กรุงพนมเปญ
เมืองหลวงของกัมพูชาแห่งนี้อุดมไปด้วยสวนและต้นไม้นานาชนิด นอกเหนือไปจากบ้านเรือนที่หลงเหลือมาจากยุคอาณานิคมที่ดูเหมือนอยู่ท่ามกลาง เมืองเก่าของฝรั่งเศส บรรยากาศแสนสบายของเมืองที่ห้อมล้อมไปด้วยสายน้ำ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “เมืองท่าแห่งสุดท้ายอันยิ่งใหญ่” ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมามีโรงแรมเกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ ร้านอาหารก็ได้รับการพัฒนาขึ้นจนได้มาตรฐานด้วยเช่นกัน กระนั้นร้านอาหารพื้นเมืองราคาประหยัดก็ยังมีให้เลือกมากมาย
เสียมเรียบ
นครวัด สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ใช้เวลาในการก่อสร้างยาวนานถึง 30 ปี ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาปราสาทขอมด้วยกันและยังเป็น เมืองในตัวของมันเองด้วย โดยมีฐานะเป็นทั้งเมืองหลวงและศาสนสถานประจำรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ซึ่ง สร้างอุทิศถวายแก่พระวิษณุ ทุกสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นจึงล้วนแต่มีความหมายตามคติความเชื่อในศาสนาฮินดูที่ ว่า ศาสนสถานคือศูนย์กลางของโลกและจักรวาล มีคูเมืองเป็นมหาสมุทร ระเบียงคตเปรียบดังเทือกเขาที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุอันเป็นที่อยู่ของทวยเทพ ส่วนปรางค์ประธานที่อยู่ชั้นบนสุดหมายถึงยอดเขา นักท่องเที่ยวที่เดินทางมานครวัดจะต้องไม่พลาดการชื่นชมความอ่อนช้อยงดงามของนางอัปสรที่มีอยู่ถึง 1,635 องค์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเทพที่คอยดูแลศาสนสถานแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีภาพสลักที่อยู่รอบระเบียงคตเป็นเรื่องราวจากมหากาพย์และ คัมภีร์พระเวทย์ของศาสนาฮินดู รวมไปถึงเรื่องราวเกี่ยวกับกษัตริย์ผู้สร้าง และหนึ่งในนั้นมีเรื่องราวเกี่ยวกับกองทัพชาวสยามด้วย
นครวัด
ตั้งอยู่ที่เมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) ในประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นศาสนสถานประจำนครของพระองค์ เมื่อสมัยแรกนั้น นครวัดได้ถูกสร้างเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เปลี่ยนให้เป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในปัจจุบันปราสาทนครวัดนับเป็นสิ่งก่อสร้างสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา และได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร
นครธม
หรือเมืองพระนครหลวง เป็นราชธานีแห่งใหม่ที่ย้ายมาจากนครยโศธรปุระตามพระราชดำริของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ประสงค์จะขยายอาณาจักรขอมให้ยิ่งใหญ่ขึ้น นครธมมีคูเมืองล้อมรอบกว้างประมาณ 80 เมตร ด้านละ 3 กิโลเมตร และมีกำแพงศิลาแดงล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน กำแพงที่ล้อมรอบเปรียบได้กับภูเขาและมหาสมุทรที่โอบล้อมแผ่นดิน โดยมีโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าเป็นสะพานสลักหินขนาดใหญ่ มีเทวดาและอสูรฝั่งละ 54 ตนฉุดนาคขนาดใหญ่ ส่วนซุ้มประตูทางเข้ามีภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอยู่บนยอด ภายในประกอบด้วยปราสาทบายน ลานช้าง ลานพระเจ้าขี้เรื้อน และปราสาทอื่น ๆ อีกมากมาย
ปราสาทบายน
ประกอบด้วยปรางค์ปราสาท 54 ปรางค์ที่ถูกสลักเป็นภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร รวม 216 หน้า ผินออกไปทั้ง 4 ทิศ เพื่อสอดส่องดูแลทุกข์สุขของพสกนิกร รอยยิ้มที่เย็นระเรื่อของพระพักตร์เหล่านั้น เรียกกันว่าเป็นยิ้มแบบบายนอันเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา
ลานช้าง
ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองพระนครหลวงใกล้กับปราสาทบายน หันหน้าเข้าสู่ลานกว้างที่เรียกกันว่าสนามหลวง เป็นระเบียงยาวประมาณ 350 เมตร สูงจากพื้น 3 เมตร ผนังฐานพลับพลาสร้างด้วยหินสลักเป็นรูปช้างและครุฑพ่าห์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ ที่สำหรับให้องค์พระมหากษัตริย์นั่งทอดพระเนตรการสวนสนาม การซ้อมรบ และการเฉลิมฉลองต่าง ๆ
ปราสาทพนมบาแคง
ตั้งอยู่บนเขาลูกเล็กที่มีความสูงประมาณ 70 เมตร เป็นศาสนสถานแห่งแรกของเมืองพระนคร นักท่องเที่ยวนิยมขึ้นมาบนปราสาทพนมบาเค็งเพราะเป็นจุดชมวิวที่สวยงามแห่ง หนึ่งโดยเฉพาะยอดปราสาทนครวัดที่ผุดขึ้นกลางป่า เวลาที่เหมาะสำหรับเที่ยวชมคือช่วงเย็น เพราะจะได้เห็นยอดปราสาทนครวัดที่ถูกแดดยามบ่ายฉาบให้เป็นสีทอง นอกจากนี้ยังสามารถชมเมืองเสียมราฐ บายรายตะวันออก เขาพนมบกเขาพนมกรอม และแนวเทือกเขาพนมกุเลน
ปราสาทตาพรหม
จัดเป็นวัดในทางพุทธศาสนาและเป็นวิหารหลวงในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อ ทรงถวายอุทิศให้กับองค์พระราชบิดา ทำให้ภาพที่สลักของปราสาทแห่งนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคติธรรมในพุทธศาสนา แต่ต่อมาบางส่วนได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นศิวะลึงค์ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 เนื่อง จากทรงนับถือศาสนาฮินดู เสน่ห์ของปราสาทตาพรหมอยู่ที่ต้นไม้ใหญ่อย่างต้นสะปงหรือต้นสำโรง ที่โอบรัดและเกาะเกี่ยวไม่ให้ปราสาทแห่งนี้พังทะลายลง ว่ากันว่าเมื่อค้นพบนครวัดในครั้งแรกก็มีสภาพไม่ต่างไปจากนี้เช่นกัน
บันทายสรี
เทวสถานขนาดเล็กอันมีลวดลายสลักเสลาที่งดงาม มีความอ่อนช้อย คมชัด และมีชีวิตชีวา ถือเป็นปราสาทที่มีทับหลังและหน้าบันสมบูรณ์ที่สุด ส่วนใหญ่จะแกะสลักเรื่องราวในมหากาพย์รามายณะ (รามเกียรติ์) หลายคนขนานนามว่านี่คือปราสาทแห่งความรัก อยู่ห่างจากเมืองเสียมราฐประมาณ 35 กิโลเมตร
พนมกุเลน
นอกจากจะเป็นแหล่งหินที่นำมาสร้างปราสาทมากมายในเมือง เสียมราฐแล้ว ครั้งหนึ่งเทือกเขาแห่งนี้ยังเคยอยู่ในฐานะเมืองหลวงในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน ที่ 2 สิ่งที่น่าสนใจของพนมกุเลนก็คือศิวะลึงค์พันองค์ใต้น้ำ ซึ่งใช้แทนฤาษีหนึ่งพันตน พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 โปรด ให้สร้างขึ้นเพื่อให้แม่น้ำเสียมราฐกลายเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันศิวะลึงค์เหล่านั้นยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์แม้จะอยู่ใต้สายน้ำมานานนับ พันปี
พระเจดีย์เงิน
พื้นของอาคารดังกล่าวปูลาดด้วยแผ่นเงินกว่า 5000 แผ่น แต่ละแผ่นหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม รวมน้ำหนัก ถึง 3 ตัน แต่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในนาม “วัดพระแก้ว “
โคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าบริเวณเดียวกับกำแพงเมือง และ คูเมือง
เป็นสะพานหินสลักขนาดใหญ่ รูปเทวดา 54 องค์ กำลังฉุดนาค อีกฝั่งหนึ่งเป็น อสูร 54 ตนฉุดนาคขนาดใหญ่โตเช่นเดียวกัน
ปราสาทบาปวน
ปราสาทบาปวน สร้างในสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 นับว่าเป็นปราสาทที่สูงมาก
ปราสาทตาแก้ว
ปราสาทตาแก้วถูกสร้างเพื่อถวายอุทิศแด่ พระศิวะในศาสนาฮินดูที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ทรงนับถือ ปราสาทตาแก้วเป็นปราสาทแรกในการทดลองทำด้วยหินทรายมาสร้าง มีลักษณะเป็นปราสาท 5 หลัง เป็นปราสาทที่ถูกเรียกว่าปราสาทโกลน หมายความว่า ปราสาทที่สร้างยังไม่เสร็จดี
พระราชวังหลวง
สร้างขึ้นตามรูปแบบศิลปะเขมรโดยความช่วยเหลือของฝรั่งเศส ใช้เป็นที่ประทับของเจ้านโรดมสีหนุ จากการเสด็จกลับคืนสู่กรุงพนมเปญ
ขอขอบคุณข้อมูล www.indochinaexplorer.com