในเขต Luganville)

วานูอาตูกำลังดำเนินโครงการปฏิรูปครบวงจร (Comprehensive Reform Program – CRP) ซึ่ง ADB ได้ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมีความคืบหน้าไปมากในด้านต่าง ๆ อาทิ การลดจำนวนกระทรวง เหลือ 9 กระทรวง และลดการจ้างงานข้าราชการ การปรับปรุงประสิทธิภาพข้าราชการและการปกครอง นำระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ การปรับโครงสร้างธนาคารชาติ ฯลฯ

สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน
ในปี 2549 เศรษฐกิจของวานูอาตูคาดว่าจะเติบโตในระดับปานกลาง โดยมีการเติบโตด้านก่อสร้างและท่องเที่ยวเป็นแรงหนุน แต่ยังประสบปัญหาในการส่งออกสินค้าสำคัญหลายชนิด เช่น มะพร้าวแห้ง (Copra) คาวา (kava) โกโก้ และเนื้อวัวคุณภาพดี ในเดือนมี.ค. 2549 สหรัฐฯ ได้อนุมัติเงินทุนจำนวน 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งรัฐบาลวานูอาตูเชื่อว่าจะช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านการเกษตรและท่องเที่ยว นอกจากนี้ วานูอาตูสามารถส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดนิวซีแลนด์ได้มากขึ้น แต่ยังประสบปัญหาการส่งออกคาวาไปยังออสเตรเลีย

สถิติการค้าไทย-วานูอาตู (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี มูลค่าการค้า ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า
2546(2003) 28.9 1.3 27.6 -26.3
2547(2004) 107.1 1.8 105.3 -103.5
2548(2005) 124.6 5.1 119.5 -114.4
2549(2006) 160.2 4.0 156.2 -152.1
หมายเหตุ ข้อมูลจากเวปไซด์กระทรวงพาณิชย์

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐวานูอาตู
1.ความสัมพันธ์ทั่วไป
ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับวานูอาตู เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2525 โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา มีเขตอาณาครอบคลุมวานูอาตู
วานูอาตูได้เคยลงคะแนนเสียงสนับสนุนร่างข้อเสนอของอาเซียนเกี่ยวกับปัญหากัมพูชาต่อ สหประชาชาติ เมื่อปี 2532 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ไทยได้เสียงสนับสนุนจากวานูอาตู นอกจากนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศเคยพบกับรัฐมนตรีต่างประเทศวานูอาตูในการประชุม ESCAP ที่นครเซี่ยงไฮ้ ในปี 2547

2.เศรษฐกิจและการค้า
ในปี 2548 มูลค่าการค้ารวม 124.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยส่งออกมูลค่า 5.1 ล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้า 119.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขาดดุลการค้า 114.4 ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าที่ไทยส่งออก ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้าผืน อาหารกระป๋องและแปรรูป ทองแดงและของทำด้วยทองแดง
สินค้าที่ไทยนำเข้า ได้แก่ ปลาทูน่าสดแช่เย็นและแช่แข็ง

3. การเยือนของผู้นำระดับสูง
ฝ่ายไทยเยือนวานูอาตู
- ร้อยตรีประพาส ลิมปะพันธุ์ รมช.กต. เมื่อวันที่ 10 - 12 กุมภาพันธ์ 2528

ฝ่ายวานูอาตูเยือนไทย
- นาย Sato Kilman รอง นรม. และ รมว.กต. วานูอาตู เยือนไทยในฐานะแขกของ กต. ระหว่างวันที่ 19-20 เม.ย. 2548 และได้พบหารือทวิภาคีกับ รมว.กต. (นายกันตธีร์ ศุภมงคล) เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2548 และดูงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง (จังหวัดฉะเชิงเทรา) สินค้า OTOP และธุรกิจสปา ซึ่งนาย Sato ได้แสดงความชื่นชมการพัฒนาของไทย


กองแปซิฟิกใต้
กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้
วันที่ 22 สิงหาคม 2550

เอกสารแนบ

เรียบเรียงโดย กองแปซิฟิกใต้ กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ โทร. 0-2643-5000 ต่อ 3034 Fax. 0-2643-5119 E-mail : nidthas@mfa.go.th



ข้อมูลประเทศอื่นๆทั่วโลก
อัฟกานิสถาน  แอลเบเนีย  แอลจีเรีย  อันดอร์รา  แองโกลา  แอนติกาและบาร์บูดา  อาร์เจนตินา  อาร์เมเนีย  ออสเตรเลีย  ออสเตรีย  อาเซอร์ไบจาน  บาฮามาส  บาห์เรน  บังกลาเทศ  บาร์เบโดส  เบลารุส  เบลเยียม  เบลีช  เบนิน  ภูฏาน  โบลิเวีย  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บอตสวานา  บราซิล  บรูไนดารุสซาลาม  บัลแกเรีย  บูร์กินาฟาโซ  บุรุนดี  กัมพูชา  แคเมอรูน  แคนาดา  เคปเวิร์ด  แอฟริกากลาง  ชาด  ชิลี  จีน  ฮ่องกง  มาเก๊า  ไต้หวัน  โคลัมเบีย  คอโมโรส  คอสตาริกา  โครเอเชีย  คิวบา  ไซปรัส  เช็ก  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก  เดนมาร์ก  จิบูตี  โดมินิกา  โดมินิกัน  เกาหลีเหนือ  เอกวาดอร์  อียิปต์  เอลซัลวาดอร์  อิเควทอเรียลกินี  เอริเทรีย  เอสโตเนีย  เอธิโอเปีย  ฟิจิ  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  กาบอง  แกมเบีย  จอร์เจีย  เยอรมนี  กานา  กรีซ  เกรเนดา  กัวเตมาลา  กินี  กินีบิสเซา  กายอานา  เฮติ  นครรัฐวาติกัน  ฮอนดูรัส  ฮังการี  ไอซ์แลนด์  อินเดีย  อินโดนีเซีย  อิหร่าน  อิรัก  ไอร์แลนด์  อิสราเอล  อิตาลี  จาเมกา  ญี่ปุ่น  จอร์แดน  คาซัคสถาน  เคนยา  คิริบาส  คูเวต  คีร์กิซ  ลาว  ลัตเวีย  เลบานอน  เลโซโท  ไลบีเรีย  ลิเบีย  ลิกเตนสไตน์  ลิทัวเนีย  ลักเซมเบิร์ก  มาซิโดเนีย  มาดากัสการ์  มาลาวี  มาเลเซีย  มาลี  มอลตา  หมู่เกาะมาร์แชลล์  มอริเตเนีย  มอริเชียส  ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง  เม็กซิโก  ไมโครนีเซีย  มอลโดวา  โมนาโก  มองโกเลีย  โมร็อกโก  โมซัมบิก  พม่า  นามิเบีย  นาอูรู  เนปาล  เนเธอร์แลนด์  นิวซีแลนด์  นิวซีแลนด์  นิการากัว  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  นอร์เวย์  องค์การรัฐอเมริกัน  โอมาน  ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา  ปากีสถาน  ปาเลา  ปานามา  ปาปัวนิวกินี  ปารากวัย  เปรู  ฟิลิปปินส์  โปแลนด์  โปรตุเกส  กาตาร์  คองโก  เกาหลีใต้  กลุ่มริโอ  โรมาเนีย  รัสเซีย  รวันดา  เซนต์คิตส์และเนวิส  เซนต์ลูเซีย  เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์  ซามัว  ซานมาริโน  เซาโตเมและปรินซิเป  ซาอุดีอาระเบีย  เซเนกัล  เซอร์เบีย  เซเชลส์  เซียร์ราลีโอน  สิงคโปร์  สโลวาเกีย  สโลวีเนีย  หมู่เกาะโซโลมอน  โซมาเลีย  แอฟริกาใต้  สเปน  ศรีลังกา  ซูดาน  ซูรินาเม  สวาซิแลนด์  สวีเดน  สวิตเซอร์แลนด์  ซีเรีย  ทาจิกิสถาน  แทนซาเนีย  ติมอร์-เลสเต  โตโก  ตองกา  ตรินิแดดและโตเบโก  ตูนิเซีย  ตุรกี  เติร์กเมนิสถาน  ตูวาลู  ยูเออี  ยูกันดา  ยูเครน  สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  อุรุกวัย  อุซเบกิสถาน  วานูอาตู  เวเนซุเอลา  เวียดนาม  เยเมน  แซมเบีย  ซิมบับเว 



 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์