|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ประเทศมาเลเซียเป็นดินแดนมหัศจรรย์ในเขตร้อนทางทิศเหนือที่ 7 องศาของเส้นศูนย์สูตร ตั้งอยู่ในใจกลางเอเชียอาคเนย์ประกอบด้วยคาบสมุทรมาเลเซีย รัฐซาบาห์และรัฐซาราวัคบนเกาะบอร์เนียว รวมเขตพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ 329,758 ตารางกิโลเมตร
มาเลเซียเป็นชาติที่มีพลเมืองผสมผสานหลายเผ่าพันธุ์ประมาณ 21.3 ล้านคน กอปรด้วยชนเผ่าสำคัญ คือ ชาวมาเลย์, ชาวจีนและชาวอินเดียและชนเผ่าเดิมหลายเผ่าในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวัค
ประวัติศาสตร์ของมาเลเซียมีความต่อเนื่องที่เต็มไปด้วยอำนาจอิทธิพลของต่างชาติ ทั้งนี้เพราะตั้งอยู่ในทำเลจุดยุทธศาสตร์ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ ซึ่งกลายเป็นแหล่งรวมของพ่อค้าและนักท่องเที่ยวทั้งหลาย
อิทธิพลจากศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธแพร่หลายในตะวันตกเฉียงเหนือก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามา การค้นพบทางโบราณคดีที่หุบเขาบูจางซึ่งมีหลักฐานแสดงถึงอารยธรรม ความเจริญของศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธซึ่งอาจย้อนหลังไปได้ถึงสมัยศักราช 300 ที่ได้เจริญขึ้นจนกลายเป็นศูนย์การค้าและการพาณิชย์ที่สำคัญยิ่งจนถึงศตวรรษ
13 เมื่อมะละกาที่อุดมสมบูรณ์ด้วยเครื่องเทศได้ดึงดูดความสนใจของชาติล่าอาณานิคมที่ทรงอำนาจในปี ค.ศ. 1511 มะละกาตกอยู่ใต้การปกครองของโปรตุเกส และในปี ค.ศ. 1641 ฮอลันดา เข้ามามีอำนาจแทนที่โปรตุเกส และอังกฤษก็เข้ามายึดอำนาจต่อในปี ค.ศ. 1815 โดยรวบรวมรัฐต่าง ๆ ในคาบมหาสมุทรมลายูหลังจากการขึ้นฝั่งของฟรานซิส ไลต์ ที่เกาะปีนังในปี ค.ศ.1786
รัฐซาราวัคเคยอยู่ใต้การปกครองของนักแสวงโชคชาวอังกฤษคนหนึ่งคือ เจมส์ บรูค และลูกหลานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1841 แต่ในปี ค.ศ. 1888 ซาราวัค และบอร์เนียวเหนือ (ซาบาห์) ได้กลายเป็นดินแดนในอาณัติของอังกฤษ ในสมัยปี ค.ศ. 1930 มีการปลุกระดมความรักชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีขึ้นอีกหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนกระทั่งได้รับเอกราชคืนมาในวันที่ 31 สิงหาคม
ค.ศ. 1957 ทุกวันนี้มาเลเซียเป็นชาติสมาชิกที่สำคัญชาติหนึ่งของสมาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย บรูไน ดารุส ซาแลม, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และไทย, พม่า และลาว มาเลเซียเป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีพระราชาธิบดี หรือที่เรียกว่า "ยังดี เปอตวน อากง" เป็นประมุข ซึ่งได้รับเลือกตั้งจาก "เจ้าคณะผู้ครองนคร" หรือสุลต่านผู้สืบเชื้อสายเดียวกันทั้ง 13 รัฐ จะอยู่ในตำแหน่ง คราวละ 5 ปี
|
|
|
ชื่อเดิมของประเทศมาเลเซีย ภายหลังจากที่ได้รับเอกราช คือ "สหพันธ์มาลายา" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "มาเลเซีย" เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2506 มีการจัดตั้งสหพันธ์มาเลเซียขึ้น โดยรวมรัฐซาบาร์ ซาราวัค และสิงคโปร์ เข้ากับสหพันธ์มาลายาเดิม มีกัวลาลัมเปอร์ เป็นเมืองหลวง
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งคือ "ตนกู อับดุล ราห์มาน" นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ต่อมาในปี 2508 สิงคโปร์ก็ได้แยกออกไปเป็นประเทศอิสระ
|
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์มาเลเซียแบ่งประเทศออกเป็น 2 ภูมิภาคใหญ่ ๆ คือ ภูมิภาคที่ตั้งอยู่บนแหลมมาลายา หรือมาเลเซียตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 52,000 ตร.ไมล์ ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ 11 รัฐ เป็นรัฐที่มีเจ้าผู้ปกครองเป็นสุลต่าน 9 รัฐ คือรัฐปลิส เคดาห์ กลันตัน ตรังกานู ปาหัง สลังงอร์ เปรัค เนกรีเซมบิลัน และยะโฮร์ มีผู้ว่าราชการ 2 รัฐคือ ปีนัง และมะละกา ส่วนอีกภูมิภาคหนึ่งตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว หรือมาเลเซียตะวันออก
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว มี 2 รัฐ คือ ซาราวัค และซาบาห์ มีผู้ปกครองเป็นผู้ว่าราชการ มีอำนาจหน้าที่คล้ายสุลต่าน มีพื้นที่ประมาณ 78,000 ตร.ไมล์
|
|
|
มาเลเซีย เป็นแบบพหุสังคม คือสังคมที่มีคนหลายเชื้อชาติ อยู่รวมกัน มีประชากรประมาณ 18,865,422 คน ประกอบด้วยเชื้อชาติ มาเลย์ 56 % เชื้อชาติจีน 32 % เชื้อชาติ อินเดีย 10% และเชื้อชาติอื่น ๆ อีก 20 % การนับถือศาสนาจึงแตกต่างกันไป กล่าวคือ ชาวมาเลย์ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาอิสลาม ชาวจีนนับถือศาสนาพุทธ, คริสต์, ขงจื้อ ชาวอินเดียนับถือ ศาสนาฮินดู
ทางด้านภาษา ใช้ภาษา "บาฮาซา มาเลเซีย" เป็นภาษาประจำชาติ ชาวมาเลเซียยังคงมีอิสระเสรีที่จะใช้ภาษาอื่น ๆ ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่สองรองลงไป "ดอกไม้ประจำชาติ ดอกชบาหรือบุหงารายา "
|
|
|
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย และมาเลเซียได้เพิ่มขึ้นเรี่อยมานับตั้งแต่ปี 1987 โดยมาเลเซียได้นำเข้าสินค้าจากประเทศไทยหลายชนิด อาทิ อะไหล่อิเล็กทรอนิกส์, ยางดิบ, ปลา, ข้าว ขณะเดียวกัน ก็ได้ส่งออกสินค้ารประเภท น้ำมันปิโตรเลียม, ไม้, อุปกรณ์สำนักงาน, อุปกรณ์การสื่อสารให้กับไทย ความสัมพันธ์ระหว่างไทย และมาเลเซีย มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นดีต่อกัน แต่เนื่องจากมีพรมแดนติดต่อกันเป็นระยะยาว จึงทำให้มีปัญหาการกระทบกระทั่งกันในด้านต่าง ๆอยู่บ้างเช่น ปัญหาชายแดน, การปักปันเขตแดน, การถือสัญชาติ, ปัญหาการประมง แต่ทั้งสองฝ่ายยังคงพยายามประนีประนอมกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคต
|
วันสำคัญของไทย
วันสำคัญของไทยและต่างประเทศอื่นๆ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|