จากประวัติศาสตร์ เมืองหลวงพระบางเป็นเมืองเก่าแก่ แต่เดิมชื่อเมืองชวา เมื่อ พ.ศ.1300 ขุนลอ ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของลาวทรงตั้งเมืองชวาเป็นเมืองหลวงของอณาจักรล้านช้างและเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองเชียงทอง ต่อมาในสมัยของพระเจ้าฟ้างุ้มทรงรวบรวมอณาจักร ทั้งสาม ได้แก่ หลวงพระบาง จำปาสัก และเวียงจันทน์ เข้าเป็น อณาจักรลาวล้านช้าง ภายหลังพระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางแก้วยอดฟ้า แล้วอัญเชิญพระบางจากประเทศกัมพูชา มาประดิษฐธานอยู่ที่เมืองเวียงคำ เมื่อถึงสมัยพระโพธิสาราชเจ้า ได้อัญเชิญพระบางมาประดิษฐานที่เมืองเชียงทอง แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองเชียงทองเป็นเมืองหลวงพระบางตามชื่อพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ปี พ.ศ. 2518
สถานที่ท่องเที่ยว
- วัดเชียงทอง
- วัดวิชุล
- วัดพระธาตุภูสี
- ถ้ำติ่ง
- ตลาดมืด
- สุสานหลวง
- วัดพระบาทใต้
พระธาตุจอมพูสี
พูสีในสมัยโบราณคือศูนย์กลางวัฒนธรรม ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและเป็นมิ่งขวัญของชาว หลวงพระบาง ซึ่งคนส่วนมากที่ไปเที่ยวหลวงพระบางแล้วแล้วแต่อยากไปเห็นพระธาตุจอมพูสี จนมีคำพูดติดปากกันว่า “ไปเที่ยวหลวงพระบางถ้าไม่ได้ขึ้นพูสีก็เท่ากับว่าไปไม่ถึงหลวงพระบาง” ธาตุจอมพูสี (หรือธาตุจอมสี) สร้างในปี ค.ศ. 1804 ในสมัยการปกครองขอเจ้าอนุรุธ ใน ค.ศ.1792-1817 ลูกชายของเจ้าสุริยะวงศา เจ้าชีวิตของอาณาจักล้านช้าง หลวงพระบาง พระธาตุกว้าง 10.55 เมตร สูง 21.00 เมตร พูสีสูง 100 เมตร มีทางขึ้นหลายด้าน แต่เส้นทางที่ใช้เป็นประจำคือทางทิศตะวันออก ขึ้นมาจากเส้นทางริมน้ำคานผ่านวัดถ้ำพูสี, เส้นทางทิศตะวันตกด้านพระราชวังเก่ามีบันได้ 328 ขั้น
วัดวิชุน
วัดวิชุน สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1503 ตามดำรัสของเจ้าชีวิตวิชุนนะราช และได้ตั้งชื่อวัดตามพระนามของพระองค์เอง และสร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1504 เมื่อสร้างสำเร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระบางมาจากวัดมโนรมย์มาประดิษฐานที่วัดวิชุนในบริเวณวัดวิชุน ยังมีพระเจดีย์ปทุมเป็นธาตุใหญ่ที่สวยงามที่สุดในสมัยนั้น และในสมัยต่อมาคนส่วนใหญ่เรียกว่า พระธาตุหมากโม เพราะมี รูปคล้ายคลึงกับหมากโม (แตงโม) แบ่งครึ่ง ในธาตุปทุมได้พบวัตถุมีค่าจำนวนมาก เช่น พระธาตุเจดีย์ทองำ, พระพุทธรูปทองคำ, เงิน, ทอง และอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งเป็นวัตถุที่มีค่าทางด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ศตวรรษที่ 15 และที่ 16 บรรดาวัตถุมีค่าทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ได้นำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังเจ้าชีวิตเก่าหลวงพระบาง สถาปัตยกรรม พุทธสีมาวัดวิชุนก็สวยงามแตกต่างขากพุทธสีมาอื่นๆ ในลาว สันนิษฐานว่าเป็นสกุลช่างแบบไทยลื้อสิบสองปันนา เฉพาะศิลปะดอกดวงที่แกะสลักอยู่บานประตูนั้น เป็นสกุลช่างศิลปะแบบเชียงขวาง พุทธสีมา วัดวิชุน ได้นำมาใช้เป็นหอพิพิธภัณฑ์ศิลปะทางศาสนา เมื่อปี ค.ศ. 1942 ได้รวบรวมนำเอาวัตถุมรดกทางศาส นาและวัฒนธรรมต่างๆ มาแสดงไว้ที่วัดวิชุนนี้ แต่ปัจจุบัน นี้สิ่งของต่างๆ ดังกล่าวนั้นได้ย้ายไปไว้ที่หอพิพิธภัณฑ์วังเก่าเกือบหมดแล้ว
วัดเชียงทอง
วัดเชียงทองนี้สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1559-1560 คือก่อนระยะเวลาพระเจ้าไชยะเชญฐาธิราชย้าย นครหลวงจากหลวงพระบาง ลงมาสร้างเมืองเวียงจันทน์เป็นนครหลวงของอาณาจักรล้านช้าง วัดนี้ตั้งอยู่ริมน้ำโขง ไกลจากปากน้ำคานมาทางใต้ประมาณ 300 เมตร เป็นวัดหนึ่งที่ใหญ่และสวยงาม อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ดูแลจากเจ้าชีวิต ศรีสว่างวงศ์และพระเจ้าศรีสว่างวัฒนาเป็นพิเศษวัดเชียงทองเป็นวัดหนึ่งที่มีสิ่งก่อสร้างและศิลปะะตกแต่งแบบลาวแท้ๆ เช่น พุทธสีมา จะมีโครงสร้างต่ำและมีหลังคา 3 ชั้น ซ้อนทัดลดหลั่นกัน บานประตูใหญ่ของพุทธสีมานั้นประดับดอกดวงแกะสลักที่งดงามซึ่งเป็นสกุลช่างวัดวิชุน
วัดแสน
วัดแสน หรือที่เรียกกันเต็มๆ ว่า “วัดแสนสุขะราม” แต่ประชาชนก็เรียกว่า “วัดแสน” วัดนี้ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1718 สมัยการปกครองของเจ้ากิ่งกิสสราช ภายหลังที่นครหลวงพระบางได้แยกตัวออกจากนครเวียงจันทร์เป้ฯอาณาจักรหนึ่งต่างหากเพียง 11 ปีเท่านั้น วัดนี้สร้างขึ้นครอบวัดเก่าสมัยศตวรรษที่ 15 ถือว่าเป็นสถานที่เก่าแก่ที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของนครหลวงพระบาง และวัดนี้ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1932 และครั้งที่สองเมื่อปี ค.ส. 1975 ซึ่งเป็นการบูรณะครั้งใหญ่ มีการประดับดอกดวงทำด้วยมุกประดับทองคำที่สวยสดงดงามศิลปะตกแต่งและดอกดวงต่างๆ ที่ประดับระเบียงและพุทธสีมาวัดแสนนี้ เป็นสกุลช่างลาวหลวง พระบางศตวรรษที่ 20
หอพิพิธภัณฑ์พระราชวังเก่าหลวงพระบาง
หอพิพิธภัณฑ์พระราชวังเก่านี้สร้างขึ้นเมื่อปี 1904-1909 ในรัชการของเจ้าชีวิตสีสว่างวงศ์ ในหอพิพิธภัณฑ์จะมีเครื่องใช้เก่าแก่ของกษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง ที่สืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ อยู่ห้องใหญ่ทางเข้าเป็ฯที่วางแสดงมรดกทางด้านศิลปะ และมรดกทางศาสนาพุทธ ห้องด้านขวา
มือเป็นประดิษฐานของพระบาง เป็นห้องไหว้พระของเจ้าชีวิต ทางด้านขวาของห้องโถงใหญ่เป็น ห้องรับแขกฝาฟนังประดับรูปภาพเขียนด้วยสีน้ำมันที่สวยสดงดงามเป็นพิเศษ ซึ่งแสดงถึงการดำรงชีวิตชองประชาชนชาวลาวตามประเพณีในรูปภาพนี้ เขียนขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1930 โดยจิตรกรหญิงชาวฝรั่งเศสชื่ออาลิช เดอ โฟโตโร ทางด้านซ้ายของทางเข้าห้องโถงใหญ่เป็นห้องที่ประดับ รูปเขียนต่ผางๆ เกี่ยวกับพระเจ้ามหาชีวิตและเครื่องบรรณาการที่นัการฑูตจากนานาประเทศนำมาถวาย เพื่อเป็นที่ระลึก ห้องด้านหลังของทางเข้าห้องโถงเป็นห้องสถิตย์ดาบเงินพร้อมฝึก และพระพุทธรูปต่างๆ พระที่นั่งบนหลังช้างของพระราชาในสมัยก่อน อีกห้องหนึ่งที่มีความประทับใจและเด่นที่สุดในปัจจุบันก็คือห้องที่บรรจุเครื่องดนตรีนาฎศิลป์ลาวเดิม และหน้ากากของพระลักษณ์พระราม และบริวารใช้ในเวลาแสดงละครรามายานะและผมนางแก้ว
ถ้ำติ่ง
ถ้ำติ่งเป็นถ้ำน้อย ตั้งอยู่ปากอู ห่างจากหลวงพระบางประมาณ 40 กิโลเมตร ซึ่งมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่มากมายมหาศาล ซึ่งไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าเป็นเวลายาวนานเท่าใดที่ประชาชนได้นำเอาพระพุทธรูปมาถวายเป็ฯที่เคารพบูชาไว้ที่ถ้ำกลางแม่น้ำโขง ซึ่งพระพุทธรูปอยู่ที่ถ้ำดังกล่าวยิ่งนับวันก็ยิ่งมากขึ้น เนื่องจากทุกๆ ปี เมื่อถึงเทศกาลปีใหม่ลาว ชาวหลวงประบางจะพากันล่องเรือมาทำบุญกันอยู่ที่นี่ ในการมาทำบุญกันแต่ละครั้งจะนำเอาพระพุทธรูปที่หล่อด้วยโลหะ และทำด้วยไม่แกะสลักมาถวายไว้องค์หนึ่ง ยิ่งหลายปีผ่านไป ถ้ำติ่งก็มีพระพุทธรูปประดิษฐานมากขึ้นเรื่องๆ จนถ้ำแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นถ้ำพระอยู่กลางลำแม่น้ำที่กว้างใหญ่ ที่สะท้อนให้เป็นว่าเป็นแดงแห่ง พระพุทธศาสนาของเมืองหลวงพระบางแต่โบราณยาวนานผ่านมาโดยแท้
น้ำตกตาดกวางสี
ตาดกวางสีตั้งอยู่ห่างจากหลวงพระบางลงไปทางใต้ประมาณ 30 กิโลเมตร เหมาะสำหรับการพักผ่อน เพราะมีอากาศบริสุทธิ์และมีธรรมชาติอันสวนงาม เขียวชะอุ่มไปทั่วเป็นที่น่าพิศวงยิ่งนักตามเส้นทางท่านจะได้พบกับวิถีชีวิตและความเป็นเอกลักษณ์อันแท้จริงของบรรดาชนกลุ่มน้อยในลาวโดยเฉพาะหมู่บ้านลาวเทิง
เช่น หมู่บ้านท่าแป้น, บ้านตาดและบ้านอู้ ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวหลวงพระบางดั้งเดิมซึ่งยังคงรักษาการดำรงชีวิตแบบลาวๆ เกือบหมดทุกอย่างและท่านจะได้พบกับการตำข้าวด้วยพลังงานของกระแสน้ำ
แผนที่ใช้ในการท่องเที่ยวหลวงพระบาง