|
เมื่อกล่าวถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผู้คนส่วนใหญ่มักนึกถึงการอนุรักษ์ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์
หรือแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งทรัพยากรอันมีค่า หรือน้ำตก ชายหาด
เกาะ แก่ง ปะการัง ที่มีทัศนียภาพสวยงามและมีคุณค่าทางนันทนาการ
แต่สำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุหรือทุ่งหญ้าน้ำท่วมถึงนั้น
สาธารณชนส่วนใหญ่มักมองข้ามคุณค่าไป
โดยเห็นว่าเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ที่ไม่มีทรัพยากรที่มีค่า
ไม่มีประโยชน์ เป็นเพียงพื้นที่เฉอะแฉะ มีหญ้าขึ้นรกรุงรัง
ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่มีพิษ เช่น งู และพาหะนำโรคต่าง
ๆ เช่น ยุง ที่รบกวนความเป็นอยู่ของชุมชนใกล้เคียงทั้ง ๆ
ที่คนไทยทุกคนให้ความสำคัญกับพื้นที่ชุ่มน้ำมาตั้งแต่สมัยโบราณดังคำกล่าวที่ว่า
"ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" นอกจากนั้น
พื้นที่ชุ่มน้ำยังเป็นระบบนิเวศที่มีบทบาทอันสำคัญยิ่งต่อวิถีชีวิตของชุมชนชนบท
จนมีผู้กล่าวว่า "พื้นที่ชุ่มน้ำเปรียบเสมือนซุปเปอร์มาร์เกตของชุมชน"
ที่ชุมชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงิน |
"พื้นที่ชุ่มน้ำ"
เป็นคำที่ใช้เรียกระบบนิเวศที่ปกคลุมด้วยพื้นน้ำบางส่วนหรือทั้งหมดอย่างถาวรหรือในช่วงเวลาหนึ่ง
จึงมีลักษณะก้ำกึ่งกันระหว่างระบบนิเวศบกและระบบนิเวศน้ำ
พื้นที่ชุ่มน้ำส่วนมากจะเป็นพื้นที่บริเวณรอยต่อระหว่างระบบนิเวศบกและระบบนิเวศน้ำ
เช่น ป่าชายเลน ป่าพรุ ที่มีน้ำขังอยู่ชั่วคราวหรือเป็นระยะ ๆ
นอกจากนั้น พื้นที่ชุ่มน้ำยังรวมถึงพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำจืด
พื้นที่ชายฝั่ง และในทะเล โดยที่ความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6
เมตร เมื่อน้ำลงต่ำสุด |
พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นพื้นที่มีระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด
เป็นแหล่งที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์นานาชนิดที่อาศัยทรัพยากรน้ำ
และทรัพยากรชีวภาพที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
พื้นที่ชุ่มน้ำโลกมีคุณประโยชน ์คือ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ
ป้องกันน้ำท่วม ลดการพังทลายหน้าดิน
ควบคุมการไหลเวียนของน้ำไปยังแหล่งน้ำใต้ดินและรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ |
|
จากนิยามดังกล่าวทำให้พื้นที่มากมายมีลักษณะที่จัดได้ว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำได้แก่
บริเวณปากแม่น้ำบริเวณชายฝั่งทะเล บริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง
บริเวณที่ลุ่มน้ำจืดชื้นแฉะ ทะเลสาบ พื้นที่พรุ
และบริเวณป่าที่ลุ่มน้ำขัง
หรือแม้กระทั่งพื้นที่น้ำขังที่พัฒนาโดยมนุษย์ เช่น นาข้าว นากุ้ง
นาเกลือ บ่อปลา อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ
โดยปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการจำแนกรวมกับพื้นที่ที่ไม่ได้รับการจำแนกและคุ้มครองในรูปพื้นที่อนุรักษ์ต่าง
ๆ ที่รวมถึงป่าชายเลน ป่าพรุ ทะเล หนองและบึง ต่าง ๆ ฯลฯ
คิดเป็นพื้นที่รวมทั้งสิ้น
15.7 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 5
ของพื้นที่ประเทศ |
จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาการคุกคามพื้นที่ชุ่มน้ำใน
ประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำโดยรวมประชาชนทั่วไปและองค์กรที่เกี่ยวข้องก็ยังขาดความเข้าใจต่อความสำคัญทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของพื้นที่ชุ่มน้ำ
ทำให้มีการบุกรุกทำลายและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่หลากหลาย |
|
นอกจากนั้น ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน ชุมชนท้องถิ่น
ก็ได้ส่งผลคุกคามต่อความเสื่อมโทรม
การลดลงและสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศอย่างต่อเนื่อง |
ดังนั้นจึงเกิดอนุสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ อนุสัญญาแรมซาร์
เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้น
เพื่อมีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ
ในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนเท่าที่จะเป็นไปได้
ภายใต้เงื่อนไขการจัดการในแต่ละประเทศนั้น ๆ
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ
นานาชาติได้ร่วมยกร่างและลงนามในการรับรอง
อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่ของนกน้ำ ขึ้นใน
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2514
ณ เมือง Ramser ประเทศอิหร่าน
อนุสัญญาเป็นรู้จักในนามอนุสัญญาแรมซาร์
วัตถุประสงค์หลักในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำและเป็นข้อตกลงทางสิ่งแวดล้อม |
|
หลายปีที่ผ่านมาอนุสัญญาฯ
ได้พัฒนาตนเองจากข้อตกลงที่เน้นเพียงการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยนกน้ำ
มาเป็นกลไกระดับนานาชาติ ในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์
ดังนั้นประเทศไทยได้มอบสัตยาบันสาร ต่อผู้แทน
UNESCO
ในวันที่ 13 พฤษภาคม
2541 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 13
กันยายน 2541 ส่งผลให้
ประเทศไทยเป็นประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญา
แรมซาร์ลำดับที่ 110 |
โดยเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำ ควนขี้เสียน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
(Ramsar Site) แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตาม
พันธกรณีของอนุสัญญา คือ ประเทศภาคี
จะต้องกำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำที่เหมาะสมในดินแดนของตนเพื่อรวมไว้ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
(List of Wetland of International Importance)
โดยคำนึงถึงความสำคัญในระดับนานาชาติ ทั้งด้านนิเวศวิทยา พฤกษศาสตร์
สังคมศาสตร์ ชีววิทยา และอุทกวิทยา
และต้องดำเนินการส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำนั้น
ๆ อย่างชาญฉลาดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ |
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
ซึ่งได้รับการเสนอให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
(Ramsar Site) แห่งแรกของประเทศไทย
ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของทะเลสาบสงขลาในเขตจังหวัดพัทลุง สงขลา
และนครศรีธรรมราช ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เมื่อวันที่
8 สิงหาคม พ.ศ. 2525
มีเนื้อที่ประมาณ 281,625 ไร่
และเป็นหนึ่งในจำนวนพื้นที่ชุ่มน้ำ 42
แหล่งของประเทศที่สหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ
(IUCN)
ขึ้นบัญชีไว้ในฐานะพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในภูมิภาคเอเชีย |
|
ทะเลน้อย
เป็นทะเลสาบน้ำจืดมีลักษณะค่อนข้างกลมมีอาณาเขตผืนน้ำประมาณ
30
ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 20,000 ไร่
มีชุมชนขนาดเล็กกระจายอยู่โดยรอบพื้นที่ทางตอนเหนือเป็นป่าพรุเสม็ดขนาดใหญ่
มีระดับน้ำลึกเฉลี่ย 1.2 เมตร
ต้นน้ำของทะเลน้อยมาจากเทือกเขาบรรทัดซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2,126
มิลลิเมตร |
ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ สำรวจพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประมาณ
10
ชนิด เช่น ลิงแสม เสือปลา นากใหญ่ ขนเรียบ
นอกจากนี้ยังพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 8 ชนิด
สัตว์เลื้อยคลานอีก 25 ชนิด
ซึ่งรวมถึงเต่ากระอาน ที่ถูกจัดอยู่ในสถานภาพที่ใกล้จะสูญพันธุ์ด้วย
พันธุ์ปลา ที่พบอย่างน้อย 45 ชนิด
และในจำนวนนี้มี 4 ชนิด
ที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ คือ ปลากะทิ ปลาดุกลำพัน ปลาฝักพร้า
ปลาตะลุมพุก และชนิดเด่นที่พบคือ ปลาตุม ปลากะแห เป็นต้น |
มีการสำรวจพบนกอย่างน้อย
187
ชนิด ทะเลน้อยจัดเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของนกน้ำ
ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนกกาบบัว
ซึ่งพบว่าทำรังวางไข่ที่นี่เพียงแห่งเดียว
นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งทำรังของนกกระสาแดง นกยางควาย และนกกาน้ำเล็ก
รวมถึงนกแขวก ในฤดูหนาวจะพบนกอพยพที่สำคัญ คือ นกซ้อนหอยขาว
รวมไปถึงเป็ดแดง และเป็ดคับแคนับหมื่นตัว |
|
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของโลกตั้งแต่วันที่ 13
กันยายน 2541
และเป็นแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของเอเซียด้วย
โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ของทุกปีจะมีนกอพยพหนีหนาวมาจากไซบีเรียนับแสนตัว
และเป็นช่วงที่ธรรมชาติสวยงาม |
ในทะเลน้อยสำรวจพบพันธุ์ไม้น้ำ
78
ชนิด อาทิ ธูปฤาษี กุ่ม กก ในบริเวณน้ำลึกพบพืชลอยน้ำ เช่น บัว
ขึ้นอยู่กระจัดกระจายปะปนกับกระจูด
ส่วนพืชบกที่พบในบริเวณพรุได้ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพไป
ภายหลังจากการเกิดไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2508
ทำให้เกิดสังคมพืชเสม็ดขึ้นทดแทน
นอกจากนี้พันธุ์ไม้น้ำที่สำคัญคือ เตยน้ำ
จัดเป็นชนิดพันธุ์ที่พบเฉพาะที่ทะเลน้อยเท่านั้น |
ในอดีตก่อนการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้
จัดเป็นป่าพรุเสม็ดผืนใหญ่ที่สุดของประเทศแต่ได้ถูกบุกรุกตัดไม้เสม็ดเพื่อใช้ในการสร้างบ้าน
และเป็นเชื้อเพลิง
ทำให้กลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าและบางส่วนได้ถูกบุกเบิกทำนา
ซึ่งเป็นการทำลายแหล่งทำรังวางไข่และพื้นที่ผสมพันธุ์ของสัตว์ป่าต่าง ๆ
รวมถึงมีการลักลอบล่าสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาหารด้วย |
ปัจจุบันพื้นที่ทะเลน้อยเป็นแหล่งหาปลาที่สำคัญของชาวประมงที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่
เครื่องมือที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นตาข่ายดักปลา ลอบและเบ็ดราว
และมีประชาชนที่ประกอบอาชีพเพาะปลูกข้าว
โดยที่พื้นที่ทำนาบางส่วนในจำนวนนี้ไม่มีเอกสารสิทธิ์
และอยู่ภายในบริเวณเขตห้ามล่าฯ มีประชาชนประกอบอาชีพเลี้ยงวัว ควาย
โดยอาศัยพื้นที่ทุ่งหญ้าขนาดใหญ่
3
แห่ง บริเวณทางตอนเหนือ ตะวันออกและใต้ รวมพื้นที่ประมาณ 2
หมื่นไร่
และอาชีพที่สำคัญอีกอาชีพหนึ่งคือการทำเครื่องจักสานจากกระจูด
ซึ่งได้ทำต่อเนื่องสืบทอดมาหลายชั่วอายุ
โดยสมัยก่อนเป็นการเก็บกระจูดจากธรรมชาติ
แต่ในปัจจุบันเมื่อกระจูดเหลือน้อยลงได้มีการทำนากระจูดขึ้นในหลายพื้นที่
รวมพื้นที่ประมาณ 8,300 ไร่
และประชาชนบางส่วนได้รับรายได้จากการท่องเที่ยว
จากสถิตินักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่ทะเลน้อยมีไม่ต่ำกว่า
200,000 คน ต่อปี |
ที่มา
: http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/newspr_day_02_2.htm |
http://www.reo12.in.th/news/news2002/january/jandoc3.shtml |