ประเทศพม่าเป็นอย่างไร

0

burmaพม่า หรือ เมียนมา มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่ายังเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยมีประชากรกว่า 60.28 ล้านคน นับแต่ได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2491 ประเทศพม่าเผชิญกับหนึ่งในสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อที่สุดท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่มากมายซึ่งยังแก้ไม่ตก ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554 ประเทศพม่าอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองถูกยุบอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2554 หลังการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2553 และมีการตั้งรัฐบาลพลเรือนในนามแทน แต่ทหารยังมีอิทธิพลอยู่มาก

Myanmar_in_its_region

ประเทศพม่าอุดมไปด้วยทรัพยากร แต่เศรษฐกิจพม่าเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจด้อยพัฒนาที่สุดในโลก จีดีพีของพม่าอยู่ที่ 42,953 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.9 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำสุดในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดาและอีกหลายประเทศได้กำหนดการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อพม่า ระบบสาธารณสุขของพม่าเป็นหนึ่งในระบบสาธารณสุขที่เลวที่สุดในโลก องค์การอนามัยโลกจัดอันดับพม่าไว้อันดับที่ 190 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย

สหประชาชาติและอีกหลายองค์การได้รายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบในพม่า รวมทั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การข่มขืนเป็นระบบ แรงงานเด็ก ทาส การค้ามนุษย์ และการขาดเสรีภาพในการพูด ในช่วงปีหลัง พม่าและผู้นำทหารได้ผ่อนปรนต่อนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตและกำลังพัฒนาความสัมพันธ์อย่างช้า ๆ กับมหาอำนาจและสหประชาชาติ

 

ภูมิศาสตร์
ทิศเหนือมีพรมแดนติดกับประเทศจีน
ทิศใต้มีพรมแดนติดกับประเทศไทย
ทิศตะวันออกมีพรมแดนติดกับประเทศไทยและลาว
ทิศตะวันตกมีพรมแดนติดกับประเทศอินเดียและบังคลาเทศ

 

ขนาดและอาณาเขต
ประเทศเมียนมาร์มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์    มีพื้นที่ 676,577   ตารางกิโลเมตร มีภูเขาคากาโบราซีซึ่งสูงเป็นอันดับสองของโลก (สูง 19,296 ฟุต)   กั้นพรมแดนเมียนมาร์กับจีนทางทิศเหนือ ส่วนทางตะวันตก มีเทือกเขายะไข่โยมากั้นระหว่างแคว้นอัสสัมของอินเดียและบังคลาเทศกับพม่า ด้านตะวันออกของประเทศมีที่ราบสูงที่สำคัญ คือที่ราบสูงฉาน(Shan Plateau)   ซึ่งมีความสูงประมาณ 4,000 ถึง 6,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล กั้นเมียนมาร์กับจีน ลาว และไทย    นอกจากความสูงแล้ว ที่ราบสูงฉานยังมีขนาดใหญ่มากอีกด้วย โดยกินอาณาเขตถึง 1 ใน 4 ส่วนของพื้นที่ประเทศพม่าทั้งหมด
ภูมิอากาศประเทศเมียนมาร์มีอากาศแบบร้อนชื้น แต่ไม่ร้อนจัด มีภูมิอากาศคล้ายคลึงกับประเทศไทย
ฤดูกาล
ฤดูร้อน 
     เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน         เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม
ฤดูหนาว     เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์

/
เวลา
เวลาประเทศเมียนมาร์ ช้ากว่า ประเทศไทย 30 นาที
ประชากร เชื้อชาติและศาสนา
ประเทศเมียนมาร์ มีประชากรประมาณ 46 ล้านคน อยู่รวมกันทั้งสิ้น 135 ชาติพันธุ์ในจำนวนนี้  มีชนเผ่าพม่ามากที่สุด  คือประมาณ 1ใน 4 ส่วน   รองลงมาก็คือ ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง มอญ และกะฉิ่น ตามลำดับ
สำหรับรัฐที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์มากที่สุด ก็คือรัฐฉาน เนื่องจากมีชนเผ่าอยู่รวมกันถึงประมาณ 80 ชาติพันธุ์ อาทิ ไทยใหญ่ ไทยน้อย ไทยทนุ  อินตา  ลีซอ อาข่า ม้ง จีนฮ่อ ฯลฯ
เชื้อชาติของชนเผ่าพม่าเป็นเชื้อชาติผสมพยู มองโกล และอินเดีย ศาสนาพุทธเผยแผ่เข้ามาในเมียนมาร์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล และยังคงนับถือสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  ถือได้ว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติสัดส่วนของการนับถือศาสนามีดังนี้ ศาสนาพุทธ 89 เปอร์เซ็นต์  คริสต์ทุกนิกายรวมกัน 5.6 เปอร์เซ็นต์  อิสลาม   3.8 เปอร์เซ็นต์  ฮินดู  0.5 เปอร์เซ็นต์

เมืองหลวง

เนปีดอ (Naypyidaw หรือบางครั้งสะกดเป็น เนปีตอ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายว่า มหาราชธานี) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้งตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae)ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ เมืองนี้เริ่มการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน แต่เมืองหลวงแห่งนี้ ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป

 

สกุลเงิน

เมียนมาร์ใช้เงินจ๊าต (Kyat) เป็นหลัก มีทั้งชนิด   ธนบัตรและเหรียญ (Pya) ธนบัตรแบ่งเป็น 1,000  500     200  100  50 20  10  5และ 1 จ๊าต    เหรียญแบ่งเป็น 50  25  10  และ  5    นอกจากเงินจ๊าตแล้ว เงินยูเอสดอลลาร์ ก็เป็นที่นิยมแพร่หลาย


วัฒนธรรม
วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก

ภาษา
นอกจากภาษาพม่า ซึ่งเป็นภาษาทางการแล้ว พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษาโดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดังนี้

  • ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาปะหล่อง ภาษาปะลัง (ปลัง) ภาษาปะรวก และภาษาว้า
  • ตระกูลภาษาซิโน-ทิเบตัน ได้แก่ ภาษาพม่า (ภาษาทางการ) ภาษากะเหรี่ยง ภาษาอารากัน (ยะไข่) ภาษาจิงผ่อ (กะฉิ่น) และ ภาษาอาข่า
  • ตระกูลภาษาไท-กะได ได้แก่ ภาษาไทใหญ่ (ฉาน) ภาษาไทลื้อ ภาษาไทขึน ภาษาไทคำตี่ มีผู้พูดหนาแน่นในรัฐฉาน และรัฐกะฉิ่น ส่วนภาษาไทยถิ่นใต้ภาษาไทยกลาง และภาษาไทยถิ่นอีสาน มีผู้พูดในเขตตะนาวศรี
  • ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ได้แก่ ภาษาม้งและภาษาเย้า (เมี่ยน)
  • ตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ได้แก่ ภาษามอเกนและภาษามาเลย์ ในเขตตะนาวศรี
ประชากร
            จำนวนประชากรประมาณ 50.51 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 61 คน/ตารางกิโลเมตร พม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติ จึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีชาติพันธุ์พม่า 63% ไทยใหญ่ 16% มอญ 5% ยะไข่ 5% กะเหรี่ยง 3.5% คะฉิ่น 3% ไทย 3% ชิน 1

เชิญแสดงความคิดเห็น