รัฐมอญ

MyanmarMonมีพรมแดนด้านตะวันออกติดกับรัฐกะเหรี่ยงและประเทศไทย ด้านเหนือติดเขตปกครองหงสาวดี ด้านใต้ติดเขตปกครองตะนาวศรี ส่วนทางด้านตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเมาะตะมะ ประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐนี้คือชาวมอญ ซึ่งเป็นชนชาติที่เก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่งในพม่า ชาวมอญทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ พุทธสถานที่สำคัญและมีชื่อเสียงในรัฐนี้ก็คือ พระธาตุอินทร์แขวนหรือพระเจดีย์ไจ้เที่ยว

รัฐมอญ เป็นหนึ่งในรัฐที่ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศสหภาพพม่า รัฐมอญ เป็น sandwiched ระหว่างรัฐกะเหรี่ยงในตะวันออกท้องทะเลอันดามันในทิศตะวันตก พะโค งานในภาคเหนือ และ ตะนาวศรี งานในทางใต้และมีขอบสั้น กับประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรี ที่ปลายตะวันออกเฉียงใต้ของ พื้นที่ เป็น 12.155 km ² รัฐมอญรวมถึงเกาะเล็ก ๆ พร้อม 566 km ของการชายฝั่ง เมืองหลวง คือ Mawlamyaing เดิม Moulmein

สภาพภูมิศาสตร์
รัฐมอญมีตำแหน่งที่ตั้ง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับ รัฐกะเหรี่ยง
ทิศใต้ ติดกับ เขตตะนาวศรี
ทิศตะวันออก ติดกับ รัฐกะเหรี่ยง และ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
ทิศตะวันตก ติดกับ เขตพะโค และ ทะเลอันดามัน

ประชากร
ประชากร 2.4 ล้านคน ความหนาแน่น 505 คน/ตารางไมล์

การปกครอง
พื้นที่ 4,747.8 ตารางไมล์ การปกครอง 2 จังหวัด 10 อำเภอ 450 ตำบล
1. จังหวัดเมาะลำเลิง (เมาะลัมยิน)
2. จังหวัดท่าตอน (สะเทิมหรือตะโทง)

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก

ภาษา

นอกจากภาษาพม่า ซึ่งเป็นภาษาทางการแล้ว พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษา[3] โดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดังนี้

  • ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาปะหล่อง ภาษาปลัง (ปะลัง) ภาษาปะรวก (สำเนียงมาตรฐานของภาษาว้า) และภาษาว้า
  • ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ได้แก่ ภาษาพม่า (ภาษาทางการ) ภาษากะเหรี่ยง ภาษาอารากัน (ยะไข่) ภาษาจิงผ่อ (กะฉิ่น) และ ภาษาอาข่า
  • ตระกูลภาษาไท-กะได ได้แก่ ภาษาไทใหญ่ (ฉาน) ภาษาไทลื้อ ภาษาไทขึน ภาษาไทคำตี่ มีผู้พูดหนาแน่นในรัฐฉาน และรัฐกะฉิ่นส่วนภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยกลาง และภาษาไทยถิ่นอีสาน มีผู้พูดในเขตตะนาวศรี
  • ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ได้แก่ ภาษาม้งและภาษาเย้า (เมี่ยน)
  • ตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ได้แก่ ภาษามอเกนและภาษามาเลย์ ในเขตตะนาวศรี

ศาสนา

พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517 เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธ 92.3% ศาสนาคริสต์ 2% ศาสนาอิสลาม 4% ศาสนาฮินดู 1.7%

การคมนาคมขนส่ง

การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ ทางถนน ถนนในพม่าส่วนใหญ่ขนานไปกับภูเขาและแม่น้ำ ทอดไปตามความยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้ ถนนสายพม่า เป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเมืองคุนหมิง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองหมูแจ้ ประมาณ 1,160 กิโลเมตร และมีความยาวในเขตจีนจากหมูแจ้ถึงคุนหมิง ประมาณ 90 กิโลเมตร ถนนสายนี้ผ่านเมืองต่าง ๆ คือ พะโค-ตองอู-ปินมานา-เมกติลา-มัณฑะเลย์-เมเบียงกอดเต็ก-สีป๊อ-ล่าเสี้ยว-แสนหวี-หมูแจ้ รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 2,140 กิโลเมตร ใช้การทุกฤดูกาล ทางรถไฟ ทางรถไฟของพม่าได้เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481

การขนส่งทางน้ำ การคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศ นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพม่าเป็นอย่างมาก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำอิรวดีมีทางน้ำอยู่มากมาย และเป็นเขตที่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ประกอบกับเส้นทางถนนและทางรถไฟยังมีจำกัด

เชิญแสดงความคิดเห็น