วัดจามเทวี ตั้งอยู่ถนนจามเทวี
ตำบลในเมือง ภายในมีสุวรรณจังโกฎเจดีย์" หรือ "กู่กุด" สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๘ เป็นฝีมือของ
ขอมครับ ลักษณะเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย มีพระพุทธรูปปางประทานพรยืนเป็น
ชั้นๆ ชั้นละ ๓ องค์ ด้านหนึ่งมี ๕ ชั้น จึงมีพระพุทธรูปด้านละ ๑๕ องค์ ทั้ง ๔ ด้าน รวมเป็น ๖๐ องค์ ภาย
ในบรรจุอัฐิของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย
เดิมมียอดห่อหุ้มด้วยทองคำ ต่อมายอด หักหายไป
ชาวเมืองก็เลยเรียกว่าเจดีย์กู่กุดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประวัติ
เมื่อปีพ.ศ.
1298 พระนางจามเทวีนำช่างละโว้ (ปัจจุบันคือ จังหวัดลพบุรี)
ไปสร้างพระเจดีย์สุวรรณจังโกฎ เป็นพระเจดีย์สี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย
ทุกๆด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรศิลปกรรมของลพบุรีมีพระพุทธรูปยืนอยู่ในซุ้มพระทั้งสี่ด้าน
ด้านละ 15 องค์ รวม 60 องค์ ภายในบรรจุอัฐของพระนางจามเทวี
ภายในพระเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวี เดิมมียอดพระเจดีย์หุ้มด้วยทองคำ
ปี
พ.ศ. 1184
มีพระฤๅษีไปพบทารกหญิง ถูกพญานกคาบมาทิ้งไว้บนใบบัวหลวง
จึงเลี้ยงดูและสอนสรรพวิทยาการต่างๆ ให้เมื่อพระนางจามเทวี เจริญวัยได้ 13
พรรษา พระฤๅษีจึงต่อนาวายนต์พร้อมด้วยฝูงวานรเป็นบริวารลอยล่องไปตามลำน้ำ
ถึงยังท่าน้ำวัดชัยมงคลเมื่อพระเจ้ากรุงละโว้และพระมเหสีพบเห็น
จึงได้นำกุมารีน้อยนั้นเข้าสู่พระราชวัง และตั้งให้เป็นพระราชธิดา นามว่า
"จามเทวีกุมารี" และให้ศึกษาศิลปวิทยาการตำราพิชัยสงคราม และดนตรีทุกอย่าง
พ.ศ. 1198
พระนางจามเทวีมีพระชนม์ 14 พรรษา ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายราม
แห่งนครรามบุรี
พ.ศ. 1204
พระนามจามเทวีมีพระชนม์ 20 พรรษา เป็นกษัตรีย์วงศ์จามเทวีแห่งนครหริภุญชัย
โดยพระนางเจ้าได้อัญเชิญพระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) จากเมืองละโว้ เมื่อปี 700
ขึ้นมา เพื่อประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง (ปัจจุบัน พระเสตังคมณีองค์นี้ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดเชียงมั่น
จังหวัดเชียงใหม่)พระนางจามเทวี มีพระโอรส 2 องค์ องค์พี่มีนามว่ามหายศ (มหันตยศ)
องค์น้องมีนามว่าอินทวร(อนันตยศ) โดยพระเจ้ามหายศ ได้ขึ้นเสวยครองเมืองหริภุญชัยนคร
แทนพระมารดา ส่วนพระองค์น้องพระเจ้าอินทวรไปครองเมืองเขลางค์นคร ที่มหาพรหมฤๅษี
และสุพรหมฤๅษีร่วมกันสร้างขึ้นใหม่ให้พระองค์โดยเฉพาะส่วนพระนางจามเทวีมีพระชนม์ได้
60 พรรษา ได้สละราชสมบัติทุกอย่าง ให้พระโอรสทั้งสอง
โดยพระนางออกบวชชีบำเพ็ญพรตอยู่ที่วัดจามเทวีแห่งนี้
พ.ศ. 1276
พระนางจามเทวีได้ปฏิบัติธรรมอยู่ในวัดแห่งนี้ พระชนม์ครบ 92 พรรษา
พระนางจึงได้สิ้นพระชนม์ ซึ่งทางพระมหันตยศ และพระอนันตยศ
ก็ได้จัดถวายพระเพลิงภายในวัดดังกล่าวอย่างสมพระเกียรติ
และได้สร้างเจดีย์สี่เหลี่ยมบรรจุพระอัฐิของพระนางไว้ ณ ที่นี้
โดยให้ชื่อเจดีย์ว่า สุวรรณจังโกฏเจดีย์
ที่ได้เป็นต้นแบบของเจดีย์ในแถบล้านนาต่อมานานนับพันปี
สุวรรณจังโกฏเจดีย์
ชำรุดผุพัง
ยอดพระเจดีย์ได้หัก และหายไป กลายเป็นวัดร้าง และชาวบ้านได้เรียกวัดนี้ว่า
วัดกู่กุด
(กู่กุด
เป็นภาษาล้านนา แปลว่า เจดีย์ยอดด้วน)
พ.ศ. 2469
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้เสด็จเยี่ยมวัดแห่งนี้
จึงได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อจาก วัดกู่กุด เป็น วัดจามเทวี เช่นเดิม
พ.ศ.
2479 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ผู้ครองนครลำพูนได้ไปนิมนต์ท่านครูบาศรีวิชัย
ช่วยบูรณะวัดจามเทวีอีกครั้งหนึ่ง นับตั้งแต่นั้นมาวัดจามเทวี
ก็เจริญรุ่งเรืองส่วนรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนบนสุวรรณจังโกฏเจดีย์
ได้กลายเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ประประเมินค่าไม่ได้พระพุทธรูปปางต่างๆ
ในแต่ละชั้นของเจดีย์แสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใสศรัทธา
และการเข้าถึงพระพุทธศาสนาของพระนางจามเทวี โดยสุวรรณจังโกฏเจดีย์เป็นต้นแบบของเจดีย์ทั้งหลาย
ซึ่งบางครั้งเรียกเจดีย์ทรงนี้ว่า เจดีย์ทรงขัตติยะนารี
เมื่อวันที่ 2
ตุลาคม พ.ศ. 2525 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ได้เสด็จมาเปิดอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองคอก
สร้างเป็นอนุสรณ์แก่พระนางจามเทวี เป็นปฐมกกษัตริย์แห่งหริภุญชัย
เป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม มีความสามารถ กล้าหาญ
ได้นำพระพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่จนมีความรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบัน
โบราณสถานที่สำคัญในวัดจามเทวี
๑.
พระเจดีย์กู่กุด
ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมก่อด้วยศิลาแลง ฐานนล่างทำเป็นหน้ากระดานสามชั้น
องค์เจดีย์มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปห้าชั้น
แต่ละชั้นจะมีซุ้มจระนำ ด้านละสามซุ้ม
ภายในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางประธานอภัย
เป็นพระพุทธรูปปั้นหุ้มศิลาแลงแบบนูนสูง รวมทั้งหมด ๖๐ องค์
ซุ้มจระนำทำเป็นซุ้มโค้งแบบสองหยัก ซึ่งเป็นลักษณะซุ้มสมัยทราวดีตอนปลาย
กระหนกปั้นเป็นกระหนกผักกูด ตัวเหงาที่ปลายซุ้มเป็นแบบทราวดี
บริเวณมุมทั้งสี่ของแต่ละชั้นยกเว้นชั้นบัวกลุ่ม และปล้องไฉน
ส่วนยอดบนสุดได้หักหายไปจึงมีการเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า เจดีย์กู่กุด
พระเจดีย์องค์นี้ ถือเป็นแบบถาปัตยกรรม
ที่มีความสำคัญในศิลปกรรมหริภุญชัย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘
มีรูปแบบคล้ายกับสัตตมหาปราสาทที่เมืองโบลนนาลุวะ ประเทศศรีลังกา
และเป็นแบบที่แพร่หลาย เคยพบร่องรอยเจดีย์แบบนี้ที่ เวียงท่ากาน เวียงมโน
และนิยมสร้างกันในสมัยต่อมา
ในแคว้นล้านนาและสุโขทัยเช่น วัดเจดีย์เหลี่ยม จังหวัดเชียงใหม่ วัดพญาวัด
จังหวัดน่าน วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย
๒.
เจดีย์แปดเหลี่ยม
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมีแผนผังเป็นรูปแปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป
สามารถแบ่งได้เป็นสามส่วนคือ ส่วนฐานประกอบด้วยฐานแปดเหลี่ยมซ้อนกันสองชั้น
ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวถลารองรับองค์เรือนธาตุ
โดยส่วนล่างของเรือนธาตุทำเป็นฐานลดท้องไม้ลงเล็กน้อยจากระดับผนังของเรือนธาตุ
ส่วนเรือนธาตุมีผังเป็นรูปแปดเหลี่ยมทรงสูง
ประดับซุ้มจระนำภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ซุ้มมีลักษณะเป็นวงโค้งสามวง
ภายนอกประกอบด้วยทรงฟักเพกา หรือเรียกว่า ซุ้มเคล็กส่วนสันมุมทั้งแปดจะก่อเรียงอิฐยื่นออกมาจากผนังได้ระดับเดียวกับกรอบซุ้ม
เป็นการแบ่งขอบเขตของแต่ละด้าน
ส่วนยอดถัดจากตัวเรือนธาตุขึ้นไป
เป็นบัวถลาลดท้องไม้สองชั้น ขนาดเล็กลดหลั่นกันขึ้นไปเล็กน้อย
รองรับฐานแปดเหลี่ยมเตี้ยๆ
มีลักษณะลดท้องไม้เช่นกันแต่ที่บริเวณท้องไม้แต่ละด้านจะมีซุ้มทรงสามเหลี่ยม
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ
ถัดขึ้นไปเป็นชั้นลวดบัวรองรับองค์ระฆังทรงกลม ส่วนยอดบนสุดหักหายไปแล้ว
เทคนิคการก่อสร้าง เจดีย์แปดเหลี่ยมนี้ ก่อด้วยอิฐทั้งหลัง
ภายนอกฉาบปูนและปั้นปูนประดับ มีการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง
ส่วนโครงสร้างมีการซ่อมเสริมจนเต็มรูปเจดีย์ทั้งสององค์
ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕
ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ และ เล่มที่ ๙๖ ตอนที่ ๑๖๗ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน
พ.ศ.๒๕๒๒