วัดพระบาทห้วยต้ม
เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอลี้ เป็นวัดประจำหมู่บ้าน พระพุทธบาทห้วยต้ม
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ ตำบลนาทราย จังหวัดลำพูน บริเทางเข้าทีอนุสาวรีย์พระครูบาชัยวงศาตั้งอยู่
วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม มีอาณาบริเวณกว้างขวาง
มีสิ่งก่อสร้างทำจากศิลาแลงที่ขุดได้จากบ่อศิลาแลงของวัด
และมีองค์พระธาตุที่ได้รับการตกแต่งอย่างงดงาม
บูรณะก่อสร้างจากศรัทธาของบรรดาชาวกะเหรี่ยงที่มีต่อพระครูบาชัยวงศา
พระอาจารย์ชื่อดังทางภาคเหนือ ในกระทู้ท่องเที่ยงวัดพระพุทธบาทห้วยต้มนี้
จะนำเสนอภาพในมุมมองต่างๆ ของวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน
ตอนแรกตั้งใจว่าจะนำกระทู้วัดนี้ขึ้นมานานแล้วเพราะเริ่มรวบรวมภาพมาตั้งแต่เมื่อประมาณ
๒ ปีก่อน
แต่ไม่ได้เอาขึ้นซะที และรู้สึกว่ายังไม่เคยนำภาพวัดภาคใต้ มาลงเลย
ตั้งใจว่าประมาณเดือนกันยายนนี้ก็จะเริ่มทยอยลงภาพวัดที่ภาคใต้ที่ภาคใต้บ้างนะครับวิหารที่ประดิษฐานศพของครูบาชัยวงศา
ภายในโลงแก้วที่ไม่เน่าไม่เปื่อย
ผมและคณะเคยมากราบท่านในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ ๑๐ กว่าปีก่อนได้
และก็ไม่ได้ขึ้นมาอีกเลยจนกระทั่งมาทราบอีกทีว่าท่านได้มรณภาพเสียแล้วศพของครูบาชัยวงศาอยู่ภายในโลงแก้ว
ประวัติ
ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อครั้งพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดเวไนยสัตว์ในที่ต่างๆ
ครั้งหนึ่งพระองค์เสด็จมาถึงดงไม้ตาลแล้วขึ้นประทับบนจอมดอยแห่งหนึ่ง
เรียกว่าดอยนางพี่ได้ประทานพระเกศาธาตุ
1
เส้นให้พวกละว้าที่มาเฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นบรรจุไว้ในพระเจดีย์ ต่อมาเรียกว่า
ดอยนางนอนจอมแจ้ง (เพราะเสด็จมาถึงที่นั่นตอนรุ่งเช้า) ต่อมามีพญาเมืองเถิน พ่อฤาษีและหมอพรานอีก
8
คนหาบเนื้อสดเดินมาพบเข้าไม่มีอะไรจะถวายจึงเอาเนื้อมาถวาย
พระพุทธองค์ก็ไม่ฉันพวกพรานจึงเอาเนื้อไปกองรวมกันไว้
พวกละว้าที่อยู่ในบริเวณนั้นจึงไปต้มข้าวมาถวาย
สมเด็จพระจอมไตรจึงทรงรับมาฉันและให้ศีลให้พรพวกละว้า
พระพุทธองค์จึงทรงประทับรอยพระบาทไว้และทรงรับสั่งว่า
"ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้ตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนก็เหมือนอยู่ใกล้
ถ้าไม่ปฏิบัติก็เหมือนอยู่ไกล" จากนั้น จึงทรงประทานนามที่นั่นว่า
"ห้วยต้มข้าว" ต่อมาเรียกเพี้ยนมาเป็น "ห้วยต้ม"
ซึ่งเป็นชื่อวัดพระพุทธบาทห้วยต้มในปัจจุบัน
บ้านห้วยต้มเป็นหมู่บ้านของ ชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอหรือกะเหรี่ยงทั้งหมด
600
หลังคาเรือนมีคนอาศัยอยู่เกือบ 3,000
คนซึ่งพวกเขาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านห้วยต้มเมื่อปี 2514
หลังจากที่ราชการ สร้างเขื่อนยันฮี หรือ เขื่อนภูมิพล ขึ้น
ชาวเขาเหล่านี้ไม่มีที่ทำกิน การอพยพเข้ามาอยู่ในระยะแรกมีความยากลำบากมาก
เพราะพื้นที่บางส่วนเป็นหินศิลาแลง และสภาพทั่วไป มีความแห้งแล้ง
ชาวกะเหรี่ยงบางคนไม่สามารถทนอยู่ได้ต้องอพยพไปอยู่ในที่ใหม่
พวกที่ทนอยู่ได้ก็ตั้งหน้าทำงานต่อสู้กับอุปสรรคอันแห้งแล้งของธรรมชาติ
ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาหรือที่
ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาวงศ์
ท่านเป็นผู้หนึ่งซึ่งมีส่วนสำคัญในฐานะที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านห้วย ต้ม
ท่านสามารถสอนธรรมะให้กับชาวเขาทั้งหมดในหมู่บ้านเลิกฆ่าสัตว์เพื่อกินเนื้อ และ
เป็นผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ทุกชนิดตามอย่างครูบาวงศ์
นอกจากนั้นท่านยังเป็นพระนักพัฒนาและนักก่อสร้างอีกด้วย
ชีวิตในวัยเยาว์ของท่านมีความลำบากยากแค้น
ท่านเคยเล่าว่าเมื่อายุประมาณ
3
ขวบท่านชอบเอาดินมาปั้นแต่งเป็นบ้าน ปั้นวัว ปั้นควายและพระพุทธรูป เอาข้าวเปลือกมตบแต่งเป็นพระเนตรแล้วก็กราบไหว้เอง
จนเมื่ออายุได้ประมาณ 6 ปีพอที่จะช่วยโยมพ่อทำงานได้
มีอยู่ครั้งหนึ่งโยมพ่อพาลูกๆออกไปทำไร่ โยมแม่ได้นำอาหารกลางวันมาส่งให้
หลังจากที่กินอาหารเรียบร้อยแล้วโยมพ่อจึงอบรมสั่งสอนลูกๆว่า
"ตอนนี้พ่อแม่ก็อดลูกทุกคนก็อดแต่ทุกคนอย่าท้อแท้ใจ ค่อยทำบุญไปเรื่อยๆ
บุญมีภายหน้าก็จะสบาย"
บริเวณพระเจดีย์ชเวดากอง(จำลอง)
ที่ครูบาชัยยะวงศาท่านได้ริเริ่มก่อสร้างขึ้น
พระเจดีย์นี้มีความงดงามอย่างยิ่งพรั่งพร้อมไปด้วยศรัทธาของชาวบ้านที่จัด
เวรยามเฝ้าพระเจดีย์อย่างดีและคอยเตือนให้สาธุชนที่จะเข้าไปกราบพระธาตุ
เจดีย์ไม่นำเนื้อสัตว์และเครื่องดองของเมาใดๆเข้าไปในเขตพระเจดีย์อย่างเข้ม
แข็ง