พระธาตุเจดีย์ห้าดวง หรือ
เวียงห้าหลัง เป็นเจดีย์หมู่ 5 องค์ อยู่ในบริเวณที่สันนิษฐานว่า
จะเป็นเวียงเก่าลี้
ห่างจากที่ว่าการอำเภอลี้ประมาณ
2
กิโลเมตร ทางหลวงหมายเลข
106
เข้าไปประมาณ
500
เมตร
สันนิษฐานว่าเป็นบริเวณเวียงเก่าลี้ เพราะมีซากกำแพงและคูเมืองตั้งเป็นแถว
วัดนี้เป็นที่ตั้งของหมู่เจดีย์ 5
องค์
ตามตำนานกล่าวว่าพระนางเจ้าจามเทวี กษัตริย์ครองเมืองหริภุญไชย
ได้ยินข่าวจากราษฎรเมืองลี้ว่ามีดวงแก้ว
5
ดวง
ปรากฏเห็นอยู่บ่อยครั้ง จึงได้เสด็จมาดูด้วยพระองค์เอง
เวลากลางคืนจึงได้ทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างจากดวงแก้วทั้ง
5
ดวง ลอยอยู่บนกองดิน
5
กอง
จึงได้สอบถามความเป็นมาก็ทราบว่า คือพระเมโตธาตุ ( น้ำไคลมือ )
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เคยล้างพระหัตถ์
และน้ำก็ไหลผ่านปลายนิ้วทั้ง 5
ลงพื้นดิน
พระนางจึงเกิดศรัทธาสร้างพระธาตุเจดีย์ครอบกองดินทั้ง
5
กองไว้ และในวันที่
20
เมษายนของทุกปี
จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุห้าดวง
ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยอาคารต่างๆ มากมาย
แต่ที่เด่นสะดุดตาเป็นจุดสนใจตั้งแต่จอดรถ ก็คือ "วิหาร ๙ ครูบา"
ในระหว่าง พ.ศ.๒๓๖๔ - ๒๓๖๘ เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เป็นผู้ครองนครลำพูน
ท่านได้ทำการบูรณะเมืองลำพูนเป็นอย่างดี ตามข้อความในพงศาวดารลี้
ฉบับพื้นเมืองอักษรลานนาจารึกลงใบลานว่า "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น"
ได้นำบริวารมาปรับปรุงเมืองลำพูนไปตามสายแม่น้ำลี้ ไปตลอดจนถึงเมืองลี้
มิได้เข้าไปในเวียง คงตั้งอยู่ที่เชิงเขาพระธาตุ ๕ ยอดนั่นเิอง
แล้วก็ทำการซ่อมแซมองค์พระธา่ตุจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
หลังจากนั้นก็ได้มีพระครูบา ๖ รูป
ได้มาปฏิบัติธรรมบำเพ็ญภาวนาและดูแลรักษารวมถึงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุห้าดวง
แต่ไม่ทราบประวัติความเป็นมาและ พ.ศ.ของพระครูบาแต่ละรูปได้ พระครูบาทั้ง ๖ รูป
มีรายนามดังนี้
๑. ครูบากิตติ
๒. ครูบามหาสมณะ
๓. ครูบามหามังคลาจารย์
๔. ครูบามหาสวามี
๕. ครูบามหาเตจา
๖. ครูบาจะวรรณะ ปัญญา
ครูบาทั้ง ๖ นี้ หลวงปู่พระครูบาวงศ์(วัดพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้)ท่านได้สร้างพระรูปเหมือนทั้ง
๖ ครูบา ประดิษฐานไว้ในวิหารเก้าครูบา ซึ่งอยู่ภายในวัดพระธาตุห้าดวงด้วย
ที่ท่านเรียกว่าวิหาร ๙ ครูบา เพราะยังมีพระครูบาอีก ๓ รูป
ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง อันมี
๗. ครูบาศรีวิชัย
๘. ครูบาอภิชัยขาวปี
๙. ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา
ซึ่งครูบาทั้ง ๓ รูปนี้
หลวงปู่พระครูบาวงศ์ท่านได้ปั้นพระรูปเหมือนประดิษฐานไว้ในวิหาร ๙ ครูบาด้วย
ในวิหารจึงมีรูปเหมือนครูบาทั้งหมด ๙ รูป ท่านจึงเรียกวิหารนี้ว่า "วิหาร ๙
ครูบา"
จนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๔๖๘
พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้มาบูรณะพระธาตุทั้ง ๕ องค์จนสำเร็จ
แล้วได้ทำการฉลองสมโภชน์องค์พระธาตุ เมื่อทำการฉลองสมโภชน์แล้ว
ท่านพระครูบาศรีวิชัยจึงได้เดินทางกลับวัดบ้านปาง(อำเภอลี้) หลังจากนั้นไม่นาน
วัดพระธาตุห้าดวงก็กลับร้างอีกครั้ง
ต่อมา
พ.ศ.๒๕๐๑ นาย สนิท จิตวงศ์พันธ์ มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอลี้
มีใจศรัทธาที่จะบูรณะวัดพระธาตุห้าดวง
จึงได้นำศรัทธาประชาชนมาช่วยแผ้วถางและได้นิมนต์หลวงปู่พระครูบาชัยยะวงศา
พัฒนาและครูบาขาวปี (วัดพระบาทผาหนาม อำเภอลี้)
มาทำการบูรณะวัดพระธาตุห้าดวงอีกครั้ง จนถึง พ.ศ.๒๕๐๔
หลวงปู่พระครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ท่านจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดพระธาตุห้าดวง ๑ พรรษา
โดยท่านเดินทางจากวัดห้วยน้ำอุ่น (อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่)
ปัจจุบันวัดพระธาตุห้าดวง ซึ่งแต่ก่อนมีสภาพที่เสื่อมโทรม
เนื่องจากขาดการดุแล ขาดผู้ที่มีศรัทธามาช่วยทะนุบำรุงอุปถัมภ์ บัดนี้
วัดพระธาตุห้าดวงได้รับการบูรณะและเริ่มทำการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ
ทำให้สภาพของวัด ได้กลับฟื้นคืนมาเป็นสถานที่สำคัญในพระพุทธศาสนา
ดั่งที่ท่านทั้งหลายได้เห็นประจักษ์แก่สายตาของท่านเวลานี้
ก็ด้วยความเมตตาปราณีอย่างหาที่สุดประมาณมิได้จากพระเดชพระคุณหลวงปู่พระครู
บาชัยยะวงศาพัฒนา ทีท่านได้เมตตาดูแลอุุปถัมภ์
วัดพระธาตุห้าดวงแห่งนี้พร้อมไปด้วยคณะศิษย์ของท่านและคณะศิษย์ของพระเดช
พระ คุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ (วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี)
ที่ได้ดำเนินรอยตามพระเดชพระคุณทั้งสองที่พระคุณท่า่นได้อุทิศชีวิตและร่าง กาย
ของท่านเพื่อพระพุทธศาสนาและเพื่อความสุขของบรรดาลูกหลานทุกคน
ที่มีความต้องการที่จะพ้นทุกข์และประสบความสุขที่แท้จริง