ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
 
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
 

ดอยสุเทพไม่เพียงแต่เป็นที่ตั้งของวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ ปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ และพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ที่ประทับช่วงฤดูหนาวของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ทว่าดอยสูงแห่งนี้ยังสมบูรณ์ด้วยสภาพธรรมชาติทั้งพืชพรรณและสัตว์ป่า โดยเฉพาะนก ประกอบกับการเดินทางเข้าถึงสะดวก เพราะเชิงดอยอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 6 กิโลเมตร และบนเส้นทางขึ้นสู่ยอดดอยประมาณ 16 กิโลเมตร ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ให้เที่ยวชมได้ตลอด

 ดอยสุเทพ เดิมชื่อว่า “ดอยอ้อยช้าง” สำหรับดอยสุเทพที่เรียกกันในปัจจุบันนี้เป็นชื่อที่ได้มาจาก “พระฤาษีวาสุเทพ” ซึ่งเคยบำเพ็ญตบะอยู่ที่เขาลูกนี้เมื่อพันกว่าปีมาแล้ว แต่เดิมก่อนที่ป่าดอยสุเทพจะได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นป่าหวงห้าม ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 28 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2492 ต่อมาได้รับการประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 124 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2507 และได้มีมติคณะรัฐมนตรีประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติพิเศษเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2510 ในขณะเดียวกันกองบำรุง กรมป่าไม้ ได้จัดตั้งสถานีวนกรรมภาคเหนือขึ้นในพื้นที่บริเวณดอยสุเทพเพื่อใช้เป็นสถาน ที่ทำการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับการปลูกป่าในที่สูง การปลูกป่าทดแทนพื้นที่ที่ถูกบุกรุก และการทดลองปลูกพืชพรรณไม้ต่างถิ่น เช่น สน ยูคาลิปตัส และไม้เมืองหนาวอีกหลายชนิด ซึ่งยังคงสภาพอยู่หลายแปลงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติในปัจจุบัน

 ในปี พ.ศ. 2516 ทางราชการได้กำหนดป่าดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงส่ง นายปัญญา บุญสมบูรณ์ ออกไปดำเนินการสำรวจป่าดอยสุเทพ-ปุย หลังจากนั้นคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติจึงได้มีมติให้กำหนดพื้นที่ที่เป็นป่า ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ โดยกันพื้นที่ของราษฎรออกไป และมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่า ดอยสุเทพ ในท้องที่ตำบลโป่งแยง ตำบลแม่แรม ตำบลแม่สา ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม ตำบลบ้านปง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง และตำบลช้างเผือก ตำบลสุเทพ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 57 วันที่ 14 เมษายน 2524 ครอบคลุมพื้นที่ 100,662.50 ไร่ หรือ 161.06 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 24 ของประเทศ

 ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2525 ได้มีพระราชกฤษฎีกาขยายขอบเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ครอบคลุมบริเวณน้ำตกแม่สา น้ำตกตาดหมอก-วังฮาง น้ำตกตาดหมอกฟ้า และพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร โดยรอบของน้ำตกทั้งสามแห่งในพื้นที่ตำบลสบเปิง อำเภอแม่แตง และตำบลแม่แรม ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 62,500 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 163,162.50 ไร่ หรือประมาณ 261.06 ตารางกิโลเมตร โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 137 วันที่ 26 กันยายน 2525
 

   

ลักษณะภูมิประเทศ

 

ลักษณะ ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนอยู่ในแนวเทือกเขาถนนธงไชยที่สืบเนื่องต่อจากเทือก เขาหิมาลัย ความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 330-1,685 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยมียอดดอยปุยเป็นจุดที่สูงที่สุด นอกจากนี้มียอดเขาต่างที่สูงลดหลั่นกันมา ได้แก่ ยอดดอยสุเทพที่บริเวณสันกู่ สูง 1,601 เมตร ยอดดอยแม่สาน้อย สูง 1,549 เมตร ยอดดอยค่อมร่อง สูง 1,459 เมตร  ยอดดอยบวกห้าบริเวณพระตำหนักภุพิงค์ราชนิเวศน์ สูง 1,400 เมตร ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ สูง 1,130 เมตรจากระดับน้ำทะเล สำหรับพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่อยู่ในเขตอำเภอแม่แตงมีความสูงอยู่ในระหว่าง 400-980 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โดยทั่วไปประกอบด้วย หินอัคนี ชนิดที่สำคัญได้แก่ หินแกรนิต นอกจากี้ยังมีหินชั้นและหินแปร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของตัวเมืองเชียงใหม่ และพื้นที่บางส่วนของอำเภอรอบๆ ได้แก่ อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง อำเภอสะเมิง และอำเภอแม่แตง มีลำห้วยที่สำคัญได้แก่ ห้วยตึงเฒ่า ห้วยแม่หยวก ห้วยแก้ว ห้วยช่างเคี่ยน ห้วยปงน้อย ห้วยแม่เหียะ ห้วยแม่นาไทร และห้วยแม่ปอน เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

สภาพ ภูมิอากาศโดยทั่วไปของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพาเอาความชุ่มชื้นและเมฆฝน เข้ามาทำให้ฝนตก และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากประเทศจีนจะนำเอาความหนาวเย็นและ ความแห้งแล้งเข้ามา ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ โดยจะมีฤดูร้อนในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน และฤดูหนาวในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ สลับกันไป แต่เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยมีความหลากหลายทางด้านระดับ ความสูงและมีเทือกเขาสลับซับซ้อนสูง ทำให้ลักษณะอากาศในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยทั่วไปแล้วสภาพภูมิอากาศในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ย ตลอดปีอยู่ระหว่าง 2-23 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีระหว่าง 1,350-2,500 มิลลิเมตร โดยมีจำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ย 139 วัน และมีค่าเฉลี่ยความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีระหว่าง 70-80 เปอร์เซ็นต์ สำหรับบริเวณที่สูงของอุทยานแห่งชาติ เช่น บริเวณยอดดอยปุย สภาพอากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและชุ่มชื้น เนื่องจากได้รับไอน้ำจากเมฆหมอกที่ปกคลุมอยู่เกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในพื้นที่อยู่ระหว่าง 10-12 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ในวันที่อากาศหนาวจัด ค่าอุณหภูมิอาจลดลงถึง 4-5 องศาเซลเซียส

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

สังคมพืชในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยสามารถจำแนกออกเป็น
ป่าเต็งรัง พบกระจายอยู่บริเวณรอบๆ ชายขอบของอุทยานแห่งชาติที่ระดับความสูงระหว่าง 330-850 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามเนินเขาหรือสันเขาที่แห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านลาดทิศตะวันออกและทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ พืชพรรณส่วนใหญ่ประกอบด้วย เต็ง รัง เหียง พลวง พะยอม ก่อแพะ ก่อตาหมู รักใหญ่ แข้งกวาง หว้า ฯลฯ พืชอิงอาศัย ได้แก่ เอื้องแซะ เอื้องดอกมะขาม เอื้องแปรงสีฟัน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมี มอส ไลเคน นมตำเลีย เกล็ดนาคราช และหญ้าชนิดต่างๆ เป็นต้น

 ป่าเบญจพรรณ พบกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ในชั้นระดับความสูง 330-950 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นปะปนอยู่หลายชนิด พืชพรรณประกอบด้วย สัก ตะแบก ประดู่ มะเกิ้ม สมอไทย กาสามปีก สลีนก กระบก ซ้อ ฯลฯ พืชอิงอาศัยได้แก่ เอื้องช้างกระ เอื้องขี้หมา เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบกระจายเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยในชั้นระดับความสูงระหว่าง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามบริเวณหุบเขา บริเวณต้นน้ำลำธาร เช่น บริเวณน้ำตกมณฑาธาร น้ำตกสันป่ายาง และห้วยแม่ลวด ฯลฯ ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ยางแดง ยางนา ตะเคียนทอง ก่อเดือย ก่อแดง มะไฟป่า เสี้ยวป่าดอกขาว มะเกลือเลือด ฯลฯ พืชพื้นล่างจะเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบความชื้นสูงขึ้นอยู่อย่างแน่นทึบ เช่น กล้วยป่า หมากป่า เขือง หญ้าสองปล้อง เหมือดปลาซิว ตองสาด กระชายป่า ข่าลิง ผักเป็ดไทย ออส มันด้า กูด เฟิน หวายไส้ไก่ เป็นต้น

ป่าดิบเขา พบในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไปจนถึงบริเวณยอดดอยปุย ต้นไม้ในป่าจะมีพืชเกี่ยวเกาะขึ้นปกคลุมตามลำต้นและเรือนยอดอย่างหนาแน่น ที่สำคัญได้แก่ กล้วยไม้ชนิดต่างๆ ฝอยลม มอส คำขาวหรือกุหลาบพันปีสีขาว ฯลฯ พรรณไม้เด่นที่สำคัญได้แก่ ก่อแป้น ก่อเลือด ก่อนก มณฑาหลวง จำปีป่า สารภีดอย กำลังเสือโคร่ง อบเชย ทะโล้ กำยาน ฯลฯ ในบางแห่งจะมีสนสามใบขึ้นปะปนอยู่ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าคา หญ้าใบไผ่ ม้าสามตอน กูดต้น ขิงป่า ข่าป่า และกระชายป่า เป็นต้น

สัตว์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จัดได้ว่าเป็นทรัพยากรที่อยู่ในสภาพวิกฤติ ทั้งนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กและขนาดกลางมีจำนวนลด ลงมาก เช่น เก้ง กวางป่า ลิง ชะนี ฯลฯ และสัตว์ขนาดใหญ่บางชนิดได้สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง และเสือ เป็นต้น

 ปัจจุบันสัตว์ป่าที่ยังคงพบเห็นในพื้นที่ได้แก่ หมูป่า อีเห็นเครือ อีเห็นข้างลาย เม่นหางพวง อ้นเล็ก กระจ้อน กระเล็นขนปลายหูสั้น ค้างคาวมงกุฎเล็ก หนูขนเสี้ยนดอย หนูท้องขาว เต่าปูลู จิ้งจกบ้านหางแบนเล็ก กิ้งก่าหัวแดง งูสายม่านพระอินทร์ งูแส้หางม้าเทา อึ่งกรายหัวเล็ก กบหนอง อึ่งขาคำ และนกนานาชนิดกว่า 300 ชนิด เช่น นกกระจิบหญ้าสีข้างแดง นกกระทาทุ่ง นกกะเต็นน้อย นกกางเขนบ้าน นกกาแวน นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกขุนแผน นกเขาใหญ่ นกจับแมลงคอแดง นกจาบคาหัวสีส้ม นกแซงแซวสีเทา นกเด้าดินทุ่ง นกตบยุงหางยาว นกปรอดทอง นกพญาปากกว้างอกสีเงิน นกหกเล็กปากแดง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกอีวาบตั๊กแตน นกอีเสือหัวดำ เหยี่ยวนกเขาซิครา เป็นต้น

 

 

   

 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ. เมืองเชียงใหม่ จ. เชียงใหม่  50200
โทรศัพท์ : 0 5321 0244   โทรสาร : 0 5321 2065
ผู้บริหาร : อัมพร ปานมงคล   ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
 
รถยนต์

จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ( สายเอเซีย ) ผ่าน อยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่าน จังหวัดลำปาง แยกซ้ายผ่านจังหวัดลำพูน ถึงตัวเมืองเชียงใหม่ รวมระยะทาง 696 กิโลเมตร

 

สำหรับการเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ของอุทยานฯ สามารถเดินทางได้หลายวิธี ดังนี้

 
1. น้ำตกมณฑาธาร ท่านสามารถนำรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว หรือรถมินิบัส เข้าไปบริเวณน้ำตกมณฑาธารได้ ซึ่งน้ำตกมณฑาธาร จะอยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวา แวะชำระค่าธรรมเนียมเข้าชมน้ำตก ก่อนเดินทางอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกมณฑาธาร

 
2. วัดพระธาตุดอยสุเทพ ท่านสามารถนำรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว หรือรถบัส ไปจอดบริเวณลานจอดรถของวัดพระธาตุดอยสุเทพ หรือจะเช่า - เหมา รถยนต์โดยสาร บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย / สวนสัตว์เชียงใหม่ หรือ อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ระยะทางจากอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ ประมาณ 10 กิโลเมตร
 
3. บ้านพักอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จะอยู่ห่างจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ ประมาณ 300 เมตร ทางขวามือ รถบัส สามารถเข้าถึงบ้านพักอุทยานแห่งชาติได้

 
4. พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ อยู่ห่างจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ ประมาณ 4 กิโลเมตร รถบัสไม่สามารถเข้าถึงได้ หากท่านไม่ได้นำรถมาเอง ต้องเช่า-เหมารถจากบริเวณหน้าวัดพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งรถจะบริการนำเที่ยวพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ยอดดอยปุย และบ้านม้งดอยปุย

 
5. บ้านม้งดอยปุย อยู่ห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ประมาณ 4 กิโลเมตร เส้นทางจะคดเคี้ยว และลาดชัน ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง

 
6. ยอดดอยปุย อยู่ห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ประมาณ 7 กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างแคบ และลาดชัน ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง

 
7. น้ำตกตาดหมอก ท่านสามารถนำรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ส่วนตัว เข้าเยี่ยมชมน้ำตกตาดหมอกได้ แต่รถบัส ไม่สามารถเข้าถึงน้ำตกได้ เนื่องจากทางแคบ และคดเคี้ยว และไม่มีรถโดยสารประจำทางวิ่งผ่าน

 
8. น้ำตกแม่สา ท่านสามารถนำรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว หรือรถบัส ไปเยี่ยมชมน้ำตกแม่สาได้ หรือจะนั่งรถโดยสารประจำทาง สายเชียงใหม่ - สะเมิง บริเวณข้างวัดแม่ริม ซึ่งท่านจะต้องขึ้นรถสายเชียงใหม่ - แม่ริม บริเวณตลาดวโรรส หรือขนส่งช้างเผือก แล้วลงรถที่สี่แยกวัดแม่ริม เพื่อต่อรถสายเชียงใหม่ - สะเมิง เพื่อไปเที่ยวน้ำตกแม่สา

 
9. น้ำตกหมอกฟ้า ท่านสามารถนำรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ส่วนตัว ไปได้ แต่รถบัสไม่สามารถเข้าถึงน้ำตกได้ เนื่องจากทางแคบ และลาดชัน หากต้องการขึ้นรถโดยสารประจำทาง สามารถขึ้นได้ที่สถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ (อาเขต) เพื่อขึ้นรถสายเชียงใหม่ - ปาย แล้วลงรถตรงปากทางเข้าน้ำตกหมอกฟ้า แล้วต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร
ในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2551-วันที่ 4 มกราคม 2552 กรมทางหลวงได้กำหนดเวลาขึ้น-ลง ของรถยนต์ที่จะขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพฯ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการจราจรแก่นักท่องเที่ยว ดังนี้ เวลาขึ้น ตั้งแต่เวลา 06.00 น. - เวลา 09.00 น. และเวลา 12.30 น. - 15.00 น. เวลาลง ตั้งแต่เวลา 09.30 น. - เวลา 12.00 น. และเวลา 15.30 น. - เวลา 18.00 น.

 
 

 
เครื่องบิน


สายการบินที่เปิดให้บริการจากกรุงเทพฯ มาเชียงใหม่ ได้แก่


จากสนามบินเชียงใหม่ สามารถจ้างเหมารถยนต์โดยสารรับจ้างมาเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ได้ ในอัตราที่แล้วแต่จะได้ตกลงกันไว้

 
รถไฟ

รถไฟ จากหัวลำโพงมาเชียงใหม่ มีวันละ 7 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 06:20 – 22:00 น. โดยรถสปินเตอร์, รถเร็ว และรถด่วนพิเศษ เมื่อเดินทางมาถึงสถานีรถไฟ เชียงใหม่ สามารถเรียกบริการรถยนต์โดยสารที่จอดอยู่ประจำสถานีรถไฟเชียงใหม่ มาส่งที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ได้ ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่
 

  • สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 0-2223-7010 หรือ 0-2220-4334
     
  • สถานีรถไฟเชียงใหม่ โทร. 0-5324-4795, 0-5324-2094, 0-5324-7462 หรือ 0-5324-5363-4 

  •  
    รถโดยสารประจำทาง


    มีรถประจำทางของบริษัทขนส่งจำกัดทั้งรถธรรมดาและปรับอากาศและปรับอากาศชั้น หนึ่งบริการระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ : โทร. 0 2537 8055 - 6 (รถธรรมดา) และที่เชียงใหม่ โทร. 0 5324 1449, 0 5330 4748 นอกจากนี้ยังมีรถปรับอากาศชั้น 1 ของบริษัทรถร่วมเอกชนระหว่าง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่วันละหลายเที่ยว

     
    บ้านพัก และค่ายพักแรม
     
     

    ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

    กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติ่ม คลิกที่นี่

     
    โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก การจอง
    โซนที่ 1 1. สุเทพ 102 (สามปอยหลวง) 2 2 6 3,000  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), ตู้เย็น, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
    โซนที่ 1 2. สุเทพ 103 (ชางคำ) 3 2 9 2,500  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
    โซนที่ 1 3. สุเทพ 104 (ชมภูพิงค์) 3 2 9 2,500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
    โซนที่ 1 4. สุเทพ 105 (ไผ่ดำ) 2 2 8 2,500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
    โซนที่ 1 5. สุเทพ 106 (ชุ่มฉ่ำ) 2 2 8 2,500  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, โต๊ะเครื่องแป้ง
    โซนที่ 1 6. สุเทพ 107 (ซางจิง) 2 2 8 2,500  เครื่องนอน (เตียง 6.0 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะอาหาร, ผ้าเช็ดตัว
    โซนที่ 1 7. สุเทพ 108/1 (สารภี) 1 1 2 400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
    โซนที่ 1 8. สุเทพ 108/2 (สารภี) 1 1 2 400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
    โซนที่ 1 9. สุเทพ 108/3 (สารภี) 1 1 2 400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
    โซนที่ 1 10. สุเทพ 108/4 (สารภี) 1 1 2 400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
    โซนที่ 1 11. สุเทพ 108/5 (สารภี) 1 1 2 400  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, โต๊ะเครื่องแป้ง, ผ้าเช็ดตัว
    โซนที่ 1 12. สุเทพ 108/6 (สารภี) 1 0 4 500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว, ห้องน้ำ-สุขารวม
    โซนที่ 1 13. สุเทพ 108/7 (สารภี) 1 0 4 500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว, ห้องน้ำ-สุขารวม
    โซนที่ 1 14. สุเทพ 108/8 (สารภี) 1 0 16 1,500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว, ห้องน้ำ-สุขารวม
    โซนที่ 1 15. สุเทพ 109/1 (มณฑา) 1 1 20 2,500  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), เครื่องทำน้ำอุ่น, ห้องน้ำ-สุขารวม
    โซนที่ 1 16. สุเทพ 109/2 (มณฑา) 1 1 20 2,500  เครื่องนอน (ไม่มีเตียง), เครื่องทำน้ำอุ่น, ห้องน้ำ-สุขารวม
    โซนที่ 2 17. สุเทพ 201 (มณฑาธาร) 2 1 6 1,500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
    โซนที่ 2 18. สุเทพ 202 (มณฑาธาร) 2 1 6 1,500  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
    โซนที่ 3 19. สุเทพ 931 (ค่ายเยาวชน) 1 0 15 1,500  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม
    โซนที่ 3 20. สุเทพ 932 (ค่ายเยาวชน) 1 0 15 1,500  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม
    โซนที่ 3 21. สุเทพ 933 (ค่ายเยาวชน) 1 0 15 1,500  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม
    โซนที่ 3 22. สุเทพ 934 (ค่ายเยาวชน) 1 0 15 1,500  เครื่องนอน (เตียงยกพื้น), ห้องน้ำ-สุขารวม
    หมายเหตุ : กรณี ที่มีผู้เข้าพักแรมในที่พักเกินจำนวนที่กำหนด ต้องชำระค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก ดังนี้ ประเภทบ้านพัก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน และ ประเภทค่ายพัก ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับการจัดโซนและจำนวนที่พัก-บริการ ที่เปิดให้บริการในอุทยานแห่งชาติมีดังต่อไปนี้
    โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
    โซนที่ 1 สุเทพ 101-104 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บนดอยสุเทพ เลยพระธาตุดอยสุเทพ 300 ม.
    โซนที่ 1 สุเทพ 105-107 บ้านพักเดี่ยว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บนดอยสุเทพ เลยพระธาตุดอยสุเทพ 300 ม.
    โซนที่ 1 สุเทพ 108/1-4 บ้านพักเรือนแถว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บนดอยสุเทพ เลยพระธาตุดอยสุเทพ 300 ม.
    โซนที่ 1 สุเทพ 108/5-8 บ้านพักเรือนแถว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บนดอยสุเทพ เลยพระธาตุดอยสุเทพ 300 ม.
    โซนที่ 1 สุเทพ 109/1-2 บ้านพักเรือนแถว โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บนดอยสุเทพ เลยพระธาตุดอยสุเทพ 300 ม.
    โซนที่ 2 สุเทพ 201-202 บ้านพักเดี่ยว โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ เชิงดอยสุเทพ บริเวณน้ำตกมณฑาธาร เลยอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย 3 กม.
    โซนที่ 3 สุเทพ 931-934 ค่ายเยาวชน โซนหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ บริเวณน้ำตกหมอกฟ้า อยู่ชายเขา ริมลำธาร อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ทางไปอช.ห้วยน้ำดัง

     
    ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่  จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
     
    ห้องประชุม
     
     
     
    โซน ชื่อห้องประชุม รองรับ
    ได้ (คน)
    ราคา (บาท) สิ่งอำนวยความสะดวก
    โซนที่ 1 1. สุเทพ 011 - ห้องประชุม (09.00 - 12.00 น.) 40 400  ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
    โซนที่ 1 2. สุเทพ 011 - ห้องประชุม (18.00 - 21.00 น.) 40 400  ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
    โซนที่ 1 3. สุเทพ 011 - ห้องประชุม (13.00 - 16.00 น.) 40 400  ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้

     
    โซน โซนห้องประชุม คำอธิบาย
    โซนที่ 1 สุเทพ 011 - ห้องประชุม ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

     

     

     
    แหล่งท่องเที่ยว
     
     
    ด้านประวัติศาสตร์

    พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์  

    เป็น สถานที่ที่มีชื่อเสียงในด้านความสวยงาม และมีความสำคัญยิ่ง คือ เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ พระตำหนักแห่งนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2503 บริเวณใกล้ดอยบวกห้า ลักษณะเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย ภายในบริเวณพระตำหนักได้รักษา สภาพ ธรรมชาติไว้ รวมทั้งมีการปลูกพันธุ์ไม้ดอกชนิดต่างๆ ไว้อย่างสวยงาม พระตำหนักนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 4 กิโลเมตร และเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ทั้งนี้จะต้องเป็นช่วงเวลาที่มิได้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ซึ่งปกติจะปิดในช่วงเวลาตั้งแต่ประมาณกลางเดือนธันวาคม-ต้นเดือนมีนาคม

     

    พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เปิดจำหน่ายบัตรเข้าชม 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงเช้า (08.30 - 11.30 น.) และช่วงบ่าย (13.00 - 15.30 น.) และปิดพระตำหนักฯ เวลา 16.30 น. อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชม สำหรับชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท

    สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
     

    กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์   ดูนก   ดูผีเสื้อ  

    สันกู่  

    เมื่อ ปีพ.ศ.2526 หน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ ได้ขุดแต่งบูรณะซากโบราณสถานสันกู่ การทำงานในครั้งนั้น เป็นไปตามพระประสงค์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงทราบฝ่าละอองพระบาทว่า โบราณสถานแห่งนี้ถูกขุดทำลายเป็นเวลานานแล้ว สมควรให้กรมศิลปากรสำรวจและบูรณะให้อยู่ในสภาพที่ดีต่อไป นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดี

     
    สภาพก่อนการขุดแต่ง เป็นเนินโบราณสถานที่มีต้นไม้หนาแน่น เมื่อขุดลอกดินที่ทับถมออก พบซากเจดีย์และฐานวิหาร ได้ขุดลอกหลุมที่เกิดจากการลักลอบขุดที่ตรงฐานเจดีย์ในระดับความลึก 5.30 เมตร พบโบราณวัตถุในกรุที่สำคัญ ได้แก่ เศียรพระพุทธรูป ศิลปะแบบหริภุญไชย พระพิมพ์ดินเผา ศิลปะแบบหริภุญไชย เศษเครื่องปั้นดินเผาเป็นชิ้นส่วนกระปุกขนาดเล็ก เป็นของจีน สมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.1911-2187) และการขุดแต่งส่วนอื่น พบเศษเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาสันกำแพง สันนิษฐาน โบราณสถานสันกู่มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-22
    สันกู่ ตั้งอยู่บริเวณเส้นทางไปลานกางเต็นท์ดอยปุย ห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ประมาณ 4 กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างคดเคี้ยว และลาดชัน ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง
     

    กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์   ดูนก   ดูดาว  

    ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

    น้ำตกตาดหมอก  

    เป็น น้ำตกขนาดกลาง เกิดจากลำห้วยแม่แรม อยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่ริม ประมาณ 5 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแม่ริม-สะเมิง แล้วแยกไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร

     

    การเดินทางไปน้ำตกตาดหมอก ต้องเดินทางโดยรถส่วนตัวเท่านั้น เนื่องจากรถบัสไม่สามารถเข้าถึง และไม่มีรถยนต์โดยสารวิ่งผ่าน

     
    การติดต่อสื่อสารบริเวณน้ำตกตาดหมอก สามารถติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย GSM ได้เครือข่ายเดียว 

    กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   ดูนก  

    น้ำตกมณฑาธาร  

    น้ำตก มณฑาธารหรือน้ำตกสันป่ายาง เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งในเขตอุทยานฯ สูงกว่าระดับน้ำทะเล 730 เมตร มีทั้งหมด 9 ชั้น โดยมีน้ำตกไทรย้อย เป็นน้ำตกชั้นสูงสุด ที่ไหลมาจากห้วยคอกม้า แล้วไหลไปสมทบกับน้ำตกมณฑาธาร ผ่านผาเงิบ วังบัวบาน น้ำตกห้วยแก้ว ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง ที่มาของน้ำตกนั้นมาจากต้นมณฑา ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ดอกสีขาว ใบใหญ่ สีเขียวจัด เห็นได้ทั่วไปตามข้างทาง ลักษณะของน้ำที่ตกลงมาแยกออกเป็น 2 สายเล็กๆ แล้วไหลลงสู่แอ่ง ก่อนจะผ่านลานหินลงไปชั้นที่ 1 อยู่ห่างจากน้ำตกห้วยแก้วประมาณ 3 กิโลเมตร

     

    บริเวณน้ำตกมณฑาธาร มีบ้านพักนักท่องเที่ยว จำนวน 2 หลัง พักได้หลังละ 6 คน ราคาหลังละ 1,500 บาท และมีสถานที่กางเต็นท์ ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 150 คน สามารถสำรองบ้านพักได้ผ่านทางเว็บไซด์ www.dnp.go.th หรือ โทรสำรองที่พักได้ที่ 053-210244

     
    บริเวณน้ำตกมณฑาธาร หากต้องการติดต่อสื่อสาร ท่านสามารถติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย GSM ซึ่งสัญญาณจะพบได้เป็นบางจุด หรือหากท่านใช้บริการโทรศัพท์ในเครือข่ายของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT CDMA) สามารถสื่อสารได้ทุกจุด ภายในน้ำตก สำหรับบริเวณที่สามารถรับสัญญาณ GSM ได้ดีที่สุด คือ บริเวณน้ำตกไทรย้อย (น้ำตกชั้นสูงสุด) 

    กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   ดูนก   ดูผีเสื้อ  

    น้ำตกแม่สา  

    เป็น น้ำตกที่สวยงาม มีน้ำไหลตลอดปี มีทั้งหมด 10 ชั้นแต่ละชั้นห่างกันประมาณ 100-500 เมตร โดยเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปตามถนนสายแม่ริม-สะเมิง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร น้ำตกแม่สา เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ทั่วบริเวณ ทำให้สภาพอากาศร่มรื่นเย็นสบายตลอดปี ทำให้ได้รับความนิยมมาก

     

    การเดินทางไปน้ำตกแม่สา นอกจากนำรถส่วนตัว หรือรถบัสไปแล้ว ยังสามารถนั่งรถโดยสารประจำทาง สายเชียงใหม่ - สะเมิง บริเวณข้างวัดแม่ริม ซึ่งท่านจะต้องขึ้นรถสายเชียงใหม่ - แม่ริม บริเวณตลาดวโรรส หรือขนส่งช้างเผือก แล้วลงรถที่สี่แยกวัดแม่ริม เพื่อต่อรถสายเชียงใหม่ - สะเมิง เพื่อไปเที่ยวน้ำตกแม่สา

     
    บริเวณน้ำตกแม่สา ไม่มีบ้านพัก แต่มีสถานที่กางเต็นท์ และมีเต็นท์ให้เช่า ท่านสามารถติดต่อได้ที่ 053-229731 ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 50 คน

     
    แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงกับน้ำตกแม่สา ส่วนมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเอกชน ซึ่งมีทั้ง ฟาร์มผีเสื้อ ฟาร์มงู ฟาร์มสุนัข โรงเรียนลิง กิจกรรมขี่ม้า การเล่นบันจี้จั๊ม การขี่รถบักจี้ ออฟโรด หรือเยี่ยมชมสวนพฤกษศาสตร์สิริกิติ์ ซึ่งอยู่ห่างจากน้ำตกแม่สาประมาณ 5 กิโลเมตร

     
    บริเวณน้ำตกแม่สา สามารถรับสัญญาณโทรศัพท์ในเครือข่าย GSM ได้บางจุด กรณีที่ต้องการสัญญาณที่ชัดเจน จุดที่รับสัญญาณได้ดีที่สุด คือ บริเวณด่านเก็บค่าธรรมเนียม สามารถรับสัญญาณโทรศัพท์เครือข่าย GSM และ True move ได้ 

    กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์   ดูนก  

    น้ำตกศรีสังวาลย์  น้ำ ตกศรีสังวาลย์ เป็นน้ำตกขนาดกลาง เกิดจากลำห้วยแม่ปานตอนบน อยู่ในพื้นที่อำเภอหางดง สามารถเดินทางโดยใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1269 (หางดง-สะเมิง)

    กิจกรรม : เที่ยวน้ำตก  

    น้ำตกหมอกฟ้า  

    เป็น น้ำตกที่สวยงามอีกแห่งของอุทยานฯ มีน้ำไหลตลอดปี ตั้งอยู่ในเขต อ.แม่แตง โดยเดินทางไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107) ถึงทางแยกบ้านแม่มาลัย อ.แม่แตง เลี้ยวซ้ายตามถนนสายแม่มาลัย-ปาย (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1095) รวมระยะทางประมาณ 58 กิโลเมตร ซึ่งการเดินทางไปน้ำตกหมอกฟ้า หากต้องการขึ้นรถโดยสารประจำทาง สามารถขึ้นได้ที่สถานีขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ (อาเขต) เพื่อขึ้นรถสายเชียงใหม่ - ปาย แล้วลงรถตรงปากทางเข้าน้ำตกหมอกฟ้า แล้วต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร หรือหากนำรถไปเองก็สามารถนำไปได้ ยกเว้นรถบัส เนื่องจาก ระยะทางแคบและลาดชัน

     

    น้ำตกหมอกฟ้า มีบริเวณที่เหมาะสำหรับการจัดทำค่าย เนื่องจาก มีบ้านที่จัดเตรียมไว้สำหรับการจัดทำค่ายจำนวน 4 หลัง พักได้หลังละ 15 คน ราคาหลังละ 1,500 บาท และมีสถานที่กางเต็นท์ ซึ่งรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 150 คน สามารถสำรองบ้านพักได้ผ่านทางเว็บไซด์ www.dnp.go.th หรือ โทรสำรองที่พักได้ที่ 053-210244 หรือ 08-4616-2389

     
    นอกจากนั้น ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ สำหรับผู้ที่รักธรรมชาติได้ศึกษาธรรมชาติ หรือดูนก อีกด้วย

     
    การติดต่อสื่อสารบริเวณน้ำตกหมอกฟ้า สามารถติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย GSM ได้เครือข่ายเดียว 

    กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   แค้มป์ปิ้ง   ดูนก   ดูผีเสื้อ  

    น้ำตกห้วยแก้ว  

    เป็น น้ำตกเล็กๆ สูงประมาณ 10 เมตร เกิดจากลำน้ำห้วยแก้ว อยู่บริเวณเชิงดอยใกล้ทางขึ้นดอยสุเทพ เหนือน้ำตกห้วยแก้วขึ้นไปเล็กน้อย จะเป็น “วังบัวบาน” เป็นสถานที่ที่กล่าวถึงตำนานรักอันอมตะที่ลือชื่อของสาวเหนือ และผาเงิบ ซึ่งอยู่เหนือวังบัวบานประมาณ 100 เมตร ใช้เป็นสถานที่พักผ่อน

    บริเวณเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ เส้นทางน้ำตกห้วยแก้ว วังบัวบาน ผาเงิบ มีนกหลากชนิดที่น่าสนใจ ได้แก่ นกกระรางหัวหงอก นกแซงแซวหางปลา นกเขาเขียว และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นจุดชมนกที่น่าสนใจอีกแห่งในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
     

    กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   ชมทิวทัศน์   ดูนก  

    ยอดดอยปุย  

    ยอด ดอยปุย สูง 1,658 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นจุดสูงสุดของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี บนยอดดอยปกคลุมด้วยป่าสนเขาผืนใหญ่ และเป็นแหล่งดูนกที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง ดอยสุเทพและดอยปุยเป็นถิ่นอาศัยของนกมากกว่า 300 ชนิด เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว นกกางเขนน้ำหลังดำ นกศิวะปีกสีฟ้า ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวยังมีนกอพยพบินย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยอีกเป็นจำนวนมาก หลายชนิดเป็นนกหายาก โดยเฉพาะนกเขน นกจับแมลงสีคราม นกเดินดงอกลาย นกปีกแพรสีม่วง ฯลฯ สำหรับจุดดูนกที่น่าสนใจจุดอื่นๆ เช่น บริเวณบ้านพักดอยสุเทพ ตามเส้นทางไปน้ำตกมณฑาธาร เส้นทางไปห้วยคอกม้า และบริเวณสันกู่

     
    ใกล้กับยอดดอยปุย มีสถานที่สำหรับกางเต็นท์ ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 250 คน ซึ่งห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ประมาณ 7 กิโลเมตร เส้นทางค่อนข้างแคบและลาดชัน สำหรับผู้ที่ไม่ชินเส้นทาง ควรเดินทางไปถึงก่อนเวลา 17.00 น. เพื่อความสะดวกและปลอดภัย  

    กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์   ดูนก   ดูดาว   ดูผีเสื้อ  

    ด้านวัฒนธรรมและประเพณี

    วัดพระธาตุดอยสุเทพ  

    เป็น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีความสำคัญทางศาสนาและประวัติศาสตร์ของนครเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1927 มีบันไดนาคทอดยาวขึ้นไปสู่วัด 306 ขั้น  ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานขององค์เจดีย์ทรงมอญ ที่ใต้ฐานพระเจดีย์มีพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรจุ อยู่ วัดพระธาตุดอยสุเทพมีชื่อเต็มว่า “วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพวรวิหาร” ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปูชนียสถานที่แสดงออกถึงศิลปกรรมล้านนาไทยที่สำคัญคู่ เมืองเชียงใหม่

     

    วัดพระธาตุดอยสุเทพ อยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ประมาณ 10 กิโลเมตร สามารถเดินทางขึ้น-ลง ได้ตลอดทั้งวัน แต่จะมีการตั้งด่านตรวจของอุทยานฯ ตั้งแต่เวลา 20.00 - 06.00 น.

     
    รถรางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 - 18.00 น. ในราคาขึ้น-ลง คนละ 20 บาท (สำหรับคนไทย) และ 50 บาท (สำหรับชาวต่างชาติ) หากเดินทางไปหลังเวลา 18.00 น. ต้องขึ้นทางบันไดเท่านั้น

    ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
     

    กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   ชมทิวทัศน์   ชมวัฒนธรรมและประเพณี  

    บ้านม้งดอยปุย  

    บ้าน ม้งดอยปุย ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวนประชากรประมาณ 747 คน (ข้อมูลเมื่อปี 2550) ซึ่งราษฎรส่วนมาก ประกอบอาชีพค้าขาย และบางส่วน ทำการเกษตร

     
    การเดินทางไปบ้านม้งดอยปุย ใช้เส้นทางถนนศรีวิชัย ผ่านวัดพระธาตุดอยสุเทพ บ้านพักอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ รวมระยะทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ถึงบ้านม้งดอยปุย ประมาณ 20 กิโลเมตร (ห่างจากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ประมาณ 6 กิโลเมตร) เส้นทางเป็นถนนลาดยาง แต่เส้นทางค่อนข้างแคบ ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง 

    กิจกรรม : ชมวัฒนธรรมและประเพณี  

    อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย  

    นัก บุญแห่งล้านนา ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่บุกเบิกสร้างถนนขึ้นไปบนดอยสุเทพ เมื่อปี พ.ศ.2477 พระครูบาศรีวิชัย ขณะที่จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีโสดา เริ่มชักชวนประชาชนสร้างทางจากเชิงดอยถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ รวมระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร โดยใช้เวลาสร้างประมาณ 6 เดือน ต่อมา ชาวเชียงใหม่จึงได้สร้างอนุสาวรีย์พระครูบาศรีวิชัยไว้เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อ สักการบูชาสืบไป

     

    ใกล้กับอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย สามารถเดินไปเยี่ยมชมน้ำตกห้วยแก้ว ระยะทางประมาณ 300 เมตร และฝั่งตรงข้ามอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

     
    สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้นำรถมาเอง สามารถโดยสารรถโดยสารขึ้นดอยสุเทพได้บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย  

    กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   ชมวัฒนธรรมและประเพณี  

    ด้านศึกษาธรรมชาติ

    เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ  

    อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีเส้นทางเดินป่า และเส้นทางขับรถ เพื่อใช้ในการศึกษาและชื่นชมความหมายธรรมชาติอยู่มากมาย ที่สำคัญได้แก่

     

  • เส้นทางเดินป่าสายศูนย์เกษตรภาคเหนือ -ผาลาด-วัดพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นเส้นทางขึ้นดอยสุเทพสายประวัติศาสตร์ที่ชาวเชียงใหม่สมัย ก่อนใช้เดินทางเพื่อขึ้นนมัสการพระธาตุดอยสุเทพในช่วงเทศกาลไว้พระธาตุ เพราะถือว่าจะได้บุญกุศลมากกว่าขึ้นนมัสการโดยรถยนต์

     

  • เส้นทางเดินป่าสายน้ำตกมณฑาธาร -ถนนศรีวิชัยตอนบน-ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เป็นเส้นทางเดินเท้าเพื่อชมสภาพป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง (ป่ายางปาย) และเพื่อชมนกป่าที่สำคัญ

     

  • เส้นทางเดินป่าบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ-น้ำตกไทรย้อย เพื่อชมสภาพป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น

     

  • เส้นทางผาดำ-ห้วยคอกม้า บริเวณหลังพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เป็นเส้นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาข้อมูลทางด้านนิเวศวิทยาป่าดิบเขา และการจัดการต้นน้ำ

     

  • เส้นทางเครือข่ายคมนาคมเชื่อม ระหว่างหมู่บ้านชาวเขาต่างๆ เพื่อการท่องเที่ยวโดยรถยนต์เพื่อชื่นชมธรรมชาติของพื้นที่ในใจกลางของ อุทยานแห่งชาติ เช่น

     

  • - เส้นสำหรับจักรยานเสือภูเขา ช่วงพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์-ยอดดอยปุย
    - เส้นทางดอยปุย-ขุนช่างเคี่ยน-แม่สาใหม่
    - เส้นทางห้วยตึงเฒ่า-ขุนช่างเคี่ยน-แม่สาใหม่
    - เส้นทางแม่สาใหม่-ขุนแม่ลวด-ขุนแม่ไน
     
     

    กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   ชมพรรณไม้   แค้มป์ปิ้ง   ดูนก   ดูผีเสื้อ  

    สิ่งอำนวยความสะดวก
     

    ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายไว้บริการ

     

  • 1. ห้องน้ำบริเวณน้ำตกแม่สา (ภาพที่ 1 - 3)
     
  • 2. ห้องน้ำบริเวณน้ำตกหมอกฟ้า (ภาพที่ 4 - 6)
     
  • 3. ห้องน้ำบริเวณลานกางเต็นท์ดอยปุย (ภาพที่ 7 - 8)  


  • ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ

     

  • 1. ห้องน้ำบริเวณน้ำตกแม่สา (ภาพที่ 1 - 3)
     
  • 2. ห้องน้ำบริเวณน้ำตกตาดหมอก (ภาพที่ 4 - 6)
     
  • 3. ห้องน้ำบริเวณน้ำตกหมอกฟ้า (ภาพที่ 7 - 9)
     
  • 4. ห้องน้ำบริเวณลานกางเต็นท์ดอยปุย (ภาพที่ 10) 


  • ที่พักแรม/บ้านพัก บ้านพักดอยสุเทพ (เลยวัดพระธาตุดอยสุเทพ 300 เมตร ทางขวามือ) มีบ้านพักบริการทั้งหมด 6 หลัง พักได้หลังละ 6 - 8 คน หลังละ 2,500 - 3,000 บาท และเรือนแถว 2 หลัง พักได้ตั้งแต่ 2 - 20 คน ราคา 400 - 2,500 บาท ท่านสามารถติดต่อรับกุญแจได้ที่ ร้านสวัสดิการ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำตลอด 24 ชั่วโมง

     

    กรณีที่มีความจำเป็นเข้าที่พักช้ากว่าเวลา 20.00 น. กรุณาโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อยืนยันการเข้าพักที่ 053-295041

     
    สามารถสำรองที่พักได้ที่ www.dnp.go.th หรือ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-210244 หรือ e-mail / msn : doisuthep_pui@hotmail.com

     
    กรณีมีปัญหาเรื่องการทำการจองที่พัก โทรศัพท์สอบถามได้ที่ 053-210244  


    ที่พักแรม/บ้านพัก    บ้าน พักบริเวณน้ำตกมณฑาธาร (เลยอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย 3 กิโลเมตร ทางขวามือ) มีจำนวน 2 หลัง พักได้หลังละ 6 คน ราคาหลังละ 1,500 บาท ซึ่งบ้านพักน้ำตกมณฑาธาร จะอยู่ห่างจากน้ำตกมณฑาธารชั้นที่ 1 ประมาณ 200 เมตร

     


    ลานกางเต็นท์    ลาน กางเต็นท์น้ำตกแม่สา ท้องที่อำเภอแม่ริม สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 50 คน มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวมากมาย แต่ควรจะไปถึงก่อนเวลา 16.30 น.
     


    ลานกางเต็นท์แบบมีที่จอดรถ    ลาน กางเต็นท์น้ำตกหมอกฟ้า ท้องที่อำเภอแม่แตง ทางไปอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 150 คน นักท่องเที่ยวควรติดต่อสำรองอาหารล่วงหน้า


    ลานกางเต็นท์แบบมีที่จอดรถ    บริเวณ น้ำตกมณฑาธาร อยู่ระหว่างเส้นทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ห่างจากอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ประมาณ 3 กิโลเมตร จะพบกับด่านเก็บค่าธรรมเนียม และเดินทางเข้าไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 150 คน
     


    ลานกางเต็นท์แบบมีที่จอดรถ    ลาน กางเต็นท์ดอยปุย ห่างจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ ประมาณ 10 กิโลเมตร สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 250 คน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อจัดจ้างรถโดยสารจากบริเวณวัดพระธาตุดอยสุเทพ เพื่อเดินทางไปลานกางเต็นท์ดอยปุยได้ ในช่วงเวลาระหว่าง 08.00 - 16.30 น. เส้นทางไปลานกางเต็นท์จะค่อนข้างแคบ และลาดชัน ประกอบกับ เส้นทางบริเวณจากด่านตรวจดอยปุย ไปลานกางเต็นท์ดอยปุย จะเป็นทางลูกรังประมาณ 1 กิโลเมตร
     

    นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปกางเต็นท์บริเวณลานกางเต็นท์ดอยปุย ต้องเดินทางไปติดต่อก่อนเวลา 16.30 น. และต้องจัดเตรียมอาหารไปเอง
     การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง หากต้องการดูรายละเอียดเกี่ยวกับคำแนะนำ อัตราค่าบริการสถานที่กางเต็นท์และเต็นท์เพิ่มเติม คลิกที่นี่


    ลานกางเต็นท์แบบมีที่จอดรถ    บริเวณ บ้านพักดอยสุเทพ เลยวัดพระธาตุดอยสุเทพ 300 เมตร มีทั้งบ้านพักนักท่องเที่ยว และพื้นที่กางเต็นท์ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมากางเต็นท์ได้ประมาณ 200 คน นักท่องเที่ยวสามารถสั่งอาหารจากร้านสวัสดิการของอุทยานฯ ได้ หรือสำรองอาหารล่วงหน้า ได้ที่ 053-295041


     


    ค่ายเยาวชน    บ้าน ค่ายโซนที่ 3 น้ำตกหมอกฟ้า (ทางไปอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง เลยแยกตลาดแม่มาลัย ประมาณ 22 กิโลเมตร) มีบ้านทั้งหมด 4 หลัง พักได้หลังละ 15 คน หลังละ 1,500 บาท

     


    ที่จอดรถ     มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ดังนี้

     

    1. บริเวณน้ำตกห้วยแก้ว สามารถรองรับรถได้ประมาณ 30 คัน
     
    2. บริเวณน้ำตกมณฑาธาร สามารถรองรับรถได้ประมาณ 50 คัน
     
    3. บริเวณบ้านพักดอยสุเทพ (เลยวัดพระธาตุดอยสุเทพ 300 เมตร) สามารถรองรับรถได้ประมาณ 40 คัน
    4. บริเวณลานกางเต็นท์ดอยปุย สามารถรองรับรถได้ประมาณ 50 คัน
     
    5. บริเวณน้ำตกหมอกฟ้า สามารถรองรับรถได้ประมาณ 30 คัน
     
    6. บริเวณน้ำตกแม่สา สามารถรองรับรถได้ประมาณ 100 คัน
     
    7. บริเวณน้ำตกตาดหมอก สามารถรองรับรถได้ประมาณ 10 คัน  


    ที่จอดรถ    ลานจอดรถบริเวณน้ำตกแม่สา มีทั้งหมด 3 ลาน สามารถรองรับรถได้ประมาณ 150 คัน

     

  • ลานจอดรถที่ 1 อยู่บริเวณหน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (ภาพที่ 1 - 3)
     
  • ลานจอดรถที่ 2 อยู่บริเวณน้ำตกแม่สาชั้นที่ 1 (ภาพที่ 4 - 6)
     
  • ลานจอดรถที่ 3 อยู่บริเวณทางขึ้นน้ำตกชั้นที่ 3 บริเวณลานจอดรถนี้ จะมีร้านอาหาร และร้านจำหน่ายของที่ระลึก จำนวน 10 ร้าน (ภาพที่ 7 - 12) 


  • บริการอาหาร   

    อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ได้จัดเตรียมร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติ ดังนี้

     
    1. น้ำตกแม่สา เปิดให้บริการตั้งแต่ 08.00 น. - 16.30 น. (ภาพที่ 1 - 3)

     
    2. บ้านพักดอยสุเทพ (เลยวัดพระธาตุดอยสุเทพ 300 เมตร) เปิดให้บริการตั้งแต่ 06.00 น. - 16.30 น. กรณีต้องการสั่งจองอาหารล่วงหน้า ติดต่อได้ที่ คุณจันทร์ทิรา 053-295041 (ภาพที่ 4 - 6)

     
    3. น้ำตกมณฑาธาร เปิดให้บริการตั้งแต่ 08.30 น. - 16.30 น. กรณีต้องการสั่งจองอาหารล่วงหน้า ติดต่อได้ที่หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ทป.7 (ช่างเคี่ยน) 081-961-0378

     
    4. น้ำตกหมอกฟ้า มีร้านอาหารบริการบริเวณทางเดินเข้าน้ำตก (ข้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยว) จำนวน 1 ร้าน เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 09.00 - 18.00 น. หรือกรณีต้องการประกอบอาหารเอง สามารถประกอบอาหารได้ บริเวณศาลาเอนกประสงค์ ใกล้กับลานกางเต็นท์

     
    5. ลานกางเต็นท์ดอยปุย ไม่มีบริการอาหาร นักท่องเที่ยวต้องจัดเตรียมอาหารและอุปกรณ์ประกอบอาหารไปเอง  


    ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ ซึ่งศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจะเปิดให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ นอกจากนี้ยังมีบริการห้องสมุด และฉายสไลด์แก่ผู้ที่สนใจอีกด้วย นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ตามศูนย์บริการที่ได้จัดไว้ จำนวน 4 ศูนย์ ได้แก่
     

  • 1. ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (น้ำตกมณฑาธาร)
  • 2. ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (น้ำตกแม่สา) (ภาพที่ 4 - 6)
  • 3. ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (น้ำตกหมอกฟ้า)
  • 4. ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (ลานกางเต็นท์ดอยปุย)  


  •  
     
    อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
    ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ  อ. เมืองเชียงใหม่  จ. เชียงใหม่   50200
    โทรศัพท์ 0 5321 0244   โทรสาร 0 5321 2065   อีเมล doisuthep_pui@hotmail.com
     
     

     
     
    dooasia.com
    สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

    เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
    dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์