|
|
ไฟป่าเป็นปัญหาสำคัญสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งตามมาอีกทั้งยังเกิดผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
โดยสาเหตุของไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์แทบทั้งสิ้น
ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงใช้ประโยชน์จากไฟในการประกอบอาชีพ
เช่น การล่าสัตว์ การเก็บหาของป่า การเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อยลอย
การกำจัดวัชพืชเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกจากสาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดหมอกควัน
ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
โดยหมอกควันที่ลอยอยู่มีฝุ่นละอองและควันพิษ
ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง เหนื่อยง่าย
หมอกควันจากไฟป่ายังทำให้เกิดทัศนวิสัยที่ไม่เหมาะสมต่อการจราจรทางอากาศ
ทั้งยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภัยแล้งตามมา |
|
นอกจากนี้ไฟป่ายังก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก
(GREENHOUSE EFFECT)
ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเนื่องจากในขณะที่เกิดไฟป่า
การเผาไหม้ก่อให้เกิดก๊าซชนิดต่าง ๆ
โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์
ซึ่งเมื่อรวมกับก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ในกิจกรรมอุตสาหกรรม การคมนาคม
ซึ่งสะสมก่อตัวเป็นชั้นหนาในบรรยากาศของโลก
ทำให้ความร้อนที่แผ่จากผิวโลกกระจายกลับคืนสู่บรรยากาศไม่ได้
ปริมาณความร้อนที่สะสมอยู่บนโลกก็จะเพิ่มขึ้น
ประกอบกับในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ตรวจพบการเผาป่ามากที่สุด
ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาไฟป่าส่งผลกระทบประชาชนอย่างมาก |
|
ดังนั้นเมื่อวันที่
24 กุมภาพันธ์ 2524
คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยกรมป่าไม้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เสนอมาตรการควบคุมไฟป่า
โดยให้จัดตั้งหน่วยงานป้องกันไฟป่าขึ้นโดยเฉพาะ
พร้อมทั้งการขอความร่วมมือจัดตั้งหน่วยอาสาสมัคร
เพื่อช่วยตรวจตราป้องกัน
รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์การป้องกันไฟป่าขึ้นโดยด่วน
ทั้งนี้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังด้วย
ต่อมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย)
ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 85/2542
ลงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2542
เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการไฟป่าแห่งชาติในระยะสั้นและระยะยาว
รวมทั้งระดมบุคลากรจากทุกหน่วยงาน เพื่อควบคุมไฟป่า
รวมทั้งขอความร่วมมือจากองค์กรเอกชน และอาสาสมัครในรูปแบบต่างๆ
เพื่อสนับสนุนการควบคุมไฟป่า
กรมป่าไม้จึงได้เสนอร่างโครงการวันปลอดควันพิษจากไฟป่า |
ต่อมา
คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่
22
สิงหาคม 2543 เห็นชอบและอนุมัติ ให้วันที่
24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันปลอดควันพิษจากไฟป่า |
|
|
1.
เพื่อรณรงค์ให้ประชาชน และเกษตรกร งดการจุดไฟเผาป่า
เพื่อลดควันไฟที่เกิดจากการเผาป่า |
2.
สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักให้แก่ประชาชน นักเรียน
นักศึกษา หน่วยราชการ องค์กรเอกชน
ถึงอันตรายและผลกระทบของควันที่เกิดจากไฟป่า |
3.
เพื่อป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จากการจุดไฟเผาป่า |
|
1.หน่วยงานในสังกัดกรมป่าไม้
และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เช่น
การจัดนิทรรศการ เดินรณรงค์ขอความร่วมมือประชาชน เกษตรกร งดจุดไฟเผาป่า |
2.
กิจกรรมการรณรงค์การลดเชื้อเพลิง และทำแนวกันไฟ (โดยไม่จุดไฟ)
|
2.1
การรณรงค์และส่งเสริมให้เกษตรกร นำกิ่งไม้ ใบไม้ในพื้นที่ป่า
หรือวัชพืช มาทำปุ๋ยหมัก เพื่อนำไปใช้บำรุงพืชผล
หรือฝังกลบแทนการเผาทำลาย เป็นการลดเชื้อเพลิง |
2.2
การทำแนวกันไฟ
โดยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกับอาสาสมัครป้องกันไฟป่า |
ที่มา :
http://www.forest.go.th/prachinburi/general/ganeral-01-4.html
|
http://www.geocities.com/firecontrol13/24febtext.html |
http://www.forest.go.th/ForestFire/24%20feb.htm |
http://www.geocities.com/firecontrol35/ron1.html |