ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


        

 
        พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 2 ค่ำเดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมือง ไฮเดเบอร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สอง ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก (ขณะนั่นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมขุนสงขลานครินทร์) และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ขณะนั่นทรงเป็น หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา) เมื่อพระชนมายุ 3 พรรษา ได้เสด็จกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนี โดยเสด็จประทับ ณ วังสระปทุม ในปีต่อมาได้ทรงศึกษาชั้นอนุบาล ณ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย 2 ปี แล้ว จึงเสด็จไปประทับต่อ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

       เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 ต่อมาภายหลัง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2477 สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลในขณะนั้นมีมติเห็นชอบให้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล (พระยศขณะนั้น) ขึ้นครองราชย์สืบราชสันติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล" เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 แต่ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา จึงต้องทรงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งได้แก่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา และเจ้าพระยายมราช ทำการบริหารแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลักจากขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 13 พรรษา การเสด็จนิวัตรครั้งนี้โดยทางเรือชื่อ มีโอเนีย พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอและสมเด็จพระอนุชา ซึ่งเมื่อเสด็จถึงปีนัง ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์สเตรทเอคโค ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า

"ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่จะได้เดินทางกลับสู่ประเทศอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า และในอันที่จะได้เห็นประชาราษฎร์ของข้าพเจ้าเอง"

        ตลอดระยะเวลา 2 เดือน ที่ทรงเสด็จประทับอยู่ในเมืองไทย ได้ทรงออกเยี่ยมราษฎรในที่ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด จากนั้นได้ทรงเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การคมนาคมติดต่อเป็นไปโดยลำบากพระองค์ท่านจึงไม่ทรงมีโอกาสติดต่อกับประเทศไทย เมื่อสงครามสงบ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์และเหลือเวลาอีกประมาณ 3 ปี จะทรงได้รับปริญญาเอกจึงเสด็จ นิวัติกลับประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2488 ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 21 พรรษา ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว

        ในการเสด็จนิวัตเมืองไทยครั้งนี้ เดิมทรงตั้งพระราชหฤทัยจะประทับอยู่ในเมืองไทยเพียง 1 เดือนจากนั้นจะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อให้ทันการเปิดภาคเรียนใหม่ในกลางเดือนมกราคมแต่เนื่องจากทรงมีพระราชกรณียกิจในฐานะประมุขของประเทศ มากมาย ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นของชาติและพสกนิกร ทำให้ทรงเลื่อนเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์ออกไปเป็นวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2489

 
ทรงเสด็จออกรับการตรวจพลสวนสนามของฝ่ายพันธมิตรในประเทศไทยพร้อมด้วยลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน แม่ทัพใหญ่ของอังกฤษ อันเป็นผลให้ภาพพจน์และฐานะของประเทศเป็นที่ยอมรับแก่ประเทศทางตะวันตกที่เป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งก่อนหน้านี้ฐานะของประเทศไทยไม่ค่อยสู้ดีนักเนื่องจากในระหว่างสงครามโลก ประเทศต้องอยู่ในภาวะจำยอมที่ต้องให้ความร่วมมือแก่กองทัพญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายอักษะ ทำให้เมื่อสงครามสงบแล้ว มีประเทศพันธมิตรหลายชาติไม่พอใจและถือโอกาสข่มขู่ไทย
 การพระราชทานวินิจฉัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2489 ให้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศในวันเสด็จเปิดสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง จีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจที่อยู่ข้างฝ่ายชนะสงครามทำให้ชาวจีนบางกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยทำการเรียกร้องสิทธิบางประการจากรัฐบาลไทย ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างชาวไทยกับจีน จนถึงขั้นก่อความไม่สงบและมีการรุมทำร้ายร่างกายคนไทยที่เรียกว่า "เสียพะ" อยู่เนือง ๆ เหตุการณ์นี้ได้ทวีความรุนแรงและขยายพื้นที่อย่างกว้างขวางออกไปมากขึ้น จนเกือบจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง เมื่อความบาดหมางระหว่างชาวไทยและชาวจีนนี้ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ทรงหาวิธีแก้ไขด้วยพระองค์เอง โดยทรงตระหนักว่าถ้าเสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนท้องถิ่นชาวจีนที่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว ย่อมจะสามารถประสานรอยร้าวที่มีอยู่ ให้สนิทแน่นแฟ้นขึ้นได้ จึงทรงกำหนดการเสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2489 พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ข่าวการเสด็จสำเพ็งครั้งนี้เป็นข่าวใหญ่ที่สร้างความตื้นเต้นยินดีเป็นอย่างยิ่งแก่พ่อค้าชาวจีน และพ่อค้าอินเดียที่อาศัยอยู่แถบนั้น เพราะเป็นครั้งแรกที่มีพระมหากษัตริย์เสด็จเยี่ยมสำเพ็งอย่างเป็นทางการ การเสด็จเยี่ยมเยียนครั้งนี้ทางใช้เวลานานถึง 4 ชั่วโมง เพราะมีชาวจีนมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทมากมายและการรับเสด็จก็เป็นไปอย่างมโหฬารด้วยความจงรักภักดีและเคารพบูชาอย่างสูง

        สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2498 ปวงชนชาวไทยต่างรำลึกถึงพระเมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณ อันมีเป็นอเนกประการจึงร่วมใจน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน โดยถือเอาวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี เป็น "วันอานันทมหิดล" ในปี พ.ศ.2528 สมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาลงกรณ์ ได้รวบรวมทุนจากเงินบริจาคของศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ "ทุกรุ่นจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงบันดาลให้เกิดคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศให้ประชาชนได้รำลึกถึงพระองค์ท่านสืบไปโดยมอบให้ คุณไข่มุกด์ ชูโต เป็น ผู้ออกแบบและปั้น พระบรมรูปหล่อด้วยส่วนผสมทองเหลืองและทองแดงขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง ในท่าประทับนั่งเหนือเก้าอี้ ผินพระพักตร์ไปทางเบื้องขวาของพระองค์เล็กน้อย พระบรมรูปและเก้าอี้สูงประมาณหนึ่งเมตรครึ่ง พระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐานไว้หน้าตึกอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2529

 
     แม้ว่ารัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจะมีระยะเวลาสั้น แต่ก็มีเหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์เกิดขึ้น ได้แก่
 1. เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2482 รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเปลี่ยนชื่อจาก ประเทศสยาม มาเป็น ประเทศไทย โดยมีเหตุผลว่า คำว่าสยามมักใช้กันแต่ในวงราชการ และในชาวต่างประเทศ ส่วนคนไทยนั้นโดยเฉพาะชาวบ้านไม่ค่อยใช้คำว่าสยาม แต่ใช้คำว่าไทย อีกประการหนึ่ง การขนานนามประเทศส่วนมากมักเรียกตามเชื้อชาติของคนเจ้าของประเทศนั้น คนไทยมีเชื้อสายไทย ควรชื่อประเทศให้ตรงกับเชื้อชาติ ต่อมาในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2488 รัฐบาลไทย ซึ่งมีนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มีประกาศการใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ อย่างเป็นทางการ โดยที่เชื่อของประเทศไทย ที่นิยมเรียกกันในต่างประเทศว่า SIAM จนแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันมาช้านาน ฉะนั้นจึงให้ใช้ชื่อประเทศในภาษาอังกฤษว่า SIAM รวมถึงชื่อประชาชนและชื่อสัญชาติว่า SIAMESE สำหรับใช้ในภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ให้ใช้ได้โดยอนุโลม ส่วนชื่อในภาษาไทยนั้นให้ใช้ชื่อ ไทย ตามเดิม

 2. กำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ได้มีประกาศเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2483

 3. การสร้างอนุสาวรีย์
      อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สร้างขึ้นบนถนนประชาธิปัตย์ ตอนถนนพญาไทยกับถนนราชวิถีกรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งได้สละชีพเพื่อชาติมีพิธีเปิด วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2485 อนุสาวรีย์นี้สร้างเป็นรูปดาบปลายปืน 5 แฉก บานเป็นวงกลมและมีรูปทองแดงเป็นทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจสนาม และพลเรือน เดิมจารึกชื่อผู้ที่เสียชีวิตในการรบในสมรภูมิอินโดจีนจำนวน 59 นาย ในภายหลังได้จารึกชื่อทหารที่เสียชีวิตในสงครามเกาหลีเพิ่มขึ้นด้วย
      อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
สร้างขึ้นที่กึ่งกลางถนนราชดำเนินกลาง ช่วงที่ถนนดินสอติดต่อกับถนนประชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร อนุสาวรีย์นี้รัฐบาลได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ได้มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2483 ลักษณะเด่นของอนุสาวรีย์นี้ คือ พานรัฐธรรมนูญตั้งอยู่กลางป้อมอนุสาวรีย์ รอบอนุสาวรีย์มีปีก 4 ด้าน


 4.สะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ที่ชื่อว่า สะพานข้ามแม่น้ำแคว สร้างเสร็จเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ.2486 และรถไฟสายมรณะ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นที่ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ขอเดินทัพผ่านประเทศไทยในการ ทำสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และได้ยกพลขึ้นบกอย่างกะทันหันตามจังหวัดชายทะเลของไทยประเทศไทยจำยอมต้องให้ญี่ปุ่นผ่าน
สะพานข้ามแม่น้ำแคว       รถไฟสายมรณะ

Home
แหล่งอ้างอิง : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่46 ฉบับที่15728
                     ศิริวรรณ คุ้มโห้. พระราชประวัติพระมหากษัตริย์ 9 รัชกาล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดอะบุคส์
วันสำคัญของไทย

วันสำคัญของไทยและต่างประเทศอื่นๆ

     

วันชาติต่างประเทศ

วันชาติอินเดีย
วันชาติปากีสถาน
วันชาติอเมริกา

วันชาติมาเลย์
วันชาติเม็กซิโก
วันชาติซาอุดิอาระเบีย
วันชาติเยอรมนี
วันชาติฟินแลนด์
วันชาติสเปน
วันชาติกัมพูชา
วันชาติเลบานอน
วันชาติลาว
วันชาติพม่า
วันชาติออสเตรเลีย
วันชาติฝรั่งเศส
เดือนมกราคม
เดือนกุมภาพันธ์
เดือนมีนาคม
วันขึ้นปีใหม่
วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
วันพ่อขุนรามคำแหง
วันสถาปนาโครงการ อพป.แห่งชาติ
วันเด็กแห่งชาติ
วันครู
วันกองทัพไทย
วันนักประดิษฐ์
วันวาเลนไทม์
วันปลอดควันพิษจากไฟป่า
วันมาฆบูชา
วันทหารผ่านศึก
วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
วันศิลปินแห่งชาติ
วันสหกรณ์แห่งชาติ
วันน้ำของโลก
วันกองทัพอากาศ
วันสตรีสากล
เดือนเมษายน
เดือนพฤษภาคม
เดือนมิถุนายน
วันข้าราชการพลเรือน
วันรักการอ่าน
วันอนุรักษ์มรดกไทย
วันเช็งเม้ง
วันจักรี
วันประมงแห่งชาติ
วันสงกรานต์
วันผู้สูงอายุแห่งชาติ
วันครอบครัว
วันคุ้มครองโลก
วันแรงงานแห่งชาติ
วันฉัตรมงคล
วันพืชมงคล
วันวิสาขบูชา
วันต้นไม้แห่งชาติ
วันงดสูบบุหรี่โลก
วันสิ่งแวดล้อมโลก
วันอานันทมหิดล
วันดำรงราชานุภาพ
วันสุนทรภู่
วันต่อต้านยาเสพติด
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
เดือนกันยายน
วันลูกเสือแห่งชาติ
วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษา
วันภาษาไทยแห่งชาติ
วันรพี
วันแม่แห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วันสืบ นาคะเสถียร
วันโอโซนโลก
วันเยาวชนแห่งชาติ
วันมหิดล
เดือนตุลาคม
เดือนพฤศจิกายน
เดือนธันวาคม
วันสารทไทย
วันตำรวจ
วันเทคโนโลยีของไทย
วันปิยะมหาราช
วันสหประชาชาติ
วันออกพรรษา
วันเทโวโรหนะ
วันฮาโลวีน
วันลอยกระทง
วันวชิราวุธ - วันประถมศึกษา
วันโลกต้านเอดส์
วันสิ่งแวดล้อมไทย
วันพ่อแห่งชาติ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

วันรัฐธรรมนูญ
วันกีฬาแห่งชาติ
วันคริสต์มาส
วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ประเพณีไทย


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์