|
ความหมาย |
|
วันมาฆบูชา
หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะคือวันขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือน ๓
หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ถ้าปีใดเป็นปีที่มีอธิกมาส
คือเดือน ๘ สองหน
วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือน ๔
หรือประมาณเดือนมีนาคมของปีนั้น |
|
วันมาฆบูชา
ถือว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง
เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานธรรมให้เป็นหลักการศึกษาและการปฏิบัติทั้งขั้นต่ำ
ขั้นกลาง
และขั้นสูงในพระพุทธศาสนา
ดุจพระมหากษัตริย์ทรงประทานรัฐธรรมนูญของประเทศฉะนั้น |
|
วันมาฆบูชา
จัดวาเป็นวันประชุมใหญ่ของสาวก
กล่าวคือเป็นวันที่พระอรหันตสาวก
๑,๒๕๐ องค์
ได้มาประชุมพร้อมกันประกอบด้วยองค์ประกอบ
๔ ประการ เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต"
ณ วัดพระเวฬุวันมหาวิหาร
ในพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ
หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว ๙
เดือน
พระพุทธองค์ทรงเห็นเป็นเวลาอันสมควรแล้ว
จึงประกาศหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
เพื่อให้สาวกถือเป็นแนวเทศนาสั่งสอนและปฏิบัติของพุทธบริษัทสืบไป
โดยเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนาเรียกว่า
"โอวาทปาฏิโมกข์" แปลว่า
"ธรรมที่เป็นประธานแห่งโอวาท" |
|
ในวันนี้เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาติโมกข์นับเป็นวันที่พระพุทธศาสนาได้วางรากฐานมั่นคง เรียกวันดังกล่าวว่า จาตุรงคสันติบาต ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ 4 คือ
1. พระภิกษุจำนวน 1,250 รูป มาประชุมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เวฬุวัน กรุงราชคฤห์โดยมิได้นัดหมายกันแต่อย่างใด
2. พระภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
3. พระภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งสิ้น
4. ในวันนี้เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ |
|
เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรรย์เหล่านี้ พระพุทธองค์จึงถือโอกาสแสดงโอวาทปาติโมกข์ซึ่งมีใจความที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ไม่ทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส พร้อมทั้งได้สอนหลักครู คือ หลักของการสอนไว้ด้วย เช่น ต้องมีความอดทน มุ่งความสงบ อยู่ในระเบียบวินัย ตั้งใจแน่วแน่ ทำแต่ความดีมีคุณประโยชน์ ฯลฯ เป็นต้น
|
|
สาเหตุของการชุมนุม คงเนื่องมาจากภิกษุเหล่านั้นล้วนเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนและในวันเพ็ญเดือนมาฆะเป็นวันที่ทางศาสนาพราณ์ได้ประกอบพิธีศิวาราตรี คือ การลอยบาปในแม่น้ำคงคา และประกอบพิธีสักการบูชาพระเป็นเจ้าในเทวสถาน เมื่อถึงวันนั้น พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าซึ่งเคยซึ่งเคยประกอบพิธีดังกล่าวจึงต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ |
|
ในวันเพ็ญเดือนมาฆะยังมีเหตุกาณ์เกิดขึ้นอีกอย่างประการหนึ่งในสมัยพุทธกาล กล่าวคือเป็นวันที่พระองค์ทรงปลงสังขารที่ปาวาลเจดีย์ แคล้นวัชชี เนื่องจากขณะนั้น พระองค์มีพระชนมายุ 80 พรรษา ได้ทรงแสดงอิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) ให้แก่พระอานนท์ ว่าถ้าใครเจริญได้จะต่ออายุได้ แต่พระอานนท์ก็มิได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปอีก เมื่อพระอานนท์ออกจากที่เฝ้าแล้ว พระยามารจึงเขามาทูลขอให้พระองค์ปรินิพพาน โดยอ้างว่ามีพุทธบริษัท 4 ครบแล้ว และพุทธศาสนาได้เจริญมั่นคงแล้ว พระพุทธองค์ได้เปล่งวาจาว่าอีก 3 เดือนนับจากนี้ไปจะปรินิพพาน พระวาจาของพระพุทธเจ้าที่ทรงเปล่งออกมาครั้งนี้เรียกว่า ทรงปลงอายุสังขาร |
|
เมื่อมีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้น 2 อย่าง จึงนับว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนาสมควรที่ชาวพุทธจะแสดงความระลึกถึงและจัดพิธีบูชาให้เป็นพิเศษต่างไปจากวันพระตามปกติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมองเห็นความสำคัญนี้จึงได้โปรดให้มีพระราชพิธีประกอบการกุศลขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. 2394 และให้เป็นงานหลวงตลอดไป ต่อมาได้แพร่กระจายไปตามวัดต่างๆ เช่น วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ในที่สุดก็ขยายไปยังวัดอื่น ๆ จนเป็นที่นิยมทั่วไป และทางราชการหยุด 1 วัน เพื่อให้ข้าราชการมีโอกาสบำเพ็ญกุศลในวันนี้ ในวันนี้ชาวพุทธจะทำบุญตักบาตร ไปวัด ฟังเทศน์ สวดมนต์ และเลี้ยงพระ กลางคืนมีพิธีเดินเทียนหรือปัจจุบันหรือปัจจุบันนิยมเรียกว่า เวียนเทียน เป็นการบูชาพิเศษ โดยทางวัดจะประกาสให้ทราบโดยกำหนดเวลาเวียนเทียนจะเป็นเวลาตอนเช้า บ่าย หรือค่ำก็ได้แล้วแต่ความสะดวก ในกรุงเทพฯ มักเป็นเวลากลางคืนประมาณ 2 ทุ่ม หรือ 3 ทุ่ม ชาวบ้านจะนำดอกไม้ ธูปเทียนมารวมกันที่หน้าอุโบถกหรือปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัดแล้วแต่ทางวัดจะจัดทำพิธี ณ ที่ใด (บางครั้งชาวบ้านจะหาซื้อดอกไม้ธูปเทียนได้ในบริเวณนั้น) เมื่อถึงกำหนดเวลาพระสงฆ์ สามเณร จะมาชุมนุมกันในพระอุโบถก สวดมนต์ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า(คำบูชาต่างกันไปซึ่งจะกำหนดใช้เฉพาะวันนั้น ๆ) บางครั้งอาจมีคำแปล แปลภาษาบาลีให้ฟังด้วย หลังจากนี้ผู้เป็นประธานในหมู่สงฆ์จุดธูปเทียนเดินนำหน้าพระสงฆ์ สามเณร และชาวบ้านตามลำดับ โดยจัดแบ่งเป็นแถว ๆ ละ 4 คน บ้างแล้วแต่ความกว้างแคบของบริเวณ ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินเวียนขวา จำนวน 3 รอบ ครบ 3 รอบแล้ว ปักดอกไม้ธูปเทียนในที่ที่จัดไว้เป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียน ทางวัดอาจจัดให้มีการฟังเทศน์ โดยมากมักเทศน์โอวาทปาติโมกข์ และสวดโอวาทปาติโมกข์ อาจสวดก่อนหรือหลังเทศน์ก็ได้ บางวัดก็จัดให้มีเทศน์เรื่องอื่น ๆ อีกด้วย จะจัดทำตลอดรุ่งหรือแล้วแต่จะเห็นสมควรก็ได้ |