|
วันที่ 5 -16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 สหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลประเทศสวีเดน ได้จัดการประชุมที่เรียกว่า " การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" (UN Conference on The Humen Environment) ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน โดยใช้เวลาเตรียมการประชุมครั้งนี้ถึง 3 ปี เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอต่างๆ รวมทั้งแผนดำเนินการและปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ มีผู้เข้าร่วมประชุม 1,200 คน จาก 113 ประเทศ ผู้สังเกตุการณ์มากกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชนและสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ รวมทั้งตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลก |
|
ผลการประชุมนับว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมขจัดภยันตรายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังคุกคามของเรา |
|
ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลก จึงได้มีการกำหนดให้วันแรกของการประชุม คือ วันที่ 5 มิถุนายน เป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก" (World Environment Day)พร้อมทั้งได้จัดตั้ง "โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ" หรือเรียกย่อว่า "ยูเนป"(UNEP : United Nation Environment Programe) ขึ้น ซึ่งรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น และจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ซึ่งในปี 2547 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาติ ได้กำหนดหัวข้อการรณรงค์ เพื่อใช้ร่วมกันทั่วโลกว่า Wanted ! Sea and Oceans - Dead or Live ? "ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย" |
|
สำหรับในประเทศไทย มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นในปี 2518 เป็นฉบับแรก เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พุทธศักราช 2518 ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติฯ ฉบับที่ 2 ป ีพ.ศ.2521 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ.2522 ต่อมาในสมัยรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีร่างพระราชบัญญัติฯ ขึ้นใหม ่โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน2535 เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ และกรมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม |
|
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พุทธศักราช2535 เป็นพระราชบัญญัติที่มุ่งกระจายอำนาจของการวางแผนและปฏิบัติการการสิ่งแวดล้อมลงสู่ท้องถิ่นและให้ความสำคัญในเรื่องของเรื่องของการติดตาม ตรวจสอบ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการควบคุมมลพิษ |
|
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน ที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต |
2528 (1985) |
Youth, Population and Environment เยาวชน ประชากรและสิ่งแวดล้อม |
|
2529 (1986) |
A Tree for Peace ต้นไม้เพื่อสันติภาพ |
|
2530 (1987) |
Theme : Public Participation, Environment Protection and Sustainable Development
|
- |
|
2531 (1988) |
Slogan : When people put the environment first, development will last
การมีส่วนร่วมของประชาชน การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
|
|
2532 (1989) |
Global Warming ; Global Warming ภาวะโลกร้อน
|
|
2533 (1990) |
Children and the Environment (Our Children, Their Earth) เด็กและสิ่งแวดล้อม
|
|
2534 (1991) |
Climate Change : Need for Global Partnership การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
|
|
2535 (1992) |
Only One Earth : Care and Share
|
|
2536 (1993) |
Poverty and the Environment : Breaking the Vicious Circle
|
|
2537 (1994) |
One Earth, One Family โลกใบเดียวครอบครัวเดียวกัน
|
|
2538 (1995) |
We The Peoples, United for the Global Environment ประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมโลก
|
|
2539 (1996) |
Our Earth, Our Habitat, Our Home รักโลก : ดูแลถิ่นฐานบ้านเรา
|
|
2540 (1997) |
For Life on Earth เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนบนผืนโลก
|
|
2541 (1998) |
For Life on Earth "Save our Seas" "เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชีวิตยั่งยืน
|
|
2542 (1999) |
"Our Earth, Our Future
Just Save It" รักโลก รักอนาคต รักษ์สิ่งแวดล้อม
|
|
2543 (2000) |
2000 The Environment Millennium : Time to Act ปี 2000 สหัสวรรษแห่งสิ่งแวดล้อม : ร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อโลก เพื่อเรา"
|
|
2544 (2001) |
CONNECT with the World Wide Web of Life เชื่อมโยงโลกกว้าง ร่วมสร้างสานสายใยชีวิต
|
|
2545 (2002) |
Give Earth a Chance ให้โอกาสโลกฟื้น คืนความสดใสให้ชีวิต
|
|
2546 (2003) |
Water - Two Billion People are Dying for It! รักษ์น้ำเพื่อสรรพชีวิต ก่อนวิกฤติจะมาเยือน
|
|
|
2547 (2004) |
Wanted ! Sea and Oceans - Dead or Live ? ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย
|
|
|
2548 (2005) |
GREEN CITIES PLAN FOR
THE PLANET
เมืองเขียวสดใส
ร่วมใจวางแผนเพื่อโลก |