|
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศิลปวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นมาเป็นเวลาช้านาน ศิลปวัฒนธรรมไทยนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในอันที่จะหล่อหลอมชาวไทยในภูมิภาคต่าง ๆ ให้เกิดความสมานฉันท์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
|
แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เป็นไปอย่างรวดเร็วผลทำให้มรดกทางวัฒนธรรมในแขนงต่าง ๆ นับตั้งแต่โบราณวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ตลอดจนวิธีการดำเนินชีวิต ค่านิยมและระบบประเพณีต่าง ๆ ในท้องถิ่นได้รับผลกระทบและถูกละเลยทอดทิ้ง
|
และแม้ว่าในภาครัฐ จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโดยตรง แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ทันเหตุการณ์ได้ จึงจำเป็นต้องหามาตราการในการที่จะประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้มามีส่วนร่วมในการรักษามรดกวัฒนธรรมของชาติให้มากขึ้น
|
กรมศิลปากรจึงได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาเห็นชอบในการที่จะกำหนดช่วงเวลาที่แน่ชัดในรอบปีหนึ่ง ๆ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รำลึกถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ เพื่อให้เกิดแนวความคิด ความต้องการในอันที่จะทำนุบำรุงรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆ
|
ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ องค์เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย เป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย ด้วยตระหนักในพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปวัฒนธรรมของพระองค์ และพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงอนุเคราะห์และสนับสนุนกิจกรรมอันเนื่องด้วยงานวัฒนธรรมของชาติตลอดมา
และในวันที่ 23 กรกฏาคม 2532 ได้มีการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์มรดกไทยขึ้นทุกจังหวัดประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทย เนื่องจากงบประมาณของรัฐมีไม่เพียงพอ
|
|
1.เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
2.เพื่อรณรงค์ให้มีการสงวนรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างถูกวิธี
3.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและภาคเอกชนได้มีความรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้าของโบราณสถานโบราณวัตถุและร่วมรับผิดชอบดูแลทะนุบำรุงรักษาได้เป็นมรดกไทยประจำถิ่น
4.เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
5.เพื่อลดอัตราการสูญเสีย และการถูกทำลายของโบราณสถานโบราณวัตถุให้น้อยลง
6.เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมไทยเบี่ยงเบนเปลี่ยทิศทางไป
|
|
ในวันอนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศได้ร่วมกันจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมเช่น การจัดนิทรรศการการจัดการแสดง การฉายภาพยนตร์ ทัษนศึกษาโบราณสถานและสถานที่สำคัญทางศาสนา กิจกรรมเสริมสร้างและสนับสนุนให้เกิดทัศนคติที่จะยังประโยชน์ต่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมไทย ได้การรณรงค์ให้มีการพัฒนา บูรณะและทำความสะอาดโบราณสถานศาสนสถาน ตลอดจนกิจกรรมส่งเสริมอื่น ๆ
|
|
|
แหล่งอ้างอิง วรนุช อุษณกร. ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก กรุงเทพฯ โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์
|