อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ป่าต้นน้ำ ป่าดึกดำบรรพ์ปลายทางหิมาลัย ขุนเขาใต้ทะเล อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีพื้นที่ประมาณ 1,680 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ ได้แก่ ท่าวังผา ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง บ่อเกลือ สันติสุข และแ ม่จริม เทือกเขาดอยภูคาประกอบด้วยแนวภูเขาสูงสลับซับซ้อน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของปลายเทือกเขาหิมาลัย โดยมียอดภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดน่าน สูงถึง 1,980 เมตร
ดอยภูคาเป็นต้นแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัว บริเวณนี้เดิมเคยเป็นทะเลมาก่อน ก่อนจะเกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินสองผืนใต้ทะเลเข้าหากัน ทำให้แผ่นดินโก่งตัวขึ้น น้ำทะเลใต้ดินระเหยไปเหลือเพียงสินแร่เกลือ ดั งที่พบในเขตอำเภอบ่อเกลือ และการค้นพบสุสานหอยทะเลอายุประมาณ 200 ล้านปี บนดอยภูแวที่บ้านค้างฮ่อ ตำบลสะกาด อำเภอปัว มีลักษณะเป็นหอยแครงสองฝา ดร.จงพันธ์ จงลักษณ์มณี นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี สรุปว่า เป็นซากหอยที่มี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พาลีโอคาร์ดิต้ า สปีชี่ (Paleocardita Species) อายุ 195-205 ล้านปี จัดว่าอยู่ในยุคไทรแอสซิก (Triassic) ตอนปลาย
ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้า และ ป่าสนธรรมชาติ เป็นแหล่งของพันธุ์ไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ชมพูภูคา (Bretschneidera sinesis Hemsl.) ในเขตป่าดิบ เป็นแหล่งต้นเต่าร้างยักษ์ ปาล์มดึกดำบรรพ์ เมเปิ้ลใบ 5 แฉก ต่างจากเมเปิ้ลที่อื่นซึ่งมี 3 แฉก และยังเป็นแหล่งนกเฉพาะถิ่นที่หายากสองชนิด คือ นกมุ่นรกคอแดง และนกพงใหญ่พันธุ์อินเดีย
สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่
ถ้ำผาแดง, ถ้ำผาผึ้ง เป็นถ้ำที่มีความสวยงามและยาวมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา (บ้านมณีพฤกษ์) อ.ทุ่งช้าง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม และยังมีน้ำตกและลำธารขนาดใหญ่ภายในถ้ำอีกด้วย นอกจากนี้ที่บ้านมณีพฤกษ์นี้ยังสามารถชมดอกชมพูภูคาซึ่งจะบานในราวเด ือนกุมภาพันธ์ได้ด้วย
ถ้ำผาฆ้อง เป็นถ้ำขนาดกลางบริเวณปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก ภายในถ้ำจะมีหินงอกหินย้อย และลำธารไหลผ่าน แต่ช่วงฤดูฝนไม่สามารถเข้าชมได้ เนื่องจากอาจมีน้ำท่วมในถ้ำอยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 7 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 2 กม.
น้ำตกต้นตอง เป็นน้ำตกหินปูนมี 3 ชั้น อยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา บนโตรกผามีพืชชุ่มน้ำ เช่นตะไคร่น้ำ เฟิร์นเกาะเขียวขจี หากในหน้าน้ำหลากน้ำในน้ำตกจะขุ่นแดง ห่างจากที่ทำการอุทยานประมาณ 3 กม. ทางเข้าอยู่ที่บ้านป่าเต๋ย และเดินเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมต ร (ไป-กลับ 2 กม.) ต้องผ่านพื้นที่ทำไร่ของชาวบ้าน ลักษณะทางเดินลาดชันมาก
น้ำตกศิลาเพชร น้ำตกลงมาจากหน้าผาหลายชั้นลดหลั่นกันไป เหมาะกับการเล่นน้ำ น้ำตกศิลาเพชรอยู่ที่บ้านป่าตอง ตำบลศิลาเพชร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 71 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 1080 สายน่าน-ปัว ก่อนถึงอำเภอปัว ตรงหลักกิโลเมตรที่ 41-42 มีทางแยกขวามือเข้าทางห ลวงหมายเลข 1170 ไปประมาณ 10 กิโลเมตร
น้ำตกภูฟ้า อยู่ในอ.แม่จริม การเดินทางเข้าไปยากลำบากจะต้องเดินเท้าประมาณ 2 วัน
น้ำตกตาดหลวง บ้านทุ่งเฮ้า อ.ปัว และเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาพลวง
ล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นเส้นทางล่องแก่งระดับ 3-5 ประมาณ 20 กว่าแก่ง เป็นสุดยอดแห่งความตื่นเต้นสนุกสนานช่วงเวลาที่เหมาะกับการล่องแก่งอยู่ระหว่างเดือน ส.ค.-ธ.ค.
ยอดดอยภูแว เป็นยอดดอยที่มีวามสูงจากระดับน้ำทะเล 1,837 เมตร มีลักษณะโดดเด่นเป็นทุ่งหญ้าบนดอย อีกทั้งยังมีลานหินและหน้าผาสูงชันอีกด้วย และมีพรรณไม้เฉพาะถิ่นและพรรณไม้หายาก เช่น ค้อ กุหลาบพันปี ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาว(พ.ย.-ก.พ.)นั้นจะมีความสวยงามมาก
การเดินทาง โดยรถยนต์จากที่ทำการอุทยานฯ ไปถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคาที่ 9 (บ้านด่าน) ระยะทางประมาณ 63 กม. และเดินทางขึ้นยอดดอยภูแวประมาณ 8 กม. และมีลูกหาบไว้บริการ
สุสานหอย ซึ่งเป็นหอยทะเลอายุประมาณ 218 ล้านปี พบในบริเวณบ้านค้างฮ่อ อ.ทุ่งช้าง
เส้นทางศึกษาธรรมชาติชมพูภูคา ดอยภูคานับเป็นบ้านแห่งสุดท้ายของต้นชมพูภูคาพันธุ์ไม้หิมาลัย ดร.ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมป่าไม้ เป็นผู้สำรวจพบเป็นครั้งแรกในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ในช่วงเดือนกุมภาพั นธ์ของทุกปี ชมพูภูคาจะผลิดอกตามปลายกิ่งเป็นช่อสีชมพูยาว 30-35 เซนติเมตร เมื่อบานจะทำให้ช่อดอกเป็นพุ่มสวยงาม ชมพูภูคาเป็นพันธุ์ไม้ที่เคยมีการสำรวจพบตามหุบเขาแถบมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีนและทางเหนือของเวียดนาม จากนั้นก็ไม่มีรายงานการค้นพบพืชชนิดนี ้อีก พื้นที่ป่าดิบเขาดอยภูคาจึงอาจเป็นแหล่งกำเนิดสุดท้ายของชมพูภูคา ซึ่งเป็นไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งในโลก จุดชมต้นชมพูภูคาที่เข้าถึงง่ายที่สุดจะอยู่ริมถนนห่างจากที่ทำการไป 5 กิโลเมตร
อุทยานฯได้จัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติไว้ 2 วงรอบ รอบเล็ก 1.2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดิน 2 ชั่วโมง รอบใหญ่ 4.3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดิน 4 ชั่วโมง ระหว่างเส้นทางจะพบ ป่าสนสามใบ เป็นป่าปลูกทดแทนป่าเดิมซึ่งถูกทำลาย ป่ากล้วย มักพบใกล้แหล่งน้ำ กล้วยที่โตเต็มที่สามารถเก็ บน้ำตามลำต้นได้ถึง 10-15 ลิตร ป่าดึกดำบรรพ์ที่มีต้นเต่าร้างยักษ์, ต้นชมพูภูคา, นางพญาเสือโคร่ง พบในเขตป่าดิบเขา สูงจากระดับน้ำทะเล 800-1,800 เมตร เปลือกมีกลิ่นหอมคล้ายการบูน มีสรรพคุณเป็นยา ดอยดงหญ้าหวาย เดิมบริเวณนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน การเคลื่อนตัวขอ งแผ่นดินใต้ทะเลสองผืนจนเกิดการโก่งตัวเป็นสภาพดอยในปัจจุบัน
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว คือ ช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิ 15-27 องสาเซลเซียส และฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนซึ่งมีอากาศเย็นสบาย
สิ่งอำนวยความสะดวก ในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา สถานที่สำหรับตั้งเต็นท์พักแรม บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา และลานดูดาวซึ่งเป็นจุดชมทิวทัศน์ได้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ตามถนนสายปัว-บ่อเกลือ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตรในบริเวณพื้นที่กางเต็นท์ทั ้ง 2 แห่งนี้มีห้องน้ำ ห้องสุขาไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว
จองบ้านพักที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 ป่าไม้จังหวัดน่าน โทร. 0 5471 0815 หรือ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โทร. 0 1224 0789, 0 5470 1000 ตู้ปณ . 8 ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120 หรือสำรองที่พักด้วยตนเองที่ http://www.dnp.go.th
การเดินทาง จากจังหวัดน่าน โดยทางรถยนต์ไปตามทางหลวงหมายเลข 1080 ถึงอำเภอปัว ระยะทาง 60 กิโลเมตรแยกไปตามทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว-บ่อเกลือ) ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ระยะทาง 25 กิโลเมตร
ผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวสีน้ำเงินสายปัว-บ่อเกลือ ซึ่งผ่านหน้าอุทยานฯ วิ่งบริการระหว่างเวลา 07.30-14.00 น. ท่ารถอยู่บริเวณสามแยกปัว-บ่อเกลือ |