วันสืบ นาคะเสถียร
วันที่ 1 กันยายน ของทุกปี
สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัด
อุทัยธานี แลกชีวิตของตนเองเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533
เพื่อ ปลุกจิตสำนึกของคนในสังคมให้ตื่นขึ้น
ให้รับทราบความเป็นไปของสถานการณ์ป่าไม้ และ สัตว์ป่าเมืองไทย คุณสืบ
ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นจริงจังใน
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ภายหลังการเสียชีวิตของคุณสืบ 18 วัน
มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ ?วันที่ 18 กันยายน
2533? วันเดียวกับการครบรอบ 94 ปีของกรมป่าไม้
หน่วยงานต้นสังกัดของนักอนุรักษ์นี้
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้ กำหนดขอบข่ายและทิศทางการทำงานไว้ 5 ประการ
คือ
-
การสนับสนุนการจัดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร
ตลอดจนผืนป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ
-
การปรับปรุงสวัสดิการเพื่อการเสริมสร้างขวัญ
และกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
-
งานรณรงค์ป้องกันรักษาผืนป่าอนุรักษ์และทรัพยากรธรรมชาติ
ภายใต้การรณรงค์แนวความคิด "ไม่มีป่า ไม่มีน้ำ"
-
งานประชาสัมพันธ์และปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
แวดล้อม เพื่อขยายแนวร่วม และเผยแพร่งานอนุรักษ์ส่วนกว้าง
-
งานส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยสัตว์ป่า
โดยจัดตั้งกองทุนสัตว์ป่าขึ้น
ประวัติ
สืบ นาคะเสถียรหรือนามเดิมชื่อ"สืบยศ"
เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ที่ตำบลท่างาม อำเภอเมือง
จังหวัดปราจีนบุรี บิดาชื่อ นายสลับ นาคะเสถียร เคยดำรงตำแหน่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัด ปราจีนบุรี มารดาชื่อ นางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร
สืบ นาคะเสถียรมีพี่น้องทั้งหมด 3 คน โดยสืบ นาคะเสถียร
เป็นบุตรชายคนโต น้องชายและน้องสาวอีก 2 คนคือคุณกอบกิจ
นาคะเสถียรและคุณกัลยา รักษาสิริกุล คุณสืบมีบุตรสาว 1 คน
ชื่อชินรัตน์ นาคะเสถียร ในวัยเด็ก สืบ นาคะเสถียร
ได้ช่วยงานในนาของมารดา ทำงานอยู่กลางแจ้งทั้งวันโดยไม่ปริปากบ่น
บุคลิกประจำตัว คือเมื่อเขาสนใจหรือตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น
ตั้งใจทำอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ ครั้นเรียนจบชั้นประถม 4
ต้องจากครอบครัวไปเรียนอยู่ที่ โรงเรียนเซนหลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
จนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
พ.ศ.2511 เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สืบมีความตั้งใจในการศึกษาอย่างเต็มประสิทธิภาพและเข้าร่วมกิจกรรมนิสิต
โดยเป็นที่ทราบกันดีระหว่างผู้ใกล้ชิดว่า สืบ นาคะเสถียร
เป็นผู้มีใจรักศิลปะ และสูงส่งในเชิงมนุษยสัมพันธ์
มีระเบียบในการดำเนินชีวิต
ในสมัยเรียนอย่างมีแบบแผน พ.ศ.2514 จบการศึกษาจาก คณะวนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมา พ.ศ.2516 สืบ นาคะเสถียร
เข้าทำงานที่ส่วนสาธารณะของการเคหะแห่งชาติ
พ.ศ.2517 สืบเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวนวัฒน์วิทยา
ที่คณะวนศาสตร์ มหาลัยเกษตรศาสตร์ จนสำเร็จการศึกษา
และ ในปีพ.ศ.2518 ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการ
ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้
และเริ่มชีวิตข้าราชการกรมป่าไม้
เมื่อปี พ.ศ.2518 ใน กองอนุรักษ์สัตว์ป่า
ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น
เขาตัดสินเลือกกองนี้เพราะต้องการทำงาน
เกี่ยวกับสัตว์ป่ามากกว่างานที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ ป่าไม้โดยตรง
สืบ เริ่มงานครั้งแรกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมภู่
จังหวัดชลบุรี ได้ผลักดันให้สืบ ต้องเข้าไปทำหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย
อย่างเลี่ยงไม่พ้น ที่นั่นเขาได้จับกุม
ผู้บุกรุกทำลายป่าโดยไม่เกรงอิทธิพลใดๆ
ผู้ต้องหาล้วนได้รับการปฏิบัติอย่างสุภาพนิ่มนวล และที่นี่
สืบเริ่มเรียนรู้ว่า การเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ซื่อสัตย์
นั้นเจ็บปวดเพียงไหน
สืบ ทำงาน อยู่ 3-4 ปี ในปี พ.ศ.2522 สืบก็ได้รับทุนจาก British
Council ไปเรียนระดับปริญญาโท สาขาอนุรักษ์วิทยาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน
ประเทศอังกฤษ จากนั้น พ.ศ.2524 กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขต
ห้ามล่าสัตว์ป่า บางพระ มีส่วนร่วมในการจัดการและประสานงาน
รวมทั้งเป็นวิทยากร ฝึกอบรมพนักงาน พิทักษ์ป่าอีกหลายรุ่น
จนกระทั่ง พ.ศ.2526 สืบได้ขอย้ายตัวเอง เข้ามาเป็นนักวิชาการ
กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว
"ผมหันมาสนใจงานวิจัยมากกว่าที่จะวิ่งไปจับคน
เพราะรู้ว่าจับได้แต่คนตัวเล็ก ๆ ตัวใหญ่ ๆ จับไม่ได้ก็เลย
อึดอัดว่ากฎหมายบ้านเมืองนั้นมันใช้ไม่ได้กับทุกคน
มันเหมือนกับว่าเราไม่ยุติธรรมเรารังแกชาวบ้าน"
ใน ระยะนี้
เป็นจังหวะที่สืบได้แสดงความเป็นนักวิชาการออกมาอย่างเต็มที่
งานวิจัยศึกษาสัตว์ป่าเป็นงานที่สืบ
ทำได้ดีและมีความสุขในการทำงานวิชาการมาก สืบรักงานด้านนี้เป็นชีวิต
จิตใจ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่เขาได้ผูกพัน กับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง
เขาเริ่มใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้อง วีดีโอ
กล้องถ่ายภาพนิ่งและการสเก็ตซ์ภาพ ในการบันทึกงานวิจัยทั้งหมด
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลาย
เป็นผลงานการวิจัยสัตว์ป่าชิ้นสำคัญของเมืองไทยในเวลาต่อมา
และใน เวลา ต่อมา พ.ศ.2529 สืบได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานในหน้าที่
หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา
(เชี่ยวหลาน) จังหวัด สุราษฏร์ธานี
ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้าง ในอ่างเก็บน้ำ
ซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน
สืบได้ทุ่มเทเวลาให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วม
โดยไม่ได้นึกถึง ความปลอดภัยของตนเองเลย จากการทำงานชิ้นดังกล่าวสืบ
นาคะเสถียรเริ่มเข้าใจ ปัญหาทั้งหมดอย่างถ่องแท้ เขาตระหนักว่าลำพังงาน
วิชาการเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่อาจหยุดยั้งกระแส การทำลาย
ป่าและสัตว์ป่าอันเป็นปัญหา ระดับชาติได้ ดังนั้น เมื่อมีกรณี
รัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่ฯ
สืบจึงโถมตัวเข้าคัดค้านเต็มที่
พ.ศ.2531 สืบได้กลับเข้ามารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้
และต่อมา พ.ศ.2532 สืบ นาคะเสถียร ได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขต
รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
สืบ ได้พยายามในการที่จะเสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
และห้วยขาแข้งมีฐานะเป็นมรดกของโลก โดยได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ
จากองค์การ สหประชาชาติ สืบเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกัน
สำคัญที่คอยคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้ อย่างถาวร ปลายปี พ.ศ. 2532
สืบได้รับทุน ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศอังกฤษ พร้อม ๆ
กับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่ง
หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
แต่ในที่สุด สืบ ก็ตัดสินใจเดินทางเข้ารับตำแหน่ง
หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้าเต็มไปด้วย ความยากลำบากนานัปการ
เช้า มืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533 สืบ นาคะเสถียร
ตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการสั่งเสียลูกน้อง คนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา
6 ฉบับ ชำระสะสางภาระ รับผิดชอบและทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง มอบหมาย
เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัย
สัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตาม วัตถุกระสงค์ดังกล่าว
ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อ ดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่
ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระ
จนจิตใจสงบขณะที่ฟ้ามืดกำลัง เปิดม่านรับวันใหม่
เสียงปีนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร
ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้น ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ
นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกาย วาจา
และหลังจากนั้นอีกสองอาทิตย์ต่อมา
ห่างจากบริเวณที่เกิดเสียงปืนดังขึ้นไม่กี่สิบเมตรบรรดาเจ้าหน้าที่
ระดับสูงของกรมป่าไม้ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายทหาร
นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ นายอำเภอ ป่าไม้เขต และ เจ้าหน้าที่ป่าไม้
อีกนับร้อยคน ต่างกุลีกุจอมาประชุมกันที่ห้วยขาแข้ง อย่างแข็งขัน
เพื่อหามาตรการป้องกันการบุกรุก
ทำลายป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร
รอวันนี้มาตั้งแต่วันแรกที่เขามาดำรงตำแหน่ง
หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้แล้ว แต่หากไม่มีเสียงปืนนัดนั้น
การประชุมดังกล่าวก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน...
|