หลายคนคงรู้จักการละหมาด ซึ่งประเทศมาเลเซียนั้นมีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดในประเทศ
โดยมีมากถึง 55% การละหมาด เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู ละหมาด หมายถึง การขอพร ความหมายทางศาสนาหมายถึง การกล่าวและการกระทำ ซึ่งเริ่มต้นด้วยตักบีร และ จบลงด้วยสะลาม การละหมาดเป็นการสร้างเอกภาพอย่างหนึ่งของมุสลิม เมื่อละหมาดมุสลิมทั่วโลก หันหน้าไปทางกิบละฮฺ เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ การละหมาด ฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางชั่วร้าย
มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเซีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย “ภูมิบุตร.
ขนบธรรมเนียมประเพณีชาวมลายู
ประเทศมาเลเซียเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่ประกอบขึ้นด้วยหลากหลายชาติพันธุ์ ประเทศมาเลเซียมีดินแดนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นรัฐต่างๆจำนวน 11 รัฐตั้งอยู่บนแหลมมลายู อีกส่วนหนึ่งมี 2 รัฐตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ รัฐที่ตั้งอยู่บนแหลมมลายูประกอบด้วยชาติพันธุ์ใหญ่ๆจำนวน 3 ชาติพันธุ์ คือ มลายู จีน และอินเดีย ส่วนรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีจำนวนชาติพันธุ์หลายสิบชนเผ่า
ในที่นี้ขอกล่าวถึงชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย ชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย มีขนบธรรมเนียมประเพณีอยู่ 2 แบบ คือ
1. ชาวมลายูที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ Adat Temenggong
เป็นขนบธรรมเนียมที่ยึดถือในรัฐส่วนใหญ่ของแหลมมลายู ยกเว้นรัฐนัครีซัมบีลัน ว่ากันว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือมาตั้งแต่ยุคแรกรัฐมะละกาจนขยายไปยังรัฐต่างๆในแหลมมลายู ขนบธรรมเนียมนี้จัดตั้งขึ้นโดย Datuk Ketemenggungan จากเกาะสุมาตรา จากการที่ขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong มีการผสมผสานกับขนบธรรมเนียมเดิมที่มีอยู่แล้ว จึงได้เกิดเป็นกฎหมายมีชขื่อแตกต่างกัน เช่น กฎหมายมะละกา (Undang-Undang Melaka) กฎหมายโยโฮร์(Undang-Undang Johor) และกฎหมายเคดะห์ (Undang-Undang Kedah)
หลักการของขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong
•การลงโทษถือเป็นสิ่งที่ได้รับการตอบแทน
•การปกครองต้องใช้อำนาจเด็ดขาด
•การสืบมรดกถือหลักการตามบิดา (Patriline)
•การแต่งงานนั้นจะแต่งงานกับผู้ใดก็ได้ ถ้าไม่ผิดตามหลักการศาสนาอิสลาม (hukum syarak)
2. ชาวมลายูที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ Adat Minangkabau หรือ Adat Perpatih เป็นขนบธรรมเนียมที่ยึดถือในรัฐนัครีซัมบีลัน และบางส่วนของรัฐมัละกา ผู้สร้างขนบธรรมเนียมประเพณีนี้คือ Datuk Nan Sebatang ซึ่งเป็นพี่น้องของ Datuk Ketumanggungan ผู้สร้างขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong