ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี
 
อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี
 

อาณาจักรใบไม้สีทอง

อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ อำเภอยี่งอ อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอระแงะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีพันธุ์ไม้ที่มีค่านานาชนิด โดยเฉพาะปาล์มบังสูรย์และใบไม้สีทอง มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกต่าง ๆ ตลอดจนมีประวัติศาสตร์เป็นพื้นที่ของผู้ก่อการร้ายในนามขบวนการบูโดและขบวน การพูโล มีเนื้อที่ประมาณ 213,125 ไร่ หรือ 341 ตารางกิโลเมตร

ในอดีตพื้นที่ของป่าเทือกเขาบูโดและเทือกเขาสุไหงปาดี เป็นพื้นที่ที่มีโจรผู้ร้าย ชุกชุม มีการก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆ มากมายในนาม “ขบวนการพูโล” และ “ขบวนการโจรบูโด” จนในปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวได้มีความสงบเรียบร้อยและปลอดภัยมากขึ้นแล้ว ประกอบกับสภาพป่าทั้งสองมีความอุดมสมบูรณ์ และสวยงามตามธรรมชาติ ในปี พ.ศ. 2517 กรมป่าไม้ได้ดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกปาโจ ซึ่งอยู่บริเวณป่าเทือกเขาบูโด และในปี พ.ศ. 2519 ได้จัดตั้งวนอุทยานน้ำตกฉัตรวาริน ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าเทือกเขาสุไหงปาดีให้อยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักงาน ป่าไม้เขตปัตตานี

เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปเยี่ยมเยือนประชาชน ในเขตพื้นที่อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอระแงะ ทรงพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2524 ว่า “เทือกเขาสุไหงปาดีมีความสูง 1,800 ฟุต เป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดนราธิวาส มีไอน้ำเกาะทำให้เกิดความชุ่มชื้นและเป็นแหล่งน้ำมีลำธารไหล 3 สาย ควรมีการรักษาแหล่งน้ำอย่างจริงจัง” ซึ่งกองอนุรักษ์ต้นน้ำได้ตรวจสอบแล้วรายงานว่า พื้นที่ป่าบริเวณเทือกเขาสุไหงปาดีมีสภาพดีมาก และมีธรรมชาติที่สวยงาม เห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 740/2525 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2525 ให้ นายสัมพันธ์ มิเดหวัน ไปสำรวจเบื้องต้น ซึ่งได้รับรายงานตามหนังสือ ที่ กษ 0713 (ขป) /พิเศษ ลงวันที่ 11 กันยายน 2526 ว่า บริเวณเทือกเขาสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส มีสภาพภูมิประเทศเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้
 

ต่อ มากองอุทยานแห่งชาติ ได้รับหนังสือของศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนจังหวัดภาคใต้ ที่ มท 1501/1955 ลงวันที่ 2 กันยายน 2526 และหนังสือสำนักงานป่าไม้เขตปัตตานี ที่ กษ 0714 (ปน)/1689 ลงวันที่ 8 กันยายน 2526 เสนอความเห็นว่า บริเวณเทือกเขาบูโด จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าชุกชุม มีธรรมชาติสวยงามหลายแห่ง ซึ่งป่าไม้เขตได้มีคำสั่งที่ 222/2526 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2526 ให้นายอภัย หยงสตาร์ นักวิชาการป่าไม้ 4 และนายสุธน จันทร์สว่าง เจ้าพนักงานป่าไม้ 2 ไปสำรวจเบื้องต้นแล้ว เห็นสมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0706/1073 ลงวันที่ 22 เมษายน 2527 เสนอนายจำนงค์ โพธิสาโร อธิบดีกรมป่าไม้ ซึ่งได้มีบันทึกลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2527 ให้ดำเนินการกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าทั้งสองเป็น อุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 และได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2531 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2531 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ป่าเทือกเขาบูโด ป่าเทือกเขาสุไหงปาดี เป็นอุทยานแห่งชาติ

ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าเทือกเขารือเสาะ ป่ายี่งอ และป่าบาเจาะ ในท้องที่ตำบลปะลุกาสาเมาะ ตำบลบาเระเหนือ ตำบลกาเยาะมาตี ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ ตำบลสุวารี ตำบลสามัคคี ตำบลรือเสาะออก ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ ตำบลตะปอเยาะ ตำบลลุโบะบายะ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ และตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ป่ากะรุบี ในท้องที่ตำบลตะโละดือรามัน และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ป่าจะกว๊ะ ในท้องที่ตำบลเกะรอ และตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และป่าบูเก๊ะตาเว แปลงที่ 2 ป่าบองอ และป่าบูเก๊ะตาเว แปลงที่ 1 ในท้องที่ตำบลจวบ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง ตำบลบองอ อำเภอระแงะ ตำบลโต๊ะเด็ง ตำบลริโก๋ ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดี และตำบลเกียร์ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 48 ก วันที่ 17 มิถุนายน 2542 เป็นลำดับที่ 95 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ

 

เป็น ภูเขาสลับซับซ้อนประกอบด้วยเขาน้ำค้าง เขาบูโละ เขาบือซา เขาบูเก๊ะตอแลจอง เขาบือเกะบือซา เขาบูเก๊ะซามาเลีย มียอดเขาตาเว เป็นยอดเขาสูงที่สุดประมาณ 548 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทราย หินเป็นหินอัคนี บางส่วนเป็นหินปูน และหินกรวดขนาดใหญ่ สภาพป่าจะทอดแนวทางทิศเหนือไปสู่ทิศใต้ เป็นแหล่งต้นกำเนิดแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำสายบุรี และคลองบาเจาะ เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

มีสภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 2 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน ซึ่งฝนจะตกชุกระหว่างเดือนพฤษภาคม- ธันวาคม และฤดูร้อน ระหว่างเดือน มกราคม-เมษายน

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

สภาพ ป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดงดิบขึ้นปกคลุมเทือกเขาทั้งหมด มีไม้ขนาดใหญ่ เช่น ตะเคียน กาลอ ไข่เขียว สยา หลุมพอ นากบุด ตีนเป็ดแดง ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวาย ปาล์ม ใบไม้สีทอง และมีพรรณไม้ที่หายากมีราคาแพงและกำลังจะสูญพันธุ์ คือ “หวายตะค้าทอง” และ “ปาล์มบังสูรย์ หรือลีแป” พบตามบริเวณป่าลึกบนภูเขาสูงและสันนิษฐานว่ามีอยู่แห่งเดียวในป่าบริเวณนี้

ใบไม้สีทอง หรือ ย่านดาโอ๊ะ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhnia aureifolia เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่นตรงที่มีใบสีทองและผิวใบนุ่มเนียราวกับกำมะหยี่ รูปร่างคล้ายกับใบกาหลงหรือชงโค แต่ขนาดใหญ่กว่า มีขอบหยักเข้าทั้งโคนใบและปลายใบ คล้ายใบรูปไข่สองใบเชื่อมติดกัน พบเห็นได้ทั่วไปในผืนป่าบูโด และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

สัตว์ป่า ประกอบด้วย เก้ง กระจง เลียงผา บ่าง ลิง ค่างแว่นถิ่นใต้ นกอินทรี นกยางเขียว นกกระทา นกเปล้า นกหัวขวานแดง นกกางเขนดงหางแดง นกกางเขนดง นกเงือกปากดำ นกกาฝาก ไก่ป่า เป็นต้น


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี
230 หมู่ที่ 4 ถนนพิพิธปาโจ ต.บาเจาะ อ. บาเจาะ จ. นราธิวาส  96170
โทรศัพท์ : 0 7355 1676 (VoIP), 0 7353 6076   โทรสาร : 0 7355 1676 (VoIP)
ผู้บริหาร : สิทธิชัย หมัดสี   ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส
 
รถยนต์

จากกรุงเทพฯ ถึงอำเภอบาเจาะ ระยะทางประมาณ 1,122 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 42 จากอำเภอบาเจาะ ถึงอุทยานแห่งชาติบูโดฯ ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร

 
เครื่องบิน

จาก สนามบินบ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดี ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร

 
รถไฟ

จากกรุงเทพฯ ถึงอำเภอสถานีรถไฟตันหยงมัส อำเภระแงะ และจากสถานีตันหยังมัส ประมาณ 30 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดี

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. บูโด 101 (ปาโจ 1) 3 2 6 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม
โซนที่ 1 2. บูโด 102 (ปาโจ 2) 3 2 6 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม
โซนที่ 1 3. บูโด 104 (ปูเกะ) 1 1 2 500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม
โซนที่ 1 4. บูโด 105 (ปีแน) 1 1 2 500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม
หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 บูโด 101-105 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่  จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 
 
โซน ชื่อห้องประชุม รองรับ
ได้ (คน)
ราคา (บาท) สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. บูโด 011 - ห้องประชุมบูโด (09.00 - 12.00 น.) 60 600  ห้องพัดลม ไม่เกิน 60 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 2. บูโด 011 - ห้องประชุมบูโด (18.00 - 21.00 น.) 60 600  ห้องพัดลม ไม่เกิน 60 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 3. บูโด 011 - ห้องประชุมบูโด (13.00 - 16.00 น.) 60 600  ห้องพัดลม ไม่เกิน 60 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้

 
โซน โซนห้องประชุม คำอธิบาย
โซนที่ 1 บูโด 011 - ห้องประชุมบูโด ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 

 

 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 
ด้านประวัติศาสตร์

ศาลาธารทัศน์  ใน เขตอุทยานแห่งชาติ เป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 7 ในคราวเสด็จประพาสจังหวัดนราธิวาส ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชื่อว่า “ศาลาธารทัศน์”

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์  

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

ถ้ำค้างคาว  ท่าน จะเดินทางเข้าสู่ถ้ำค้างคาวนับหมื่นที่ส่งเสียงก้องไปทั่วและบินไปมาอยู่ ตลอดเวลา การเดินทางเข้าสู่ถ้ำค้างคาวแห่งเทือกเขาบูโด- สุไหงปาดี ใช้เวลาเพียงไม่นาน 2-3 ชั่วโมง พบกับต้นไม้น้อยใหญ่และสัตว์มากมาย ต้องถือได้ว่าเป็นความสำเร็จที่ล้ำค่าของคณะสำรวจ นักท่องไพรที่สนใจอย่างยิ่ง

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกคูแวว  ตั้งอยู่บริเวณบ้านบาแระ ตำบลปาลุกาสนอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นผาน้ำตก มี 4 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามมาก

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกจำปากอ  อยู่บริเวณบ้านจำปากอ ตำบลกาเยาะมาตี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส อยู่ห่างจากอำเภอบาเจาะ 16 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกฉัตรวาริน  ตั้ง อยู่บริเวณบ้านโผลง ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เดิมมีชื่อว่า ไอปาดง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีทั้งหมด 7 ชั้น สายน้ำไหลลงมาตามโขดหินลดหลั่นต่อเนื่องกันอย่างงดงาม อยู่ห่างจากอำเภอสุไหงปาดี 5 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกปาโจ  ตั้ง อยู่บริเวณบ้านปาโจ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ของผืนป่าบูโดที่มีน้ำไหลตลอดปี มีน้ำตก 4 ชั้น ชั้นแรกมีขนาดใหญ่และสวยที่สุด สายน้ำไหลตกจากลานผาหินกว้าง สูงประมาณ 60 เมตร ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่ ในช่วงฤดูฝนน้ำตกปาโจจะยิ่งงดงามตระการตาด้วยปริมาณน้ำมหาศาล สภาพป่าบริเวณนี้เป็นป่าดิบชื้นที่สมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้หลายชนิด เช่น กะลอ หลุมพอ ฯลฯ ตามพื้นป่ามีหวาย ปาล์ม หลากหลายชนิด สัตว์ที่พบเห็นง่ายได้แก่ ค่างแว่นถิ่นใต้ นกกาฝากท้องสีส้ม เป็นต้น

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   เที่ยวน้ำตก   แค้มป์ปิ้ง   ดูนก  

น้ำตกพุเสด็จ  ตั้ง อยู่บริเวณบ้านแบเราะ ตำบลปะลูกาสนอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เป็นผาน้ำตกถึง 4 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามมากและมีความสูงมาก สำหรับชั้นที่สองเป็นที่สวยงามมากที่สุด มีความสูงประมาณ 12 เมตร มีแอ่งน้ำขนาดใหญ่รองรับด้วย อยู่ห่างจากอำเภอบาเจาะ ประมาณ 10 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกวังทอง  อยู่ บริเวณบ้านบองอ ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เป็นน้ำตกที่มีสายน้ำไหลลดหลั่นลงมาจากเทือกเขา ลงมาเป็นสายน้ำไหลผ่านโขดหินน้อยใหญ่ มีแอ่งน้ำขนาดใหญ่สามารถเล่นน้ำได้ มีน้ำไหลตลอดปี ระยะห่างจากที่ทำการอุทยาน ประมาณ 53 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้  

น้ำตกสุวารี  ตั้ง อยู่บริเวณบ้านยือลาแป ตำบลสุวารี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีน้ำไหลตลอดปี สายน้ำไหลลดหลั่นเป็นลำธาร มีก้อนหินใหญ่เล็กวางทับซ้อนกันเป็นธรรมชาติ มีแอ่งน้ำสามารถลงเล่นน้ำได้ ระยะห่างจากทีทำการอุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดี ประมาณ 68 กิโลเมตร

กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   เดินป่าระยะไกล  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ที่พักแรม/บ้านพัก    มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


ลานกางเต็นท์    อุทยาน แห่งชาติจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้ กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติ่ม คลิกที่นี่


ที่จอดรถ    มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว


บริการอาหาร    มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.


 
 
อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี
230 หมู่ที่ 4 ถนนพิพิธปาโจ ต.บาเจาะ  อ. บาเจาะ  จ. นราธิวาส   96170
โทรศัพท์ 0 7355 1676 (VoIP), 0 7353 6076   โทรสาร 0 7355 1676 (VoIP)   อีเมล reserve@dnp.go.th

  
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์