แขวงเวียงจันทน์ เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาวที่ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2532 แขวงเวียงจันทน์เดิมได้แบ่งออกเป็น 2 แขวง คือ แขวงเวียงจันทน์ปัจจุบัน และนครหลวงเวียงจันทน์ที่มีเขตตัวเมืองเวียงจันทน์ซึ่งเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ หลังจากแบ่งออกเป็นสองแขวงแล้ว พื้นที่ส่วนที่เหลือยังคงเรียกว่าแขวงเวียงจันทน์ และได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองของแขวงเวียงจันทน์ มาอยู่ที่เมืองโพนโฮง แทนตัวเมืองเวียงจันทน์ชั้นในที่เป็นที่ตั้งของนครหลวงเวียงจันทน์
เขื่อนน้ำงึม 1 ตั้งอยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ประมาณ 90 กิโลเมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2515 เสียพื้นที่ป่าไปประมาณ 250 ตารางกิโลเมตร เพื่อกักเก็บน้ำ ในลำน้ำงึมไว้ ทำให้เกิดทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ มีเกาะเล็กเกาะน้อยกระจายอยู่หลายร้อยเกาะ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้พอใช้ในเวียงจันทน์และยังมีเหลือส่งออกมาขายทางฝั่งประเทศไทย
เวียงจันทน์
เวียงจันทน์เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของลาว ตั้งอยู่เลียบบริเวณแม่น้ำโขงตอนกลาง เป็นเมืองที่เคยมีบทบาททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมผ่านระยะประวัติศาสตร์ยาวนาน ได้เคยมีความสัมพันธ์กับเมืองโบราณอื่นๆทางภาคใต้ของจีน,อินเดีย และเอเชียอาคเนย์ตามตำนานโบราณกล่าวว่าเดิมเมืองน้ำคือ”บ้านหนองคันแทเสื้อน้ำ”ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจการผลิตขยายตัว บ้านนี้ได้ เปลี่ยนเป็นเมืองชื่อว่า”เมืองเวียงจันทน์” ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของ สปป.ลาว มีเนื้อที่ 3,920ตารางกิโลเมตรมีพลเมืองทั้งหมด 476,000 คนประกอบด้วย 7 เมืองคือเมืองจันทะบุรี,เมืองสีโคตตะบอง,เมืองไชยเศรษฐา,เมืองสีสัตนาค,เมืองนาทรายทอง,เมืองไชยธานีและเมืองหาดทรายฟอง มีชายแดนติดกับแขวงนครเวียงจันทน์,แขวงบริคำไชยและประเทศไทย
ประวัติศาสตร์
เวียงจันทน์เริ่มเป็นเมืองหลวงแทนหลวงพระบางตั้งแต่ พ.ศ. 2078 ในสมัยพระเจ้าโพธิสารราช จน พ.ศ. 2103 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 มหาราช ถอยหนีพม่ามาตั้งหลักที่เวียงจันทน์จึงถือเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ เวียงจันทน์เจริญขึ้นเรื่อยๆจนถึง พ.ศ. 2237 สมัยพระเจ้าสุริยวงศาก็เสื่อมลง พระองค์มีสนมเอกชื่อนางเขียวค้อม ซึ่งทรงหวงมาก จนสั่งฆ่าเจ้าราชบุตร พระราชโอรสเสียเพราะเข้าใจว่าเป็นชู้กับนางเขียวค้อม เจ้าราชบุตรถูกนำตัวไปประหารชีวิตที่ท่าพลาญชัย (ปัจจุบันคือท่าหลักสี่) ก่อนตาย เจ้าราชบุตรได้อธิษฐานว่าถ้าเป็นชู้จริงขอให้เวียงจันทน์เจริญรุ่งเรือง ถ้าไม่จริงขอให้จงเจริญแค่ชั่วช้างพับหู งูแลบลิ้นจนกว่าจะมีช้างเผือก หินฟู งูใหญ่เชื่อมสองฝั่งโขงให้ติดกัน
จากนั้น เวียงจันทน์เกิดความวุ่นวายขึ้นเนืองๆ นางเขียวค้อมหนีไปบวชชี พญาเมืองจันทน์เป็นขบถจนพระเจ้านันทราชจากนครพนมยกทัพมาปราบ แต่ก็ถูกพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (ไชย อง เว) นำทัพเวียดนามมาสู้รบจนแยกออกเป็นอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2253 และต่อมาใน พ.ศ. 2256 อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ก็แยกตัวออกไป
อาณาจักรเวียงจันทน์หลังการแบ่งแยกมีอาณาเขตมาถึงนครไทย (อยู่ในจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน)และติดกับจำปาศักดิ์ในบริเวณเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด)แต่เพราะราชวงศ์ล้านช้างวิวาทกัน ทำให้เจ้าเมืองต่างๆแยกตัวออกมาตั้งแต่พระบรมราชา (เฮงก่วน) เจ้าประเทศราชนครพนม แยกมาขึ้นกับกรุงเทพฯพระวอพระตาแยกมาตั้งเมืองอุบลราชธานีและยศสุนทร (ปัจจุบันคือยโสธร)เจ้าประเทศราชสุวรรณภูมิ (ร้อยเอ็ด มหาสารคาม)และเจ้าประเทศราชมุกดาหารมาขึ้นต่อกรุงเทพฯทั้งสิ้น
ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)สมทบกับเจ้าประเทศราชต่างๆบุกโจมตีเวียงจันทน์หลังเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ ยกเลิกเจ้าประเทศราชหนองคาย ให้ท้าวสุวงธรรมาอุปฮาดยโสธรเป็นพระปทุมวงศาภิบาลที่ 1 เจ้าประเทศราชหนองคายอพยพผู้คนมาฝั่งขวา ให้เวียงจันทน์เป็นเมืองจัตวาขึ้นกับหนองคาย หลังจากนั้นบริเวณเวียงจันทน์ต้องเผชิญศึกสงครามหลายครั้ง ทั้งสงครามสยาม-เวียดนาม 14 ปี สงครามปราบฮ่อ ต่อมาถูกฝรั่งเศสยึดเป็นอาณานิคมเมื่อ พ.ศ. 2436 ชาวเวียงจันทน์ที่ไม่ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนำโดยพระกุประดิษฐ์บดี (ชาลี กุประดิษฐ์)จึงอพยพมาอยู่ที่เมืองท่าบ่อหรืออำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน
ฝรั่งเศสได้สร้างเมืองเวียงจันทน์ขึ้นใหม่ ให้ ม.ปาวี เป็นข้าหลวงใหญ่คนแรก เวียงจันทน์ในสมัยฝรั่งเศสปกครองได้ชื่อว่าปารีสตะวันออก จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2498 และถูกปลดแอกโดยพรรคปฏิวัติประชาชนลาวเมื่อ พ.ศ 251
สถานที่ท่องเที่ยว
- วังเวียงรีสอร์ท
- ถ้ำจัน
แขวงเวียงจันทน์เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และมูลมรดกอันล้ำค่าเช่นมีป่าดงหนา และสานน้ำลำธารที่ใสเย็นซึ่งเป็นแหล่งกำเนินดของอู่ข้าวอู่น้ำในการทำมาหากินเลี้ยงชีพของประชาชนในเขตนี้ อ่างน้ำงึมถูกสร้างขึ้นด้วยการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าไปรับใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และนำส่งออกขายต่างประเทศ นอกจากนั้นอ่างน้ำงึม ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและสวยงานที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศลาวณ ที่นี้ ท่านจะได้สัมผัส กับธรรมชาติอันแท้จริงโดยเฉพาะแล้วชาวนครเวียงจันทน์ และชาวต่างประเทศจะใช้เป็นสถานที่พักผ่อนแบบปิคนิคสุดสัปดาห์ โดยการนั่งเรือล่องไปตามหมู่เกาะ ดอนน้อย, ใหญ่ ต่างๆ เวลากลับถึงฝั่งท่านก็จะสามารถแวะรับประทานอาหารด้วยเนื้อปลาสดๆ เมื่อมุ่งหน้าไปตามเส้น ทางหมายเลข 13 เหนือที่คดเคี้ยวไปตามสันภูประมาณ 152 กิโลเมตรจากกำแพงนครเวียงจันทน์ ก็จะถึงเมืองวังเวียงซึ่งเป็นเมืองที่มีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น และมีธรรมชาติที่สวยสดงดงาม เปรียบเสมือนกับเครื่องประดับของเมืองนี้ ผาท้อ, วังเวียง, ถ้ำจัง และสายน้ำโขงเป็นมิ่งขวัญของชาวเมือง ซึ่งใครๆ ก็ไม่อาจจะหลงลืมได้ เช่นเดียวกับผาต่อ-หน่อคำ ไม่เพียงแต่เท่านี้ วังเวียงยังเป็นดินแดนแห่งข้าวขาวสาวงาม ประชาชนขยันขันแข็ง วีระอาจหาญ ตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ซึ่งได้มรดกทางด้านศิลปะวัฒนธรรมสืบทอดมาให้ลูกหลานตราบเท่าทุกวันนี้